หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เรามา ย้อนความหลัง ตอนไทยเสียดินแดนให้ ฝรั่งเศษ สมัย ร.๕ กันครับ

โดยคุณ : pimes เมื่อวันที่ : 05/11/2010 15:39:42

กรณีพิพาทระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ที่ปากน้ำเจ้าพระยา
paknam incident paknam incident

กรณีพิพาทระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พวกฝรั่งชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญทางแถบเอเชียมากขึ้นทุกที โดยจุดประสงค์ที่สำคัญก็คือ การแสวงหาอาณานิคมประเทศต่างๆ เช่น ญวน เขมร ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษทางภูมิภาคนี้ พระองค์ได้ทรงดำเนินวิเทโศบายเช่นเดียวกับ สมเด็จพระราชบิดา คือ ทรงยอมรับว่าถึงเวลาแล้วที่ไทยจะต้องผูก สัมพันธไมตรี กับพวกฝรั่ง และจากการที่พระองค์ได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายครั้ง จึงทรงนำเอาความเจริญรุ่งเรืองที่ทรงพบเห็นมาปรับปรุงประเทศชาติ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับนับถือของพวกฝรั่งแต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งการรุกรานของพวกฝรั่งชาติตะวันตกได้ โดยเฉพาะชาติอังกฤษและฝรั่งเศส

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ประเทศทั้งสองรวม 5 ครั้ง เพื่อแลกกับความเป็นเอกราชของชาติ และจากกรณีการรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นการรบทางเรือเพื่อรักษา อธิปไตยเหนือน่านน้ำไทย ระหว่างไทย กับฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ.112 นั้น ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนไปมิใช่น้อย ลาว และเขมรเคยเป็นประเทศราชของไทยนับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดมาจนถึงกรุงรัตน โกสินทร์ แต่ในบางคราว ที่ไทยอ่อนกำลังลง พม่าและญวน ซึ่งเป็นประเทศข้างเคียงมีกำลังและอำนาจมากขึ้นลาวก็ตกอยู่ในอำนาจพม่าบ้าง ของญวนบ้าง ตามเหตุการณ์ส่วนเขมรนั้น เมื่อไทยอ่อนกำลังลงเมื่อใด ก็ยกกองทัพรุกล้ำเข้ามา และบางคราวก็อาศัยกำลังหนุนจากญวน เหตุการณ์เป็นดังนี้ตลอดมา จนกระทั่งฝรั่งเศสเริ่มแผ่อิทธิพลครอบคลุม ญวนและเขมร

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 เมอสิเออร์ เดอลองคล์ (M.deloncle) สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส ได้เสนอต่อรัฐสภาฝรั่งเศสเร่งรัดให้ รัฐบาลฝรั่งเศสใช้กำลังกับไทยในปัญหาเขตแดน ซึ่งเคยเป็นของญวนและเขมรจากนั้นฝรั่งเศสก็ได้ยกกำลังทหาร เข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของลำแม่น้ำโขง และส่งเรือปืนลูแตง (Lutin) เข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อต้น พ.ศ.2436 โดยอ้างว่าเพื่อคุ้มครอง ผลประโยชน์ของฝรั่งเศสที่มีอยู่ในประเทศไทย รัฐบาลไทยจำต้องยินยอมแต่เหตุการณ์มิได้ยุติลงเพียงนี้ ในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลฝรั่งเศสได้ขออนุญาตต่อรัฐบาลไทยขอนำเรือปืน 2 ลำ คือ เรือแองคองสตังค์ (Inconstant) และเรือโคแมต (Comete) เข้ามายังประเทศไทย รวมกับเรือลูแตงที่มาประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ แล้ว 3 ลำ รัฐบาลไทยได้พิจารณาเห็นว่าการที่ต่างประเทศนำเรือของตน เข้ามาประจำอยู่ในกรุงเทพ ฯ เกิน 1 ลำเป็นสิ่งที่ไม่น่าปลอดภัยสำหรับประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงตอบปฏิเสธฝรั่งเศสไปพร้อมด้วยเหตุผลดังกล่าว อย่างไรก็ตามทางฝ่ายไทยก็มิได้นิ่งนอนใจ เพราะการตอบปฏิเสธเช่นนั้น ย่อมเป็นที่ไม่พอใจของฝรั่งเศสจึงได้เตรียมการ ป้องกันตนเอง 1 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระบรมราชโองการให้กองทัพเรือ เตรียมกำลังป้องกันการล่วงล้ำอธิปไตยครั้งนี้ นายพลเรือจัตวาพระยาชลยุทธโยธินทร์ รองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการการป้องกันปากน้ำเจ้าพระยาได้วางแผนปฏิบัติการ ป้องกันการบุกรุกของกองเรือรบ ฝรั่งเศสที่ปากน้ำเจ้าพระยา

