ถามครับกระสุน
M855 ต่างกับ M193
ยังไงครับ??
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจผิดรึเปล่านะครับ
แต่เหมือนว่าผมเคยเรียนมาว่า พวกปืนเล็กยาวที่ใช้กระสุน 5.56 รุ่น M193 และรุ่นใกล้เคียง เช่น M16A1 หรือ HK33 จะมีเกลียวลำกล้อง 6 เกลียวเวียนขวา
แต่ถ้าใช้กระสุน M855 และรุ่นใกล้เคียง เช่นพวก M16A2 ขึ้นไป จะมีเกลียว 12 เกลียวเวียนขวาน่ะครับ
คิดว่าอัตรา 1:12 1:7 น่าจะเกี่ยวกับอัตราส่วนความห่างระหว่างเกลียวรึเปล่าน่ะครับ
ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะครับ
ผมอ่านคำอธิบายของคุณ champ thai army แล้วติดใจตรงที่ว่า ความเร็วของลูกปืน M855 เมื่อพ้นลำกล้องไปครึ่งระยะยิงแล้ว ความเร็วจะเพิ่มขึ้นไป 2 เท่า เพราะว่ามันขัดกับหลักการทางฟิสิกส์มากเพราะลูกปืนถูกยิงออกไปโดยใช้ดินขับอย่างเดียวและเพียงครั้งเดียว เมื่อวิ่งจากลำกล้องไปแล้ว ไม่น่าจะมีการเพิ่มความเร็วได้อีก มีแต่จะช้าลงเพราะแรงต้านของอากาศ ความโน้มถ่วง และอื่นๆ ก็เลยไปลองเปิดเนตดูก็พบว่า ความเร็วต้นที่ปากลำกล้องของ M855 น้อยกว่า M193 จริงๆ แต่ความเร็วที่ระยะ 200 ม.ขึ้นไปกลับมากกว่า อย่างไรก็ตามความเร็วของลูกM855 ไม่ได้เพิ่มขึ้นครับ แต่ลดลงโดยตลอด เพียงแต่ลดลงในอัตราน้อยกว่าM193 เท่านั้นเอง
5.56 NATO Ball Ammunition Ballistic Comparison
based on Aberdeen Proving Ground Data
velocity (fps) trajectory (in.) drop (inches) drift (inches)*
range M193 M855 M193 M855 M193 M855 M193 M855
(meters)
0 3,200 3,100 -2.5 -2.5 0.0 0.0 0.0 0.0
100 2,774 2,751 +2.8 +4.4 -2.2 -2.3 1.3 1.1
200 2,374 2,420 +2.7 +5.8 -9.9 -10.2 5.8 4.9
300 2,012 2,115 -4.9 0.0 -25.1 -25.3 14.2 11.8
400 1,680 1,833 -23.0 -15.0 -50.8 -49.5 27.6 22.4
500 1,373 1,569 -56.2 -42.9 -91.6 -86.7 47.5 38.0
600 1,106 1,323 -113.1 -88.2 -156.1 -141.3 76.4 59.5
700 995 1,106 -206.8 -156.1 -257.3 -220.9 113.5 88.4
800 927 1,010 -339.9 -267.7 -398.0 -339.2 156.1 124.9
http://forums.gunbroker.com/topic.asp?TOPIC_ID=109277
ง่ายๆนะครับ กระสุนM193 ใช้ในปืน M16A1 ครับ ส่วน M855 ใช้ในปืน M16 A2 ถามว่าใช้ร่วมกันได้มั๊ย ในส่วนของกระสุนA1 สามารถใช้ปืน A2 ยิงได้ครับ ประสิทธิภาพเท่ากันกับยิงด้วยปืน A1 แต่กระสุนปืน M855 ของ A2ไม่สามารถนำมายิงในปืน M16A1 ได้ครับ เพราะว่าลูกมันใหญ่กว่ากันครับ
