หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สถานะการเป็นสมาชิกนอกนาโต

โดยคุณ : makoto เมื่อวันที่ : 05/10/2010 20:06:05

การเข้าเป็นสมาชิกนอกนาโต้ของไทย มีประโยชน์อย่างไรบ้างนอกจากการได้รับเงินช่วยเหลือต่างๆๆ และการที่ประเทศไทยต้องซื้ออาวุธอะไรก็ได้ที่เป็นตามที่ nato กำหนด แล้วอย่างนี้เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกว่า เอ้ยอาวุธจีน,รัสเซีย บางชนิดดีกว่าของพวกอเมริกา ยุโรปบ้างหรอ ถึงจะมีการจัดซื้อแต่ก็น้อยมากๆๆ  แล้วลองคิดดีๆๆว่าถ้าเรา ทำตัวเป็นกลางไม่ขึ้นอยู่กะใครดีกว่าไหม ดีกว่าที่ประเทศยักษ์ใหญ่แต่ใกล้บ้านเราจะมองว่าเราเป็นลูกน้องพวกแดนไกลกันมั่ง ถึงเวลาถ้าเกิดสงครามขึ้นมาจิงๆๆ คิดไม่ออกเลยจิงๆๆถึงตอนนั้นไทยจะเลือกเข้าข้างใคร ระหว่างคนแดนไกลกะเพื่่อนบ้านใกล้เรือนเคียง  
ปล.แล้วแต่ความคิดเห็นนะครับ 




ความคิดเห็นที่ 1


เข้าใจว่าที่ต้องใช้ อาุวุธ และ อุปกรณ์ ให้เมื่อกันเพราะ เมื่อใช้งานร่วมกัน จะสามารถใช้กันได้หมด อย่างกระสุนปืน และ อุปกรณ์ ที่ถ้าเราเอาของค่ายเพื่อนบ้านมาใช้

แต่เวลาไปทำภาระกิจร่วมกับ นาโต้ แล้วเราเอาอุปกรณ์ของค่ายแถวบ้านเราไป มันจะใช้กันได้มั้ย
โดยคุณ ecos เมื่อวันที่ 05/10/2010 01:47:04


ความคิดเห็นที่ 2


จริงๆ คือเขาให้อภิสิทธิ์ต่างๆ ตามนี้ครับ

ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้ (Major Non-NATO Ally – MNNA)

            ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา สถานะ "ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้" มี 2 ประเภท คือ สถานะที่ 1 เป็นการให้ตาม title 10 หมวดที่ 2350 (a) ของ U.S. code (แก้ไขโดย Nunn Amendment ปี 2530) และสถานะที่ 2 เป็นการให้ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ ปี 2541 (ตามที่ได้มีการแก้ไขโดย title 22 หมวดที่ 2321 (k) ของ U.S. Code) หมวดที่ 571

          1.)   สถานะ MNNA ตาม title 10 หมวดที่ 2350 (a)
                 กฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในการให้สถานะ “ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้” ด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในการ  กําหนดสถานะ "ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้" โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA สามารถเข้าร่วมในโครงการวิจัยและการพัฒนาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ประเภทนี้มี 11 ประเทศ ได้แก่ อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี (2530) จอร์แดน (2539) อาร์เจนติน่า (2541) นิวซีแลนด์ บาห์เรน (2545) ฟิลิปปินส์และไทย (2546)
ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ประเภทนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
        • บริษัทของประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA สามารถเข้าร่วมการประมูลสัญญาการซ่อมบํารุง การซ่อมแซม หรือการปรับปรุงยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในบางโครงการนอกผืนแผ่นดินสหรัฐฯ
        • ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA จะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาด้านการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกับสหรัฐฯ บางโครงการ
        • กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สามารถเข้าร่วมโครงการร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของประเทศที่ได้รับสถานะ โดยรับผิดชอบ  ค่าใช้จ่ายร่วมกันอย่างเป็นธรรม