paknam incident paknam incident

การรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา 13 กรกฎาคม ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)

เนื่องมาจากในยุคนั้นเป็นสมัยที่ประเทศมหาอำนาจตะวันตกบางประเทศมีนโยบายใน การแสวงหาอาณานิคม และได้แผ่อำนาจเข้ามาล่าเมืองขึ้นในแหลมอิโดจีนจนเดิดกระทบกระทั่งกับประเทศ ไทย โดยให้ประเทศไทยยอมปฏิบัติตามความต้องการของตน ฝรั่งเศส ได้ส่งเรือรบ 2 ลำ บุกรุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา กองทัพเรือได้ส่งเรือรบจำนวนหนึ่งมาคอยป้องกันการล่วงล้ำจากฝ่ายศัตรูร่วม ป้อมปืนที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทหารเรือไทยและป้อมปืนได้พยายามต่อต้านอย่างสุดความสามารถ แต่เนื่องจากยังเป็นกองทัพเรือที่สร้างขึ้นใหม่ องค์บุคคลและอาวุธยุทโธปกรณ์ยังไม่พร้อม เรือรบฝรั่งเศสจึงตีฝ่าผ่านเข้าไปถึงกรุงเทพฯ นครหลวงของไทยได้

1. สั่งให้ป้อมพระจุลจอมเกล้า และป้อมฝีเสื้อสมุทร ซึ่งได้ติดตั้งปืนอาร์มสตรอง ขนาด 6 นิ้ว อันทันสมัยเตรียมพร้อม เพื่อจะหยุดยั้งการบุกรุกของเรือรบฝรั่งเศสอันอาจเกิดขึ้นได้

2. สั่งให้เรือรบ 9 ลำ เตรียมพร้อมอยู่ที่ด้านเหนือของป้อมพระจุลจอมเกล้าเล็กน้อย เรือที่วางกำลัง ป้องกันเหล่านี้ ส่วนมากเป็นเรือล้าสมัย หรือเป็น เรือกลไฟ ประจำในแม่น้ำมีเรือที่ทันสมัยเพียง 2 ลำ เท่านั้น คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์

3. ได้วางเครื่องกีดขวางที่ปากน้ำเจ้าพระยา เช่น ตาข่าย สนามทุ่นระเบิด และสนามยิง ตอร์ปิโด 1 เป็นต้น ครั้น ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือ เรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายัง กรุงเทพ ฯ โดยมี เรือ เจ. เบ. เซย์ (Jean Baptist Say) เรือสินค้าเป็นเรือนำร่อง หมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ได้ยิงด้วยนัดดินเปล่าเพื่อเป็นการเตือนเรือรบฝรั่งเศส ไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามาแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ ในที่สุดต่างฝ่ายก็ระดมยิงโต้ตอบกันเรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือ ป้อมพระจุลจอมเกล้าต่างก็ระดมยิงไปยังเรือรบฝรั่งเศส การรบได้ดำเนินไปเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงเศษก็ยุติลง เพราะความมืด เป็นอุปสรรค เรือแองคองสตังต์ และเรือโคแมต สามารถตีฝ่าแนวป้องกันที่ปากน้ำเจ้าพระยาเข้ามาได้จนถึงกรุงเทพฯ และเทียบท่าอยู่ที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสส่วนเรือนำร่อง ถูกยิงเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง การเปรียบเทียบกำลังรบของทั้งสองฝ่าย

