ตำนานของปืนไรเฟิลที่คนไทยรู้แต่ว่าชื่อ”ปืน ร.ศ." ปืนที่เพิ่งจะมีอายุครบ 100 ปีมาได้ไม่นาน 

หลายท่านที่นึกไปว่าชื่อ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ ศักราช) ช่างโบราณแบบนี้คงเป็นปืนแก๊ป ปืนคาบศิลา 

แต่ที่แท้จริงคือปืนไรเฟิลระบบลูกเลื่อนของเมาเซอร์ใหม่ถอดด้าม ชื่อเป็นทางการก็คือ

"ปืนเล็กยาวแบบ 46" [/size] แต่ก็มีคนเรียกไปต่างๆนาๆ จนสับสนไปว่า "ปืน ร.ศ." "ปืนรัชกาลที่ 5" "ปืน ร.ศ.121 



คุณสมบัติของปืน (ขอคัดลอกมาจากต้นฉบับ ค่ะ เพื่อป้องการความผิดพลาดของข้อมูล)

"เสนาบดีทรงให้นำปืนทดสอบทั้ง 18 กระบอกมาเรียงบนโต๊ะประชุม พร้อมบัสตัน (กระสุน) ของปืนแต่ละชนิดบรรจุ

ในคลิปวางไว้ประจำข้างตัวปืน ทรงสรุปว่ากรรมการได้มีโอกาสยิงทดสอบหรือทราบรายงานตลอดจนข้อมูลเทคนิค

ของปืนทุกชนิดมาก่อนแล้ว จึงควรตกลงในเรื่องลักษณะคุณสมบัติของปืนที่เห็นว่าเหมาะกับเรา

เป็นแนวทางไว้ในขั้นต้น ที่ประชุมจึงตกลงว่า"



ในข้อแรก

ต้องการปืนชักท้าย 2 จังหวะก็คือต้องการปืนระบบลูกเลื่อนขัดกลอนด้วยการพลิกก้านลูกเลื่อนแล้ว

ดึงเป็น 2 จังหวะเหมือนไรเฟิลในปัจจุบัน ดังนั้นปืนไรเฟิลแบบลูกเลื่อนดึงตรงจังหวะเดียว (Straight Pull Bolt)

เป็นอันหมดสิทธิ แปลว่ากองทัพไทยไม่ถูกใจไรเฟิลของมานลิเคอร์ (ปลย. 33) ที่ประจำการอยู่ทั้งมองว่าระบบของเมาเซอร์แข็งแรงดีกว่า



ข้อที่สอง

เมื่อเวลาชักออกแล้วกระสุนหมดให้มีการเตือนให้ใส่ชุดใหม่ อันนี้เป็นประสบการณ์จากการรบจริง

คือปืนระบบแม็กกาซีนกล่องจะใช้ท้ายลิ้นแม็กกาซีนขึ้นมาขัดหน้าลูกเลื่อนไว้ให้เปิดค้าง

นี่ก็เป็นของมีมากับปืนเมาเซอร์รุ่นใหม่อีกนั่นแหละ ถึงตรงนี้ปืนทหารรุ่นเก่าๆก็ขาดคุณสมบัติตกรอบกันไปเป็นแถว

ยิ่งมานลิเคอร์แล้วระบบแม็กกาซีน ไม่สนับสนุนเอาเลย และเป็นปืนที่ไม่อนุญาตให้จุกระสุนยิงทีละนัดโดยไม่ใส่ในคลิปกระสุนด้วย



ข้อสุดท้าย


ต้องมีรางไม้หุ้มกระบอกหลังถนน จะสังเกตว่าปืนทหารเขาจะมีรางไม้ยาวถึงปากกระบอกทั้งนั้น

แต่ที่หุ้มกระบอกหลังถนนคือส่วนที่ปิดลำกล้องด้านบนให้มิดชิดเพื่อกันความร้อนและการกระแทก

ปืนไรเฟิลรุ่นเก่าก่อน ปี ค.ศ.1896 จะไม่ค่อยมีการปิดเช่นนี้




เรื่องของ “กระสุน 8 มม. สยามเมาเซอร์”


"ประธานเข้าสู่วาระที่สองการเลือกขนาดบัสตัน โดยเปิดให้แสดงความเห็นทางพระองค์เจ้าจิระประวัติฯ ทรงเห็นว่า

ไม่ควรใหญ่เกิน 8 มม. ที่เราใช้กับมานลิเคอร์ แต่อย่าให้เล็กกว่า 6.5 มม. อย่างกระสุนเมาเซอร์ และทรงชี้แจงเพิ่มเติม ความว่า

ในประเทศยุโรปเคยคิดจะใช้กระสุนเล็กๆเหมือนกันแต่ได้ยกเลิกเพราะอำนาจการยิงยังสู้กระสุนขนาดใหญ่ไม่ได้