ง่ายๆคือ กระสุนM193กับ M855 ดูจากภายนอก คือลูกM855 จะ อวบกว่า หนักกว่า และยาวกว่า กระสุนของ M16A1 คือ M193
กระสุนปืน M193 เป็นลูกกระสุนปืนแบบเก่า น้ำหนัก 55 แกรน ซึ่งมีข้อเสียอยู่ที่ว่า เมื่อยิงออกไปจากปากกระบอกปืน ด้วยความเร็วต้น สมมุติว่าออกจากปากลำกล้อง20000ฟุต/วินาที เมื่อลูกวิ่งไปได้ระยะทางครึ่งหนึ่งของระยะทำการ ความเร็วลูกจะตกลงครึ่งหนึ่งเหลือแค่10000 ฟุต/วินาที อันนนี้สมมุตินะครับไม่ใช่ความเร็วต้นจริง เพราะจำไม่ได้แล้วว่าเท่าไหร่ คือเมื่อไปได้ครึ่งทางของระยะทำการ ความเร็วมันจะตกลงครึ่งนึงอ่ะครับ แล้วทำให้เมื่อทำการยิงระยะไกลมันจะทำให้ยิงไม่ค่อยแม่นและไม่ถูกเป้าหมายครับ
ส่วนกระสุนปืน M855 ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อแก้ข้อบกพร่องของกระสุนปืนแบบM193 คือ มีน้ำหนัก 62 แกรน ยิงด้วยลำกล้องแบบ1:9แล้วก็ลดลงมาจนปัจจุบันลดลงมาเหลือ 1:6 ด้วยหัวรบที่หนักกว่าแบบเดิม และกระสุนใช้ดินกระสุนแบบขับเร็ว + กับจำนวนรอบเกลียวที่ลดน้อยลง ซึ่งรอบเกลียวที่น้อยลงจะไปปั่นหัวกระสุนให้มีความเร็วสูง เมื่อยิงออกไปจากปากลำกล้อง สมมุติอีกแล้ว สมมุติว่า ความเร็วออกจากปากลำกล้อง 20000 ฟุต/วินาที เมื่อวิ่งออกไปได้ครึ่งหนึ่งของระยะทางทำการความเร็วจะเพิ่มขึ้นเป็น40000ฟุต/วืนาที เพราะว่าดินขับเร็วแบบใหม่ และน้ำหนักกระสุนที่เพิ่มขึ้นและจะนวนรอบเกลียวที่น้อยลงไปช่วยปั่นให้กระสุนมีความเร็วเพิ่มขึ้น แทนที่ความเร็วจะตกลงเมื่อผ่านไประยะครึ่งทางเหมือนกับกระสุนแบบ M193 ธรรมดาแบบเก่า จึงทำให้เวลายิงเป้าหมายระยะไกลจึงมีความแม่นยำสูงและมีโอกาสทำลายเป้าหมายได้สูงกว่ากระสุนแบบธรรมดาครับ เห้อๆๆๆๆ เหนื่อยยาวมากครับ
ป.ล.ภาพประกอบ
ผมอ่านตอนแรกก็งงๆนะครับ ที่ว่ากระสุนจะเพิ่มความเร็ว
ขอถามผู้รู้นะครับ ว่า ร่องเกลียวในลำกล้องปืน มีไว้เพื่อให้กระสุนควงสว่านและเจาะทะลวงเป้าหมายเหรอครับ
ผมเคยอ่านจากไหนจำไม่ได้ บอกว่าการควงสว่านช่วยให้กระสุนวิ่งได้ไกลขึ้น
แล้วอย่างนี้ถ้านไม่มีร่องเกลียวเลย กระสุนก็ยิงไกลขึ้นสิครับ