ก. ฝ่ายฝรั่งเศส

1. เรือสลุปแองคองสตังค์ ระวางขับน้ำ 825 ตัน ความเร็ว 13 นอต ปืนใหญ่14 ซม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 10 ซม. 1 กระบอก ปืนกล 37 มม. 5 กระบอก มีนายนาวาโท โบรี (Bory) เป็น ผู้บังคับการเรือ และผู้บังคับหมู่เรือ

2. เรือปืนโคแมต ระวางขับน้ำ 495 ตัน ปืนใหญ่ 14 ซม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ 10 ซม. 2 กระบอก ปืนกล 37 มม. 2 กระบอก มีนายเรือเอก หลุยส์ ดาร์ติช ดู ฟูร์เนต์ (Louis Dartige du Fournet) เป็นผู้บังคับการเรือ

ข. ฝ่ายไทย มีนายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นผู้อำนวยการ ป้องกันปากน้ำ เจ้าพระยา

1. เรือปืน มกุฎราชกุมาร ระวางขับน้ำ 609 ตัน ความเร็ว 11 นอต อาวุธประจำเรือ ใน พ.ศ.2436 ยังไม่ทราบชัด ฝ่ายฝรั่งเศส บันทึกว่า มีปืนใหญ่ บรรจุ ปากกระบอก 15 ซม. 1 กระบอก ปืนใหญ่ บรรจุปากกระบอก 12 ซม. 5 กระบอก ปืนกล 3 กระบอก มี นายนาวาโท กูลด์แบร์ก (Commander V. Guldberg) เป็นผู้บังคับการเรือ มิสเตอร์ สมาร์ท (Mr. W. Smart) เป็นต้นกลเรือ

2. เรือปืน มูรธาวสิตสวัสดิ์ ระวางขับน้ำ 250 ตัน ปืนใหญ่ อาร์มสตรองบรรจุ ปากกระบอก 70 ปอนด์ 1 กระบอก ปืนใหญ่บรรจุ ปากกระบอก 10 ซม. 4 กระบอก ปืนกล 1 กระบอก มี นายเรือเอก คริสต์มาส (Lieutenant W.Christmas) เป็นผู้บังคับการเรือ มิสเตอร์ แคนดุตตี (Mr. G. Candutti) เป็นต้นเรือ

3. เรือหาญหักศัตรู เรือป้อม ระวางขับน้ำ 120 ตัน ความเร็ว 7 นอต ปืนใหญ่บรรจุปากกระบอก 15 ซม. 1 กระบอก ปืนใหญ่บรรจุปากกระบอก 12 ซม. 1 กระบอก มีนายเรือเอกสมีเกโล (Lieutenant S. Smiegelow) เป็นผู้บังคับการเรือ

4. เรือนฤเบนทร์บุตรี เรือราชการ ระวางขับน้ำ 260 ตัน ปืนใหญ่บรรจุ ปากกระบอก 10 ซม. 6 กระบอก มีนายทหารไทย เป็นผู้บังคับการเรือ

5. เรือทูลกระหม่อมเรือฝึก (เรือใบ) ระวางขับน้ำ 475 ตัน ปืนใหญ่บรรจุปากกระบอก 10 ซม. 6 กระบอก มีนายทหารไทย เป็นผู้บังคับการเรือ

6. ป้อมพระจุลจอมเกล้า ปืนใหญ่อาร์มสตรอง บรรจุท้าย 15 ซม. 7 กระบอก มี นายร้อยเอก ฟอนโฮลค์ (Captain C. von Holck) เป็นผู้บังคับการ

7. ป้อมฝีเสื้อสมุทร ปืนใหญ่อาร์มสตรอง บรรจุท้าย 15 ซม. 3 กระบอก มี นายร้อยเอก เกิตส์เช (Captain T.A. Gottsche) เป็นผู้บังคับการ

