http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,2019534,00.html
ส่วนบทความนี้คัดลอกมาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ครับบทความในนิตยสาร
ไทม์ส
ฉบับวันที่ 27 ก.ย. ของนายแอนดรูว์ มาร์แชล พูดถึงเรื่องการสะสมกำลังอาวุธว่าเหตุใดประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ถึงได้ปรับปรุงและต่อยอดแสนยานุภาพทางทหารของตน หรือว่าเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองได้มาถึงก่อนกำหนดแล้วสำหรับประเทศเหล่านี้ จึงเป็นเหตุผลให้ผู้นำทางทหารในภูมิภาคนี้เร่งสรรหาสรรพาวุธทั้งหลายประดับ บารมีเอามาไว้ในครอบครอง
เริ่มกันที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเพิ่งจะได้รับการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ 6 ลำล่าสุดจากรัสเซีย มูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยไทยก็เพิ่งจะได้รถลำเลียงพลหุ้มเกราะจากยูเครน 2 คันแรก ในจำนวน 96 คัน มูลค่า 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังมีเครื่องบินขับไล่ กริพเพ่นที่กำหนดส่งมอบประมาณต้นปีหน้า ต่อไปเป็นสิงคโปร์ ซึ่งก็จะได้รับเรือดำน้ำโจมตีลำที่สองจากสวีเดน มูลค่า 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มาเลเซียก็ทุ่มเงินไป 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำจากฝรั่งเศส-สเปน และกัมพูชาก็เพิ่งจะได้รับรถหุ้มเกราะ 44 คัน กับ รถถังที-55 อีก 50 คัน จากประเทศในยุโรปตะวันออก
การที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนสรรหาอาวุธอันทันสมัยนี้
ชี้ให้เห็นนัยยะ 2 ประการ อันดับแรกก็คือ
ประเทศในภูมิภาคนี้ต่างหวาดระแวงซึ่งกันและกัน แทนที่จะยึดมั่นคำประกาศความเป็นพี่เป็นน้องกันในหมู่ประเทศอาเซียน ส่วนประการที่สองก็คือ ภูมิภาคนี้อ้าแขนรับมหาอำนาจอย่างจีน แม้จะยังไม่ยิ่งใหญ่เฉกเช่นมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ก็สะสมกำลังอาวุธอย่างเงียบ ๆ หากต้องเผชิญหน้ากับเรื่องใหญ่หนักหนาสาหัส
แต่ถ้าพิจารณาจากตัวเลขแล้วอาจจะน่าตกใจ
โดยนับจากช่วงระยะเวลาปี ค.ศ.2000-2004 และ ปี ค.ศ.2005-2009 การสั่งนำเข้าอาวุธในประเทศอินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นเป็น 84%, 146% และ
และ 722% ตามลำดับ ตามข้อมูลของสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศ
(เอสไอพีอาร์ไอ) การนำเข้าอาวุธเหล่านี้รวมถึงเครื่องบินขับไล่พิสัยไกล
เรือรบ และเรือดำน้ำ
เช่นเดียวกับระบบขีปนาวุธนำสมัย กระแสนำเข้าอาวุธอันทันสมัยเหล่านี้อาจบั่นทอนเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และยังกระทบถึงสันติภาพที่ธำรงไว้นานนับทศวรรษ เป็นคำเตือนของไซมอน เวซแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธภูมิภาคเอเชียของสถาบันเอสไอพีอาร์ไอ
สิงคโปร์เป็นประเทศแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบัญชีรายชื่อของ สถาบันเอสไอพีอาร์ไอในฐานะประเทศอันดับหนึ่งของ 10 รายชื่อประเทศผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่
นับตั้งแต่สงครามเวียดนามเป็นต้นมา สำหรับอาวุธที่ซื้อมาเมื่อไม่นานมานี้เป็น
เรือฟรีเกต สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของประเทศเล็ก ๆ
ที่เป็นเกาะแห่งนี้
ซึ่งอยู่บนเส้นทางเดินเรือที่พลุกพล่านที่สุดในโลก ส่วนการสะสมอาวุธในภูมิภาคอื่น ๆ นั้นมีมูลเหตุมาจาก การขยายแสนยานุภาพทางทหารของกองทัพจีนทั้งในทางลับและไม่ลับ ที่สำคัญมีการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในเขตทะเลจีน ใต้ ปรากฏว่ามีอีกอย่างน้อย 6 ประเทศ อ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในเขตทะเลที่เป็นข้อพิพาท ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมัน และแร่ธาตุ รวมถึงเคยเกิดข้อพิพาททางทะเลขั้นยุทธนาวีในอดีตมาแล้ว
เวียดนามประกาศชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการที่จีนแสดงความมีอิทธิพลเหนือกว่า ในเขตน่านน้ำทะเลจีนใต้ ดังนั้นเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว เวียดนามจึงสั่งซื้อเรือดำน้ำจากรัสเซียทั้งหมด 6 ลำ มูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากนั้นอีกสองเดือนต่อมา ก็ยังสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่อีก 12 ลำจากรัสเซีย มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนมาเลเซียแม้จะมีปากมีเสียงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเวียดนาม ก็แสดงความวิตกเกี่ยวกับการขยายแสนยานุภาพทางทหารของกองทัพจีนเช่นกัน แต่การสั่งประจำการเรือดำน้ำชั้นสกอร์เปียน บนเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในเขตทะเลจีนใต้เช่นกัน ก็พอที่จะทำให้ทางฝ่ายโน้นรับรู้ได้เช่นกัน
