หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


วีรกรรม ที่ดอนน้อย จังหวัด หนองคาย

โดยคุณ : extremeflying เมื่อวันที่ : 11/09/2010 20:16:28

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2518 
นปข. สถานีเรือ อ.ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย ได้รับแจ้งว่าจะมีการลักลอบนำอาวุธสงครามข้ามมายังฝั่งไทยในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้สั่งการให้เรือ ล.123 ไปสะกัดกั้นขณะกำลังลาดตระเวณบริเวณ ดอนน้อย
ประมาณเวลา 13.30 ได้ถูกฝ่ายลาวระดมยิง ผู้ควบคุมเรือ คือ เรือตรี โชติ แทนศิริ ได้วิทยุ รายงานให้สถานีเรือ ทราบ และได้ทำการ ยิงตอบโต้ เพื่อป้องกันตัว ในเวลาต่อมาสถานีเรือศรีเชียงใหม่ ได้ส่งเรือ ล. 124 และ เรือ ล.128 มาช่วยเหลือ โดยทำการยิงคุ้มกัน
ขณะที่เรือ ล.123 แล่นถึงท้ายดอนน้อยนั้นเอง ปรากฎว่า ทหารลาวได้ระดมยิงด้วยอาวุธที่มีอยู่อย่างหนาแน่นยิ่งขึ้นขึ้น  ผู้ควบคุมเรือจึงได้นำเรือแล่นส่ายเพื่อหลบหลีกกระสุนปืน พร้อมกับได้ยิงตอบโต้เพื่อป้องกันตัว เรือ ล.123 ได้ถูกลูกปืนหลายแห่งและทำให้ พันจ่าตรี ปรัศน์ พงษ์สุถวรรณ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ถือท้ายเ้รือในขณะนั้นได้ถูกกระสุนปืนตรงแสงหน้าเสียชีวิตในทันที เป็นเหตให้ เรือพุ่งเข้าเกยตื้นบริเวณปลายแหลม ตอนโค้งของดอนน้อย ทหารประจำเรือ คือ พันจ่าเอก บัญญัต ฆารกูล ถูกกระสุนปืนจากทหารลาวได้รับบาดเจ็บสาหัส
ต่อมาฝ่ายเราได้ส่งทหารนาวิกโยธนเพื่อเข้าช่วยเหลือเรือ ล.123 แต่เนื่องจากผ่ายลาวได้เพิ่มเติมกำลังทั้งเรือ และ รถถัง พร้อมกับใช้อาวุธยิงสกัดกั้น นาวิกโยธินอย่างรุนแรง ฝ่านเราจึงช่วยเหลือได้เฉพาะทหารที่บาดเจ็บออกมา
ในเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน 2518 ขณะที่ทหารนาวิกโยธิน กำลังคลืบคลานเข้าไปอีกครั้ง เพื่อนเข้าไปยังเรือ ล.123 นำศพ พ.จ.ต.ปรัศน์ ออกมานั้น ทหารลาวได้ตรวจพบการเคลื่นไหวของฝ่ายเรา จึงได้ระดมยิงด้วยอาวุธหนัีกและอาวุธเบาเข้ามาอีก  เป็นเหตุให้นาวิกโยธิน 1 นาย ได้รับบาดเจ็บจนต้องถอนทัพออกมาอีก และในคืนวันเดียวกัน เวลาประมาณ 21.00 ฝ่ายเราจึงได้ส่ง จนท. ชุดปฏิบัติการพิเศษของนาวิกโยธิน ไปที่ดอนน้อยอีก ครั้งนี้ได้สามารถนำศพของ พ.จ.ต. ปรัศน์ และ กู้เรือ ล.123 ได้ในเวลา 02.15
วีรกรรม ครั้งนี้ของทหารฝ่ายเรา ได้เสียชีวิต 1 นาย คือ พ.จ.ต. ปรัศน์  ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น นาวาตรี นับเป็นวีรกรรมที่น่ายกย่อง ซึ่งเป็นตัวอย่างของความกล้าหาญ ให้ทหารเรือรุ่นหลังได้ประพฤติปฏิบัติเป็นเยี่ยงอย่างต่อไป
  ที่มาจาก กองทัพเรือ