8. เรือวางทุ่นระเบิด มี นายร้อยเอก เวสเตนโฮลซ์ (Captain Westenholz) เป็นผู้อำนวยการ

paknam incident paknam incident

ความเสียหายภายหลังการรบ

ฝ่ายฝรั่งเศส

เรือเซย์ถูกยิง 2 นัด มีรูทะลุน้ำเข้าเรือ จึงต้องแล่นไปเกยตื้น ไม่ปรากฏว่ามีคนบาดเจ็บล้มตาย

เรือแองคองสตังต์ ตัวเรือและส่วนบน ของเรือ มีรอยกระสุนปืนเล็กมากมาย และมีรอยกระสุน ปืนใหญ่หลายแห่ง เรือบดหัก ทหารตาย 1 คน บาดเจ็บ 2 คน

เรือโคแมตตัวเรือ และส่วนบนของเรือมีรอย กระสุนปืนเล็กมากมาย และมีรอยกระสุนปืนใหญ่ 2 นัด กระจกบนสะพานเดินเรือแตกเรือเล็กเสียหาย 2 ลำ ทหารตาย 2 คน บาดเจ็บ 1 คน

รวมทหาร ฝรั่งเศสตาย 3 คน บาดเจ็บ 3 คน

ฝ่ายไทย

เรือมกุฎราชกุมารถูกกระสุนปืนใหญ่ 1 นัด ที่หัวเรือ เครื่องกว้านสมอชำรุดใช้การไม่ได้ และถูกกระสุนปืนเล็ก เป็นจำนวนมาก

เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ถูกกระสุนปืนใหญ่ 2 นัด ที่ข้างเรือกราบซ้าย ตรงห้องเครื่องจักร 1 นัด ที่ส่วนบนเรือ 1 นัด ถูกกระสุนปืนเล็กเป็นจำนวนมาก

เรือหาญหักศัตรูถูกยิง ที่ท้ายเรือมีช่องโหว่ เรือนฤเบนทร์บุตรีไม่ปรากฏว่าถูกยิงที่ใดบ้าง เรือทูลกระหม่อมถูกกระสุนปืนใหญ่ 1 นัด ที่หัวเรือ ส่วนป้อมพระจุลจอมเกล้าไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด

ป้อมผีเสื้อสมุทร บริเวณหลุมปืน ถูกยิงแต่ ไม่เสียหายมาก

ทหารที่ตายและบาดเจ็บตามบัญชีราชการที่พิจารณาให้บำเหน็จความชอบ ดังนี้

เรือมกุฎราชกุมาร ตาย 3 คน คือ มะถิเยาะ (อาสาจาม) นายมะนิ (อาสาจาม) นายหวน (ปากน้ำ) บาดเจ็บ 15 คน

เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ บาดเจ็บ 6 คน เรือหาญหักศัตรู ตาย 1 คน คือ โต๊ะหวัง (โต๊ะ) บาดเจ็บ 2 คน เรือนฤเบนทร์บุตรี ตาย 2 คน คือ นายมาน (อาสาจาม) นายผิว (แผนที่) บาดเจ็บ 6 คน เรือทูลกระหม่อม ตาย 2 คน คือ นายทอง (ปากน้ำ) นายหรุ่น (โต๊ะ) บาดเจ็บ 5 คน

