ที่มา
http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?187179-Today-s-Photos-Tuesday-October-5th-2010
น่าจะเป็นชุด commando ของกองปราบปราม นะครับ
commando ของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม
ส่วนทำไมไม่ใช้ Galil
อันนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
เพราะคนละหน่วยงานคนละกระทรวงกันมั๊งครับ
งบประมาณน่าจะคนละตัว
เหมือน อาสารักษาดินแดน ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย
ที่ใช้ AK102
มีเพื่อนสมาชิกเว็บปืนได้นำมาลง
อาสาสมัครฯใช้ AK102 หรอครับ เริ่มมีใช้นานหรือยังครับ
เห็นว่ามีข่าวตอน พล.เอก สนธิ เป็บ ผบ.ทบ. ว่ามีการสาะตอาวุธให้แก่เหล่าทัพ ไม่ทราบว่า กระทรวงมหาดไทยจัดหาไปใช้ ก่อนกองทัพ
ขอบคุณ สำหรับข้อมูลครับ
**สาธิตครับ**
ขอโทษครับพิมพ์ผิด
รีบไปหน่อยครับ งานเยอะ
พี่ท่านต้องใส่เสื้อเกราะเลยเรอะ =O=
กับคำถามที่ว่าทำไมไม่ใช้เอ็มพี5 น่าจะคล่องตัวกว่า ผมว่ามันขึ้นอยู่กับภารกิจมั้งครับ กับภารกิจคุ้มกันถ้าเกิดคนร้ายมันเอาอาก้าอะไรมา ผมว่ากาลิลจะได้พอฟัดไหว
ปล.เพิ่งเคยเห็นเราใช้กาลิลสีดำล้วน(AR) ทุกทีเห็นแต่แบบกระโจมมือสีส้มๆ(ARM)
นานๆจะได้เห็นนักโทษระดับที่ต้องใช้กำลังคุมกันขนาดนี้ (เคยเห็นก็แต่คอมมานโดกับเอ็มพี5 คราวนี้พวกล่อกาลิล 555)
ราชทัณฑ์ มีคอมมานโด ด้วยหรอคับ
กรมราชทัณฑ์ มีชุดปฎิบัติการพิเศษ หรือ คอมมานโด ราชทัณฑ์ มานาน พอสมควรแล้วครับ ได้รับการฝึกจากทั้ง รพศ ทบ. ทอ. ตำรวจ ซีล..มา หลายครั้งแล้วครับ
ใช้ การิล...ครับ....
คุณ Monsoon
รบกวนขยายความด้วย แบบว่า งงครับ
"เกือบจะโปร แล้วล่ะ เพราะคนในภาพแรกดันใส่แหวนที่นิ้วนางมือขวา"
ดูไปดูมาแล้ว รู้สึกว่า หน่วยงานในประเทศไทยเรา มีปืนกล ใช้เกือบทุกรุ่น ทุกยี่ห้อเลยนะเนี่ย
เข้าใจตามประสาgu(ไม่)ru อย่างผมแบบนี้นะครับพี่โต้ง คือปกปิดใบหน้าก็แปลว่าไม่ต้องการให้รู้ว่าเป็นใคร แต่ดันไปมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือเครื่องประดับให้เห็น เพราะตามหลักจริงๆแล้วต้องไม่มีสัญลักษณ์ใดๆออกมารู้เลยว่าใครเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่นี้
ยกตัวอย่างเพื่อนผม อีตาเด็กทะเลไปแอบถ่ายแถวๆ 402 ปกปิดซะอย่างดี พรางจนใครๆจำไม่ได้ แต่งูที่หัวโผล่ออกมา พี่ๆแขนแดงเลยอุ้มได้ทันทีครับ 5555
โอเค เก็ต แล้ว
ขอบคุณคุณนกมากเลยครับ ที่สามารถยกตัวอย่างได้อย่างเห็นภาพ ใกล้ชิดประมาณหายใจรดต้นคอ
[img]http://www.dailynews.co.th/content/images/1003/7/page23/v260.jpg[/img]
ลำบาก..จน..แต่ก็สู้ไม่ถอย!!
