ตามที่มีข่าวเรื่องรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะเกิดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งจะเป็นการร่วมลงทุนของรัฐบาลจีนกับรัฐบาลไทย ตามข่าวที่ออกมาคือจะเป็นการทำใหม่ทั้งระบบ เส้นทางคือสายหนองคาย-กรุงเทพฯและกรุงเทพฯ-สุไหงโกลก(ยังขาดสายเหนือ) ผมว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ เพราะมันอาจจะเป็นการพลิกโฉมการรถไฟแห่งประเทศไทย และที่สำคัญตอนนี้เส้นทางของธุรกิจทุกสายมุ่งสู่เมืองจีน ที่สำคัญข่าวล่าสุดที่ได้ยินมาคือ ผลการจัดอันดับประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในโลก อันดับ 1 คือประเทศจีน (ไทยอยู่อันดับ 11 แซงหน้ามาเลเซีย) กลับมาต่อเรื่องรถไฟ ความเห็นส่วนตัวผมอยากให้เป็นรถไฟรางคู่มากกว่าครับ ทำความเร็วได้ 120-150 ก.ม./ช.ม.ก็พอแล้ว แต่ก็ไม่ได้คัดค้านเรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่ถ้าเกิดขึ้นจริงๆ ผมอยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจตัดสินใจกับเรื่องนี้ด้วยครับว่า ให้ดูถึงสิ่งที่ตามและเป็นผลประโยชน์กับประเทศไทยโดยตรง และถ้าเป็นการต่อยอดเรื่องเทคโนโลยีองค์ความรู้แล้วจะดีอย่างยิ่ง เช่นมีการร่วมลงทุนการสร้างโรงงานผลิตอะไหล่รถไฟฟ้าขึ้นในประเทศไทย ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้ไทย มีความรู้เรื่องนี้มากขึ้น นอกเหนือจากการสร้างงานในไทยแล้ว เอาแค่โรงงานผลิตอะไหล่หรือตัวถังก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับตอนนี้ แต่ถ้าศักยภาพของไทยเพียงพอ อาจจะสร้างเป็นโรงงานประกอบครบวงจรเลยก็ได้ (เหมือนโรงงานToyotaในไทย) ถ้าทำได้แบบนี้ส่วนตัวผมมองว่าจะดีมาก เปรียบไปถึงโครงการจรวดเพื่อความมั่นคงที่ ทาง ทบ.กำลังวิจัยร่วมกับทางจีนอยู่ในขณะนี้ และมันน่าจะต่อยอดไปถึงเรื่องอื่นๆต่อไปอีกในอนาคต เช่นถ้ามีการจัดซื้ออาวุธ ประเภทที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมากนัก อาจจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ถ้าเราซื้อมาแล้วต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เราด้วย อาจจะออกมาในรูปการสร้างโรงงานผลิต/ประกอบในไทย และนำอาวุธเหล่านี้ออกไปขายในประเทศอื่นๆด้วย
ผมมองว่าคนเอเชียกับเอเชียด้วยกัน น่าจะคุยกันรู้เรื่องมากกว่าคนตะวันตก อย่าลืมนะครับยิ่งตอนนี้ตลาดแรงงานในจีนเปิดกว้างมากขึ้น เราจะเห็นฝรั่งตาน้ำข้าวหรือไม่ก็พวกผิวสีไปสมัครงานที่เมืองจีนมากขึ้นครับใครจะไปนึกว่า คนพวกนี้จะต้องมาเป็นลูกจ้างคนเอเชียผิวเหลือง ภาครัฐควรจะเริ่มทำในเรื่องการร่วมลงทุนกับทางจีนในภาคอุตสาหกรรม โดยใช้เมืองไทยเป็นฐานการผลิต จะได้เป็นการพัฒนาและต่อยอดความรู้ให้กับคนไทยด้วยครับ ในอนาคตเราจะได้พึ่งพาตนเองมากขึ้น สามารถยืนบนขาของตัวโดยมั่นคง ดีกว่าจะต้องไปยืมจมูกคนต่างชาติมาช่วยหายใจเหมือนในหลายๆเรื่องที่ผ่านมาครับ
ทำไม่กลัว กลัวเรื่องนี้เป็นแค่ข่าว
สมัยรัฐบาลท่านสุรยุทธ์ มีกลุ่มทุนเยอรมนี เสนอวางแผนดำเนินการเรื่องรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ - เชียงใหม่ มาครั้งหนึ่งแล้ว
บ้านเราผู้รู้เค้าบอกว่า กฏหมายเรื่องรถไฟ ยังคงถือกฏหมายล้อเลื่อนและรถไฟดั่งเดิมอยู่ หมายถึงนอกจากรัฐแล้วไม่อนุญาตให้เอกชนคนทั่วไปมีรถไฟได้ แม้ที่ผ่านมาจะมีสัมปทาน แต่การสัมปทานรถไฟ ได้ยกเลิกไปหมดแล้ว ทางการคงต้องไปแก้กฏหมายฉบับนั้นก่อน...แล้วจะแก้ได้หรือ...ถ้าสหภาพเค้าไม่ยอมแก้ไข เพราะอาจจะมีไปแก้ไขเรื่องอื่นๆ พ่วงด้วย.....มันคงเป็นแค่ฝันครับ...เสียดาย.....