ขอเรียนเพิ่มเติมเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่า ผมไม่ได้มานั่งจับผิดคนอื่น เพราะผมเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องปืนเล็ก เพียงแต่ติดใจเรื่องความเร็วลูกปืนไม่น่าสูงขึ้นได้เท่านั้น ก็เลยไปลองค้นข้อมูลดู อีกอย่างหนึ่ง ตัวลูกปืนภายนอกจากภาพก็น่าจะเหมือนกันทุกอย่าง(มิติ) แต่ภายในนั้น(ดูตามภาพ)หัวกระสุน M855 จะหนักและใหญ่กว่า ดังนั้นจึงมีผู้บอกว่าเอาลูก 855 ไปยิงกับ เอ-1 ก็ได้ แต่เฉพาะในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ปกติไม่ใช้เพราะมันอันตราย ไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ผู้รู้ลองเข้ามาตอบหน่อย
สำหรับปืนเล็กลำกล้องเกลี้ยงไม่ทราบว่ามีทำหริอไม่ แต่ปืนใหญ่รถถังค่อนข้างเยอะ เพียงแต่ทำครีบให้กางออกหลังยิงเพื่อรักษาขีปนะวิถีของลูกปืนเท่านั้น เพราะนั่นก็คือจุดประสงค์หลักที่ให้ลูกปืนที่ยิงออกจากลำกล้องปืนที่มีเกลียวหมุนรอบแกน จนเกิดสภาพการรักษาสมดุลย์ของลูกข่าง(gyro) ....รอผู้รู้มาเพิ่มเติมครับ
ส่งออกไปแล้วลืมไปว่าเดี๋ยวนี้ลูกปืนรถถังที่ใช้ปืนลำกล้องเกลี้ยงใช้ลูก APDS-Armour-piercing discarding sabot ที่มีตัวลูกปืนเป็นลูกดอกโลหะหนัก(มีหาง)และใช้Sabotหุ้มไว้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้ลูกปืนที่มีครีบกางออกได้เหมิอนอาวุธปล่อยต่อสู้รถถัง
ขออภัยครับ
ขอสนับสนุนคำถามคุณโย่งครับ กรุณาอธิบายให้เห็นหลักการ ทางฟิสิกส์และกลศาสตร์ด้วย ว่าทำไมกระสุน(วัตถุ) จึงสามารถเพิ่มความเร็วได้ หรือมีกระบวนการอะไรที่ทำให้ลูกปืนสามารถเพิ่มความเร่งได้ด้วยตัวเอง
ขอบคุณครับ
M193 มันเป้นตะกั่วล้วนเคลือบทองแดง หัวสั้นเบาเจอลมพัดระยะไกล ๆ ก็ปลิวตามลม แรงปะทะไม่ดีเจอปูนหน่อยก็ไปไม่ไหว
M855 เปลี่ยนหัวกระสุนเ็ป็นหัวเหล็กตูดตะั่กั่ว เคลือบทองแดงเพิ่มน้ำหนัก ทำให้แรงปะทะดีกว่าด้วยหัวกระสุนหนักกว่าเลยเพิ่มดินปืนอีกนิดเปลี่ยนลำกล้องเพื่อรับแรงดันที่มากกว่า แต่เวลาปะทะเป้าหมายแข็งตะกั่วก็เปลี่ยนรูปเสียการทรงตัว ทำให้สูญเสียแรงทะลุทะลวงไป
M855A1 เปลี่ยนหัวกระสุนเป็นหัวเหล็กเปลือยปลายเหล็กไว้นิดนึงตูดอัลลอยด์ น้ำหนักหัวกระสุนยังเท่ากับ M855 แต่ดินปืนเปลี่ยนแบบให้แรงกว่าเดิม ตัวอัลลอยด์จะไม่เปลี่ยนรูปเหมือนตะกั่วทำให้แรงทำลายล้างยังมีเหมือนเดิมโดยที่อาจจะเท่ากับหรือมากกว่า 7.62*39 ของ AK เพียงแต่ว่ามะกนถังแตกก็เลยยังใช้ M855 ต่้อไป
ตอบ คุณ HRTBRKONE 1: 12 , 1: 7
เท่าที่ผมเข้าใจ
คือเกลียวในลำกล้องจะวนครบรอบลำกล้องที่ความยาวลำกล้องนั้นๆ เช่น เกลียว 1: 12 หมายถึงเกลียววนครบหนึ่งรอบ ที่ความยาวลำกล้อง 12 นิ้วครับ