ความคิดเห็นที่ 1


1
โดยคุณ extremeflying เมื่อวันที่ 05/09/2010 11:31:40


ความคิดเห็นที่ 2


[url=http://uppic.net/show/e99c2dab9f5419559b735e7ed5a5071a][img]http://uppic.net/full/e99c2dab9f5419559b735e7ed5a5071a[/img][/url]
โดยคุณ extremeflying เมื่อวันที่ 05/09/2010 11:34:53


ความคิดเห็นที่ 3


http://uppic.net/full/e99c2dab9f5419559b735e7ed5a5071a
โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 05/09/2010 13:18:17


ความคิดเห็นที่ 4


ใช่เหตุการณ์ นี้ หรือเปล่า ครับ ที่ทำให้เกิด คำพูดกินใจ ที่ว่า

 

" ถ้าเอาศพ ออกมา ไม่ได้ ก็เพิ่มศพเข้าไป "

โดยคุณ mu-wat เมื่อวันที่ 05/09/2010 13:40:41


ความคิดเห็นที่ 5


เคยได้ยินแต่วีรกรรมดอนแตงครับ

โดยคุณ kit_thaifighterclub เมื่อวันที่ 05/09/2010 20:37:32


ความคิดเห็นที่ 6


วีรกรรมดอนแตงหรือเปล่าครับ ถ้าจำไม่ผิดนะครับเจ้าของกระทู้เช็คอีกทีครับ
โดยคุณ nathekop เมื่อวันที่ 06/09/2010 00:04:47


ความคิดเห็นที่ 7


น่าจะเป็นดอนแตง หรือเปล่าครับ เรือ นปข. 123 นี่

........................................

วีรกรรมของ ทอ. ในเหตุการณ์เรือ นปข.จ.หนองคาย

โดย...พ.อ.อ.รัชต์  รัตนวิจารณ์

 กองทัพอากาศต้องสูญเสียเครื่องบิน ที-28 ดี    ของฝูงบิน 223   ซึ่งทำการบินโดย  ร.ท.ณรงค์ บูรณโสภณ   ขณะลงโจมตีภูข้าว ถูกกระสุนปืนต่อสู้อากาศยานของ ผกค. ยิงตก    การรบในเขต อ.นากลาง จ.อุดร  บ่อยครั้งที่ ที-28 ดี ถูกฝ่ายตรงข้ามยิงด้วยจรวด อาร์พีจี-7 วี  ใส่เครื่องบิน  แต่นักบินก็บินหนีออกมาได้อย่างปลอดภัย  ถือเป็นการใช้จรวด อาร์พีจี-7 วี กับเครื่องบินไทยอีกครั้งของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แต่ก็ยังไม่สามารถสอยเครื่องบินรบของฝ่ายเราได้…. นอกจากนี้ยังมีวีรกรรมของฝูงบิน 223 ในการสนับสนุนกองทัพเรือ ในช่วงปี 2518 เช่นเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2518 และ 4 พ.ย. 2518 ขณะที่ภายในประเทศไทยยังคงมีปัญหาในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อยู่นั้น ภายในประเทศลาวซึ่งเพิ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยคอมมิวนิสต์สายโซเวียดและเวียดนามก็เริ่มปฏิบัติทางทหารเพื่อก่อกวนและหนุนหลังคอมมิวนิสต์ในไทย ทันทีที่มีโอกาสเริ่มจากการระดมยิงเรือตรวจการณ์ตามลำน้ำโขงของราชนาวีที่กำลังตรวจการจาก อ.ศรีเชียงใหม่ กลับมายัง  จ.หนองคาย ซึ่งทาง นปข.เองก็เกรงจะถูกลอบโจมตีเมื่อเวลาจะแล่นเรือผ่านบริเวณดอนแตง ซึ่งมีร่องน้ำอยู่ในเขตลาวจึงร้องขอกำลังทางอากาสนับสนุน 