:: พ.ร.บ. จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ. 2464 มาตราที่ 140-145
:: ส่วนที่ 7 ว่าด้วยรถไฟหัตถกรรม มาตรา 140 รถไฟหัตถกรรมนั้นคือรถไฟที่ห้างหรือบริษัทซึ่งประกอบหัตถกรรม หรือพาณิชย์กรรมได้สร้างขึ้นไว้ใช้เฉพาะแต่รับส่งคนงานและบรรทุกสิ่งของที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น กับสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้สำหรับกิจการนั้นๆ
ห้ามมิให้เรียกหรือรับค่าโดยสารหรือค่าระวางบรรทุกสินค้าแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เป็นอันขาด
มาตรา 141 รถไฟหัตถกรรมนั้นมี 2 อย่างคือ
(1) รถไฟหัตถกรรมที่เดินเฉพาะแต่ภายในบริเวณที่ดินอันเป็นที่ประกอบการของ ห้างหรือบริษัทเท่านั้นอย่างหนึ่ง และ
(2) รถไฟหัตถกรรมที่เดินอยู่ทั้งภายในและภายนอกบริเวณที่ดินอันเป็นที่ประกอบการ ของห้างหรือบริษัทนั้นอีกอย่างหนึ่ง
มาตรา 142 ห้ามมิให้เปลี่ยนประเภทรถไฟหัตถกรรมมาเป็นรถไฟผู้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตก่อนและทั้งได้รับอนุญาตตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 143 รถไฟหัตถกรรมที่เดินเฉพาะแต่ในบริเวณที่ดินอันเป็นที่ประกอบการ ของห้างหรือบริษัทนั้น จะสร้างขึ้นได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าพนักงาน ผู้ปกครองท้องที่ แต่ห้ามมิให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองนั้นออกใบอนุญาตให้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติ ของกรมรถไฟแผ่นดินก่อน
ในการนี้ ให้ห้างหรือบริษัทนั้นยื่นแผนที่แสดงเขตแผนผังและงบประมาณ สำหรับรถไฟที่คิดจะสร้างขึ้นนั้นไว้ ณ ที่ว่าการของเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่พร้อมทั้งสำเนาอีกสำรับหนึ่ง เพื่อนำเสนอต่อสภากรรมการรถไฟด้วย
ถ้าในเวลาใดเวลาหนึ่ง ห้างหรือบริษัทนั้นมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงทางให้ ผิดไปจากที่วางไว้เดิม ให้แจ้งความประสงค์ที่จะเปลี่ยนนี้แก่เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ให้ทราบก่อน ต่อเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะจัดทำการนั้นต่อไปได้
มาตรา 144 บทบัญญัติในกฎหมายนี้ที่ว่าด้วยรถไฟผู้รับอนุญาตให้พึงอนุโลม ใช้บังคับแก่รถไฟหัตถกรรมที่เดินทั้งภายในและภายนอกบริเวณที่ดินอันเป็นที่ประกอบการของห้าง หรือบริษัทนั้นได้ ตามสมควรแก่บทนั้น ๆ
แต่ว่ารถไฟหัตถกรรมที่เดินทั้งภายในและภายนอกบริเวณที่ดินอันเป็นที่ประกอบการ ของห้างหรือบริษัทนั้น ถ้าหากใช้ลากเข็นด้วยแรงคนหรือแรงสัตว์และเดินบนทางชั่วคราวเพื่อ กิจการชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินสองปี และมิได้มีการบังคับซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น ไซร้ ท่านให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้อันว่าด้วยรถไฟหัตถกรรมที่เดินเฉพาะภายใน บริเวณที่ดินอันเป็นที่ประกอบการของห้างหรือบริษัทนั้นเป็นบทบังคับ คำร้องขออนุญาตสร้างและ เดินรถไฟชนิดนี้ และคำร้องขออนุญาตใช้ที่หลวงชั่วคราวเพื่อประโยชน์แห่งการนั้น ท่านให้ยื่นต่อ สมุหเทศาภิบาลเพื่อให้แสดงความเห็นแล้วส่งต่อไปยังสภากรรมการรถไฟ สภากรรมการรถไฟมี อำนาจที่จะสั่งอนุญาตตามคำร้องโดยกำหนดให้เสียค่าเช่าในการใช้ที่หลวงชั่วคราว และกำหนด เงื่อนไขเพื่อรักษาประโยชน์ของบุคคลภายนอก และความปลอดภัยแห่งประชาชนตามแต่จะเห็นควร การให้อนุญาตนั้น ท่านว่าจะให้ได้ต่อเมื่อสมุหเทศาภิบาลได้แสดงความเห็นว่าควรให้อนุญาต เท่านั้น
