นี่คือ คำตอบครับ
นี่คือเรือบรรทุกเครื่องบินของสหภาพโซเวียตที่มีเรื่องราวแสนประหลาด แต่หนักไปในทางน่าสงสารมากกว่า
ตอนที่ถูกสร้างขึ้นเธอมีชื่อว่า " ริก้า " เพื่อเป็นเกียรติกับกรุงริก้า เมืองหลวงของลัตเวียที่ตอนนั้นยังเป็น 1 ใน 15 สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต เธอถูกกำหนดให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับไล่
แม้ตะวันตกจะมองว่าเธอเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่รัสเซียเรียกว่า heavy aircraft carrying cruiser และภารกิจของเรือลำนี้ก็แตกต่างไปจากเรือบรรทุกเครื่องบินของตะวันตก คือสนับสนุนและปกป้องเรือดำน้ำติดขีปนาวุธ เรือผิวน้ำ และเรือบรรทุกเครื่องบินโซเวียต ซึ่งโดยหลักก็คือการป้องกันตัวเอง
มีการวางกระดูกงูเรือริก้าเมื่อ 6 ธันวาคม 1985 ที่อู่ต่อเรือเมืองนิคาลัยเยฟ ในสาธารณรัฐยูเครนของสหภาพโซเวียต และมีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อ 4 ธันวาคม 1988
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในปลายทศวรรษที่ 1990 เธอก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น " วาเรี๊ยก " ตามชื่อเรือรบชื่อดังในอดีตของรัสเซีย ซึ่งการเปลี่ยนชื่อเรือนั้นเป็นเรื่องที่ชาวเรือเขาถือมาก
แต่ที่โซเวียตต้องเปลี่ยน ก็เพราะว่าในช่วงนั้น ลัตเวียออกมาเรียกร้องเรื่องการแยกตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต ถ้าหากไม่เปลี่ยน ในอีกไม่กี่เดือนถัดมา ก็จะกลายเป็นว่า สหภาพโซเวียตมีเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีชื่อเดียวกับเมืองหลวงของประเทศอื่นๆ
ในปี 1992 หลังจากที่การต่อเรือแล้วเสร็จไป 68 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่มีการติดระบบอิเล็คโทรนิค การต่อเรือลำนี้ก็ยุติลงโดยสิ้นเชิง และเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย มันก็ถูกโอนให้ไปเป็นสมบัติของยูเครน 1 ใน 15 สาธารณรัฐของโซเวียต ที่แยกตัวออกมา และยูเครนก็ไม่ได้สนใจใยดีกับเธออีกเลย เธอจึงยังไม่มีเครื่องยนต์ หางเสือ หรือระบบควบคุมใดๆ เพราะการต่อเรือให้แล้วเสร็จ ยังจะต้องใช้เงินอีก 200 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งยูเครนไม่มี ขณะเดียวกัน รัสเซียก็ตกลงไม่ได้กับยูเครนเรื่องการขอซื้อเรือลำนี้คืน ท้ายที่สุดในปี 1998 ยูเครนก็นำเรือออกมาให้ฝ่ายที่สนใจประมูล
ในเบื้องต้นทางการจีนแสดงความสนใจ แต่สหรัฐวิตกในเรื่องที่ว่าแสนยานุภาพทางทะเลของจีนจะเพิ่มขึ้นมา หากนำเรือลำนี้มาปรับปรุงอีกเล็กน้อย จึงเกลี้ยกล่อมให้ยูเครนรื้อถอนระบบอาวุธ และอื่นๆที่ติดตั้งไปแล้วบางส่วนออกมา แล้วค่อยนำเรือเปล่าๆออกขาย ซึ่งยูเครนก็ทำตาม
ในเบื้องต้นบริษัทเล็กๆในฮ่องกงแห่งหนึ่งประมูลมันไปได้ในราคาที่ถูกแสนถูกคือราว 20 ล้านดอลล่าร์ เพื่อนำมันไปทำเป็นโรงแรมและสถานคาสิโนที่มาเก๊า เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน เคี๊ยฟ และ มินส์ค ที่ถูกภาคเอกชนซื้อไปทำสถานบันเทิงในจีน
