t72ของพม่านี่ ปืนใหญ่กี่ มิลครับ
เเล้วเทียบกับ m60a3ของเราพอจะรับมือได้ไหมครับ
ง่ายๆ
เข้าชาต
เลย
บุกเข้าไป
ดึงประตูออกเอารเบิดมือยัด
จบ
:)
ถ้าจะให้เข้าชาร์จอย่างที่ท่านจขกท.ว่าต้องเตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้ครับ
1.ยันต์หรือของดีที่ทำให้ยิงไม่เข้า
2.กำลังใจ
3.ระเบิดมือ
4.รองเท้าดีๆที่ทำให้วิ่งไว้
5.อุปกรณ์งัดแงะเผื่อฝารถถังล็อกไว้
ขำๆนะครับ 555+
ปล.หลักนิยมเดี๋ยวนี้มักไม่ค่อยปล่อยให้รถถังบุกไปเดี่ยวๆหรอกนะครับ ต้องมีทหารราบตามไปด้วยถึงจะรอดได้
ขอเรียนชี้แจงเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครับ ไม่ได้รู้อะไรมากเพียงแต่ได้ยินได้ฟังมา
กระผมได้เคยมีโอกาสสนทนากับนักขายอาวุธชาวรัสเซียในงานแสดงอาวุธ ท่านเคยเป็นทหารในหน่วยยานเกราะของกองทัพรัสเซีย ท่านบอกว่าปรัชญาการสร้างหน่วยรถถังและหน่วยยานเกราะของรัสเซียนั้นได้ใช้แนวคิดจากการใช้กำลังของกองทหารม้ามองโกลในอดีต
โดยที่หน่วยทหารม้ามองโกลจะเป็นกองทัพที่ใช้ม้าทั้งหมด กองทัพรัสเซียจึงถูกออกแบบให้เป็นยานเกราะทั้งหมด(กำลังหลัก) โดยเราจะพบหน่วยทหารราบของรัสเซียส่วนมากในสองแบบ คือ แบบยานยนต์(Motorrize)ใช้ยานรบตระกูล BTR และ แบบยานเกราะ(Mechanize)ใช้ยานรบตระกูล BMP ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวจะสอดคล้องกับภูมิประเทศของรัสเซียที่เป็นที่ราบกว้างใหญ่ กำลังยานเกราะจะต้องมีมาก มีความคล่องตัวสูง สามารถข้ามลำน้ำในพื้นทวีปที่ไหลย้อนจากทิศใต้ขึ้นไปทางเหนือจำนวนหลายสายได้
กล่าวโดยสรุป ยานเกราะและรถถังของรัสเซียเมื่อเทียบเคียงกับรถถังของชาติตะวันตกอื่นๆแล้วจะมีลักษณะดังนี้ครับ
ประการแรก คือ คล่องตัวกว่า จึงจำเป็นที่จะต้อง เบากว่า รูปทรงเล็กกว่า ความเร็วสูงกว่า ตัวรถต่ำกว่า และมีเกราะที่บางกว่า ในแนวคิดแบบเดียวในสมรภูมิรถถังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในการเผชิญหน้ากันระหว่าง T-34 และ Tiger,Panther รวมถึงแนวความคิดในการข้ามลำน้ำที่มีอยู่หลายสายในประเทศรัสเซีย รถถังและยานเกราะทั้งหลายจึงถูกออกแบบให้ข้ามลำน้ำได้ในทันที่โดยไม่ต้องเตรียมการมากทั้งการลอยข้ามและมุดน้ำข้าม อีกทั้งรัสเซียได้ชดเชยความบางของเกราะด้วยการคิดค้นระบบเกราะปฏิกิริยา โดยอิสราเอลได้ยึดรถถังของฝ่ายอาหรับที่รัสเซียส่งให้ใช้มาพัฒนาระบบเกราะปฏิกิริยาต่อ
ประการที่สอง คือ อำนาจการทำลายรุนแรงกว่า และไกลกว่า โดยเป็นการชดเชยจากข้อแรก ที่ต้องการดำรงรักษาความคล่องตัวไว้ ยานเกราะรัสเซียจะต้องยิงก่อนและยิงโดนก่อน(โดนภาษาอิสานแปลว่านาน) ปัจจุบันรัสเซียยังคงการคิดค้นจรวดนำวิถีที่ยิงผ่านลำกล้องปืนใหญ่และน่าจะเป็นผู้นำทางด้านนี้
ประการที่สาม คือ ปริมาณที่มากกว่า ตามแนวคิดและยุทธวิธีของทหารม้ามองโกล จึงจำเป็นที่จะต้องมี Unit cost ที่ต่ำที่สุด และ มีการระบบการส่งกำลังและซ่อมบำรุงที่สามารถเรียกได้ว่ามหัศจรรย์ ด้วยปริมาณยุทโธปกรณ์ที่มีมากมายของกองทัพรัสเซีย แนวคิดการส่งกำลังบำรุงในภาพรวมจึงถูกนำมาใช้ในทุกมิติ
