หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ความเป็นไปได้ของเรือฟริเกต ชุดใหม่ของราชนาวีไทย

โดยคุณ : น่าคิด เมื่อวันที่ : 21/09/2010 21:34:51

Knox class frigate (http://en.wikipedia.org/wiki/Knox_class_frigate)  2 ลำ

เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (FFG 461) และ เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย (FFG 462)

อายุ 40 ปีแล้ว ซึ่งก็นับเยอะทีเดียว

และอีกไม่นานคงจะปลดประจำการ (คิดว่าในช่วง 5 - 10 ปี) ในขณะที่โครงการในการจัดหาเรือฟริเกต ก็ยังไม่ชัดเจนมากนัก ว่าจะเป็นแบบใด รุ่นไหน โดยส่วนตัวเชื่อว่าเรื่องเรือดำน้ำยังเป็นเรื่องที่ยังมองไม่เห็นทางในการจะจัดหาเข้าประจำการ

ประกอบกับ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประเทศไทยอยู่ในสภาพอย่างที่ทุกคนเห็น กะไอ้แค่เครื่องยนต์ ก็ยังโดนตั้งแง่ไม่ขายให้

แล้วการพัฒนศักยภาพทางทะเลของราชนาวีไทย จะเป็นอย่างไรต่อไป เมื่อคิดว่าอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า เราอาจจะต้องจัดหาเรือฟริเกตรุ่นใหม่เข้ามาทดแทนเรือเก่า

สมาชิกคิดว่าควรเป็นเรือรุ่นใด และควรมีประจำการกี่ลำ





ความคิดเห็นที่ 1


เรือดำน้ำ4หมื่นล้านประมาณ 1300 mus$ ซื้อ u212 หรือ scorpeneได้ 2 ลำ ที่มี sub exocet หรือ sub harpoon ไปเลย เพราะทำ network warfare ได้ เช่น erie eyes ตรวจจับกองเรือข้าศึกได้ที่ 300 km.แล้ว ให้ scorpene เข้าไปปล่อย  sub exocet ที่ระยะ 100 km.ซัก 6 ลูกแล้วดำหนีฝ่ายข้าศึกคงหากไม่ถูกว่ายิงมาจากไหนแต่หากใช้ kilo ต้อง โผล่เสาร์เรดาห์ขึ้นมาตรวจจับแล้ว จึงจะยิงได้ ซึ่งเรดาห์เรือดำน้ำ ตรวจจับได้ใกล่มากประมาณ 20 km. โอกาสถูกตรวจพบมีมากครับ

ส่วนเรือป้องกันภัยทางอากาศ 2 ลำ 650 mus$ นั้น หากจะซื้อระบบที่มี missile ระยะยิง 100 km.ขึ้นไป อย่าง smII หรือ aster 30  ขนาดใหญ่ๆ อย่าง kongo ,arleigh burke,ddxIII ,type 45 เป็นไปไม่ได้เพราะราคา 1000mus$ ขึ้นไป

ถ้าจะไหวก็ class dazeven,f100,nansen,sachen ที่ติด sm 2 พอเป็นไปได้ แต่ได้แค่ลำเดียวราคา ประมาณ 600 mus$ ต่อลำ

ส่วนราคาลำละ 300 mus$  ได้แค่ formidable ติด aster15 ระยะยิง 30 km หรือ meko ติด essm ระยะยิง 60 km.

สำหรับ perry มือสองนั้น แท่นยิง แบบ revolverยิงได้แต่ smI(ไม่แน่ใจว่าหมดอายุแล้วหรือยัง) ระยะพอๆกับ essm  ยิงได้ครั้งละ1นัด เจอภัยคุกคามประเภท  antiship มาจากเรือใต้น้ำระยะ 20 km. ทีเดียว 6 นัดก็น่าจะเสียหายบ้างแถมเรือเหลืออายุใช้งานอีก10 -15 ปี แบบเรือยุค 70  rcs ใหญ่มาก aew จับได้แต่ไกล ค่าบำรุงรักษาก็สูงอีกด้วยต่อใหม่น่าจะคุ้มกว่าครั้บ