ป้อมผีเสื้อสมุทร บาดเจ็บ 6 คน

ป้อมพระจุลจอมเกล้าไม่มีคนตาย และบาดเจ็บ

รวมทหารไทยตาย 8 คน และบาดเจ็บ 40 คน

ภายหลังเหตุการณ์ครั้งนี้แล้ว ไทยกับฝรั่งเศสก็ได้ยุติการสู้รบกันเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องเขตแดน ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และเป็นเหตุให้ไทยเราต้องเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศสเป็นเนื้อที่จำนวนมากมาย โดยที่ไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการดำรงไว้ซึ่งเอกราช และอธิปไตยของไทยต่อไปจาก เหตุการณ์การสู้รบครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณา เห็นว่าการว่าจ้างชาวต่างประเทศ เป็นผู้บังคับการเรือ และป้อมนั้นไม่เป็นหลักประกันพอที่จะรักษาประเทศได้ สมควรที่จะต้องบำรุงกำลังทหารเรือ ไว้ป้องกันภัยด้านทะเล และต้องใช้คนไทยทำหน้าที่แทนชาวต่างประเทศทั้งหมด และการที่จะให้คนไทย ทำหน้าที่แทนชาวต่างประเทศ ได้นั้นต้องมีการศึกษาฝึกหัดเป็นอย่างดี จึงจะใช้การได้จึงทรงส่ง พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ออกไปศึกษา วิชาการ ทั้งใน ด้านการปกครอง การทหารบก ทหารเรือ และอื่น ๆ ในทวีปยุโรป

(ที่มา: http://www.navy.mi.th)



Read more: http://www.paknam.com/thai/paknam-incident.html#ixzz1Sx3t3o2f





ความคิดเห็นที่ 1


สยามเราเสียดินแดน 14 ครั้ง

ดินแดนหายไปเกือบครึ้ง จากต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์

คนสมัยนั้นช้ำใจมาก จนไม่อยากเล่าให้ใครฟัง เป็นเพราะบารมีของ ร5 จึงทำให้ไทยเรายังคงรอดอยู่ได้

แต่คนยุคนี้ ไม่สามัคคี มีแต่ทะเลาะกัน นึกแล้วเศร้าใจจัง


โดยคุณ FT เมื่อวันที่ 05/11/2010 04:39:44


ความคิดเห็นที่ 2


เพิ่ม ครับ

การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส

ครั้งที่ 1 เสียแคว้นเขมร (เขมรส่วนนอก) เนื้อที่ประมาณ 123,050 ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก 6 เกาะ วันที่ 15 กรกฎาคม 2410 


ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ 321,000 ตารางกิโลเมตร วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ 2 ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย 3 ข้อ ให้ตอบใน 48 ชั่วโมง เนื้อหา คือ

ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก

ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย

ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ 25 กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม 

   ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง 11 ปี (พ.ศ. 2436- พ.ศ. 2447) 

   ปี พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. 2447


   วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด

รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 66,555 ตารางกิโลเมตร

และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขต ไซยะบูลี และ จำปาศักดิ์ตะวันตก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450



การเสียดินแดนให้อังกฤษ

เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 ( นับอย่างใหม่ พ.ศ. 2452) เพื่อขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ 40 ปี

 

โดยคุณ pimes เมื่อวันที่ 04/11/2010 18:17:09


ความคิดเห็นที่ 3


อ่านไป น้ำตาจะไหล

T-T 

โดยคุณ pimes เมื่อวันที่ 04/11/2010 18:31:40


ความคิดเห็นที่ 4


บ่อเกิดและต้นกำเนิดของการเจรจา ด้าานการทูตสมัยรัตนโกสินทร์จริงจังก็ช่วง รัชกาลที่ 4 น่ะครับ

มีการเขียนเรียกได้ว่า ทั่งคู่เลย หมกเม็ด ซ่อนปม เล่นคำ ว่าจะใส่สัญญาอย่างไรถึงจะไม่เพลี่ยงพล้ำ 

ถ้าอยากรู้อยากมันลองไปหา หนังสือรวมภาพข่าวของ ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ของคุณ ไกรฤกษ์ นานา 

อะครับ ใหญ่เบ้อเริ่มแต่เล่มละ 900 บาทเอง ตอนนี้มีลดราคาด้วยเอ้อ

อ่านมันมาก 

        ถามคนเฒ่าคนแก่ โหย เกลี่ยดมากประเทศฝรั่งเศส น่ะยิ่งกว่าอังกฤษอีก รุกรานนี้ที ทำโน่นที เยอะแยะไปหมด

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 05/11/2010 02:24:42