กองทัพอากาศประสบผลสำเร็จในการสร้างเครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒
ในวันที่(๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐) เวลา ๐๘๓๐ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ จะเป็นประธานในพิธีแสดงความยินดีในความสำเร็จการสร้างอากาศยานต้นแบบของกองทัพอากาศ แบบ บ.ชอ.๒ และคล้องพวงมาลัยให้กับเครื่องบินและนักบินทดสอบ ซึ่งประกอบด้วย พลอากาศโท พิธพร กลิ่นเฟื่อง รองผู้บัญชาการกองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ และนาวาอากาศเอก กฤษดา สุพิชณ์ รองผู้บังคับการกองบิน ๑ ฝ่ายบริหาร ณ ลานจอดท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศ
ในอดีตที่ผ่านมากว่า ๙๐ ปีของกองทัพอากาศ ได้มีการจัดสร้างอากาศยานขึ้นใช้งานเองมาแล้วหลายสิบแบบ แต่ในช่วงระยะ ๒๐ ปี หลังจากมีปัญหาด้านบุคลากรในการสร้างอากาศยานและงบประมาณ จึงทำให้โครงการสร้างอากาศยานของกองทัพอากาศขาดความต่อเนื่อง โดยอากาศยานแบบสุดท้ายที่มีการสร้างคือเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๘/ก (FANTRAINER 400/600) จำนวน ๓๒ เครื่อง ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างกองทัพอากาศและบริษัท ไรน์ฟลุกซอยบาว ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ๒๕๒๕ จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการบินในภูมิภาค ประกอบกับนโยบายของผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่มองเห็นความสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาสร้างอากาศยานขึ้นใช้งานเองในประเทศ เป็นการรองรับอุตสาหกรรมการบินตามนโยบายของรัฐบาล กองทัพอากาศ โดยกรมช่างอากาศฯ จึงได้ฟื้นฟูโครงการสร้างอากาศยานขึ้น โดยในระยะแรกนี้ ได้จัดทำแผนและกำหนดโครงการในการสร้างอากาศยานไว้ ๒ โครงการ คือ
โครงการเริ่มแรก เป็นโครงการฟื้นฟูและพัฒนาบุคลากรในการสร้างอากาศยานเพื่อให้บุคลากรมีทักษะและ มีความมั่นใจในการสร้างอากาศยาน โดยกำหนดสร้างอากาศยานต้นแบบชนิดเครื่องยนต์ลูกสูบ เรียกว่า บ.ชอ.๒ ด้วยวิธีการ Reverse Engineering จากเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๕ (SF-260) ซึ่งเป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง มีความปลอดภัยในการบินสูง และมีการออกแบบด้านอากาศพลศาสตร์ที่ดี กรมช่างอากาศฯ จึงเลือกเอาเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๕ นี้มาศึกษาและพัฒนาให้เป็นโครงการเครื่องบิน บ.ชอ.๒ โครงการ บ.ชอ.๒ เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๘ แม้ว่าโครงการนี้จะดำเนินการไปอย่างล่าช้ากว่ากำหนดไว้เดิมเนื่องจากในขณะที่ทำการพัฒนานั้น กรมช่างอากาศ ฯ ต้องมีการพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้ศึกษารายละเอียดของการสร้างอากาศยานให้ได้มากที่สุด เช่น การสร้างโครงสร้างอากาศยาน การพัฒนาความรู้ความชำนาญในการสร้าง Fuselage jig และ Wing jig เพื่อให้เกิดประโยชน์กับโครงการสร้างเครื่องบินแบบ บ.ทอ.๖ ที่ดำเนินไปพร้อมกันด้วย ขณะนี้เครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒ ได้ทำการบินทดสอบครั้งแรกโดยคณะทำงานการบินทดสอบกองทัพอากาศไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา
โครงการที่สอง กรมช่างอากาศกำลังดำเนินการพัฒนาสร้างอากาศยานต้นแบบเรียกว่า บ.ทอ.๖ โดยเลือกใช้เครื่องยนต์ Turbo Prop และใช้พื้นฐานประสบการและความรู้จากการสร้างเครื่องบิน บ.ชอ.๒ ดังที่กล่าวข้างต้น มาดำเนินการ สำหรับโครงการ บ.ทอ.๖ นี้ ได้รับการบรรจุเป็นงานวิจัยและพัฒนาทางทหาร ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม พร้อมทั้งได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน ๓๖.๗ ล้านบาท ซึ่งโครงการสร้างเครื่องต้นแบบ บ.ทอ.๖ ได้ดำเนินการไปแล้วประมาณร้อยละ ๖๐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี ๒๕๕๑
ที่มาจาก http://www.rtaf.mi.th/rtafnews/rtafnewsdetail.asp?id=902
ครับๆๆบ้านผมอยู่แถวสายไหมเลย ไปๆมาๆผ่านกองทัพอากาศดอนเมืองบ่อยมากครับ
หลง นึก ว่าไปถึงไหนตังนาน แต่ก็ดีครับ ที่ ทำเป้นกับเขาแล้ว
แถมบินได้จริงๆๆ
แล้วมันไปถึงไหนแล้ว หรอครับ อยากรู้ๆๆ