ผมมองแบบเดียวกับคุณน่าคิดว่า อ่าวไทยและทะเลอันดามัน คลืน 2-3 เมตร เรือขนาด1000 ตัน ขนาดเดียวกับเรือรัตนโกสินทร์ ปฏิบัติการได้สบาย ผมมองไปที่ชั้น benunah ของ uae จัดlay out ได้ครบมากในขนาด 1000 ตัน ราคาตกลำละ 130 mus$ ถ้าเราซื้อแบบมาต่อเองในประเทศหรือออกแบบใหม่ให้ใกล้เคียงน่าจะไม่เกิน 100 mus$ เรือชั้นนี้ ติด super rapid,8 exocet blockIII ระยะยิง 180km,32 essm,1ram 21 sidewinder ,hangar สำหรับฮ. 5 ตัน ขนาด super lynx หรือ wildcat เราเอามาปรับแบบนิดหน่อยหรือขยายขนาดแล้วติดแท่นตอร์ปิโดเข้าไปก็จะครบ 3 มิติเลยครับ

งป. 2 หมื่นล้าน ระหว่าง da zeven 1 ลำ หรือ formidable 2 ลำ กับ benunah 5-6 ลำ อย่างหลังน่ากลัวกว่าเยอะครับ

http://www.naval-technology.com/projects/baynunah/


โดยคุณ nars เมื่อวันที่ 15/09/2010 09:23:51


ความคิดเห็นที่ 2


ใช้เรือเล็กติดอาวุธปล่อยก็น่จะดีนะครับ มีหลายลำกระจายความเสี่ยงเวลาโดนโจมตี เพิ่มความสามารถในการโจมตีเพราะมีเยอะ เเละที่สำคัญของเราตั้งรับคงไปไม่ไกล

โดยคุณ GTX เมื่อวันที่ 15/09/2010 10:54:06


ความคิดเห็นที่ 3


ดูจากการพัฒนาในด้านการพึ่งพาตนเองของ กองทัพเรือแล้ว ผมเชื่อในใจว่า อีก5-7ปีข้างหน้า เราอาจได้เห็น ฟริเกต ที่เราออกแบบเองและต่อเองในประเทศครับ

โดยคุณ Acid เมื่อวันที่ 12/09/2010 01:06:59


ความคิดเห็นที่ 4


    กองทัพเรือต่อเองเลย จัดไปซัก 4 ลำ ขอร้องนะขอร้อง อย่าไปซื้อเลยต่อเองเหอะ ต่อเรือเองได้ต่างชาติกลัวกว่าที่เราไปซื้อมาอีกนะ  เพราะสำหรับผม ชาติไหนที่ผลิตอาวุธได้ ถึงคุณภาพจะไม่ได้ดีเลิศที่สุด แต่ทำเองได้ผมว่าชาตินั้นน่ากลัวครับ ตามความรู้สึก

โดยคุณ kit_thaifighterclub เมื่อวันที่ 12/09/2010 04:17:52


ความคิดเห็นที่ 5


การต่อเรือเองโดยกองทัพเรือดำเนินการเองนั้นผมว่าม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยเทคโนโลยีของ เรือฟริเกต ไม่เหมือนกับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV) ที่ใช้มาตรฐานเรือพาณิชย์ อีกทั้งภาระของอู่มหิดลนั้นยังต้องดำเนินการซ่อมบำรุงเรือรบที่ประจำการอยู่ แต่ใช่ว่าการต่อในประเทศจะเป้นไปไม่ได้ หากจะทำกันจริงๆ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการให้อู่ภายในประเทศร่วมมือกับบริษัทต่างชาติที่มีแบบเรือและประสปการณ์ในการต่อเรือฟริเกตเข้าเสนอแบบและประกวดราคา โดยมีสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการต่อเรือประเภทนี้ ส่วนเรืองการติดอาวุธนั้น ทางกองทัพเรือมีประสปการณ์อยู่แล้วจึงไม่น่ามีปัญหาอะไร ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่ว่าจะดำเนินการเรื่องงบประมาณอย่างไรเท่านั้นถึงจะมีงบในการดำเนินการครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 12/09/2010 04:54:19


ความคิดเห็นที่ 6


อยากให้ต่อเอง เหมือนกันครับ เพราะ จะได้ฝึกประสบการ และนำข้อ ผิดพลาด มา พัฒนา อย่างน้อง เพิ่งพาตนเอง ก็ทำให้ ประเทศชาติ ดู พัฒนา คนก็มี ประสิทธิภาพ จะได้ไม่ต้องอาศัยแต่ต่างชาติทั้งหมด 

แต่ ต่อในไทยนี่ งบประมาณจะถูกกว่าซื้อ จาก ต่างชาติมั้ยอ่ะครับ อันนี้ผมไม่ ทราบ เรียนถามผู้รู้ ชี้แจง ^_^  