ชีวิตอาสารักษดินแดน อส. กับภารกิจ เพื่อชาติ
โดยที่การป้องกันประเทศชาติในสถานการณ์สงครามปัจจุบันเป็นหน้าที่ของประชาชนพลเมืองทุกคน ที่จะต้องร่วมมือช่วยเหลือ และจะต้องได้รับการศึกษาอบรมเพื่อให้มีความรู้ในการที่จะป้องกันตนเองและประเทศชาติ จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม และจัดตั้งหน่วยบังคับบัญชาเตรียมไว้ ตั้งแต่เวลาปกติ ...นี่เป็นเหตุผลสำคัญในการจัดตั้ง กองอาสารักษาดินแดน ตั้งแต่ปี 2497 โดยมี สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน หรือ อส. เป็นตัวจักรสำคัญ ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ อส. ก็ยังคงมีความสำคัญ มีประโยชน์ต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ
วันนี้มาดูบางชีวิต-บางมุมชีวิต...ของ อส.
ย้อนกลับไปได้ ก็ยังเลือกเส้นทางนี้ !! ...เป็นคำกล่าวอย่างหนักแน่นของ กฤษณะ เกตุสง่า อายุ 36 ปี ชาว อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน อส. โดยมีตำแหน่งนายหมู่ใหญ่ ซึ่งกฤษณะเล่าว่า... เขาเข้าเป็นอาสารักษาดินแดน หรือ อส. ในปี 2534 ไปสมัครเข้าที่กองร้อยจังหวัด กองบังคับการรักษาดินแดนจังหวัดอุตรดิตถ์
สมัยเรียนได้เห็นรุ่นพี่แต่งเครื่องแบบออกมาปฏิบัติหน้าที่ ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นทหาร แต่เขาบอกว่าเป็น อส. สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เห็นภารกิจช่วยเหลือประชาชนของ อส. เกิดความประทับใจ เลยตัดสินใจสมัครตอนอายุ 19-20 ปี ยังไม่ได้เกณฑ์ทหาร แต่ตอนหลังก็จับได้ใบดำ ...เจ้าตัวเล่า
ก่อนจะบอกต่อไปว่า...เริ่มต้นเป็น อส.ด้วยเงินเดือนประมาณ 1,000 กว่าบาท โดยจบวุฒิ ม.3 แต่ปัจจุบันต้องใช้วุฒิ ม.6 เมื่อสมัครเข้าแล้วก็ต้องทดสอบสมรรถภาพร่างกายว่ามีความพร้อมไหม เช่น มีการวิดพื้น ดึงข้อ ว่ายน้ำ แล้วมีการสอบ จนได้ประจำอยู่กองบังคับการ ประจำอยู่อุตรดิตถ์ โดยทำตำแหน่งวิทยุสื่อสาร และต่อมาย้ายมาอยู่ อ.พิชัย ตั้งแต่ 1 ก.พ. 2539 จนปัจจุบัน และเมื่อปลายปีที่แล้วได้รับคัดเลือกเข้าฝึกหลักสูตรเฉพาะกิจ ฝึกยุทธวิธีปราบจลาจล คุ้มกันบุคคลวีไอพี ฝึกที่ค่ายเพชรโยธิน 3 เดือน และก็เคยได้ทำภารกิจคุ้มกันวีไอพีด้วย
นายหมู่ใหญ่กฤษณะ เล่าต่อไปว่า... ประสบการณ์ในภารกิจ อส.ที่ผ่านมา ก็หลากหลาย ถ้าเป็นยามปกติทั่วไปก็เช่น งานทะเบียน งานโยธา งานหาข่าว ภารกิจยามมีเหตุสำคัญก็เช่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่อุตรดิตถ์ ซึ่งตอนนั้นมีคนตายจำนวนมาก ต้องทำงานกันอย่างหนัก นอกจากนี้ก็ปฏิบัติภารกิจด้านปราบยาเสพติด เคยตรวจจับยาบ้าได้เกือบ 1 ล้านเม็ด ที่ อ.ฝาง แต่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ว่านี่เป็นผลงานของ อส.
