หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


อยากรู้ครับว่า สารกัมมันตรังสี ในF16 เป็นชนิดไหนใช้ทำอะไร

โดยคุณ : nongwor เมื่อวันที่ : 23/10/2010 04:42:27

วันก่อนผมได้เอารูปที่เกิดเหตุให้ดูบางส่วน ตอนนี้มีหลายคนในกลุ่นนั้นที่ขึ้นไปเป็นพวกแรกๆ ป่วยครับเพราะสัมผัสถูกสารกัมมันตรังสีโดยตรง เห็นบอกว่าเป็น โคบอล-60 มีอาการเป็นผื่นแดง ตาแดง หน้าเหลือง ผมเลยอยากรู้ว่าในเครื่อง F16 สารกัมมันตรังสีมีไว้ใช้ทำอะไรครับ ขอบคุณครับ




ความคิดเห็นที่ 1


อืม ลองดูที่ผมตอบใน TAF นะครับ (ดูข้างล่าง) จากแหล่งข่าวข้างล่างซึ่งให้ข้อมูลไม่ถูกต้องเท่าไร บอกว่า Hydrazine เป็นสารกัมมันตภาพรังสี แต่ๆจริงๆแล้วมันเป็นสารเคมี 

Cobalt 60 เป็นส่วนผสมใน turbine blade ในเครื่องยนต์บางรุ่น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของวัสดุ เท่าที่ทราบจะมีในเครื่องของ GE แต่ f-16 ของไทยใช้เครื่องของ Pratt & Whittney แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อย 

คิดว่าน่าเป็นไปได้ที่จะได้รับไอระเหยของไฮดราซีนมากกว่า เพราะมันมีปริมาณมากทีเดียว!

Re: F-16 ฝูง 403 ประสบอุบัติเหตุตก!!!

Postby --- » 19 Oct 2010 10:26

เตือนผู้เข้าใกล้เอฟ 16 ตกพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ
Image

ผู้ เชี่ยวชาญกองทัพอากาศเตือนผู้ที่เข้าใกล้บริเวณจุดที่เครื่องบินเอฟ16 ตกในจ.ตาก รีบพบแพทย์หากเกิดอาการผิดปกติ เนื่องจากที่เกิดเหตุมีการฟุ้งกระจากของสารกัมมันตภาพรังสีไฮโดรซีน

เจ้า หน้าที่ทหารอากาศจากกองบินที่ 46 กองพลบินที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก เข้าตรวจสอบซากชิ้นส่วนเครื่องบินเอฟ16 ของฝูงบินกองบิน 4 ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ หลังเกิดอุบัติเหตุตกบริเวณเทือกเขาบรรจบ หมู่ 9 ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ทำให้ร.อ.ฐานิกร เหลืองรุ่งวารีย์ นักบินเสียชีวิต ด้านน.อ.ประยูร ธรรมาธิวัฒน์ ผู้บังคับการกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่าเครื่องที่ตกเป็น 1 ใน เครื่องบินฝึกจำนวน 4 ลำ ที่ออกจากท่าอากาศยานทหารที่กองบิน 4 จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อทำการฝึกบินเดินทาง แต่เมื่อบินผ่านไปถึงบริเวณจุดตกสภาพอากาศปิด ทำให้นักบินหลงสภาพการบินจนประสบอุบัติเหตุ ส่วนที่เหลืออีก 3 ลำปลอดภัย

ขณะ ที่ผู้เชี่ยวชาญกองทัพอากาศเตือนให้ประชาชน สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ที่เข้าใกล้จุดเกิดเหตุสังเกตอาการผิดปกติของตัวเอง เนื่องจากเครื่องบินเอฟ 16 มีสารกัมมันตภาพรังสีไฮโดรซีนที่ฟุ้งกระจายทั่วบริเวณที่เกิดเหตุ หากผู้ใดเกิดอาการแสบหน้าและรู้สึกขมในลำคอให้ใช้น้ำสะอาดล้างทำความสะอาด และรีบไปพบแพทย์ทันที

ที่มา http://news.sanook.com/974501-%E0%B9%80 ... B8%B4.html

Re: F-16 ฝูง 403 ประสบอุบัติเหตุตก!!!