แต่ปรากฏว่า ตุรกีไม่ยอมให้มีการลากเรือลำนี้ผ่านช่องแคบออกมา เรือก็เลยต้องลอยลำอยู่กลางทะเลดำนานถึง 16 เดือนระหว่างที่มีการเจรจากัน จนท้ายที่สุด ตุรกีก็ยอมปล่อยให้เรือให้ผ่านไปได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2001 แต่อีก 2 วันถัดมา มันเจอเข้ากับพายุใหญ่ ทำให้เรือเกยตื้นใกล้ๆกับเกาะของกรีซ งานนี้มีลูกเรือตายไป 1 คน แต่เรือก็พ้นออกจากการเกยตื้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน
แต่การที่อียิปต์ไม่ปล่อยให้เรือลำนี้ผ่านคลองสุเอซ มันจึงต้องเดินทางอ้อมโลก ไปออกที่ช่องแคบยิบรอลต้า อ้อมทวีปแอฟริกา แหลมกู๊ดโฮ๊ป มาเข้าช่องแคบมะละกา และเข้าสู่น่านน้ำจีนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2002 และมาถึงท่าเรือต้าเหลียนเมื่อ 3 มีนาคมปีเดียวกัน รวมระยะทางในการเดินทาง 28,200 กิโลเมตร ด้วยความเร็วเฉลี่ย 11 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
งานนี้บริษัทที่ซื้อเรือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลากเรืออีก 5 ล้านดอลล่าร์ และค่าธรรมเนียมการขนส่งอีก 500 ,000 ดอลล่าร์ แต่เมื่อมีการออกใบอนุญาตเปิดสถานคาสิโนรอบใหม่ บริษัทที่ประมูลเรือมาได้ กลับไม่ได้ใบอนุญาติ เรือก็เลยถูกทิ้งให้ขึ้นสนิมอยู่ที่ท่าเรือในจีน ท่ามกลางความสงสัยของหลายฝ่ายว่า จริงๆแล้วกองทัพจีนอยู่เบื้องหลังการซื้อเรือลำนี้
หลัง 3 ปีที่ถูกปล่อยไว้เฉยๆ เรือได้ถูกนำเข้าอู่แห้งที่ต้าเหลียน มันถูกนำมาขัดสนิมและตกแต่งบางส่วน โดยมีเสียงร่ำลือว่า กองทัพเรือจีนมีแผนจะใช้เรือลำนี้สำหรับการซ้อมการนำเครื่องบินบินขึ้นลงเรือ เพราะจีนไม่เคยมีเรือแบบนี้มาก่อน
แต่ขณะที่รายงานของสหรัฐสรุปว่า ตอนนี้จีนยังไม่ต้องการเร่งเครื่องในเรื่องเรือบรรทุกเครื่องบิน เพราะเห็นว่าโครงการนี้แพงเกินไปสำหรับจีนตอนนี้ แต่ต่อมากลับมีข่าวว่าจีนทาสีเรือเมื่อปี 2005 และสื่อมวลชนในรัสเซียรายงานว่าจีนตกลงซื้อเครื่องบินขับไล่แบบซู - 33 จากรัสเซียจำนวน 50 ลำ ซึ่งจากเรื่องนี้ และอื่นๆ ชี้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จีนมีแผนจะนำเรือลำนี้ออกใช้งาน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่นอน
ขณะที่มีรายงานว่า ปัจจุบันเรือริก้า หรือ วาเรี๊ยก ลำนี้ ถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น จื้อหลาง และได้รับหมายเลขเรือ 83 ซึ่งเรืออาจจะออกสู่ทะเลได้ในปีนี้
ที่มา http://www.oknation.net/blog/russky/2008/10/16/entry-1
นอกจากนี้ ยังมีข่าวแปลกๆ เกี่ยวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน (มือสอง) ที่จีนซื้อมาตามข่าวนี้
จีนจมเรือบรรทุกเครื่องบิน ของรัสเซีย
สำนักข่าวดีพีเอ รายงานว่า จีนจะจมเรือบรรทุกเครื่องบินเก่าที่ซื้อมาจากรัสเซียเพื่อทำเป็นปะการังเทียม หลังจากไม่มีเอกชนรายใดยื่นประมูลซื้อเรือลำนี้จากเอกชนรายเดิมซึ่งล้มเลิกกิจการเพราะไม่ประสบความสำเร็จในการทำสวนสนุก
รายงานได้อ้างบทความของหนังสือพิมพ์ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ระบุว่าผู้เชี่ยวชาญทางทะเลเสนอแผนการเปลี่ยนเรือบรรทุกเครื่องบิน มินสค์ ระวางขับน้ำ 40,000 ตัน ให้เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเล หลังจากการประมูลเรือเมื่อต้นปีนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้เชี่ยวชาญเสนอให้ลากจูงเรือดังกล่าวซึ่งมีความยาว 271 เมตร ไปยังน่านน้ำในเขตนิว เทร์ริทอรี ทางตะวันออกของฮ่องกง และจมเรือลำนี้บริเวณเกาะ 2 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มปริมาณปลาได้อย่างรวดเร็ว