สนับสนุน  ซึ่งก็เป็นดังที่คาดการณ์ไว้  ก่อนหน้านี้กองทัพอากาศใช้เครื่องบินตรวจการณ์แบบ อาร์ที-33 เอ ซึ่งใช้ปฏิบัติการมาหลายภารกิจในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่เขาค้อ และภูพาน ให้บินทำการถ่ายภาพจุดดังกล่าว พบว่า มีการติดตั้งปืนกลและปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มม. ใกล้บริเวณดอนแตง  ครั้งเรือ นปข.แล่นผ่านมาในวันนี้จึงถูกระดมยิงอย่างหนัก จนเรือจมกึ่งเกยหาดและมีทหารเรือเสียชีวิตศพติดคาอยู่ในเรือหนึ่งนายในขณะที่ผู้บาดเจ็บได้รับความช่วยเหลือทั้งจากเรือ นปข.ลำอื่นที่รีบเข้าช่วยเรือและชาวบ้านแถวนั้นฝ่ายทหารลาวแดงนอกจากจะใช้ปืนปนชายฝั่งระดมยิงแล้วยังใช้เรือรบของตนเข้าต่อสู้อีกด้วย เครื่องบินโจมตีแบบ ที-28 ดี   จากฝูงบิน  223  ฐานบินอุดร  มี    น.ต.ธานี เอี่ยมจ้อย    รอง  ผบ.ฝูง   และร.ท.มานิตย์  สพันธุ์พงษ์  เป็นนักบิน  ทั้งสองเครื่องเข้าทำการ ต่อสู้และ สนับสนุนการช่วยเหลือทันทีโดยมีเครื่องบินชี้เป้าโอ-1 ของ  ร.ท.สมมิตร  ณ บางช้าง  และมีการร้องขอเครื่องบิน ที-28 ดี มาโจมตีเพิ่มอีกสองเครื่อง เพิ่มให้กองกำลังภาคพื้นสามารถเข้ากู้เรือและศพทหารเรือได้ฝ่ายตรงข้ามระดมขนเอาอาวุธต่างๆมากมายทั้งปืนต่อสู้อากาศยานและปืนเล็กยาวปืนกลมาระดมยิงเครื่องบินที่ขนทั้งระเบิดจรวดและกระสุนปืนกลมาโถมเข้าใส่ทหารลาวแดง  ในขณะที่เครื่องบินหมายเลข 2 กำลังดำลงโจมตีในระยะสูง 3,000  ฟุต เป็นครั้งที่ 3 ที่มีการใช้อาวุธจรวด อาร์พีจี-7 วี (หลังจากที่เคยใช้แถว อ.ปัว จ.น่าน) จรวดเกิดระเบิดที่ใต้ท้องเครื่องบินสะเทือน    แต่เครื่องบินไม่ได้รับความเสียหาย   การรบมีไปจนกระทั่งสามารถกู้ศพทหารเรือ นปข. ออกมาจากเรือได้สำเร็จ เหตุการณ์จึงสงบลงและจากการตรวจการณ์ทางอากาศในวันเวลาดังกล่าวภายหลังตรวจสอบแล้วพบว่า ข้าศึกมี ปตอ.37 มม.ที่สามารถยิงเครื่องบินโจมตีใบพัดได้อย่างแม่นยำจริง แต่ไม่ได้เอาออกจากที่ซ่อนพลางที่อยู่ใกล้บริเวณจุดปะทะออกมาใช้  


โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 06/09/2010 02:15:57


ความคิดเห็นที่ 8


วีรกรรมดอนแตงครับ ไม่ใช่ดอนน้อยครับ ตอนหน่วย นปพ.ท.ร.เข้าไปกู้ศพออกมาได้เจอทหารลาวแดงยืนคุยกันอยู่แต่ไม่เห็นฝั่งเราฝั่งเราจึงไม่ได้ยิงสังหารข้าศึกเพราะภาระกิจหลักคือการกู้ศพทหารเรือฝ่ายเราออกมาครับ จึงมาคำที่ติดใจฝ่ายเราว่า ถ้าไม่ได้ศพออกมาให้เอาศพเพื่มเข้าไป เป็นคำพูดของท่าน พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ผบ.ทร.สมัยนั้นครับ เอาเรื่องเต็มๆเลยแล้วกันครับเผื่อมีใครสงสัย เครดิตเว็ป Atcloud.com ครับ