ถ้าผมผิดก็ช่วยแก้ให้ด้วยครับ
เท่าที่ทราบนะครับเอ็ม16เอ1และเอ2 มีเกลียวที่เท่ากันนะครับคือ 6 เกลียวเวียนขวา
ส่วนอัตรา 1: 12 หรือ 1:7 เป็นระยะการหมุนของกระสุนที่จะครบหนึ่งรอบนะครับ
โดยเอ็ม16เอ1กระสุน เอ็ม193 นั้นมีตราที่ 1 :12
เอ็ฒ16เอ2 ใช้กระสุน เอ็ม855 อัตราการจะอยู่ที่ 1:7 นะครับ
รอผู้รู้มาช่วยตอบอีกทีนะครับ
มาแบ่งความรู้กัน
- เกลียวลำกล้องมีไว้เพื่อปั่นกระสุน ประโยชน์ของมันไม่ได้มีไว้เจาะทะลวง แต่มันคือการรักษาวิถีกระสุนให้วิ่งเป็นแนว รักษาวิถีไว้ได้ ( ไม่ได้วิ่งตรงนะครับ กระสุนวิ่งเป็นเส้นโค้ง )
- ถ้าอยากให้กระสุนมีแรงปะทะเพิ่มขึ้น ต้องไม่ใช้เกลียว เป็นลำกล้องเรียบ แต่ก็ต้องมีวิธีอื่นรักษาแนวยิง เช่นครีบหาง
- ส่วนที่ว่ากระสุน m855 จะวิ่งเร็วขึ้นเมื่อพ้นปากลำกล้องนั้นไม่ใช่แน่นอน แต่ที่เพิ่มขึ้น ก็คืออัตราการหมุนของกระสุน พูดง่ายๆ คือเมื่อกระสุนพ้นปากลำกล้องไปเกินระยะ 100 เมตร กระสุนจะปั่นเร็วขึ้นนั่นเอง ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนรอบสูงที่สุด ประมาณ 400 เมตร ทำให้วิถีกระสุนมีความต้านทานสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น คือไม่ปลิวลมมากไป ไม่ยกตัวเวลาอากาศร้อน ทำนองนั้น
- การปั่นรอบมากขึ้น ไม่มีผลต่อการเจาะทะลวง น้ำหนักกระสุนต่างหากที่มีผล
- กระสุนที่หนักขึ้น รักษาการทรงตัว และเจาะทะลวงได้ดีขึ้น
ข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างกระสุน 2 ชนิด
m 193 m 855
หัวกระสุน หนัก 55 เกรน หนัก 62 เกรน
ตะกั่วหุ้มทองแดง เสริมแกนเหล็ก เพื่อไม่ให้เสียรูปทรง
ดินขับเป็นดินควันน้อย ดินขับ เป็นดินควันน้อย ฐานคู่ เผาใหม้เร็วกว่า
ระยะยิง หวังผลถึง 400 - 500 700 - 800
ใช้กับ m 16 460 เมตร
ยิงแทนกันได้ไหม ได้แน่นอน ( แต่ควรใช้เมื่อจำเป็น )
เนื่องจาก ลำกล้อง A1 ไม่ได้รองรับ หัวกระสุนที่แข็งกว่า
ลำกล้อง A2 เกลียวรอบสูง ทำให้ดินขับมีแรงน้อยลง กระสุนหมดแรงส่งเร็วกว่า
รังเพลิง ไม่ได้ออกแบบสำหรับดินฐานคู่
ระยะยิงหวังผลลดลง
ความแม่นยำหดหาย
ใช้ได้ครับ เมื่อจำเป็นก็นำมาทดแทน แต่ไม่ควรนำมาใช้ประจำ เพราะไม่ใช่ของ
ที่ผลิตมาเพื่อ ทดแทนกัน เพียงแต่ขนาดไกล้เคียงกันเท่านั้น
คุณ bravo544 ตอบได้กร่างจ่างดีครับ