โดยคุณ noharajoker เมื่อวันที่ 12/09/2010 06:36:56


ความคิดเห็นที่ 7


คุณ noharajoker

การต่อเองในประเทศผมกล้าพูดได้เต็มๆคำว่าแพงกว่าต่อจาก จีน

แต่สิ่งที่ได้คือประสบการณ์ที่ถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้สู่คนรุ่นต่อไปได้

ที่ผมว่าแพงกว่าเพราะ

1. ค่าแรงถูกกว่า

2. เครื่องมือบางอย่าง ทางกองทัพมีไม่พร้อม

3. ประสบการณ์ในการต่อเรือของกรมอู่ทหารเรือ ต้องยอมรับว่ามีไม่มากเท่าไหร่ แต่ถ้าเรื่องซ่อมเรือล่ะก็ อเมริกายังยอมเลย (ความพร้อมของเครื่องไม้ เครื่องมือ เราไม่ทันสมัยเท่าเค้าแต่เราทำได้ เทียบเท่าเค้า เลยเกิดอาการ งง เล็กน้อย)

ส่วนเรื่องเรือฟริเกตที่จะมาทดแทนเรือเก่าที่จะปลดประจำการ ผมยังมองไปที่แบบ F25T (เรือชั้นนเรศวร นั่นเอง) ด้วยขนาดที่มีระวางขับน้ำเต็มที่ เกือบ 3000 ตัน ปรับปรุงแก้ไขแบบให้ทันสมัยอีกหน่อย ใช้อาวุธค่ายตะวันตก ทำให้เรือมีขึดความสามารถในการรบ 3 มิติ แล้วต่อสัก 5 ลำ (แทน ร.ล.มกุฏราชกุมาร , ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ 2 ลำ , ร.ล.ตาปี 2 ลำ)

เท่านี้ท้องทะเลไทย จะเป็นที่หวาดหวั่นของหลายๆชาติเลยทีเดียว ถึงจะมีเรือดำน้ำก็เถอะ

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 12/09/2010 07:30:58


ความคิดเห็นที่ 8


ส่วนเรื่องเรือฟริเกตที่จะมาทดแทนเรือเก่าที่จะปลดประจำการ ผมยังมองไปที่แบบ F25T (เรือชั้นนเรศวร นั่นเอง) ด้วยขนาดที่มีระวางขับน้ำเต็มที่ เกือบ 3000 ตัน ปรับปรุงแก้ไขแบบให้ทันสมัยอีกหน่อย ใช้อาวุธค่ายตะวันตก ทำให้เรือมีขึดความสามารถในการรบ 3 มิติ แล้วต่อสัก 5 ลำ (แทน ร.ล.มกุฏราชกุมาร , ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ 2 ลำ , ร.ล.ตาปี 2 ลำ)

เห็นด้วยอย่างแรงเลยครับ + ฮ ครบทุกลำ ก็สุดยอด

โดยคุณ Tangmo เมื่อวันที่ 12/09/2010 08:30:25


ความคิดเห็นที่ 9


เห็นด้วยกับท่านAcid  ถ้า ทร ทำตามเเนวทางที่ทำอยุ่ในตอนนี้ระยะเวลา5-6ปี น่าจะต่อเองในประเทศได้

 ส่วนเรื่องราคาอาจเเพงกว่าจีนเเต่คุณภาพดีกว่าก็ไม่ต้องกลัวเพราะลูกค้ามีหลายระดับจีนเค้าระดับ ล้าง-กลาง เเต่ก็ยังมีลุกค้าที่ไม่เอาจีน เเต่ที่สำคัญอาจจะเเพงกว่าจีนอยุ่บ้างเเต่ เงินก็หมุนอยู่ในประเทศ เเถ้มพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศอีก

โดยคุณ GTX เมื่อวันที่ 12/09/2010 08:47:08


ความคิดเห็นที่ 10


ผมแค่แน่ใจว่า

เรือชุดพุทธยอดฟ้าฯ ทั้งสองลำของเรา

ยังคงอยู่ในประจำการไปอีกนาน

ส่วนเรือฟริเกตชุดใหม่

เท่าทราบน่าจะเป็นเรือในทวีปเอเชียที่เป็นตัวเต็ง

 

 

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 12/09/2010 10:27:42


ความคิดเห็นที่ 11


แพงว่าจีนนนน มันแลดู โหดร้าย จัง ครับ เหอะๆ

 

