หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ขอถามเรื่องเครื่องยนต์ Turbofan หน่อยครับ

โดยคุณ : masarez เมื่อวันที่ : 08/12/2010 13:22:38

1. ผมอยากทราบว่า เพลาแกนกลางแรงดันสูง(High-Pressure Shaft) กับ เพลาแกนกลางแรงดันต่ำ(Low-Pressure Shaft) มันอยู่ในแนวเดียวกันแล้วมันจะแยกกันหมุนที่รอบความเร็วต่างกันได้อย่างไรครับ?

2. การหมุนของเพลาแกนกลาง ซึ่งเชื่อม ชุดอัดอากาศแรงดันต่ำ-สูง กับ ชุดเทอร์ไบน์แรงดันต่ำ-สูงไว้ด้วยกัน ใช้อะไรในการหมุนครับตอนก่อนจุดระเบิด? มันได้ใช้มอเตอร์หรือเปล่า แล้วจึงจุดระเบิด? แล้วหลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วระหว่างที่บินมันต้องใช้อะไรในการหมุนครับ หรือใช้อากาศที่เผาไหม้ไปหมุน หรือ ใช้มอเตอร์?

ขอขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ ผมกำลังมีโปรเจ็คใหญ่ครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ข้อหนึ่ง  ...................... ผมว่า จริงๆแล้ว มันหมุนด้วยรอบเดียวกันครับ........................ แต่ต่างกันตรงที่ ไฮเปรสเช่อร์ คอมเปรสเซ่อร์ จะมีชุดอัดอากาศที่มากกว่า(ใบพัดอัดอากาศ) และที่สำคัญ ปริมาตรจะถูกรีดลงจากมากไปน้อย อนุมานเหมือน กระบอกกรวยครีมที่ช่างทำเค้กบีบแต่งหน้าเค้ก ครีมที่อยู่โคนกรวยกับปลายกรวยเราบีบให้ไหลด้วยความเร็วคงที่ แต่ที่ปลายกรวยมีปริมาตรน้อยกว่า ครีบจึงพุงออกไปด้วยความเร็วที่มากกว่า.................ส่วนชุดโลว์เปรสเซอร์คัมเปรสเซ่อร์ ที่อยู่ตอนหน้า อนุมาณเหมือนหน้ากากอ็อกสิเย่นของคนไข้ห้องไอซียู คือ คนไข้ พะง่าบๆ ใกล้จะตายแหล่ว...... ต้องใช้อากาศ แต่ขีดความสามารถการดูดลมไหลเข้าจมูกในสภาวะปกติมีไม่เพียงพอ ต้องโช้คป้อนอากาศให้ทันใช้งาน....................

ข้อสอง..................เพลาแกนกลางของเครื่องยนต์ประกอบด้วยสองชุดหมุน หรือที่เรียกเป็นปะกิตวาชาฟท์ (เหมือนช้าบรถยนต์แหล่ะ หน้าที่คือเป็นแกนหมุนคือเป็นปลอกเพลา อย่างรถยนต์ก็อยู่ตรงก้านสูบเป็นปลอกเพลาแกนหมุนระหว่างก้านสูบ กะ แกนหมุนลูกสูบ)...............ทีนี้มาว่าด้วยการหมุน ชุดใบพัดเทอร์ไบน์จะมีสองชุด คือชุดแรงดันต่ำ กะสูง  ไอ้เจ้ากังหันสองอันนี้ จะรับกระแสแรงดันที่เกิดจากการเผาใหม้ คือ เมือชุดคอมเปรสเซ่อร์อัดอาาศจะเข้าไปในห้องเผาใหม้ ที่นันจะมีการหลั่งน้ำมัน เอ๋ ...ม่ายใช่สิ พ่นน้ำมันออกในลักษณะอินเจ็คชั่น (อินไซ้ด์ อินเจ็คชั่น......อ่า...สสสส์) แล้วก็จุดไฟให้เผาใหม้ หรือ คอมบัสชั่น อากาศที่ถูกอัดเมื่อโดนความร้อนก็ยิงขยายตัว เป็นกระแสก้าซร้อนพุงออก กลายเป็นแรงขับ หรือ ทรัสท์   ................... เมื่อกังหันเทอร์ไบน์รับกระแสเจ็ท ตัวหนึ่งจะไปขับชาฟท์ชุดกังหันใบพัด ซึ่งก็คือ กังหันที่ทำให้เกิดกระแสลมในการขับเคลื่อน  อีกชุด จะไปขับชาฟท์ชุดคอมเปรสเซอร์ เกิดการอัดอากาศ และกระบวนการเผาใหม้เป็นวงรอบ.................จ้า......................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 03/12/2010 12:28:18