Postby Bart » 19 Oct 2010 11:46

ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยครับ...
ขอ แก้ข่าวข้างบนหน่อยนะครับ hydrazine เป็นสารเคมี ไม่ใช่สารกัมมันตภาพรังสี เจ้า hydrazine นี้ไม่มีสี มีกลิ่นคล้ายแอมโมเนีย ใช้เป็นส่วนประกอบใน EPU (Emergency Power Unit) หรือ ตัวผลิตพลังงานยามฉุกเฉิน ในเครื่อง F-16 และเครื่องอื่นบางเครื่องเช่น U-2
No Guts, No Glory
โดยคุณ BART เมื่อวันที่ 21/10/2010 00:23:06


ความคิดเห็นที่ 2


นอกเสียจากว่าภายนอกของเครื่องลำนี้ได้ติดตั้งหรือบรรทุกอุปกรณ์เสริมที่มีส่วนของ radioactive ที่เป็นความลับของราชการ  ถ้าเป็นแบบนั้นสิ่งที่ท่าน จขกท ได้ยินมาก็คงถูกต้อง
โดยคุณ BART เมื่อวันที่ 21/10/2010 00:34:19


ความคิดเห็นที่ 3


   เรื่องสารHydrazineที่มีอยู่ใน F-16นั้น ผมเคยมีโอกาสใด้คุยกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของทั้งการท่าอากาศยานฯ และของกองทัพากาศ เจ้าหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงานพูดตรงกันว่า เวลาเข้าดับเพลิงเครื่อง F-16 หากเกิดอุบัติเหตุแล้วทำยากมาก รถดับเพลิงจะวิ่งตามพร้อมทั้งฉีดโฟม เหมือนเครื่องบินแบบอื่นๆไม่ใด้ เพราะสารที่ว่านี่อันตรายมากครับ
โดยคุณ Ikarus เมื่อวันที่ 21/10/2010 03:12:27


ความคิดเห็นที่ 4


พอดีมีคนโทรมาให้ช่วยหาข้อมูลและเข้ามาตอบครับ ... ปกติ Hydrazine จะระเหยและสลายไปในอากาศตั้งแต่ช่วงไม่เกิน 30 นาทีแรกแล้วครับ ดังนั้นถ้าไม่ได้เข้าไปก่อนหน้านี้ก็ไม่น่าจะเป็น Hydrazine แน่นอน เท่าที่ผมไปสอบถามมาให้นั้น น่าจะเป็นพวกอาการแพ้ของการสูดหรือสัมผัสผงหรือไอระเหยของ Carbon Fiber ซึ่งเป็นวัสดุผสมที่ทำลำตัวเครื่องบินหรือไม่ก็พวกไอไททาเนียมหรือการไปสัมผัสไทนาเนียมครับ (90% ของมนุษย์โลกแพ้ไททาเนียม) แต่ไม่ใช่สารกัมมันตภาพรังสีแน่นอน ดังนั้นลองไปหาหมอดูครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/10/2010 03:01:27


ความคิดเห็นที่ 5


สารนี้ไม่ธรรมดาครับเพื่อนสมาชิก...เพราะเวลาเครื่องลงฉุกเฉิน คนไม่เกี่ยวข้องเค้าไม่ให้เข้าใกล้เลยครับ....

................................................................................................

เค้าให้สอบถามข้อเท็จจริงที่เวชศาสตร์การบินครับ สารนี้เป็นสารหนักที่ตกข้างในพื้นที่ มีใช้เฉพาะ บ. F-16 (ในส่วนของ ทอ.) ใช้ในการจุดติดเครื่องยนต์ ก่อนเครื่องวิ่งขึ้น ตรงหัวสนาม จะต้องมีการตรวจว่ามีการรั่วไหนของสารชนิดนี้ ทุกครั้ง