 วีรกรรมดอนแตง งานรำลึก "พล.ร.อ.สงัด" น.อ.วิพันธุ์ ชมะโชติ เรือพีบีอาร์ ขณะแล่นทดสอบในทะเล พลบค่ำของวันจันทร์ ที่ 17 พฤศจิกายน 2518 ลำน้ำโขง ซึ่งกั้นเขตแดนไทย-ลาว อันเป็นเสมือน "บ้านพี่เมืองน้อง" ยังคงไหลเอื่อยเหมือนเช่นทุกคืนที่ผ่านมา บรรยากาศยังคงสงบเงียบภายใต้แสงจันทร์สลัวจากท้องฟ้าเบื้องบน ขณะที่เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำหรือเรือพีบีอาร์ หมายเลข 123 ของหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงกองทัพเรือ กำลังแล่นลาดตระเวนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ มันเป็นการปฏิบัติภารกิจตามปกติซึ่งลูกประดู่จากสถานีเรืออำเภอ "ศรีเชียงใหม่" กระทำมาโดยตลอดนับตั้งแต่วันแรกที่สถานีเรือแห่งนี้จัดตั้งขึ้น บนเรือพีบีอาร์ หมายเลข 123 มี *พันจ่าตรีปรัศน์ พงศ์สุวรรณ* ทำหน้าที่ผู้การเรือและเป็นผู้จับพังงาถือท้ายเพื่อบังคับเรือด้วยตนเอง โดยมีลูกทีมอีกสองนายทำหน้าที่พลปืนประจำเรือและช่างเครื่อง แม้จะเป็นการปฏิบัติภารกิจเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ในคืนวันนั้นพันจ่าตรีปรัศน์ซึ่งถือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของเรือพีบีอาร์ หมายเลข 123 ก็ต้องได้เพิ่มความระมัดระวังและสังเกตการณ์เป็นพิเศษ *เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากหัวหน้าสถานีเรือซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเขาแจ้งว่าหน่วยข่าวสืบทราบพบว่าฝ่ายตรงข้ามจะลักลอบนำ "อาวุธสงคราม" ข้ามจากฝั่งลาวมายังฝั่งไทยและพื้นที่ปฏิบัติการของฝ่ายตรงข้ามอยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานีเรือนี้* ก่อนเวลาประมาณ 19 นาฬิกา 30 นาทีเล็กน้อย เรือพีบีอาร์หมายเลข 123 ได้แล่นผ่าน บ้านพูนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ห่างจากฝั่งไทยประมาณ 100 เมตร ห่างจากฝั่งลาวประมาณ 400 เมตร *ทันใดนั้นสิ่งที่พันจ่าตรีปรัศน์และลูกเรือไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้น* จู่ๆ เสียงแผดคำรามจากอาวุธสงครามนานาชนิด ทั้งอาวุธประจำกายและอาวุธหนักก็ระเบิดรัวขึ้นชนิดสนั่นหวั่นไหว พร้อมๆ กับประกายไฟสว่างโร่พุ่งวาบข้ามฝั่งลาวตรงมายังเรือพีบีอาร์ของไทยซึ่งกำลังแล่นลาดตระเวนอยู่ มันเป็นการยิงจากทหารลาวซึ่งวางกำลังและฐานที่ตั้งไว้ 5 แห่ง ในลักษณะที่เตรียมการล่วงหน้า โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายเรือของหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงให้ย่อยยับ ทันทีที่ถูกโจมตี พันจ่าตรีปรัศน์ร้องบอกลูกเรือให้ทำการยิงโต้ตอบและพยายามบังคับเรือแล่นซิกแซ็กเพื่อหลบออกจากวิถีกระสุนของข้าศึกตามที่เคยได้รับการฝึกมาก่อนหน้านี้แล้วหลายครั้ง พร้อมกันนั้น พันจ่าตรีหนุ่มก็หันไปคว้าไมค์วิทยุขึ้นมาเพื่อที่จะแจ้งสถานการณ์ฉุกเฉินและขอความช่วยเหลือไปยังสถานีเรือของหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงหรือ นปข. ให้ส่งกำลังมาสนับสนุน *แต่แล้วในวินาทีอันต่อเนื่อง กระสุนของทหารลาวนัดหนึ่งได้พุ่งเข้ามาที่กลางแสกหน้าของพันจ่าตรีปรัศน์อย่างเหมาะเหม็ง* ร่างของลูกประดู่จากอำเภอพระประแดงสะดุ้งสุดตัวหงายผงะหล่นลงจากที่นั่งเสียชีวิตทันที พร้อมๆ กับที่พีบีอาร์ซึ่งปราศจากผู้บังคับกลายเป็นเรือไร้หางเสือพุ่งหัวขึ้นเกยตื้นบริเวณ "ดอนแตง" ซึ่งเป็นเนินทรายกลางแม่น้ำโขง ก่อนที่เครื่องยนต์จะดับลงในทันที แม้ผู้บังคับการเรือจะถูกกระสุนข้าศึกเสียชีวิตไปแล้ว แต่พลประจำเรือที่เหลืออยู่ของพีบีอาร์ 123 ก็ยังทำการต่อสู้ด้วยสัญชาตญาณของลูกนาวีไทย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ผบ.