เรือบรรทุกเครื่องบิน มินสค์ ของอดีตสหภาพโซเวียต ปลดประจำการเมื่อปี 2536 หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ต่อมาถูกขายให้กับบริษัทอุตสาหกรรมเรือบรรทุกเครื่องบินมินสค์แห่งเสิ่นเจิ้น เพื่อนำไปสร้างสวนสนุก มินสค์ เวิลด์ อย่างไรก็ดี บริษัทแห่งนี้ได้ล้มเลิกกิจการเมื่อไม่นาน ทำให้ต้องนำเรือมินสค์ออกประมูลขายในราคา 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (608 ล้านบาท) แต่ไม่มีรายใดสนใจ จนกระทั่งจีนได้มีแผนซื้อเรือลำดังกล่าวมาจม
จม
|
ข่าวที่มาจาก http://www.siamscubadiving.com/board/view.php?tid=1566
ภาพเครดิตจาก http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2008/08/X6897296/X6897296.html
ข้อมูลเจ๋งมากๆ
เรือบรรทุกเครื่องบินบนบกของจีน ที่เครื่องบินฝึกขึ้นลง และเป็นการฝึกเจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ สังเกตุบนเรือจะมี Su-27 รุ่นขึ้นลงบนเรือจอดอยู่
เรื่องของเครื่องยนต์ ที่จะติดตั้งในเรือลำนี้ เป็นเครื่องยนต์แบบไหนครับ ...เป็นไปได้ไหมครับว่า..จีนจะติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นพลังงาน.... เรือดำน้ำนิวเคลิยร์พี่เข้าก็มีแล้ว...
ข้อมูลเจ๋งมากเลยค้าบบบ
แต่ทำไมค่ายคอมมิวนิสชอบมีแต่เรื่องดำน้ำหว่าาาา
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ล่าสุดยังระบุว่า ขณะนี้จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินเพียงลำเดียว และอยู่ระหว่างดำเนินการสร้างด้วย ไม่ทราบเหมือนกันว่ารูปเรือของท่านท้าวที่ดูเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินกำลังปฏิบัติการ (สังเกตเห็นว่า ดาดฟ้าเรือไม่กระดกเหมือนเรือริก้า) เป็นเรือของจีนหรือของรัสเซียกันแน่ครับ
Numbers of aircraft carriers operated
Country![]() |
Total†![]() |
In service![]() |
In reserve![]() |
Decommissioned![]() |
Under construction![]() |
Never completed![]() |
---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
67 | 11 | 1 | 55 | 1 | 12 |
![]() |
40 | 2 | 1 | 37 | 2 | 12 |
![]() |
20 | 0 | 0 | 20 | 0 | 4 |
![]() |
7 | 1 | 0 | 6 | 0 | 7 |
![]() |
5 | 1 | 0 | 4 | 0 | 2 |
![]() |
2 | 2 | 0 | 0 | 0 | 2 |
![]() |
3 | 0 | 0 | 3 | 0 | 0 |
![]() |
3 | 0 | 0 | 3 | 0 | 0 |
![]() |
2 | 1 | 0 | 1 | 2 | 0 |
![]() |
2 | 2 | 0 | 1 | 0 | 0 |
![]() |
2 | 1 | 0 | 1 | 0 | 0 |
![]() |
2 | 0 | 0 | 2 | 0 | 0 |
![]() |
1 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 |
![]() |
1 | 0 | 0 | 1 | 0 | 0 |
![]() |
0 | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 |
![]() |
0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 5 |
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_aircraft_carriers_by_country