ถ้าสภากรรมการรถไฟสั่งยกคำร้องเสีย เพราะเหตุรถไฟนั้นมิได้อยู่ในความหมาย ของวรรค 2 แห่งมาตรานี้ไซร้ ท่านว่าการที่สั่งยกคำร้องเสียนั้นไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ร้องในอันที่ จะดำเนินการตามความในวรรค 1
[ มาตรา 144 วรรค 2 และวรรค 3 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟ และทางหลวงแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 (ฉบับที่ 2)] มาตรา 145 ถ้าห้างหรือบริษัทใดที่ได้รับอนุญาตให้สร้างและใช้รถไฟหัตถกรรม บังอาจรับส่งคนโดยสารหรือรับบรรทุกสินค้าของผู้อื่นโดยคิดเอาค่าโดยสาร และค่าระวางบรรทุก ก็ดี หรือไม่ปฏิบัติการตามความในหนังสืออนุญาตข้อใดข้อหนึ่งก็ดี ท่านว่าห้างหรือบริษัทนั้น มีความผิดต้องระวางโทษให้ปรับเป็นพินัยไม่เกินกว่า 1000 บาท ทุก ๆ คราวที่กระทำผิดนั้น
บ้านเรายังถือ พ.ร.บ.วางรางรถไฟ พ.ศ. 2464 และพ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494
อันนี้เป็นข่าวเก่าๆ เกี่ยวกับความพยายามยกเลิกกฏหมาย
แนะคมนาคมแก้ไขกฎหมายรถไฟเพื่อปฏิรูป | ![]() |
Thursday, 03 December 2009 05:53 | |
คอลัมน์: เกาะติดสถานการณ์: แนะคมนาคมแก้ไขกฎหมายรถไฟเพื่อปฏิรูป นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 ธ.ค. คณะกรรมาธิการคมนาคม (กมธ.) ได้พบปะหารือกับนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมพร้อมเสนอแนะให้แก้ไขกฎหมายเพื่อปฏิรูปการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) โดยให้กระทรวงคมนาคมคำนึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิพ.ร.บ.วางรางรถไฟ พ.ศ. 2464 และพ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 รวมถึงแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุนและดำเนินการโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคม--จบ-- ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ |
| ||
![]() | ||
โดย เดลินิวส์ วัน ศุกร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 08:53 น. |
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงฯเตรียมแก้ไขกฎหมายของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยให้ รฟท.ยกเลิกการผูกขาดการเดินรถและให้เอกชนมีสิทธิเข้ามาแข่งขันการเดินรถกับ รฟท. เพื่อให้ รฟท. มีรายได้มากขึ้น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ รฟท.จัด ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารจัดการ นอกจากนี้จะแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมด้วยว่ากรณีที่รัฐให้ รฟท. บริการเชิงสังคมรัฐต้องชดเชยผลขาดทุนให้กับ รฟท. เพราะปัจจุบันไม่มีการแยกการให้บริการเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมทำให้รถไฟต้องประสบปัญหาการขาดทุนมาโดยตลอด คาดว่าการแก้ไขรายละเอียดกฎหมายจะเสนอ รมช.คมนาคมพิจารณาสัปดาห์หน้า
ได้เร่งทำรายละเอียดร่างกฎหมายที่ต้องปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะการยกเลิกการผูกขาดการเดินรถของ รฟท. เพื่อให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการเดินรถ ซึ่ง รฟท.จะมีรายได้จากการจัดเก็บค่าสัมปทาน.