ทร. ในขณะนั้นส่องกล้องดูความเคลื่อนไหวบนดอนแตง กระสุนปืนกลขนาด .50 แคลิเบอร์ แท่นคู่ทางด้านหัวเรือและปืนกล ขนาดเดียวกันทางด้านท้ายเรือยังคงสาดกระสุนข้ามกลับไปยังฝั่งลาวอย่างห้าวหาญ แม้ว่าในช่วงเวลานั้น เรือจะเกยหัวขึ้นไปอยู่บนสันดอนและกลายเป็น "เป้านิ่ง" ให้ข้าศึกซัลโวเข้าใส่อย่างได้เปรียบก็ตาม *ทุกวินาทีที่ผ่านไป สถานการณ์ของฝ่ายเราตกอยู่ในภาวะคับขัน แต่เรือพีบีอาร์หมายเลข 123 ยังคงยิงสู้ข้าศึกจนกระสุนหมด* ในเวลาต่อมา หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงก็ได้ส่งเรือพีบีอาร์ หมายเลข 125 และหมายเลข 128 เข้ามาสมทบเพื่อทำการช่วยเหลือพร้อมด้วยกำลังทหารนาวิกโยธิน ซึ่งเคลื่อนเข้ามาตั้งมั่นอยู่บนฝั่งไทย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายข้าศึกได้ส่งเรือเข้ามายิงกดดันต่อเป้าหมายบริเวณดอนแตง รวมทั้งได้ใช้ "รถถัง" ยิงอาวุธข้ามมาจากฝั่งลาวอย่างรุนแรง เพื่อที่จะขัดขวางการช่วยเหลือทำลายเรือ 123 ให้พินาศ ปฏิบัติการของเรือ 125 และเรือ 128 จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะบริเวณดอนแตงกลายเป็นเป้าหมายที่ทหารลาวยิงถล่มเข้าใส่ราวกับห่าฝน ฝ่ายเราจึงช่วยเหลือได้เฉพาะพลประจำเรือ 123 ซึ่งได้รับบาดเจ็บออกมาจากเรือเท่านั้น โดยเรือ 128 ทำการยิงคุ้มกันและให้เรือ 125 แล่นเข้าไปใกล้ดอนแตง เพื่อให้ผู้บาดเจ็บที่ยังสามารถช่วยตัวเองได้สละเรือ 123 ออกมาขึ้นเรือ 125 *ส่วนศพของพันจ่าตรีปรัศน์จำเป็นต้องทิ้งไว้บนเรือก่อน มิเช่นนั้นจะเกิดความสูญเสียเพิ่มมากขึ้นไปอีก* หลังถอนตัวออกมาได้แล้ว หน่วย นปข. ได้รายงานมายังศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือในพระราชวังเดิมแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้กำลังพลประจำเรือพีบีอาร์ หมายเลข 123 เสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 1 นาย ส่วนเรือพีบีอาร์ หมายเลข 128 ซึ่งเข้าไปช่วยมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 นาย ไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ภารกิจของทหารเรือไทยยังไม่สิ้นสุดลงเพียงแค่นั้น เพราะพลเรือเอก "สงัด ชลออยู่" ผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บัญชาการทหารสูงสุด สั่งการอย่างเด็ดขาดว่า "ให้นำศพผู้เสียชีวิตกลับออกมาจากเรือให้ได้" รุ่งเช้าของวันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน กองทัพเรือได้ส่งชุดปฏิบัติการนาวิกโยธินข้ามไปยังดอนแตง เพื่อปฏิบัติการกู้ศพผู้เสียชีวิตออกมาจากเรือ พร้อมทั้งร้องขอการสนับสนุนเครื่องบินใบพัดแบบ ที-28 ของกองทัพอากาศ จำนวน 2 เครื่อง ทำหน้าที่คุ้มกันเหนือบริเวณเป้าหมาย *เมื่อฝ่ายลาวเห็นทหารเรือไทยข้ามไปยังดอนแตง การโจมตีขัดขวางก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง* เรือตรวจการณ์ลำน้ำฝ่ายลาวได้แล่นรุกล้ำเข้ามายังดอนแตง ซึ่งเป็นเขตไทยและใช้ปืนเรือยิงสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของทหารนาวิกโยธินซึ่งพยายามรุกคืบไปยังเรือ 123 เครื่องบิน ที-28 ของกองทัพอากาศจึงทำการโจมตีตอบโต้ โดยใช้ปืนกลอากาศยิงข่มเพื่อกดดันให้เรือของฝ่ายลาวถอยกลับไปและออกห่างจากบริเวณที่เรือ 123 ของฝ่ายไทยเกยตื้นอยู่ ถึงแม้เรือของฝ่ายลาวจะแล่นกลับไปโดยไม่สามารถส่งทหารเข้ามาขึ้นฝั่งที่ดอนแตงได้ แต่เครื่องบินของฝ่ายไทยก็ถูกยิงตอบโต้ด้วยปืนต่อสู้อากาศยานเช่นกัน และบริเวณดอนแตงในตำแหน่งที่เรือเกยตื้นก็เป็นจุดที่ฝ่ายลาวระดมยิงอาวุธหนักเข้าใส่เพื่อกดดันไม่ให้นาวิกโยธินของไทยเข้าประชิดเรือได้ เรือพีบีอาร์ ลำล่าสุดที่กรมอู่ทหารเรือสร้างเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2549 