ความคิดเห็นที่ 2


อือหือยากเหมือนกันนะเนี่ย -*-.. ไม่ได้อยู่สายซ่อมบำรุงด้วย ไว้จะลองถามให้ครับ

โดยคุณ KoHZaNoVSkI เมื่อวันที่ 03/12/2010 01:02:21


ความคิดเห็นที่ 3


นั่นคือเครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน  ถ้าเป็นเทอร์โบเจ็ท กังหันเทอร์ไบน์จะมีชุดเดียว คือ จะไม่มีชาฟท์เพื่อไปขับใบพัดขับเคลื่อน จะมีแต่ การหมุนของชุดอัดอากาศหรือคัมเปรสเซ่อร์ ซึ่ง ทรัสท์ส่วนใหญ่ จะพ่นออกทางท่อท้าย เป็นกระแสเจ็ทขับเคลื่อน  ........................ อันนี้คือเทอร์โบเจ็ท ซึ่งจะได้กระแสแรงขับมาก แต่ก็กินเชื้อเพลิงมาก.................

มีเครืองยนต์อีกอันนึง ที่ถ้าศึกษาแล้วจะร้อง ฮ่วย................... คือเครื่องยนต์จรวด................. คำว่าเครื่องยนต์จรวดแต่ก่อนผมนึกไปถึงท่อระโยงระยางในยานอวกาศ หรือถ้าเป็นฮาร์พูนก็เป็นส่วนที่มีสายไฟระโยงระยาง มีท่อเชื่อมโน่นนันนี่......................แต่ ปล๊าว.......................ส่วนของเครื่องยนต์จรวดก็คือ ตรงปลายสุด หรือท่อท้ายซึ่งมีรูปพรรณสันฐานต่างๆ  อาจเหมือนโคมไฟสปร์ทไลท์ในโรงยิม (ท่อท้ายยานชาแลนเจอร์) หรืออาจเป็นปลายแหลมๆเหมือนปากเป็ด......................ซึ่งแต่ละสันฐาน จะมีการกระจายกระแสกาซร้อน และลักษณะการเผาใหม้ที่ต่างกัน....................... คิดง่ายๆเลย  เผาใหม้ หรือ คอมบัสชันตรงไหน  ตรงนั้นหล่ะ เป็นเครื่องยนต์...............จรวด ใช้ไฮโดรเจน หรือ ดิน ผสม หรือ สองฐานเป็นตัวขับ  ที่สุดก็มาเผาใหม้ตรงตูดท่อท้าย..................ด้วยดังนี้ บั้งไฟ จังเป็นการคอมบัสชั่น ทีเกิดแรงขับตามยถากรรม ผมกล่าวเช่นนี้ถูกหรือไม่ ขอผู้รู้โปรดช่วย พิจารณ์........................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 03/12/2010 12:48:38


ความคิดเห็นที่ 4


    ขอเสริมข้อ 2 หน่อยครับ การสตาร์ทเครื่องยนต์ใช้มอเต้อร์สตาร์ทเช่นเดียวกับรถยนต์นี่แหละครับเพียงแต่ว่ามอเต้อร์เป็นมอเต้อร์รอบสูงและกำลังสูงกว่าในรถยนต์มาก ไฟฟ้าที่ใช้ในการหมุนมอเต้อร์สตาร์ทก็ไม่ได้ใช้จากแบตเตอรี่แต่ใช้จากต้นกำเนิดกำลังภายนอก (A P U) เพื่อประหยัดไฟในแบตเตอรี่ไว้เผื่อต้องไปสตาร์ทบนฟ้าอีกถ้าเครื่องยนต์เกิดดับขึ้นมา เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์จนติดได้รอบเพียงพอแล้วก็ไม่ต้องใช้มอเต้อร์สตาร์ทอีกต่อไปเพราะแรงขับที่เกิดจากการสันดาปของเครื่องยนต์มีแรงขับมหาศาลขับชุดเทอร์ไบน์ให้หมุนเพลาของเครื่องยนต์ให้หมุนต่อไปเองได้จนกว่าจะดับเครื่องยนต์ครับ

โดยคุณ OLDMAN เมื่อวันที่ 03/12/2010 19:35:50


ความคิดเห็นที่ 5


ขอบคุณทุกคำตอบนะครับ ช่วยผมได้มากเลยครับ แต่ยังงง เรื่อง ความเร็วในการหมุนของชุด High-Low Compressor และ Turbine ครับ

