เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีขึ้นก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี ในอีกประมาณ 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยสถานีโทรทัศน์ MRTV ของพม่าประกาศว่า รัฐบาลพม่าจะเปลี่ยนแปลงธงชาติใหม่ ซึ่งจะมีแถบสีเหลืองแนวนอนอยู่บนสุด เขียวเข้มอยู่ตรงกลาง สีแดงอยู่ล่าง กับดาวสีขาว 1 ดวง อยู่ตรงกลางผืน
สำหรับ เพลงชาติก็ถูกเปลี่ยนใหม่เช่นเดียวกันกับชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ โดยเปลี่ยนจากสหภาพเมียนมาร์มาเป็นสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ทั้งนี้โดยไม่มีคำชี้แจงถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
เหมือนธงชาติไทยใหญ่ของเจ้ายอดศึกเลย ต่างกันแค่ดาว กับวงกลม ตกลงสามสีนี้มีความเกียวเนื่องกันอย่างไรบ้างครับ
ต้องเปลี่ยนตำราเรียนใหม่อีกแล้ว
เหอๆพม่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ่อยจริง
ตอนนี้ในวิกิก็แก้ธงพม่าใหม่กันหมดแล้วครับ
ไวกันจริงๆ
ส่วนธงชาติพม่า (แบบใหม่) หน้าตาแบบนี้
เรียกได้ว่าเป็นคู่แฝดกันจริงๆ อิอิ
เครดิตที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=09-08-2010&group=170&gblog=1
ขอเดาแบบเล่นว่า พม่าต้องการรวมชาติให้ได้อย่าเด็ดขาด จึงถึงขั้นยอมใช้ธงชาติในแบบที่ใกล้เคียงกับไทใหญ่ ตามแผนปรองดองแบบพม่า เนื่องจากไทใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดที่ยังไม่ยอมญาติดีกับพม่า
หมายเหตุ
จำนวนประชากรพม่ามีประมาณ 50.51 ล้านคน ประกอบด้วย
พม่า 63%
ไทยใหญ่ 16%
มอญ 5%
ยะไข่ 5%
กะเหรี่ยง 3.5%
คะฉิ่น 3%
ไทย 3%
ชิน 1%
ในด้านภาษานอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษาโดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปะลัง (ปลัง) ภาษาปะรวก และภาษาว้า
ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาทางการ) ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และ ภาษาอาข่า
ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ ภาษาไทขึน ภาษาไทคำตี่ มีผู้พูดหนาแน่นในรัฐฉาน และรัฐกะฉิ่น ส่วนภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยกลาง และภาษาไทยถิ่นอีสาน มีผู้พูดในเขตตะนาวศรี
ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)
ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษามาเลย์ ในเขตตะนาวศรี
คัดย่อจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=09-08-2010&group=170&gblog=1