แต่ผมไม่ค่อยเก็ทว่าทำไมถึงกระสุนจะปั่นเร็วขึ้นครับ ช่วยอธิบายเหตุผลด้วยครับ หรือว่าเกลียวมันที่ปากลำกล้องรอบสูงกว่าที่โคนลำกล้อง เคยอ่านมาว่ามีแบบนี้เหมือนกัน แต่ไม่แน่ใจว่าใช้เฉพาะปืนใหญ่หรืออย่างไร
สำหรับเรื่อง รอบเกลียว ถ้าเป็นปืนใหญ่ ผมไม่มีความรู้ด้านนี้
แต่ถ้าเป็นปืนเล็ก แบบมีเกลียวที่ใช้ปัจจุบัน รอบเกลียวจะสม่ำเสมอกันตั้งแต่ต้นจนท้าย
การเพิ่มความเร็วใจการปั่น เหมือนการเล่นลูกข่างน่ะครับ เมื่อเชือกหลุดจากลูกข่าง เดิมทีแรก
ลูกข่างจะปั่นด้วยความเร็วต่ำ แล้วค่อยเพิ่มความเร็วจนระดับหนึ่ง แล้วลดลงอีก
หรือลองปั่นจักรยาน โดยยกล้อหลัง เมื่อปั่นไปสักพักเพิ่มความเร็ว ล้อจะหมุนเร็วกว่าแรงปั่น
ทำให้เกิดอาการฟรี ปั่นวืด เกลียวลำกล้องเหมือนกับโซ่ที่ถ่ายแรงปั่นไปล้อ
เท้าที่ปั่น เหมือนกับแรงดันในลำกล้องส่งลูกกระสุนออกไป
โดยปกติ เมื่อเราทำการหมุน หรือปั่นด้วยแรง แล้วปล่อยให้มันใช้แรงเฉื่อยสะสมหมุนต่อ
อาการก็มักเกิดแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกข่าง หรือของเล่นพวกใบพัดมือหมุน
แต่ถ้าจะให้ชัดเจน ต้องให้ผู้เก่งฟิสิกส์ มาตอบไขข้อข้องใจ
โดยถ้าเป็นปืนเล็ก เดิมทีเดียว ในปืนพก m 1911 ได้ออกแบบเวียนซ้าย เพื่อต้านอาการกระตุกไก
แต่ในปัจจุบัน เป็นที่รู้กันแล้วว่า ไม่มีผลแต่อย่างใด เพราะกระสุน ไม่ได้วิ่งเอียงซ้ายขวา แต่เป็นขึ้นลง
ปืนรุ่นใหม่ จึงมิได้ออกแบบเวียนด้านใด โดยเฉพาะ
ไหนๆ ก็ว่ากันเรื่องนี้ จะอธิบายบางอย่าง ให้เข้าใจ เพราะหลายๆ คนเข้าใจผิด ในหลายๆ เรื่อง
- ลำกล้อง ที่ยาวกว่า จะเพิ่มแรงบิดในการหมุนมากขึ้น และ ดินปืน เผาไหม้ไ้ด้เต็มที่ เป็นผลให้เกิด 2 อย่าง
1 กระสุนจะมีความเร็วต้นมากขึ้น ส่งผลให้ยิงได้ไกลขึ้น
2 กระสุนจะมีความเสถียรในอาการปั่น ได้มากขึ้น ส่งผลให้กระสุนวิ่งได้ถูกต้องตามแนวกระสุนวิถี
- กระสุนไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง ที่จริงมีลักษณะโค้ง
- ดินปืนที่ใช้ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1 ดินดำ ใช้กับปืนบรรจุปาก จำพวก ปืนแก๊ป ปืนคาบศิลา
2 ดินควันน้อย ใช้กับปืนทั่วๆ ไป ทั้งปืนพก ลูกโม่ แต่บางชนิด อาจเพิ่มความเร็วใจการเผาไหม้มากขึ้น
3 ดินระเบิดแรงสูง ใช้กับปืนออกแบบ พิเศษ ที่มีเขียนเพิ่มว่า ไนโตร
- อำนาจ ทะลุทะลวง เป็นคนละเรื่องกับแรงปะทะ
อำนาจทะลุทะลวง ต้องเพิ่มองค์ประกอบ 3 ประการ
* 1 ความเร็วต้น