เบื้องต้นทราบว่า มีอันตรายต่อผิวหนังเกิดผื่นแดง และมีผลต่อเม็ดเลือดขาว

สารเคมี/สิ่งที่สัมผัส (Agents)
ชื่อสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: Hydrazine
CAS Number: 302-01-2
กลุ่มสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: ไฮดราซีน (Hydrazines)
แหล่งกำเนิด/การใช้ประโยชน์: ใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวด สารรีดิวซ์ และสารเติมแต่งน้ำที่ใช้สำหรับหม้อไอน้ำ [ACGIH] ไฮดราซีน ซัลเฟต ใช้เป็นสารสำหรับเชื่อมหรือบัดกรีโลหะ [Marks, p. 318] มีการรายงานเกี่ยวกับการเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังเนื่องจากได้รับสารไฮดราซีนในโรงงานวัตถุระเบิด [Kanerva, p. 1008-9] ไฮดราซีน ซัลเฟต ใช้ในน้ำยาล้างฟิล์มถ่ายภาพ [Kanerva, p. 1055] ไฮดราซีน ใช้เป็นสารรีดิวซ์ในการชุบนิกเกิลแบบไม่ใช้ขั้วไฟฟ้า ใช้บำบัดน้ำเสียและใช้เคลือบโลหะบนแก้ว พลาสติกและเซลล์เชื้อเพลิง ไฮดราซีน ซัลเฟต ใช้ในการสกัดแยกโลหะที่หายากและใช้เป็นสารกำจัดจุลชีพสำหรับเชื้อรา [NTP]

(590.pdfพิมพ์ PDF)
พบชื่อเคมี: Diamine CAS No. 302-01-2 UN/ID NO. 2029

การใช้ประโยชน์

ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี

อันตรายต่อสุขภาพ

ความคงตัวและการเกิดปฎิกิริยา

อัคคีภัย/ระเบิด

การเก็บรักษา/ขนส่ง

การกำจัดกรณีรั่วไหล

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

การปฐมพยาบาล

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์

การปฎิบัติกรณีฉุกเฉิน

เอกสารอ้างอิง

สถิติการเข้าชมหน้านี้: 4598
 
ชื่อเคมี IUPAC: Hydrazine
ชื่อเคมีทั่วไป Diamine
ชื่อพ้องอื่นๆ Diamide; Hydrazine base; Hydrazine, hydrazine sulfate
สูตรโมเลกุล 590.gif สูตรโครงสร้าง 302-01-2
รหัส IMO 6.1 - CAS No. 302-01-2 รหัส EC NO. -
UN/ID No. 2029 รหัส RTECS MU 7175000
รหัส EUEINECS/ELINCS - ชื่อวงศ์ ไฮดราซีน
ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า EM Science
แหล่งข้อมูลอื่นๆ 480 Democrat Road,Gibbstown NJ.78027



3. การใช้ประโยชน์ (Uses)


- ใช้ในปฏิกิริยานิวเคลียร์, กระบวนการนิวเคลียร์และเชื้อเพลิง




4. ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ (Standard and Toxicity)

LD50(มก./กก.) : 
 60
( หนู)
LC50(มก./ม3) :
 252 ppm
/ 4
ชั่วโมง
( หนู)
IDLH(ppm) :
 50
ADI(ppm) :
 -
MAC(ppm) :
 -
PEL-TWA(ppm) :
 1
PEL-STEL(ppm) :
 -
PEL-C(ppm) :
 -
TLV-TWA(ppm) :
 0.1
TLV-STEL(ppm) :
 0.03
TLV-C(ppm) :
 -
พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535(ppm) :
 -
พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 (ppm) :
 -
พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :

ชนิดที่ 1

ชนิดที่ 2

ชนิดที่ 3
พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ppm)  :
 
 
 
เฉลี่ย 8 ชั่วโมง
 -
ระยะสั้น
 -
ค่าสูงสุด
 -
สารเคมีอันตราย : 
พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :

ชนิดที่ 1

ชนิดที่ 2

ชนิดที่ 3

ชนิดที่ 4
หน่วยงานที่รับผิดชอบ :



5. คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี (Physical and Chemical Properties)

สถานะ : ของเหลว , ผลึก สี : ขาว กลิ่น : แอมโมเนีย นน.โมเลกุล : 32.05
จุดเดือด(0ซ.) : 113.5 จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 2
ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) : 1.0036 ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) : 1.1
ความหนืด(mPa.sec) :
 -
ความดันไอ(มม.ปรอท) :
  10
ที่
 20
0ซ.
ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) : ละลายได้ ที่ 
 -
0ซ. ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :
 -
ที่
 -
0ซ.
แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =
 1.31
มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =
 0.76
ppm ที่
 25
0ซ.
ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :
  ละลายในแอลกอฮอล์