        2.)  สถานะ MNNA ตามหมวดที่ 517 ของกฎหมายว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ พ.ศ. 2504 ฉบับแก้ไข
             กฎหมายให้อํานาจประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการให้สถานะ MNNA แก่ประเทศใดประเทศหนึ่งได้หลังจากที่ได้แจ้งต่อรัฐสภาภายใน 30 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วย       การให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งออกอาวุธ การให้สถานะ MNNA ตามกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในปี 2539 โดยเริ่มแรกมีประเทศที่ได้รับสถานะ คือ ออสเตรเลีย    อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และนิวซีแลนด์ ต่อมาได้มีการให้สถานะ MNNA เพิ่มเติมแก่ จอร์แดน (2539) อาร์เจนตินา (2541) บาห์เรน (2545) ฟิลิปปินส์ และไทย (2546) รวมทั้งหมด 11 ประเทศ
ประเทศที่ได้รับ MNNA ประเภทที่ 2 จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
          • สำหรับประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ที่อยู่ด้านทิศใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกลุ่มนาโต้จะได้รับสิทธิ์ได้รับอุปกรณ์ทางทหารส่วนเกินจากสหรัฐฯ เป็นลำดับแรก
          • สิทธิ์ในการซื้อกระสุนที่ทำจากกากยูเรเนียมและสิทธิ์ได้รับคลังอาวุธยุทโธปกรณ์สำรองของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศของตนนอกค่ายทหารสหรัฐฯ
          • สิทธิ์ในการทําข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการจัดการฝึกในแบบทวิภาคีหรือ     พหุภาคีโดยใช้ระบบการใช้จ่ายต่างตอบแทนที่อาจยกเว้นการใช้คืนค่าใช้จ่ายทางอ้อม และค่าธรรมเนียมต่างๆ เฉพาะรายการ
          • สิทธิ์ในการเช่าอุปกรณ์ทางทหารบางอย่างเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ตาม      โครงการการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินทางทหารแก่รัฐบาลต่างประเทศของสหรัฐฯ
          • สิทธิ์ในการขอยืมวัสดุ อุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์ สําหรับโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกันและสำหรับการทดสอบและประเมินผล
          • สิทธิ์ในการขอให้มีการพิจารณาได้รับใบอนุญาตส่งออกดาวเทียมเพื่อการพาณิชย์ รวมถึงเทคโนโลยี ส่วนประกอบและระบบของดาวเทียมนั้นๆ โดยเร่งด่วน
        
           การให้สถานะ MNNA ประเภทที่ 2 นี้ อาจถูกยกเลิกได้โดยดุลพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งต้องแจ้งรัฐสภาล่วงหน้า 30 วัน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการยกเลิกการให้สถานะ MNNA ประเภทนี้ และไม่มีหลักเกณฑ์ในการยกเลิกสถานะดังกล่าว 

จากเว็บของกระทรวงการต่างประเทศครับhttp://www.mfa.go.th/web/836.php

 

การจัดหาอาวุธใดๆ ของเรานั้น เรามีสิทธิเลือกตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ของเราเหมือนเดิม...เพียงแต่ได้สิทธิในการซื้อของๆ เขาเป็นลำดับแรกๆ เท่านั้นเองครับ

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 05/10/2010 02:13:32


ความคิดเห็นที่ 3


อืมเราได้สิทธิพิเศษมากมายแต่กลับไม่นำมาใช้
โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 05/10/2010 03:54:32


ความคิดเห็นที่ 4


ถึงอย่างนั้นก็ตาม....ผมคิดว่าถ้าหักล้างกันอย่างไร ประเทศที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคืออเมริกา ถามว่าไทยได้อะไรเยอะไหม ในความคิดผมคิดว่าน้อยมาก เพราะงบประมานทางทหารเรา ก็ไม่ได้เทียบชั้นกับสิงคโปร์ที่สามารถซื้ออาวุธที่ทันสมัยเข้ามาประจำการในกองทัพได้ แต่ของเราเป็นแบบซื้อทีต้องคุ้มจริงๆๆและใช้ได้นานด้วย ดังนั้นสรุปในความคิดผม การจัดหาอาวุธควรจะเป็นหลากหลายค่าย เพื่อลดการพึ่งพิงด้านใดด้านหนึ่งและ สามารถซื้ออาวุธที่ดีเหมาะสมกับราคาอีกด้วย 
โดยคุณ makoto เมื่อวันที่ 05/10/2010 09:06:05