ทรงโน้มน้าวให้เห็นคล้อยกับการใช้กระสุน 8 มม.ต่อไป"



ส่วนกระสุน 8 มม. ของเราก็ยึดรูปทรงกระสุน 8 มม. มานลิเคอร์ แต่ดัดแปลงให้ดีขึ้นกลายมาเป็น

กระสุนขึ้นทะเบียน เป็นชื่อประเทศไทย คือ "8 x 50 มม. และ 8 x 52 มม. สยามเมาเซอร์" ในเวลาต่อมา

<a href="http://image.ohozaa.com/show.php?id=9056500bed578d049bde7a000e5fb575" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/t/aab/bbaa45737b.jpg" /></a>

(กระสุนใช้ชื่อประเทศไทย คือ 8 มม. สยามเมาเซอร์ ด้านซ้าย คือ 8x50 ที่ใช้กับปืน ร.ศ. ส่วนทางขวาคือ 8x52 ที่ใช้กับปืน แบบ 66)


"ปืนไรเฟิลระบบลูกเลื่อนที่ญี่ปุ่นเสนอดูจะมีความเหมาะสมในเรื่องคุณสมบัติมากที่สุด

แต่กรรมการทุกท่านติเหมือนกันหมดว่า ระบบห้ามไกไม่ดี

เกิดอุบัติเหตุลั่นกันง่ายๆถ้าจะเลือกต้องให้ผู้ผลิตแก้ไข ส่วนกระสุนที่ว่าเล็กไปนั้น

ทางเสนาบดียืนยันว่าคงจะขอให้สร้างในขนาด 8 มม.ได้ พระองค์เจ้าจิระประวัติฯ คงจะยังไม่เป็นที่พอพระทัยร้อยเปอร์เซ็นต์

ทรงหยิบปืนอีกกระบอกขึ้นมาแนะนำว่านี่คือ ปืนเมาเซอร์อย่างใหม่ของกองทัพสวีเดน เยอรมันออกแบบ

แต่ผลิตที่ สต๊อกโฮล์ม ทูตในเบอร์ลินไปเสาะหามาให้ร่วมคัดเลือก แต่กระสุนขนาดเล็กไปหน่อย

คณะกรรมการก็เห็นชอบไรเฟิล ชนิดนี้ว่า ไม่มีจุดอ่อนเหมือนของญี่ปุ่น

จึงมีมติให้จัดหาไรเฟิลแบบเมาเซอร์สวีเดนแทนปืนญี่ปุ่นที่มีข้อบกพร่องในเรื่องห้ามไก 

โดยขอให้ใช้กระสุน 8 มม. ส่วนมีด (ดาบปลายปืน) เอายาวเท่าปืนมานลิเคอร์เดิม



หมายเหตุ : รวมความแล้วปืนญี่ปุ่นเกือบชนะ พอคณะกรรมการมาเจอเมาเซอร์ขนานแท้แบบ Swedish Mauser M 1894

ซึ่งมีความสมบูรณ์พร้อมกว่าจึงไม่น่าแปลกที่จะเลือกใช้ปืนชนิดนี้ ขอหมายเหตุไว้อีกนิดว่าหลังจากการประชุมกันนี้ได้ 2 ปี

กองทัพเยอรมันก็เพิ่งจะเห็นดีกับเมาเซอร์เอาปืนที่ดัดแปลงจากปืนสวีเดนนี้มาเข้าประจำการในเยอรมัน

กลายเป็นปืนอมตะของวงการปืนลูกเลื่อน คือ เมาเซอร์ 98 (GEW. 98) ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าคณะกรรมการไทยได้เลือกสรรของที่ดีที่สุดแล้ว


จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปืนที่ถูกนำมาคัดเลือกเท่าที่พอจะหาได้ ทั้งนี้รายชื่อปืนทั้ง 18กระบอก

ไม่มีปรากฏชัดเจนในรายงานการประชุมหรือเอกสารใดๆอีกเลย 

จึงขอนำเอาเฉพาะที่ปรากฏในหนังสือโต้ตอบ ระหว่างเสนาบดีกับข้าราชการทูตและผู้ผลิตมาเป็นข้ออ้างอิง

อีกส่วนคือตัวปืนที่ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ในพิพิธภัณฑ์สรรพาวุธทหารบก