ขอบคุณที่ ชี้แจงให้ทราบครับ คุณ น่าคิด

โดยคุณ noharajoker เมื่อวันที่ 12/09/2010 13:41:13


ความคิดเห็นที่ 12


ต่อเรือที่อู่กรุงเทพไงครับ ต่อเรือได้ขนาด 5000 ตัน ส่วนเรื่องราคาน่าจะแพงกว่าอยู่แล้ว แต่ถ้าใช้เหล็กมือสองมาหลอมใหม่(รถยนต์บ้านเราเยอะที่เป็นซาก)สัก 30% ก็ยังดี
โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 12/09/2010 20:41:51


ความคิดเห็นที่ 13


ส่วนตัวชอบฟอร์มิดเดเบิ้ลของสิงคโปร์...แต่ที่ชอบกว่านั้นคือ F25T เป็นที่สุด..ถ้าเป็นไปได้สำหรับตัวเรืออยากให้ร่วมมือกับสปจ.แล้วมาต่อในประเทศ ค่าแรงอาจแพงกว่าต่อที่สปจ.พอสมควร แต่เงินหลายๆ ส่วนจะตกอยู่ในเมืองไทย...ระบบอาวุธต่างๆ รวมเครื่องยนต์ใช้ของตะวันตกล้วนแค่นี้ก็พอใจแล้วครับ

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 12/09/2010 21:45:17


ความคิดเห็นที่ 14


ที่ว่าต่อเรือเองแพงกว่าจีน ถึงเราจะต้องจ่ายมากกว่าแต่เราจะก็ได้เรียนรู้และพัฒนาบางอย่างขึ้นได้เอง อาจเป็นกรณีที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่อเรือพิฆาตAEGISเอง (อาจเป็นเพราะสหรัฐไม่รับต่อให้แต่ราคาที่ระบุออกมาว่าราคาเรือของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้แพงกว่ามากๆ)แต่เรือที่ต่อเองก็มีรูปแบบพื้นฐานมาจากเรือพิฆาตของสหรัฐอเมริกา นำมาปรับแต่ง เพิ่มเติม เท่ากับเรียนรู้และได้รับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเองเหมือนในกรณี F-2A,UH-60แต่ประเทศเราก็ประสบปัญหาด้านความพร้อมอยู่ดี ส่วนตัวชอบเรือรบของอังกฤษ type-23, type-45

โดยคุณ Kestrel เมื่อวันที่ 13/09/2010 04:02:54


ความคิดเห็นที่ 15


ตามที่ คุณอู๊ด บอกว่า ตัวเต็งอยู่ในเอเชีย ส่วนตัวมองไปที่ จีน และ เกาหลีใต้ น่าจะเป็นตัวเต็ง

คราวสมัย เรือปัตตานี นั้นก็ว่าจะดำเนินการต่อในประเทศ มีการประกวดประมูลกัน บริษัทต่างชาติร่วมมือกันกับบริษัทคนไทย ได้ข่าวทีแรกดีใจสุดๆ ได้มีการต่อเรือรบขนาดใหญ่ในเมืองไทยเสียที แต่สุดท้ายไปต่อที่ประเทศจีน ยังเคืองอยู่บัดป่านนี้

ทีนี้หากจะคิดที่จะต่อเรือเองอีก อยากให้คิดใหม่ทำใหม่ ไม่ใช่เอาแต่ราคาต่ำสุดอย่างเดียว

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 13/09/2010 04:18:39


ความคิดเห็นที่ 16


ท่านเจ้าของกระทู้ ฝากเอามาให้ชม 1 คลิบ

http://play.kapook.com/vdo/show-99628

คลิป สุดเจ๋ง ทหารแคนาดา โชว์ถอด ประกอบ รถจิ๊บ ภายใน4นาที

โดยคุณ ocean เมื่อวันที่ 13/09/2010 10:33:22


ความคิดเห็นที่ 17


ผมลองทำงบประมาณของ ทร. ในระยะ 10 ปี ข้างหน้า ( เป็นตัวเลขคร่าว ๆ และมีการเปิดเผยแก่สาธารณะชนทั่วไป)

ผมทำมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตัวเลขย่อมเปลี่ยนแปลงไป

 

Tue 14, Sep 2010 07:57:40

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2010 21:03:46


ความคิดเห็นที่ 18


ระยะปีการผ่อนชำระ เป็นการคาดเดา เท่านั้น

และจากแผ่นภาพข้างต้น ยังไม่รวม การจัดหา ฮ.ลำเลียงขนาดกลาง และ บ.ลำเลียงเปิดท้าย รวมถึง ฮ.MH-60S ในส่วนที่เพิ่มเติม และ บ.ปีกแข็ง ที่จะมาทดแทน T-337 ของ นย.