พวกผมไปจับกันเอง ไปล่อซื้อ แต่ตอนหลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นเขามาขอร่วมด้วย
อส.เราทำงานนี้กันด้วยความสมัครใจ ผมเองให้ย้อนกลับไปได้ก็ยังเลือกเส้นทางนี้ แต่ยังไงก็อยากฝากถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูงให้ช่วยดูแลพวกเราด้วย เพราะทุกวันนี้หลายคนก็ต้องมีอาชีพเสริมถึงจะอยู่ได้ บางคนทำนาเสริม เพราะใจรักอาชีพนี้จึงยังเป็น อส. ก็ได้ใจชาวบ้านที่ถือว่าพวกผมก็ทำงานเพื่อประเทศชาติ สละชีพ สละเลือดเนื้อ เหมือนตำรวจ-ทหารเหมือนกัน...นายหมู่ใหญ่กฤษณะกล่าว
ด้านนายหมู่ใหญ่ พงษ์ศักดิ์ บำรุงภักดี อายุ 49 ปี ชาว จ.หนองบัวลำภู เล่าว่า... เป็น อส.มา 29 ปีแล้ว จากการปลูกฝังของครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก โดยพ่อและอาก็เป็น อส. ในอดีตนั้นตนเองเคยเห็น เคยอยู่ในเหตุการณ์การปะทะระหว่างผู้ไม่หวังดีต่อชาติกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เคยเห็นการสู้รบซึ่งเป็นภาพที่ติดตา เคยเห็นเหตุการณ์จับผู้ใหญ่บ้านเผาทั้งเป็น เห็นการยิงกันที่เขาขาด ซึ่งช่วงนั้นมี 2 ทางเลือก เข้าป่า หรือจะเข้ากับบ้านเมือง แต่ด้วยการที่ได้รับการปลูกฝัง จิตวิญญาณ และสายเลือด จึงตัดสินใจเลือกที่จะทำเพื่อบ้านเมือง ต่อมาจึงสมัครเป็น อส. โดยไปทำหน้าที่เป็นครูอยู่บนดอย 2 ปี ที่บ้านโคกนกพัฒนา แล้วไปอยู่ที่คลองใหญ่ จ.ตราด ที่ จ.สกล นคร และ กอ.รมน. ที่ จ.อุดรธานีอีก 5 ปี ซึ่งย้อนไปตั้งแต่ช่วงแรกได้เงินเดือนเริ่มจาก 900 บาท ปัจจุบัน 9,040 บาท
นายหมู่ใหญ่พงษ์ศักดิ์ เล่าต่อไปว่า...แม้เงินเดือน อส.จะน้อย แต่เขาก็ยังรักที่จะทำงานนี้ แม้ครั้งหนึ่งในอดีตเขาต้องแลกด้วยการสูญเสียความสัมพันธ์ของครอบครัว เพื่อปฏิบัติภารกิจ อส. ในการร่วมพัฒนาชาติไทย
ผมไม่อยากให้ใครต้องเห็นภาพอย่างที่ผมเองเคยเห็น ภาพการแบกปืนไล่ยิงกัน แล้วลากมาดูหน้า แม้จะลำบาก จน แต่ผมก็ยังสู้ ไม่ มีเกียร์ถอยหลัง !!...เป็นคำกล่าวเด็ดเดี่ยวของ อส.นายนี้
ส่วน นายหมวดเอก อภิญญา ศักดินันท์ ในฐานะผู้บังคับการฝึก กองร้อยอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย ค่ายเพชรโยธิน กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ต.วังเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นค่ายฝึกของ อส. โดยเฉพาะ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งมีการฝึกเข้มของ อส. โดยมีการเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย ก็บอกว่า...ปัจจุบันศักยภาพของ อส.ได้รับการพัฒนาไปในระดับที่ถือว่าสูงมาก ด้วยรูปแบบการฝึกของหน่วยกำลังหลัก เช่นรูปแบบของค่ายนเรศวร เพื่อให้เกิดความหลากหลายในรูปแบบของการปฏิบัติภารกิจของ อส.
อส.จะมีการฝึกเพื่อให้ปรับตัวได้อย่าง รวดเร็ว ได้เรียนรู้ทั้งเทคนิคของทหาร และเทคนิคของตำรวจตระเวนชายแดน...ผู้บังคับการฝึกกองร้อย อส. ค่ายเพชรโยธิน ระบุถึงศักยภาพของ อส.