6. อันตรายต่อสุขภาพอนามัย (Health Effect)


สัมผัสทางหายใจ
สัมผัสทางผิวหนัง
กินหรือกลืนเข้าไป
สัมผัสถูกตา
การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ,อื่น ๆ - การกลืน สัมผัสทางหายใจและผิวหนัง จะทำให้ผู้ป่วยได้รับพิษมาก จะมีผลทำลายตัว ไต ปอด ระบบประสาทส่วนกลาง เซลล์เม็ดเลือดแดง มีแผลเป็นรอยไหม้บริเวณหนังตา เยื่อบุอวัยวะภายใน
- สารนี้เป็นสารก่อมะเร็ง
- สารนี้ทำให้เป็นโรคเนื้องอก





7. ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา (Stability and Reaction)


- ความคงตัวทางเคมี : สารนี้มีความเสถียร
- สารที่เขากันไม่ได้ : กรด สารออกซิไดส์ กรดไนตริก H2O2
- สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน แหล่งจุดติดไฟอื่นๆ
- สารเคมีอันตรายจากการสลายตัว : แอมโมเนีย(NH3) ออกไซด์ของไนโตรเจน(NOx)
- อันตรายจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์เซชั่น : ไม่เกิดขึ้น




8. การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด (Fire and Explosion)

จุดวาบไฟ(0ซ.) :  37.78 จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  270
ค่า LEL % : 4.70 UEL % :  98 NFPA Code :   3-3-2
LFL % : - UFL % :  -
- สารดับเพลิง : น้ำ, โฟมแอลกอฮอล์, สารเคมีแห้ง, CO2
- ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ : ให้สวมใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัวและชุดป้องกันสารเคมี อันตรายจากการเกิดอัคคีภัยและการระเบิด อันตรายจากอัคคีภัยและการระเบิด



9. การเก็บรักษา/สถานที่เก็บ/เคลื่อนย้าย/ขนส่ง (Storage and Handling)


- เก็บในภาชนะที่ปิดแน่น อย่าหายใจเอาไอระเหยเข้าไป
- เก็บในที่แห้งเย็น พื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี
- ห่างจากสารที่รวมตัวกับออกซิเจน อย่าให้เข้าตา โดนผิวหนัง หรือบนเสื้อผ้า
- มีการต่อลงดินของถังบรรจุทั้งหมดเมื่อมีการขนถ่ายสารนี้
- ส่วนที่เหลือที่ตกค้างจะทำให้เกิดอันตรายจากภาชนะบรรจุที่ว่างเปล่า ใช้อย่างระมัดระวัง
- ชื่อในการขนส่ง Hydrazine Anhydrous
- รหัส UN : 2029




10. การกำจัดกรณีรั่วไหล (Leak and Spill)


- วิธีการเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล ให้อพยพคนที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งหมดออกจากพื้นที่
- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในรายชื่ออุปกรณ์การป้องกันอันตรายส่วนบุคคล.
- ขจัดแหล่งจุดติดไฟใดๆจนกระทั่งพื้นที่ถูกพิจารณาว่าปราศจากการระเบิดหรืออัคคีภัย
- บรรจุส่วนที่หกรั่วไหลและแยกออกจากแหล่งสารเคมีนั้น ถ้าสิ่งนี้สามารถทำได้โดยปราศจากความเสี่ยงอันตราย บรรจุในตู้เพื่อการขนส่ง
- สำหรับการกำจัดที่เหมาะสมเป็นที่ตามหัวข้อการกำจัด.ปฏิบัติตามกฎหมายและกฏระเบียบประจำท้องถิ่นในการรายงานการรั่วไหล อ้างอิงถึงข้อมูลกฏระเบียบสำหรับปริมาณที่ต้องรายงานและข้อมูลกฏระเบียบอื่นๆ


โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 22/10/2010 04:11:02


ความคิดเห็นที่ 6


ตำแน่งและรูปร่างของ Hydrazine Tank ที่ใช้สำหรับ Emergency Power Unit (EPU) ใน F-16 จะอยู่ด้านหลัง ขวาของ Canopy



ภาพจาก http://www.xs4all.nl/~designer
โดยคุณ BART เมื่อวันที่ 22/10/2010 17:42:28