และจากแผ่นภาพข้างต้น หมายถึงว่า ทร. ในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า ถ้า ทร.เลือกการจัดหาเรือดำน้ำ ทร. จะมีงบประมาณผูกพันเฉพาะการจัดหาอาวุธเท่านั้น เกิน 10,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งยังไม่เคยปรากฎมาก่อน

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2010 21:17:49


ความคิดเห็นที่ 19


และถ้าใช้ข้อสมมติ ในเงื่อนไขว่า ให้มีงบประมาณผูกพันในการจัดซื้ออาวุธได้ ไม่เกินปีละ 10,000 ล้านบาท

ภาพระยะเวลาการจัดหา มันก็จะออกมา ในข้อสมมติของผม ดังนี้

 

Tue 14, Sep 2010 08:20:06

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2010 21:22:54


ความคิดเห็นที่ 20


ซึ่งผมคิดว่า โอกาสที่ ทร. จะได้งบประมาณผูกพันในจำนวนสูง ในระยะเลาอันใกล้ คงเป็นไปได้ยาก  ผมเลยสมมติ ลองทำตัวเลขงบประมาณผูกพัน ในความเห็นส่วนตัวของผมออกมา ดังนี้

 

Tue 14, Sep 2010 08:26:49

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2010 21:27:48


ความคิดเห็นที่ 21


จากแผ่นภาพทั้ง 3 ข้างต้น ตามที่ผมกล่าวไว้ว่า

ยังไม่รวม

1. ฮ.ลำเลียงขนาดกลาง

2. บ.ลำเลียงเปิดท้าย

3. บ.ทดแทน T-337

4. ฮ.MH-60S ในส่วนเพิ่มเติม

รวมถึง ยังไม่มีตัวเลข

5. งบประมาณระบบป้องกันภัยทางอากาศ

6. งบประมาณจัดอากาศยานไร้นักบิน

ซึ่งถ้าความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ ข้อใด ข้อหนึ่ง หรือหลายข้อ จากใน 6 ข้อ มีความเร่งด่วน โอกาสของงบประมาณเรือฟริเกตสมรรถนะ สูง ก็จะขยายออกไปอีก

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2010 21:36:26


ความคิดเห็นที่ 22


และจากการที่หลาย ๆ ท่าน ได้ออกความเห็น บวกกับความของท่านอู๊ด ท่านท้าวทองไหล ผมจึงมีความเห็นว่า โอกาสของ

1. เรือดำน้ำ มือสอง

2. เรือฟริเกต มือสอง

3. บ. S-3 ไวกิ้ง มือสอง

มีโอกาสอยู่สูง

ซึ่ง ทร. น่าจะให้น้ำหนัก เรือ OPV ใหม่ เรือ ต. ใหม่ และ ฮ. ใหม่ ให้ครบความต้องการ และทดแทนของเดิมก่อน ซึ่งน่าจะใช้ระยะเวลา 10-15 ปี โดย อาวุธมือสองข้างต้น เป็นเพียงการเสริมจุดด้อยในเบื้องต้น

และจากนั้น เมื่ออาวุธในยุทธศาสตร์พื้นฐาน ครบถ้วนแล้ว ก็จะถึงงบประมาณในส่วนของ เรือดำน้ำสมรรถนะสูง เรือฟริเกตสมรรถนะสูง และ บ.ไอพ่น สมรรถนะสูง ของใหม่ เป็นความเห็นส่วนตัวครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2010 21:50:32


ความคิดเห็นที่ 23


ป๋า juldas  และถ้าให้ป๋าเดาต่อ ว่าเรือดำน้ำมือ 2 กับฟริเกตมือ 2 ป๋าว่าของชาติไหนจะมาแรง  ส่วนฟริเกตมือ 2 ของสหรัฐยังเหลืออยู่หรือไม่ครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 13/09/2010 22:20:12


ความคิดเห็นที่ 24


เรือดำน้ำ ผมให้คะแนน

Type 209-1200  เกาหลีใต้

เรือฟริเกต ผมให้คะแนน OHP เป็นเรือฟริเกตแบบที่มีจำนวนการผลิต มากที่สุดในโลก และประจำการในหลายประเทศ และจะประจำการต่อไปอีก 15-20 ปี โดยลักษณะการเข้าประจำการ รูปแบบเดียวกับเรือชั้น Knox