ในที่สุด ผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ของฝ่ายไทยจึงต้องสั่งถอนกำลังกลับโดยที่ไม่สามารถนำศพพันจ่าตรีปรัศน์ออกมาจากเรือได้ เหตุการณ์จึงทวีความตึงเครียดมากขึ้นไปอีก เมื่อถึงตอนนั้น *พลเรือเอกสงัด ชลออยู่* ผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงได้สั่งการอีกครั้งและกลายเป็นประโยคประวัติศาสตร์สำหรับทหารเรือไทยมาจนทุกวันนี้ว่า *"ถ้าไม่ได้ศพคืนก็ต้องเพิ่มศพเข้าไป"* ถ้อยคำนี้แสดงถึงความเข้มแข็งเฉียบขาดของผู้นำกองทัพของไทยในยุคนั้น และทำให้ทุกหน่วยที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีขวัญและกำลังใจเต็มเปี่ยม มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติภารกิจที่พวกเขามอบหมายให้สำเร็จลุล่วงให้จงได้ ในคืนวันนั้นเอง ปฏิบัติการกู้เรือและชิงศพก็เริ่มขึ้นเป็นครั้งที่สองโดยในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา 15 นาที นักทำลายใต้น้ำจู่โจมหรือ "มนุษย์กบ" จากเกาะพระของกองทัพเรือซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหน่วยรบพิเศษที่มีขีดความสามารถมากที่สุด สามารถปฏิบัติการได้ทั้งสามมิติก็บินไปถึงจังหวัดหนองคายและถูกส่งเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ ผู้นำทีมมนุษย์กบในขณะนั้นคือเรือเอก "อนุวัฒน์ บุญธรรม" พร้อมด้วยมนุษย์กบอีก 5 นาย ได้แทรกซึมข้ามลำน้ำเข้าไปยังพื้นที่อันตรายโดยอาศัยจังหวะที่มีเมฆบดบังดวงจันทร์ ทำให้ดอนแตงตกอยู่ในความมืดสลัว ทีมมนุษย์กบของไทยเคลื่อนตัวจากบ้านท่ามะเฟือง อำเภอท่าบ่อมุ่งสู่ดอนแตง บริเวณที่เรือ พีบีอาร์ 123 เกยตื้นอยู่ ห่างจากฝั่งไทยประมาณ 2 กิโลเมตร มันเป็นการเคลื่อนที่อย่างเงียบเชียบและระมัดระวัง โดยที่ทหารลาวซึ่งคุมเชิงอยู่ไม่มีโอกาสสังเกตเห็นเลย ประมาณครึ่งชั่วโมงต่อมา ทีมมนุษย์กบซึ่งออกจากฝั่งไทยพร้อมด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญก็ไปถึงที่หมายและลงมือทำงานทันที จนกระทั่งเวลาตีหนึ่ง ปฏิบัติการจึงสำเร็จเรียบร้อย ฝ่ายเราสามารถนำศพของพันจ่าตรีปรัศน์ พงษ์สุวรรณ กลับมาได้ ไม่เพียงแต่จะกู้ศพกลับมาเท่านั้น ทีมมนุษย์กบของกองทัพเรือยังได้ถอดปืนเรือและเครื่องมือสื่อสารตลอดจนอุปกรณ์สำคัญทุกชิ้นจากเรือและนำกลับมายังฝั่งไทย ก่อนที่จะ "วางระเบิด" ไว้ที่จุดสำคัญของเรือต่อสายชนวนลากกลับมาด้วย อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้วเมื่อเห็นฝ่ายไทยระดมกำลังจังก้าเรียงรายกันริมฝั่งแม่น้ำโขงหันปากกระบอกเข้าสู่ฝั่งลาว ทหารลาวที่คุมเชิงอยู่บริเวณดอนแตงจึงถอนตัวกลับออกไป เปิดโอกาสให้ฝ่ายไทยเข้ากู้เรือและลากเรือ 123 กลับคืนมาได้ในวันต่อมาโดยไม่มีการปะทะเกิดขึ้นอีก สองวันหลังเกิดเหตุ เป็นวันที่ 20 พฤศจิกายน ตรงกับวันกองทัพเรือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เดินทางไปเยี่ยมกำลังพลที่ได้รับบาดเจ็บ พร้อมกับกล่าวชมเชยความสำเร็จของทีมช่วยเหลือและกู้เรือ นับเป็นความสำเร็จที่ไม่ต่างอะไรกับการมอบของขวัญอันล้ำค่าให้กับทหารเรือไทยเนื่องในวันกองทัพเรือ จากวันนั้นถึงวันนี้ "วีรกรรมที่ดอนแตง" ได้กลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำและรำลึกถึงวีรกรรมของทหารเรือไทยและหน่วย นปข. แม้วันเวลาได้ผ่านล่วงเลยมา 31 ปีแล้ว และ นปข.ก็เปลี่ยนนามเรียกขานเป็น *หน่วยรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง* (นรข.) แล้วก็ตาม แต่เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ (รตล.) หรือเรือพีบีอาร์ (PBR ชื่อเต็ม RIVER PATORL BOAT) ก็ยังคงปฏิบัติภารกิจที่สำคัญมาอย่างต่อเนื่อง และอยู่คู่กับความสงบเรียบร้อยของลำน้ำโขงมาจนถึงปัจจุบัน