* 2 มวลของกระสุน หรือน้ำหนักของกระสุน
* 3 ความคงทนของกระสุน สังเกตุได้ว่า กระสุนเจาะเกราะ มักประกอบหัวกระสุน
ด้วยแกนที่มีความคงทนสูง บางชนิดใช้ทังเสตนเป็นแกนด้วยซ้ำ แต่ไม่สามรถ ใช้ทั้งกระสุนได้
เพราะจะทำลายลำกล้องปืน
แรงปะทะ ถ้าต้องการแรงปะทะมาก ๆ ต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการ
* 1 มวล หรือน้ำหนัก ของกระสุนต้องมาก หน้าตัดต้องมาก ไม่มีลักษณะแหลมเรียว
* 2 ความเร็วของกระสุนต้องไม่มากจนเกินไป เพียงแค่ ไกล้เคียง หรือต่ำกว่าความเร็วเสียงก็พอ
เพราะถ้ามากไป แรงปะทะจะลดลง ทำให้กระสุนทะลุออกไปเสียมากกว่า
- อาการของการถูกยิง
* ถ้าล้ม ลักษณะทรุด แสดงกระสุนทะลุด้วยความเร็วสูง
* ถ้าล้ม ลักษณะหงาย หรือคว่ำ ตามแรงกระสุน กระสุนความเร็วจะต่ำกว่า
อาจค้างอยู่ในเป้า
- ที่ว่าปืนอาก้า โดนยิง บาดเจ็บมากกว่า m 16 นั้นไม่จริง
เนื่องจาก ด้วยมวลของกระสุนที่มาก ทำให้กระสุน ยังคงรูป และหมุนต่อไปได้ อาจทะลุไปเฉยๆ
แต่กับ m 16 กระสุนเมื่อเข้าเป้าหมาย จะเสียการทรงตัวทันที เนื่องจาก มวลน้อยกว่ามาก ทำให้
เกิดอาการปัด เอาข้างเข้าตี ขวางเป้าแบบไร้ทิศทาง ทำให้บาดแผลภายในน่ากลัวมาก เพราะ
ทำลายเนื้อเยื่อได้มากกว่า
สงสัยเรื่อง ปืนกระสุน ก็ถามได้ครับ ถ้าตอบไม่ได้เดี๋ยวเปิดตำราตอบให้
ถ้างั้นกระสุน m 193 ก็น่าจะเพิ่มความเร็วแล้วค่อยลดลงในรูปแบบเดียวกับ เอ็ม 855 (แต่ด้วยอัตราที่ต่างกัน) ในการปั่นเช่นกัน ใช่ไหนครับ
กระสุนไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง ที่จริงมีลักษณะโค้ง
มันโค้งยังไงหว่า
อธิบายทีครับ
โค้งในแนวดิ่งครับ
เนื่องจากโดนแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำให้ดิ่งลง แต่อาศัยแรงเฉื่อยวิ่งไปเรื่อย กระสุนปืนจึงตกสู่พื้นในที่สุด เนื่องจากแรงเฉื่อยน้อยลงเรื่อยๆขณะที่แรงโน้มถ่วงเท่าเดิม บวกกับแรงเสียดทานของอากาศ อัตราการตกลงสู่พื้นของกระสุนจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย (ไม่ใช่อย่างนั้นซะทีเดียว แต่ให้เห็นภาพง่ายๆ)
แนวโค้งคล้ายกับการปาลูกบอลครับ แต่มันโค้งน้อยมากจนดูด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั่นแหละครับ ช่วงแรกที่พ้นปากลำกล้อง วิถีกระสุนจะโค้งน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยจนตกพื้นครับ
มาตอบ