แต่เดิม ทร. จัดหาเรือชั้น Knox จำนวน 4 ลำ แต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้มาแค่ 2 ลำ จึงน่าจะมองได้ว่า ปัจจุบัน ทร.ยังขาดจากความต้องการเดิมอยู่ 2 ลำ ในภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำ และภายหลังจากที่ เศรษฐกิจเริ่มฟื้น ทร. เคยมีข่าวว่าจะซื้อเรือ ชั้น Knox จากไตหวัน แต่น่าจะติดปัญหาจากประเทศจีน

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2010 23:41:39


ความคิดเห็นที่ 25


และไม่แน่ว่า ถ้า ทร.ออสเตรเลีย ประจำการเรือใหม่ที่จะมาทดแทน OHP ได้เร็ว  ทร.ออสเตรเลีย อาจจะขายออก ซึ่งไทย น่าจะเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายเหมือนกัน

ล่าสุด ทร.มาเลเซีย ได้ออกข่าวแล้วว่า จะจัดหาเรือดำน้ำเพิ่ม อีก 2 ลำ

ผมเลยให้น้ำหนัก เรือฟริเกต ที่มีประสิทธิภาพสูงด้านปราบเรือดำน้ำ มากกว่า กรณีถ้ามีการจัดหาเรือฟริเกต มือสอง

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2010 23:49:36


ความคิดเห็นที่ 26


ป๋าจู ครับ ในส่วนตัวผมมองว่า เรือฟริเกต ในอนาคตนั้นน่าจะเป็นเรือ ฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศซึ่งกองทัพเรือเราค่อนข้างจะมีจุดอ่อนและขาดเรือในลักษณะนี้อยู่ครับ สมมุติว่า ปรับปรุงเรือชุด ร.ล.นเรศวร ให้ติดจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานเพิ่มเติม หรือ เรือชุด ร.ล.สุโขทัย จะมีจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานอยู่ แต่ก็มีขีดความสามารถในการป้องกันตนเองเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันกองเรือได้ ส่วนเรือที่มีขีดความสามารถในการไล่ล่าปราบเรือดำน้ำนั้น ส่วนหนึ่งก็มีอยู่บ้างหรืออาจจะยืดการปฏิบัติการของเรือชุด ร.ล.พระพุทธยอดฟ้า ออกไปอีกซักระยะหนึ่ง ป๋าจู มีความคิดเห็นอย่างไรครับ
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 14/09/2010 01:40:40


ความคิดเห็นที่ 27


อยากให้ต่อฟรีเกตลำเล็กๆใช้เองครับ

ส่วนระบบสื่อสาร และระบบโจมตี ,ค้นหา ,ต่อต้าน ,ป้องกันตัว

ทางบุคลากรทัพเรือไทย ผมว่ามีประสบการณ์ มิกส์ ระบบได้อยู่แล้ว

อย่างพม่า เรือลำเล็กหลายๆลำ C-802  เยอะจังนะครับ

สงสัยยึดนโยบาย ยิงพร้อมกัน สิบทิศ มั๊งครับ

ถ้าระบบ CENTRIC COMMAND บัญชาการรบประมวลผล สามมิติได้

ลำเล็กๆ แบบกริพเพ่น ก็ไม่เคยกลัวใคร......(ผิดคิว ขออภัย)

 

โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 14/09/2010 01:51:41


ความคิดเห็นที่ 28


เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของ ทร. ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรือ Multi role สเปคน่าจะเหมือน ฟอร์มิเดเบิ้ล ของ สิงค์ฯ

คือ ทั้งต่อต้านทางอากาศ 30-45 ก.ม. ขึ้นไป (ปัจจุบัน สูงสุด 15 ก.ม. คือ ชั้น รัตนฯ) และต่อต้านเรือดำน้ำ ประสิทธิภาพสูง ในส่วนโซนาร์ และ ASROC และต่อต้านเรือผิวน้ำ ด้วยอาวุธนำวิถี ระยะ 100 ก.ม. ขึ้นไป

 

โดยในส่วนงบประมาณ เฉพาะ เรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ กับ เรือฟริเกตสมรรถะสูง จำนวน 2 ลำ ของใหม่ งบประมาณไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท (ซึ่งผมคิดว่า ถ้าเรือฟริเกต สเปค ครบ รวมทั้ง 2 อย่าง น่าจะอยู่ราว 70,000 ล้านบาท เป็นขั้นต่ำ) คือ