โดยคุณ champ thai army เมื่อวันที่ 06/09/2010 02:21:10


ความคิดเห็นที่ 9


....เป็นดอนแตงแน่นอนคับ ผมจำได้ เพราะตอนนั้นเรื่องนี้ดังมาก หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวใหญ่ทุกวัน....

....กองกำลังที่ไปลากเรือกลับมาได้ น่าจะเป็นนักทำลายใต้น้ำของกองทัพเรือคับ ไม่ใช่นาวิก เพราะลาวถ้าใครไม่เคยรบด้วยไม่รู้หรอกคับว่าเค้ายิงได้สะแด่วแห้วขนาดไหน....

....ขนาดว่าทหารกูรข่าที่ไปรับจ้างรบในสงครามลาว ว่าเจ๋งสุดสุดแล้วยังข่าไม่ออกอ่ะคับ โกยก้นเตี้ยเหมือนกันอ่ะ......

....สู้ตายคาปืนอ่ะคับ สำหรับทหารลาว กระสุนไม่หมด ปืนไม่แตก ไม่มียอมหยุดง่าย ๆ อ่ะ.....

....ใครที่สบประมาทใครว่ารบแพ้ลาวมั่ง วิ่งหนีลาวมั่ง แสดงว่าไม่เคยเจอของจริงคับ รบกะลาวเอาแค่หนีกลับบ้านได้ครบ 32 ก้อถือว่าเก่งสุดแล้ว......

โดยคุณ X-1 เมื่อวันที่ 11/09/2010 09:16:29