การเปรียบเทียบสมรรถนะของรถถังแบบตัวต่อตัวนั้น ในความคิดของกระผมแล้ว รถถังของเราคงไม่สามารถต่อกรด้วยได้ อย่างไรก็ดีจากที่สมาชิกหลายท่านได้ให้ข้อคิดและตัวอย่างไว้แล้วว่าการเอาชนะหน่วยรถถังด้วยกันต้องมองในภาพรวมในทุกๆระบบ ทั้งระบบสนับสนุน ระบบการส่งกำลังบำรุง ยุทธวิธีและแนวความคิดในการใช้งาน ตลอดจนความชำนาญที่สั่งสมมาของCavalierทั้งหลาย การสร้างบุคคลากรและองค์ความรู้ในกิจการยานเกราะของชาติเรา มองรวมๆแล้วน่าจะยังพอสู้ไหวครับ
ก็เอาเเบงค์ดอนล่าสหรัฐไปซํก200เหรียญเเล้วปาไปที่ทหารราบที่ตามรถถังมา
เอาเเบบปากระจายๆ
ให้วิ่งไปเก็บเเล้วก็เข้าชาจย์
555
หรือไม่ก็เอาพระไป2รูป btr2คันทหาร1ขโยงไปนั่งบนbtrกับพระ เเล้วขับเข้าไปประชิดรถถัง เเล้วก็กระโดดเข้าชาจย์ 55
ท่ารบกับอิสลามก็เอาอีหม่ามขึ้นรถ
5555
APFSDS ย่อมาจาก Armour-Piercing Fin-Stabilized Discarding Sabot คือ กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบแบบมีครีบทรงตัว เป็นกระสุนกลุ่ม SABOT แบบหนึ่งซึ่งมักจะใช้กับปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบครับ
มีข้อมูลว่าพม่าจัดหา T-72 มือสองจากยูเครนจำนวนประมาณ 100กว่าคันครับ ซึ่งไม่ทราบว่ามีการปรับปรุงรถให้ทันสมัยขึ้นหรือไม่
เเต่เขาบอกว่าt34 4 คันถึงจะทำลายรถถังเพนเซอร์1คันได้นิครับ
การใช้รถถังนั้นต้องมีพื้นที่ในการขับเคลื่อน แก่โดยทำให้ภูมิประเทศในสนามรบไม่มีพื้นที่ในการขับเคลื่อน การตอบโต้รถถัง เพียงจัดหาจรวดต่อสู่รถถังประสิทธิภาพสูง เครื่องมือตรวจจับรถถังด้วยมุมสูง แบบกล้อง ที่ติดตั้งกับ ฮ.อาปาเช่ มาใช้อย่างเพี่ยงพอก็น่าจะถูๆไถๆไปได้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น รถถังสร้างความแตกต่างให้เห็นแล้วครับไม่ได้รบกันที่จำนวนซะทีเดียว ไทเกอร์ น็อค ที34 ในนัดเดียวก็จริง แต่กลางสงคราม ที34 ติดตั้งปืนใหญ่ที่มีอำนาจทำลายสูงขึ้น85mm. ถึงเกราะบางแต่ก็สามารถต่อกรกับรถถังหลัก ไทเกอร์และแพนเธอร์ได้ดีกว่าเดิมมาก ในขณะเดียวกันปลายสงครามยานเกราะเยอรมันสร้างพื้นฐานให้กับยานเกราะช่วงสงครามเย็น ด้วยการติดตั้งปืนที่มีอำนาจทำลายรุนแรงมากขึ้นส่วนใหญ่75mm. อีกอย่างรถถังในยุคนั้น กระสุนมีแค่เจาะเกราะธรรมดากับทังสเตนเท่านั้น เลยต้องวัดกันที่ขนาดลำกล้อง(คาลิเบอร์)
ส่วนรถถังในยุคปัจจุันสามารถตัดสินการยิงได้ในนัดเดียวเนื่องจากประสิทธิภาพกระสุนที่มีหลายประเภทครับและระบบอำนวยการยิงที่ลดภาระการเล็งยิงของพลประจำรถไปในตัว ซึ่งกรณีนี้เหมาะแก่การรับที่ฝ่ายตรงข้ามไม่ทราบว่าเราซุ่มจากตรงไหน รวมถึงการใช้จรวดต่อต้านรถถังด้วย แต่ถ้าใช้บุก เอารถถังนำอย่างเดียวไม่รอดจาก กับระเบิดและจรวดประจำทหารราบแน่นอนล่ะครับ