- ภายใน 10 ปี ข้างหน้า รัฐฯ อนุมัติงบ 60,000 ล้านบาท

- แต่ระยะเวลาการชำระเงินสูงสุดเพียง 5 ปี

- ถ้าถัวเฉลี่ยแบบง่าย ๆ คือ รัฐฯ ต้องจ่ายเงินสด ปีละ 12,000 ล้านบาท หรือ รัฐฯ กระจายซื้อ คือ ทุก 5 ปี ซื้อแบบละอย่าง รัฐฯ ต้องหาเงินสดชำระปีละ 6,000 ล้านบาท ( 10 ปี )

 

แต่สมมติรัฐบาล สามารถอนุมัติงบประมาณได้ 30,000 ล้านบาท และชำระเสร็จสิ้นภายใน 5 ปี ก็คือ รัฐฯ ต้องหาเงินชำระปีละ 6,000 ล้านบาท โดยซื้อของมือสอง อายุใช้งานขั้นต่ำ 15 ปี

คือ เรือดำน้ำ 2 ลำ วงเงิน 20,000 ล้านบาท  เรือฟริเกต 2 ลำ วงเงิน 10,000 ล้านบาท (312 ล้านเหรียญ ถัวลำละ 156 ล้านเหรียญ)

รัฐ และ ทร. ก็จะมีระยะเวลาอีก 20 ปี ในการจัดทำหางบประมาณใหม่ เรือดำน้ำ เรือฟริเกต สมรรถนะสูง มาทดแทนต่อไป โดย ทร. จะมีระบบอาวุธ และความสมดุลย์ ที่ยังไม่ห่างประเทศเพื่อนบ้านนัก

 

และเมื่อชี้ประเด็นไปที่ เรือฟริเกตมือสอง

ในส่วนระบบต่อต้านภัยทางอากาศ เมื่อ เรือชั้นนเรศวร ได้ติดตั้ง MK-41 ก็ยังพอลดข้อด้อยไปได้ในระดับหนึ่ง คือ ป้องกันในระยะ 30-45 ก.ม. ในขณะเดียวกัน ก็ยังมี ทอ. ช่วยเสริมได้

แต่ในส่วนของระบบต่อต้านภัยใต้น้ำ นั้น แม้ ทร. จัดหา เรือดำน้ำมาได้ จำนวน 2 ลำ แต่ภัยคุกคามของ เรือดำน้ำ ในภูมิภาค รวมกว่า 18-20 ลำ มาจาก (ตัวเลขในระยะ 10 ปีข้างหน้า)

มาเลเซีย จำนวน 4 ลำ

สิงค์ จำนวน 2-4 ลำ

อินโด จำนวน 4-6 ลำ

เวียดนาม จำนวน 6 ลำ

ดังนั้น จุดที่จะช่วยเสริม และดูว่ามีศักยภาพในสงครามใต้น้ำ ก็น่าจะเป็น เรือฟริเกตที่มีประสิทธิภาพต่อต้านเรือดำน้ำสูง เช่น เรือชั้น OHP ที่ติดตั้ง MK-41 เพิ่มเติม ก็สามารถยิง VL-ASROC ได้ การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ โซนาร์ และในขณะเดียวก็สามารถช่วยเสริมในการต่อต้านภัยทางอากาศได้บางส่วน (ปากีฯ จัดหาจากสหรัฐ ในราคา 65 ล้านเหรียญ (hot transfer) ในขณะที่ ตัวเลขสมมติ เรือมือสอง ที่ผมตั้งไว้ ลำละ 152 ล้านเหรียญ ซึ่งหมายถึงว่า ยังมีส่วนต่างสำหรับปรับปรุงกว่า 87 ล้านเหรียญ หรือ 1 เท่าตัว)


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/09/2010 05:03:06


ความคิดเห็นที่ 29


เห็นแล้วอึ้งไปหลายรายการครับ
เครื่องควบคุมการยิงเรือหลวงคำรณสินธุ 3 ระบบ 480 ล้าน
เครื่องควบคุมการยิงเรือหลวงสัตหีบ 3 ระบบ 1,570 ล้าน
(ตรงจุดนี้ที่ผมเคยลุ้นว่าจะมีพัฒนาเอง ทำเอง ใช้เอง สุดท้ายยังคงเป็นได้แค่ความฝัน ถ้าเป็นจริงคงลดงบประมาณลงได้ครึ่งนึง)