ผู้ที่ได้ประโยชน์ไปเต็ม
ๆ ของการขยายแสนยานุภาพทางทหารของจีน อันดับแรกคือ บริษัทผู้ผลิตอาวุธ และอันดับสองคือ
เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์
ยู.เอส. เอส. จอร์จ วอชิงตัน ได้แวะเข้าเทียบท่าที่ประเทศเวียดนาม
ในโอกาสครบรอบ 15 ปีของการกระชับความสัมพันธ์ในระดับปกติระหว่างสองประเทศ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยทำสงครามสู้รบกัน และยังเป็นการส่งสัญญาณไปถึงรัฐบาลปักกิ่งว่า เวียดนามนั้นต้องการที่จะกระชับความสัมพันธ์ทางทหารให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับ ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ
นายโรเบิร์ต เกตส์
ก็มีกำหนดไปเยือนกรุงฮานอยในช่วงเดือนต.ค.นี้ แม้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะแสวงหาวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกับ จีนเพราะการเติบโตทางศักยภาพและความเจริญรุ่งเรืองของจีน เป็นแบบอย่างให้ต้องทำตาม แต่ภูมิภาคนี้ก็ส่งสัญญาณถึงสหรัฐอเมริกาเช่นกันว่า วอชิงตันก็จำเป็นต้องผูกมิตรไว้เพื่อถ่วงดุลอำนาจและแสวงหาคนกลางที่น่า เชื่อถือกรณีที่เกิดปัญหาใด ๆ ก็ตามขึ้นมา
ไม่ใช่แค่เพียงหวาดเกรงจีนเท่านั้น การเร่งซื้อหาอาวุธมาสะสมไว้ในภูมิภาคนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อใจ ประเทศเพื่อนบ้าน ยกตัวอย่างไทยกับพม่า รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา มักแปรเปลี่ยนเป็นข้อพิพาทบ่อยครั้ง นอกจากนั้น การก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของไทยซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับมาเลเซีย ส่วนปัจจัยอีกประการของความตึงเครียดทางทะเล คือ การละเมิดเขตน่านน้ำระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย
เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา เรือตำรวจน้ำมาเลเซียต้องยิงเตือน ก่อนที่จะเข้าจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำของอินโดนีเซีย
ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งที่แสนจะธรรมดาของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการสะสมอาวุธ ก็เพราะพวกเขามีกำลังที่จะหาซื้อมาได้ เนื่องจากกองทัพยังคงมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็ที่พม่า คณะรัฐบาลทหารคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ และจัดสรรงบประมาณซึ่ง
อาจจะหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์ประชาชาติมวลรวม (จีเอ็นพี)
เอามาเป็นงบประมาณด้านกลาโหม อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ระบอบประชาธิปไตยอันสั่นคลอนของประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา เมื่อกองทัพก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย งบประมาณ
ด้านกลาโหมเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า เป็น 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เป็นสิ่งจูงใจที่รัฐบาลชุดนี้ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จำต้องสนับสนุน
เพื่อค้ำจุนเสถียรภาพของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องแสดงถึงการจัดซื้ออาวุธเหล่านี้ ให้ประชาชนในประเทศของตนได้รับรู้ถึงความโปร่งใส
ไม่มีนอกมีในใด ๆ ทั้งสิ้น นี่เป็นคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธของสถาบันเอสไอพีอาร์ไอ และการที่จะรักษาสันติภาพในภูมิภาคนี้ไว้ คือ เราต้องบอกเพื่อนบ้านว่าเราซื้ออาวุธอะไรมาบ้างและจะเอาไปประจำการตรงจุดไหน แต่การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะประเทศส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะเปิดเผยแสนยานุภาพทางทหารของตนเท่าไรนัก และกลับมองไปที่ประเทศเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่อย่างจีนต่างหากเล่าที่สะสมอาวุธ เอาไว้อย่างเงียบ ๆ ซึ่งอาจทำให้ใครต่อใครเข้าใจผิดและประเมินค่าผิดไปก็ได้
กระทรวง กลาโหมสหรัฐเคยทำรายงานแจ้งไปยังสภาคองเกรสเมื่อเดือน
ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ยิ่งภูมิภาคนี้รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยมากขึ้นเท่าใด การจัดซื้อหาอาวุธก็ยังจะต้องดำเนินต่อไปเท่านั้น.
