ท่า ไทยเเลนด์
ที่รักของเรามีโรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์
ปล.1จะเข้าครมเเล้วนะเฟ้ย
ปล.2บางคนกลัวว่ากัมมัน จะรั่ว
ปล.3 เขาบอกว่า เครื่องบินชน ไม่ระเบิดด้วย
ความคิดเห็นที่ 1
สรุป...สนับสนุนครับ
คือ พลังงานด้านอื่น เช่น ก๊าซ น้ำมัน ที่นำมาผลิตไฟฟ้า
กำลังจะหมดในอีกไม่กี่ปีแล้ว
เราจึงต้องหาพลังงานทดแทน ซึ่งในเวียดนามกำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เช่นกันเพื่อ ความยั่งยืนทางพลังงาน
+++แต่ก็ต้องมีระบบความปลอดภัยที่ดี
ทั้งยามปรกติ และสงครามครับ
เพราะเป็นสถานที่ ที่มีความละเอียดอ่อนสูง
ตกเป็นเป้าหมายได้ง่ายครับ
โดยคุณ TaRoNG NU เมื่อวันที่
09/10/2010 03:28:19
ความคิดเห็นที่ 2
*ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
1. ค่าขนส่งเชื้อเพลิงน้อยมาก เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น
2. ให้กำลังงานมาก
3. ขนาดของโรงไฟฟ้าเล็ก เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น ที่มีขนาดกำลังงาน เท่ากัน
*ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
- 1. เงินลงทุนสูง
- 2. รังสีที่อาจเกิดขึ้นจากการรั่วไหลในบริเวณโรงไฟฟ้า และสภาวะการทำงานเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน
- 3. เตาปฎิกรณ์ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามสภาพการแปรค่าของโหลดได้ทันท่วงที ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่ดี
- 4. อัตราค่าจ้างคนงานแพง เพราะจะต้องใช้คนงาน 2 ชุด โดยชุดหนึ่งจะทำงาน 6 เดือน พัก 6 เดือน เพื่อลดอันตรายที่เกิดจากการสะสมของรังสีให้อยู่ในสภาวะปกติ
- 5. ค่าบำรุงรักษาและค่าดำเนินงานสูง
- 6. ต้องมีการสำรองเชื้อเพลิง เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติ เช่น มีปัญหาทางการเมืองหรือเกิดสงคราม อาจทำให้เชื้อเพลิงขาดแคลน หรือมีราคาสูง
- 7. ปัญหาในเรื่องการกำจัด ของเสีย หรือกากเชื้อเพลิง
โดยคุณ TaRoNG NU เมื่อวันที่
09/10/2010 03:24:19
ความคิดเห็นที่ 3
ข้อดีและปัญหาอุปสรรคของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอะไรบ้าง |
  [ ขยายดูภาพใหญ่]
| โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีทั้งข้อดีและปัญหา อุปสรรคหลายประการที่จะต้องพิจารณาเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจว่า ควรจะใช้ พลังงานนิวเคลียร์ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่ข้อดี๑. ให้กำลังผลิตสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานอื่น เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ๑ เครื่อง มีกำลังผลิตสูงสุด ๑,๕๐๐ เมกะวัตต์ เทียบกับกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนภูมิพลที่ จังหวัดตาก ๗๓๐ เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ๑ เครื่อง ๓๐๐ เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าน้ำมันเตา/ก๊าซธรรมชาติที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ๑ เครื่อง ๖๐๐ เมกะวัตต์๒. ช่วยประหยัดทรัพยากรพลังงานอื่นๆ และใช้พื้นที่ในการก่อสร้างไม่มาก๓. เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ และมั่นคง สามารถเดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่อง นานถึง ๑๘ เดือน โดยไม่ต้องหยุดเครื่อง หากเป็นโรงไฟฟ้ารุ่นใหม่จะเดินเครื่องต่อเนื่องได้นานขึ้นถึง ๒๔ เดือน๔. ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำและมีเสถียรภาพ๕. เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ไม่ปลดปล่อยเขม่าควัน ก๊าซพิษ และของเสียออกมาสู่สิ่งแวดล้อม๖. มีอายุการใช้งานยาวนาน ๔๐ ปี หากเป็นโรงไฟฟ้ารุ่นใหม่จะมีอายุการใช้งาน ยาวนานถึง ๖๐ ปี๗. ช่วยส่งเสริมในด้านการพัฒนาบุคลากรของชาติ ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง๘. เป็นแหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องขึ้นมากมายปัญหาอุปสรรค๑. การไม่เป็นที่ยอมรับของสาธารณ ชน เพราะเกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะคำว่านิวเคลียร์ ทำให้คนส่วนมากนึกถึง ระเบิดนิวเคลียร์ อีกทั้งมีเหตุการณ์เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เมืองเชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ทำให้ต้องมีการอพยพประชาชน ออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก มีพนักงานของโรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้รับบาดเจ็บจากการได้รับรังสีเข้ารับการรักษาตัว จำนวนประมาณ ๓๐๐ คน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน ๓๑ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ยิ่งตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัวเพิ่มมากขึ้น๒. การเลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้ามีหลักเกณฑ์และมาตรการที่เข้มงวดรัดกุมมาก ทำให้หาสถานที่ก่อสร้างได้ยาก๓. เงินลงทุนสำหรับการก่อสร้างสูงมาก ทั้งนี้เพราะต้องเสริมระบบความปลอดภัยต่างๆมากมาย๔. ใช้ระยะเวลาในการเตรียมงานและการดำเนินการยาวนาน ๑๐ ปีขึ้นไป๕. ต้องการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อใช้ควบแน่นไอน้ำในระบบผลิตไอน้ำ๖. ยังไม่มีวิธีการจัดการกากกัมมันตรังสีระดับสูงให้หมดความเป็นสารรังสีได้ใน ระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น จึงต้องเก็บรักษากาก |
โดยคุณ TaRoNG NU เมื่อวันที่
09/10/2010 10:14:01
ความคิดเห็นที่ 4
ทำไมบางคนตอนที่เรื่อบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์มาเมืองไทย กลับไม่กลัวไม่ต่อต้าน แต่โรงไฟฟ้ากลับไม่เอา ในเมื่อใช้เทคนิคเดียวกัน
เป็นเพราะเขากลัวหรือไม่ไว้ใจในมาตรฐานกันแน่
แต่ผมคนหนึ่งละที่สนับสนุนให้มี
ถ้าเราสามารถควบคุมเตาปฏิกรณ์ได้ก็ไม่มีอะไรให้น่ากลัว
โดยคุณ evill เมื่อวันที่
09/10/2010 12:08:43
ความคิดเห็นที่ 5
ผมคิดว่าประเทศไทยของเราถึงยังไงก็คงต้องใช้ไฟฟ้าตลอดไปเลิกไม่ได้ มีแต่นับวันจะใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยฯ แต่เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันไม่ว่าน้ำมัน,แก๊ส,ถ่านหิน ราคาแพงขึ้นทุกวันและกำลังจะหมดไปในเวลาไม่นานนี้ พลังงานทดแทนเช่นแอลกอฮอล์หรือพลังงานธรรมชาติอย่างน้ำ,ลม,แสงแดด,คลื่นทะเล ก็คงจะไม่สามารถทดแทนจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ในปัจจุบันนี้ได้แน่ฯ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะดีหรือไม่ดีผมไม่สามารถตัดสินได้ ทราบแต่ว่าถ้าเราไม่เริ่มต้นสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในเวลา10ปีนี้อีกไม่เกิน30ปีเราคนไทยต้องเฉลี่ยไฟฟ้ากันใช้อย่างแน่นอน อาจจะได้ใช้วันเว้นวันหรือวันเว้น2วันถึงตอนนั้นก็คงจะชินไปเอง
โดยคุณ OLDMAN เมื่อวันที่
10/10/2010 03:18:42