โดยคุณ masarez เมื่อวันที่ 04/12/2010 11:58:52


ความคิดเห็นที่ 6


หมุนที่ความเร็วเดียวกันครับไม่ได้แยกกันหมุน แต่ โลวเพรสเชอร์ มีใบพัดชุดเดียว

สร้างแรงดันได้เท่าไร ก็ เท่านั้นครับ อากาศที่มีแรงดันของโลว ส่วนหนึ่งเท่านั้นที่

จะถูกดูดเข้าไปในช่อง ไฮเพรสเชอร์ ซึ่งในช่องนี้จะมีชุดใบพัดที่หมุน (โรเตอร์)

3-5 ชุด แล้วแต่การออกแบบ และชุดใบพัดที่ไม่หมุนอีก (สเตเตอร์) 2-4 ชุด

วางสลับกับชุดที่หมุนอยู่ พอจะนึกภาพออกไหมครับ ไล่จากหน้าเครื่องไปก็จะมี

โลวเพรสเชอร์แฟน แล้วก็เป็น ไฮเพรสเชอร์ โรเตอร์ 1 แล้วก็ ไฮเพรสเชอร์ สเตเตอร์1

แล้วก็ ไฮเพรสเชอร์ โรเตอร์ 2 ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดชุดตามการออกแบบ

สมมุตให้ใบพัดแต่ละชุด สร้างแรงดันได้ 3เท่า ของบรรยากาศ ก็ลองบวกกันดูแล้วกันครับ

ชุด สเตเตอร์ ถึงจะอยู่กับที่ แต่ก็สร้างแรงดันด้วย การไหลของอากาศ ผ่านใบพัดนะครับ  

โดยคุณ viggen เมื่อวันที่ 05/12/2010 13:15:45


ความคิดเห็นที่ 7


เรื่องความเร็วในการหมุนของแต่ละชุดนั้นไม่มีรอบที่แน่นอนและเป้นอัตราส่วนกันหรือไม่อันนี้ไม่ทราบจริงๆ

แต่ละชุดเรียกว่า Spool โดยที่จับคู่ Turbine และ Comp ได้เลย แต่ละ Spool หมุนด้วยความเร็วเดียวกัน

 

ตัวอย่างเช่นรูปด้านล่าง เรียกว่า Bouble-spool

 

 

 

ส่วนคำถามที่สองที่ถามว่าก่อนเครื่องจะสตาร์ทเราใช้อะไรไปหมุน??

- หลักการของเครื่องยนต์เจ็ทนะครับ เราจะใช้ Starter ซึ่งเป็นกลไกที่ใช้ลมขับเคลื่อนต่อเข้ากับแกนเพลาของเครื่องยนต์โดยผ่าน Gear Box ทดรอบ ซึ่งแรงดันลมที่ว่านีี้เรียกว่า Bleed Air ปกติในเครื่อง Airbus หรือ Boeing จะใช้หน่วยเป้น PSI

แหล่งพลังงานลมหรือ Bleed Air จะมาจาก

1. เครื่องยนต์ตัวอื่น - ปกติแล้วเครื่องยนต์จะสามารถจ่าย Bleed Air ได้โดย Trap มาจาก Compressor ในการที่จะติดเครื่องยนตือีกตัวนั้นเราก็จะ Cross Bleed Air โดยผ่าน Valve ไปที่เครื่องยนต์ตัวอื่น

2. APU : Auxilary Power Unit เป็นเครื่องยนต์เจ็ทอีกตัวหนึ่งปกติแล้วจะอยุ่ที่ Tail cone ไม่ได้ให้แรงขับแต่ไว้่ใช้กำเนิดพลังงาน ซึ่งจ่าย Bleed Air และ Electrical Motor (Electrical กำเนิดมาจาก Generator ที่เอา Shaft จาก APU ไปหมุน) 

3. Air Start ในกรณีที่สองตัวบน Unavialable เราก็จะลากหาพนะมาแล้วก้เสีย Duct เพื่อจ่าย Bleed Air เข้าไปที่ Starter Valve

 

 

Auxilary Power Unit ของ Boeing 737

 

 

 

Air Start

โดยคุณ tikker เมื่อวันที่ 08/12/2010 02:20:42


ความคิดเห็นที่ 8


by บุปผาชน - Thaiflight.com

โดยคุณ tikker เมื่อวันที่ 08/12/2010 02:22:40