ขณะที่ อส. ระดับผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีที่มาจากส่วน งานปกครอง คือปลัดอำเภอ นายหมวดเอก กล้าณรงค์ งามทับทิม อายุ 32 ปี ตำแหน่ง รองผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดนเฉพาะกิจที่ 2 บอกว่า...กองกำลัง อส. หรืออาสารักษาดินแดน มีกฎหมายรองรับ และมีมานานแล้ว ในฐานะเป็นผู้ช่วยเหลืออย่างถูกต้องของฝ่ายปกครอง แต่ในอดีตที่ผ่านมาอาจจะยังขาดการรับรู้ต่อสาธารณะหรือภาคประชาชนไปบ้าง ซึ่งในปัจจุบันกำลัง อส. ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหาร ถือว่ายังมีความจำเป็นมาก จุดเด่นของ อส.คือมีหน้าที่ดูแลได้ทุกเรื่อง
ชาวบ้านเดือดร้อนอะไร อส.เข้าไปแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
นายหมวดเอกกล้าณรงค์ บอกอีกว่า... อส.มีอำนาจใกล้เคียงกับตำรวจ แต่ต้องอยู่กับผู้บังคับบัญชาด้วย เพราะถ้าไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าจะจับกุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับตนเอง กับสถานะของ อส. รู้สึกชอบที่ได้ทำงานด้านการพัฒนาในสถานะนี้ ได้ทำนู่นทำนี่ การที่ได้มาอยู่ตรงนี้เป็นจุดที่ชอบ เรามองแล้วว่าเราสามารถทำงานได้ เราสามารถช่วยคนอื่นได้ เป็นจุดที่เราภูมิใจในสิ่งที่เราได้ทำ เท่านี้เราก็พอใจแล้ว
ข้าราชการฝ่ายปกครอง สมาชิก อส. กองอาสารักษาดินแดน เป็นบุคคลในพื้นที่ เป็นญาติพี่น้องลูกหลานในพื้นที่ ทุกคนมีความห่วงใยรักบ้านเกิดของตนเอง ทุกคนไม่อยากให้บ้านเกิดมีสิ่งไม่ดีเข้ามา อยากให้มีความสงบสุข อยากให้มีความสามัคคีสมานฉันท์ มีความเจริญ ฉะนั้นถ้ามีปัญหาหรือต้องการให้ช่วยเหลือสามารถแจ้งได้ บอกได้ อส.ทุกคนอยากพัฒนาบ้านของตน ฉะนั้นฝากพี่น้องทุกคนให้เห็นความสำคัญของ อส. ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ท่านได้...เป็นทิ้งท้ายถึงบทบาทหน้าที่
ของ อส.-อาสารักษาดินแดน.
เสียสละเหมือนตำรวจ-ทหาร
ถามว่าทุกวันนี้ อส.ในแต่ละพื้นที่มีมากไหม ถ้าไม่นับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่ามีไม่มาก รวมแล้วประมาณ 20,000 คน อยู่ภาคใต้เกือบครึ่ง คือประมาณ 7,000 คน ส่วนทั่วประเทศในจังหวัดอื่น ๆ นั้นจะมี อส.โดยเฉลี่ยจังหวัดละ 100-200 คน แต่ละอำเภอนั้นสูงสุดจะมีกำลัง อส.ไม่เกิน 1 หมู่ หรือ 12 คน
...นี่เป็นการระบุของรองอธิบดีกรม การปกครอง วิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ในสถานะนายกองเอก อส. และนายกองเอกวิลาศ ยังบอกด้วยว่า...ในบางพื้นที่สมาชิก อส.เสียชีวิตไปไม่ยิ่งหย่อนกว่าตำรวจและทหาร ในพื้นที่ภาคใต้ฝ่ายปกครอง อส. เสียชีวิตไปแล้วกว่า 80 นาย ซึ่งใครที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอาจจะไม่รู้สึก แต่ถ้าใครเกี่ยวข้อง ไม่ว่าญาติหรือเพื่อน นี่คือความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากเสีย แต่เราทุกคนก็ยังยืนหยัดเสียสละต่อไป
...นี่คือการเสียสละของ อส. ที่คนไทยควรต้องรับรู้.
ไกรเลิศ พึ่งบุญ ณ อยุธยา : รายงาน
ที่มา http://www.dailynews.co.th/content/images/1003/7/page23/v260.jpg
ผมชอบภาพที่2นะดูหน้าตานักโทษแล้วขำเลยครับ