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
จขกท.ไม่ต้องเกร็งหรอกครับ..กระทู้เปรียบมวยอย่างนี้สุดท้ายก็จะวนมาเข้าว่าเวียดนามเค้าแซงเราไปแล้วหลายขุม...ทั้งๆ ที่ตัวเลขจีดีพีเรามากกว่าเค้าลิบลับ ไม่รูแซงตรงไหน..ผมละไม่เข้าใจ
....อันว่าด้วยการเสริมกำลังรบของประเทศย่านนี้ในสายตาผม ก็เพิ่งมีมาในช่วง 10 ปีก่อนหน้านี่เอง...เป็นไปในลักษณะจัดหาเพื่อทดแทนของเก่าที่หมดอายุ เปอร์เซนต์การเพิ่มที่ดูจะสูงเกินเหตุนั่นก็น่าจะมาจากเปรียบเทียบจากปีก่อนหน้าที่ไม่ได้มีการจัดหาอาวุธใดๆ เลย...เช่น ประเทศไทยก็แล้วกัน ก่อนจะซื้อกริเพน เงินซื้อเป็นศูนย์ ปีรุ่งขึ้นใช้เงินซื้อหมื่นกว่าล้านในเฟสแรกเพื่อทดแทนเอฟไฟฟ์ดังที่ทราบ..ตัวเลขจึงเพิ่มเป็นกี่เปอร์เซนต์ที่ขนหนาวลุก...จะเป็นในรูปนี้มากกว่า ส่วนเพื่อนบ้านที่ซื้อสุดยอดรถถังโลกมาประจำการดูดีๆ คือการทำสีใหม่ก็เพื่อทดแทนของเดิมที่หมดอายุ ส่วนเวียดนามเช่นกันก็เสริมกำลังเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศตัวเองเท่านั้นเอง...เศรษฐกิจประเทศย่านนี้เริ่มฟื้นตัว ดังนั้นก็ต้องเร่งปรับปรุงกองทัพเป็นธรรมดา SIPRI ตั้งข้อสังเกตคงเห็นแต่ตัวเลขตอนซื้อ ไม่เห็นว่าก่อนหน้าไม่มีการซื้อหาเลย...
ต่อครับ...
แน่นอนการเสริมกำลังรบทั้งบ.ขับไล่ เรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ ของเวียดนาม ย่อมทำให้ศักยภาพของเขาสูงขึ้นมาทันที จะว่าไปก็ดูเหมือนจะนำเราไปแล้ว แต่คงไม่นาน หลังจากการจัดหาอาวุธของเราเป็นไปตามแผน ระยะความห่างไม่ว่าใครจะนำใคร ก็คงมีไม่มาก ความล้ำสมัยของอาวุธก็ใช่จะเป็นจุดชี้ขาดผลของสงคราม..เบสิคสุดๆ คือ ปริมาณและคุณภาพของทหารเทียบกันตัวๆ มากกว่า ที่น่ากลัวคือตรงจำนวนทหารของเวียดนามมีมากกว่าเราเท่านั้นเอง..มากกว่าเท่าไหร่จำไม่ได้ ออกตัวไว้ก่อน บางท่านอาจเถียงมากกว่าแต่คุณภาพไม่ได้...อันนี้ต้องขอดักคอไว้ก่อน ถ้าคุณภาพทหารเวียดนามไม่ได้เกณฑ์ของท่าน คงต้องถามฝรั่งเศสในเดียนเบียนฟู หรืออเมกันในสงครามเวียดนามดู เหนือกว่าทุกประการในแง่ของเทคโนโลยีแต่ทำไมต้องซมซานกลับบ้าน
....คงพอตอบตรงตามหัวข้อกระทู้ได้บ้างไม่มากก็น้อย
อันนี้ข้อมูลจากวิกิ และหลายๆแหล่งที่ผมทำอยู่ครับ
พวกตัวเลขนี่ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่
เฉพาะทัพบกนะครับ
Quân Đội Nhân Dân Việt
Tanks