ชนิด ขนาด และ ประเทศที่ผลิต

1. ปืนเล็กยาวมูราตะ 8มม. แม็กกาซีนหลอด (Murata Type 22) ผลิตโดย ญี่ปุ่น

หมายเหตุ จากรายงานการพบทูตญี่ปุ่นและตัวจริงที่กรมสรรพาวุธ 

2. ปืนเล็กยาวอาริซาะ แบบ 30 ขนาด 6.5มม. (Arisaka Type 30) ผลิตโดยญี่ปุ่น

หมายเหตุ มีตัวอย่างปืนที่พระที่นั่งจักรี 

3. ปืนเมาเซอร์ยาวแบบ 1888 ขนาด 8มม. (Mauser Commission M1888) ผลิตโดย เยอรมัน

หมายเหตุ หนังสือส่งจากทูตเบอร์ลินและตัวจริงที่กรมสรรพาวุธ

4.ปืนเมาเซอร์คาร์ไบน์แบบ 1891 ขนาด 8มม. (M1891 Karabiner) ผลิตโดย เยอรมัน

หมายเหตุ หนังสือส่งจากทูตเบอร์ลินและตัวจริงที่กรมสรรพาวุธ เหมือน 3. ทุกอย่างแต่เป็นปืนเล็กสั้น 


5. ปืนมานลิเคอร์ยาว แบบ 1895 ขนาด 8 มม. (Mannlicher M 1895) ผลิตโดยออสเตรีย

หมายเหตุ หนังสือนำส่งของจากทูตเวียนนา 


6. ปืนมานลิเคอร์สั้น แบบ 1895 ขนาด 8 มม. (Gendarmerie M 1895) ผลิตโดยออสเตรีย

หมายเหตุ หนังสือนำส่งของจากทูตเวียนนา เหมือน 5. แต่สั้นกว่าเล็กน้อย 



7. ปืนมานลิเคอร์ยาว แบบ 1892/93 ขนาด 6.5 มม. (Romanian Mannlicher M 1892/93) ผลิตโดยออสเตรีย

หมายเหตุ หนังสือนำส่งของจากทูตเวียนนา มานลิเคอร์ทำเป็นลูกเลื่อนสองจังหวะ

ส่งให้ ท.บ.โรมาเนีย จุดอ่อนคือแม็กของมานลิเคอร์



8. ปืนเรมิงตันบรรจุเดี่ยว ขนาด12.17มม. (Remington Rolling Block M1867) ผลิตโดยสวีเดน

หมายเหตุ หนังสือส่งจากทูตเบอร์ลินและทำในสวีเดนเป็นปืนที่กำลังจะเลิกใช้ ทูตไม่รู้จึงสั่งมาด้วย


9. ปืนเรมิงตันบรรจุเดี่ยว ขนาด 8มม. (Remington Rolling Block M1888) ผลิตโดยสวีเดน

หมายเหตุ เหมือน 8. และมีตัวจริงที่กรมสรรพาวุธ 


10. ปืนเมาเซอร์แบบ 1894 ขนาด 6.5มม. (Swedish Mauser M1894) ผลิตโดยสวีเดน

หมายเหตุ หนังสือส่งจากทูตเบอร์ลินและตัวจริงที่กรมสรรพาวุธ เป็นปืนที่ชนะการคัดเลือก 



11. ปืนเมาเซอร์ชนิดคาร์ไบน์ แบบ 1894 (Swedish Mauser Karabiner M1894) ผลิตโดยสวีเดน

หมายเหตุ เหมือน 10.แต่สั้นกว่า หนังสือส่งจากทูตเบอร์ลินและตัวจริงที่กรมสรรพาวุธ


12. ปืนเรมิงตันลี รุ่น1895 6มม. ระบบดึงตรง (Remington Lee M 1895) ผลิตโดยอเมริกา

หมายเหตุ กรมพระนเรศวรฤทธิซื้อจากโรงงานเมื่อเสด็จเยือนในปี ร.ศ. 117


13. ปืนชมิตรูบินระบบดึงตรง รุ่น 1889 (Schmidt-Rubin M 1889) ผลิตโดยสวิสเซอร์แลนด์

หมายเหตุ ปธน.สวิสฯ ถวาย ร.5 ครั้งเสด็จประพาสยุโรปปี พ.ศ.2440 ตัวจริงอยู่ที่กรมสรรพาวุธ 



14. ปืนเล็กยาวแมดเสนกึ่งอัตโนมัติรุ่น 1896 (Dansk Rekyl-Riffel Syndikat M 1896) ผลิตโดยเดนมาร์ก

หมายเหตุ ตัวจริงอยู่ที่กรมสรรพาวุธ 


15. ปืนเล็กสั้นแมดเสนกึ่งอัตโนมัติรุ่น 1896 (Dansk Rekyl-Riffel Syndikat M 1896 Karabine) ผลิตโดยเดนมาร์ก

หมายเหตุ เหมือน14. แต่สั้นกว่าตัวจริงอยู่ที่กรมสรรพาวุธ



16. ปืนชุลอ๊อฟรุ่นปี 1882 (Austrian Schulhof M1882) ผลิตโดยออสเตรีย

หมายเหตุ มีแม็กกาซีนซ่อนในพานท้าย ตัวจริงอยู่ที่กรมสรรพาวุธ