|
ผมคิดว่าโครงการนี้จะล้ม
เพราะเดี๋ยวจะมีว่าที่นักการเมืองล้มโครงการ
ว่าที่นักการเมืองคนนี้เกลียดจีนครับ
ขำๆๆ
เเล้วลงทุนกับจีนมันจะเข้าข่ายขายชาติใหม่ ?-_-"
ผมกลัวอยู่อย่างเดียวคือเป็นได้แค่ข่าวแล้วก็หายไปตามสายลม
เพราะอะไรนะเหรอขนาดรถไฟรางคู่ว่าจะทำมาหลายรัฐบาล
แล้วแต่ก็ไม่เห็นทำสักทีส่วนรถไฟความเร็วสูงลืมไปได้เลยว่าจะมี
เอาแค่รถไฟรางคู่ให้ได้เกิดก่อนเถอะทุกวันนี้เวลาเดินทางโดยรถไฟ
เสียอารมณ์ทุกทีถ้าขึ้นจากอยุธยามาเด่นชัยรถไฟจะเสียเวลาทุกรอบ
หน้าตั่วบอกว่ารถไฟมาเวลา21.45แต่ขึ้นจริง22.45หรือช้าสุดกู๋23.15
ส่วนเวลาถึง6.00-7.00น.ไปถึงบ้านก็เคราพธงชาติตอน8โมงทุกรอบ
ทั้งๆๆทีหน้าตั๋วบอกเวลาถึงตี5กว่าๆๆๆบอกได้คำเดียวว่าเซ็งขึ้นรถเร็ว
กับรถธรรมดาพอกันยิ่งรถธรรมดายิ่งแล้วใหญ่หวานเย็นเชียวยิ่งหน้า
เทศกาลยิ่งไม่อยากขึ้นคนแน่นยังกับปลากระป๋องเคยรถไฟสายอีสานปะ
แทบจะไม่มีแม้แต่ที่จะยืนด้วยซ้ำรถไฟบ้านเราน่าจะมีก่อนชาติอื่น
ด้วยซ้ำแต่งัยกลับล้าหลังกว่าชาวบ้านก็ไม่รู้แหะ
ทุกอย่าที่ดีๆแล้วถูกล้ม
ดูที่ไหนไม่ได้ต้องดูที่การเมืองและนักการเมือง
โดยรวมเห็นด้วยครับ
ลองดูระบบขนส่งมวลชนในยุโรปสิครับ
ถ้าเป็นในประเทศไทยผมคิดว่าในเมืองใหญ่อำเภอละ1สถานี(ที่1สถานีเพราะถ้าหลายสถานีจะทำให้วิถีรถเมล์หรือ2แถวเปลี่ยนเล็กน้อย)
เชื่อมต่อสถานีระดับจังหวัด
เชื่อมสถานีระหว่าภูมิภาคนี่หละครับรถความเร็วสูง
ส่วนสถานีขนสินค้าให้แยกกัน
สำหรับรถไฟโดยสารให้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ถ้ากลัวไฟฟ้าไม่พอ
ที่ดินการรถไฟมีเยอะมากก็ลองทำเป็นฟาร์มโซลาเซลหรือกังหันลมดูสิครับ
ท่านท้าว บอกว่า ต้องแก้กฎหมาย ก็แก้เลยครับ
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชีย ที่มีรถไฟใช้
เป็นระบบโลจิสติก ที่มีคุณประโยชน์มหาศาลกับประชาชนที่ยากจนมาก
แต่พัฒนาการของรถไฟไทยช้าเป็นอันดับท้ายๆของเอเชีย....
กับจีนหรือกับใคร ก็แล้วแต่....
ถ้าอยากให้เกิดขึ้นจริง....เอาไอ้คนขวางโลกออกไป รถไฟไทยก็เจริญนานแล้วครับ
(ความคิดเห็นส่วนตัวเด้อ)ซิบอกไห่......