ประเทศไทยเราจะทำอย่างไรให้สามารถร่วมลงทุนพัฒนากริพเพนกับสวีเดนได้ครับ
1.อยากให้เพื่อนช่วยกันเสนอความคิดว่าจะทำ อย่างไร ให้เราสามารถเข้าไปร่วมลงทุนและพัฒนาเครื่องบินรบกริพเพนกับอาวุธต่างๆ ร่วมกับสวีเดนได้ครับ
2.สมควรจะลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีอื่นใดกับสวีเดนอีกบ้างครับ
หากเราตกลงใจว่าจะต้องร่วมลงทุนกับสวีเดนให้ได้
3.ไม่ได้ถามว่า สมควรจะลงทุนร่วมหรือไม่ หรือจะทำได้หรือไม่แต่ถามว่า................จะทำอย่างไรให้สามารถลงทุนกับสวีเดนได้ครับ (ห้ามตอบว่าทำไม่ได้ครับ)
ป.ล.ต้องขอโทษพี่ๆทั้งหลายในกระทู้ด้วยครับที่ผมอาจจะตั้งคำถามแบบบังคับวงแคบมากไปบ้าง จนอาจทำให้บางท่านไม่พอใจ หากแต่กระทู้นี้เกิดจากความคิดของผมที่ว่า มีหลายคนครับที่สามารถบอกได้ว่าเราไม่สามารถทำได้เพราะอะไร หรือ ไม่ควรทำเพราะอะไร บลาๆๆ แต่มักไม่มีคนจะบอกว่า เราจะได้ ได้อย่างไร
หากเรามัวแต่ปักใจเชื่อแต่เพียงว่า ทำไม่ได้เราก้คงไม่สามารถทำอะไรได้ต่อไป
แต่ถ้าเราเริ่มพัฒนาตนเองก้าวไปข้างหน้า ด้วยคำถามที่ว่า จะทำได้อย่างไร แล้ว พยายามก้าวไปทีละก้าว....ก็อาจสามารถไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จสักวันครับ.............
สำหรับส่วนตัวผมเองผมคิดว่า
เราอาจจะลองเปลี่ยนวิธีจากการจัดหางบประมาณจากภาครัฐโดยตรงอย่างเดียวมาลองระดมทุนจากภาคเอกชนในประเทศโดย
1.เปิดหรือจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาชาติ โดยเปิดขายหุ้นหรือกองทุนกับเอกชนในประเทศร่วมลงทุนเป็นกองทุนกับรัฐบาลในการไปลงทุนพัฒนากับประเทศสวีเดน
2.ในกองทุนนี้อาจแบ่งย่อยเป็น นำไปลงทุนกับการพัฒนากริพเพน 50เปอร์เซ็น แล้วก็ อาวุธ อื่นๆอีก50เปอร์เซ็น เป้นต้น
3.ผลกำไรเมื่อพัฒนาเครื่องบินรบเสร็จสิ้นและนำผลพัฒนา(เครื่องบิน อาวุธ) ออกขาย ผลกำไรดังกว่านำมาปั่นเป็นผลกำไรแก่ผู้ร่วมลงทุน
4.หุ้นที่เปิดขายไม่จำกัดจำนวนหุ้นที่ขาย(แบบสลากออมสินที่ขายไม่อั้น) เพื่อป้องกันการผูกขาดการลงทุนโดยคนรวยอย่างเดียว ทุนคนในประเทศสามารถร่วมลงทุนได้
5.ผู้ที่สามารถร่วมลงทุนได้ ต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น (เพื่มประโยชน์ของคนในชาติ) และไม่รับการลงทุนผ่านนิติบุคคล ต้องใช้ชื่อบุคคลธรรมดาของตนเองซื้อหุ้นลงทุนเท่านั้น(ป้องกันการถือหุ้นโดยต่างชาติผ่านนิติบุคคล)
ตอนนี้เรามี สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) เป็นองค์การมหาชน โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการ เมื่อ 27 พ.ย. 2550 ทำให้ สทป. เป็นหน่วยงานแรกของ กห. ที่มีการดำเนินการแบบองค์การมหาชน มีหน้าที่ดำเนินการวิจัยโครงการวิจัยขนาดใหญ่ด้านยุทโธปกรณ์ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงทำการวิจัย และพัฒนาจากระดับที่มีองค์ความรู้อยู่แล้ว ไปยังระดับที่ซับซ้อนขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งบุคลากรและเครื่องจักรอุปกรณ์ของ กห. ร่วมกับหน่วยงานวิจัยต่างๆ สถาบันการศึกษา และภาค(เอกชน/อุตสาหกรรม) ตลอดจนรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทผู้ผลิต ทำการพัฒนาต้นแบบยุทโธปกรณ์และแบบอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการผลิตยุทโธปกรณ์ตามความต้องการของเหล่าทัพ
และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการครั้งล่าสุด รับทราบการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมือง ในอนาคต ประกอบด้วย โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานแบบครบวงจร
ในความคิดส่วนตัวกระผมแล้วไม่น่าจะยากครับ เพียงแต่จะเริ่มอย่างไรและมีโครงสร้างของแผนอย่างไรเท่านั้น การไปขอร่วมลงทุนกับสวีเดนโดยไม่มีอะไรในกระเป๋า ผมว่าเขาคงไม่อยากสังฆกรรมด้วย คือ ไม่มีโนว์ฮาวเลย จะขอผลิตร่วม เขาคงให้เราทำแต่เบาะ หม้อน้ำและซีลยางเท่านั้น
ผมว่าแนวทางของอิสราเอลและสิงคโปร์นั้นเป็นแนวคิดที่น่าสนใจครับ ตามแนวทางการพัฒนาดังนี้
1.มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงได้เองก่อน คือ ซ่อมบำรุงได้มากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเกือบๆ100%
2.เริ่มให้มีการซ่อมแบบก้าวหน้า คือ ผลิตชิ้นส่วนซ่อม หรือผลิตองค์ประกอบทดแทนบางชิ้นได้ ค่อยๆขยายไปเรื่อยๆ เช่น เครื่องระบบการเดินอากาศในห้องนักบิน ชิ้นส่วนลำตัวอากาศยานบางชิ้น ถังน้ำมันอะไหล่ ชิ้นส่วนประกอบทั่วๆไป
3.การพัฒนาความสามารถในการผลิตในขั้นต้น โดยเริ่มการผลิตชิ้นส่วนหลักที่ง่ายๆก่อน เช่น อุปกรณ์การเดินอากาศในห้องนักบิน ฮาร์ทแวร์ที่เป็นส่วนประกอบของระบบสนับสนุน ระบบโปรแกรมการบิน/การตรวจการณ์/การใช้อาวุธ พัฒนาอาวุธและระบบบางแบบติดตั้งใช้งานเอง
4.พัฒนาขีดความสามารถในการผลิตในขั้นกลาง เริ่มผลิตใช้งานชิ้นส่วนหลักครบชิ้น ลำตัวอากาศยานชิ้นส่วนหลัก โปรแกรมการบินแบบก้าวหน้าที่โดดเด่นต่างออกไปจากบริษัทเดิม
5.พัฒนาความสามารถในการผลิตในขั้นสูง เริ่มดัดแปลงลำตัวอากาศยานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถได้ ผลิตระบบอาวุธ/ระบบในภารกิจต่างใช้เอง ฮาร์ทแวร์ที่เป็นส่วนประกอบของระบบส่วนใหญ่ผลิตเองได้(ข้อเท็จจริงประการหนึ่ง คือ เราไม่สามารถผลิตได้ทุกชิ้นส่วน หรือในทุกระบบ ประเทศผู้ผลิตเองยังใช้เครื่องยนต์ของสหรัฐฯ ดังนั้นการกำหนดทิศทางการพัฒนาจึงสำคัญอย่างมาก)
6.การพร้อมเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตอากาศยาน ออกแบบได้เอง สร้างแนวคิดการออกแบบใช้งานเอง นำเข้าระบบที่ไม่มีความสำคัญมาก
ก่อนตายกระผมอยากเห็นกริพเพนซักสี่ฝูงครบๆพร้อมรบสูงๆ กับเครื่องไฟเตอร์สเตลท์ที่เราผลิตและออกแบบร่วมกับญี่ปุ่น(อย่าบอกว่าไม่ได้นะครับ)ซักสามฝูง มี ฮ.ที่ออกแบบและผลิตเองใช้ในสามเหล่าทัพและกระทรวงอื่นๆซัก สี่ห้าร้อยลำ หวังว่าคงทันได้เห็นนะครับ
ด้วยความเคารพและขอบคุณสำหรับกระทู้ที่ให้โอกาสบริหารความคิดครับ
อ๊อดๆๆๆๆๆ...............
ท่าน คห1..ผิดกฎฮับ(ล้อเล่นนะ)
คือ อยากให้ช่วยเสนอว่าจะทำได้ด้วยวิธีใดครับ...
"ไม่ได้ถามว่า"..."ทำได้หรือไม่"
คำตอบของท่าน คห1คือ คำตอบของคำถามที่ว่า ทำได้หรือไม่......
แต่..............
ผมถามว่า "จะทำได้ด้วยวิธีใด อย่างไร"
แต่ก็ขอบคุณที่ตอบครับ......รถไฟรางคู่...........ความจริงก็ดีนะ
จะดีมากๆเลย ถ้า
1.ทำได้แบบเดินทางได้ทั่วกรุงเทพและ
2.เดินทางไปได้ทุกจังหวัดในประเทศ
ทำได้แน่ครับ และ SAAB ก็ยอมมอบ ซอร์สโค้ด ให้เราสามารถที่จะพัฒนาต่อได้ แต่ทั้งนี้ เราก็ต้องลงทุนเม็ดเงินจำนวนหนึ่งซึ่งก็ต้องมีมากพอสงควร วิธีที่ดีที่สุดคือ
1.ส่งเสริมให้มีการตั้งโรงงานซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วนหรือประกอบในประเทศทั้งเพื่อการตลาดกองทัพอากาศต่างประเทศและส่งกองทัพอากาศ
2.จัดให้เอกชนภายในประเทศเข้ามาร่วมกับ SAAB ในการลงทุนโดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน
3.ทั้งนี้หากยังไม่สามารถหรือมีความพร้อมในการประกอบเครื่องในประเทศได้ให้เริ่มต้นที่โรงงานซ่อมบำรุงก่อนเป็นอันดับแรกแล้วค่อยเพิ่มการผลิตชิ้นส่วนย่อยในลำดับต่อมา
ความเห็นส่วนตัวครับ