เรือตรวจการไกลฝั่ง 1 ลำ 1,700 ล้าน
เรือ ต.994 3 ลำ 1,603 ล้าน
(สองรายการนี้ ถือว่าถูกมาก)

- แต่มุมมองของผม ราชนาวีไทย ขาดเรือขนาด 500 - 1,000 ตัน อยู่ซึ่งเรือที่มีระวางขับน้ำขนาดนี้มีความคงทนทะเลเพียงพอที่จะใช้ในอ่าวไทยและสามารถปฏิบัติการร่วมกับเรือใหญ่ในทะเลได้
- เรือดำน้ำมือสองผมก็มีความคิดเห็นตรงกับหลายๆท่าน เกาหลีใต้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่เยอรมันจะเข้ามาแทรกแซงหรือไม่?
- ส่วนเรือฟริเกตผมยังให้ความสำคัญกับ F25T เพราะถ้าเราปรับแบบนิดหน่อยติดตั้งอาวุธให้ทำการรบได้ 3 มิติ จะเยี่ยมมาก ผมอยากให้สมาชิกลองดูเรือ F22P ของ ท.ร.ปากีสถาน เรือรุ่นนี้นับว่าเป็นเรือพี่ เรือน้องกันเลย ต่อจากอู่เดียวกันด้วย แต่ดูขีดความสามารถในการป้องกันตัวของเรือ F22P แล้วใจหายวูบเลย
http://en.wikipedia.org/wiki/F-22P_Zulfiquar_class_frigate

การเลือกแบบเรือ และอาวุธต้องให้เหมาะสมกับภัยคุกคามและงบประมาณ วันนี้ของชิ้นนี้อาจดีที่สุด แต่วันหน้าอาจจะไม่ใช่ก็ได้ ของดีที่สุดไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับเราเสมอไป

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 14/09/2010 05:44:53


ความคิดเห็นที่ 30


เรือฟริเกตชั้น OLIVER HAZARD PERRY มือสองน่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับกองทัพเรือไทยมากที่สุด ในกรณีที่ทร.ต้องใช้งบประมาณส่วนใหญ่ในการจัดหาเรือดำน้ำ   และเรือดำน้ำ Type-209 มือสองน่าจะได้รับการจัดซื้อจากทร.  แต่การจัดซื้อของมือ 2   ทร.คงต้องทำการบ้านและประชาสัมพันธ์มากๆ และให้โปร่งใสแบบปัจจุบันครับ ซึ่งทร.ทำดีมากอยู่แล้ว

 ส่วนเรื่องเครื่องบินโจมตีไอพ่นสำหรับทร. น่าจะเป็นโครงการสุดท้ายที่ทร.จะทำ   โดยผมหวังว่าเมื่อโครงการปรับปรุงเรือชุดนเรศวรและชุดกระบุรีและชุดปัตตานีสมบูรณ์ทุกเฟสแล้ว  การรบผิวน้ำและการป้องกันภัยทางอากาศสำหรับกองเรือ น่าจะอยู่ในลักษณะที่สามารถป้องกันได้ดีขึ้นมาก     การจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงน่าจะเป็นเรือมือสองชั้น OLIVER HAZAED PERRY มาปรับปรุงดังคุณ Juldas กล่าว มากที่สุด เพราะงบส่วนใหญ่น่าจะต้องลงไปที่เรือดำน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเรือดำน้ำครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 14/09/2010 10:18:22


ความคิดเห็นที่ 31


อยากเห็น   benunah ของ uae มีกี่ลำครับ ราคาถ้าเป็นอย่างที่พูด

ได้ถึง 5-6 ลำเลยหรือครับ ถ้าเอามาบวกลบ งบผูกพัน เหมือนที่ท่าน juldas ทำงบประมาณจำลองไว้ น่าสนนะครับ

เห็นท่าน juldas ให้ข้อมูลของการ ปราบดำน้ำในอนาคตแล้ว ฟรีเกตดีๆ กับ ดำน้ำมือสอง ทัพเรือเราน่าจะมีได้แล้วนะครับ

โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 21/09/2010 06:24:23


ความคิดเห็นที่ 32


Baynunah Class Corvette ของ UAE เจ๋งจริงน่าสนมาก เสียอย่างเดียวเรื่องการต่อตีทางใต้น้ำนี่ล่ะหนา

โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 21/09/2010 10:34:52