* m193 ก็มีอาการปั่นเพิ่มความเร็วแบเดียวกัน เพียงแต่จะลดลงเร็วมาก เมื่อพ้นระยะ 200 เมตร
เนื่องจากการครบรอบเกลียวห่างถึง 12 นิ้ว
* อาการโค้งของกระสุน
คงทราบกันดีแล้วว่า โดยปกติ ลำกล้องจะอยู่ต่ำกว่าเส้นเล็ง ( เส้นเล็ง คือเส้นตรงซึ่งเป็นเส้นสมมุติ ไม่มีจริงและมองไม่เห็น ลากจาก ดวงตา - ศูนย์หลัง - ศูนย์หน้า - เป้าหมาย )
เมื่อลั่นกระสุนครั้งแรก กระสุนจะอยู่ต่ำกว่าเส้นเล็ง แล้วเหินเหนือเส้นเล็ง ด้วยกับมุม ระหว่าง เส้นเล็ง กับแนวลำกล้อง ( มุมนี้จะมากน้อย ขึ้นอยู่กับระยะห่าง ระหว่างศูนย์ กับ แนวลำกล้อง ) เมื่อเหินเหนือ เส้นเล็งแล้ว จะเกิดอาการโค้งค่อยๆ ลงมาจนบรรจบ เป็นจุดตัดกับ เส้นเล็ง นั่นก็คือ ระยะที่ตั้งไว้สำหรับยิงเป้าหมาย อยากให้ตัดกันระยะไหน ก็ปรับกันที่ ศูนย์ปืน โดยปกติ ระยะ 25 เมตร กระสุนปืนเล็กยาว จะอยู่ต่ำกว่าเส้นเล็ง แล้วเหินขึ้น จนมาบรรจบกันอีกครั้ง ที่ระยะ 250 เมตร ( m16 a1 ) ซึ่ง จุดตัดที่สอง ที่กระสุนมาตัดกับเส้นเล็ง นั่นคือการตั้งค่าสำหรับใช้งานจริง
*** ที่กล่าวมา สำหรับปืนยาว
ทีนี้มาว่ากันถึงปืนสั้น หรือปืนพก ที่ระยะยิงไกล้ และศูนย์ อยู่ไกล้กับลำกล้องมาก
สำหรับปืนสั้น ทุกชนิด จะตั้งค่าให้ทำการยิง ณ จุดตัดแรก คือกระสุนต่ำกว่า เส้นเล็งแล้วมาตัดกัน
นั่นคือเป้าหมาย ไม่ต้องโค้งลงมาหาจุดตัดที่สอง โดยปกติตั้งศูนย์ ที่ระยะ 15 เมตร
^
^
^
+1ครับ
ขอบคุณครับ
ที่จริงผมก็สนใจเรื่องอาวุธ แต่ที่ศึกษาจริงจัง ก็เป็นพวกปืนเล็กยาว และปืนพก
เพราะต้องใช้เป็นประจำ และต้องคอยสอนทหารอยู่เรื่อยๆ
ทหารทั่วๆ ไปมัก มีความรู้ เรื่องการใช้งาน และบำรุงรักษา
ผมเลยต่อยอดไว้หน่อย เพื่อเพิ่มพูนความรู้น่ะครัีบ แต่ก็ยังต้องเรียนอีกมาก
เพราะรายละเอียดเยอะเหลือเกิน
จริงๆ M16A1 ใช้ M855 ได้ แต่ไม่แนะนำเพราะมันไมไ่ด้ทำมาแทนกัน แต่ถ้าจำเป็นก็พอใช้ได้ แต่ยิงมากไม่ได้ ให้ดี ห้ามใช้เลยครับ m16a1และa2 6 เกรียวเวียนขวาเหมือนกันนะ
จากประสบการณ์ของพี่ชายแท้ๆ พี่ผม ตอนฝึกเรียนยิงปืนเป้นนายสิบ เขาให้ยิง M16A1(tar 21 ยังไม่มา ในตอนนั้น)เพื่อนด้านซ้ายพี่ผม ได้ลูก m855 มายิง รู้สึกว่าเป็นนัดที่ 3 เหนี่ยวไกเท่านั้นละ ตู้มๆ upper แตก ปืนระเบิด upper ลอยข้ามหัวพี่ผมไปเลย งงมาก ตอนระเบิด upper ลอยไปโดนดั้งของทหารเพื่อนพี่ผม แตก เลือดอาบเลย m16a1 กระบอกนั้นทิ้งเลยแน่ๆ เพราะ หาอะไหลจากไหนมาเปลี่ยนหรือเอาตัวที่ปลดแล้วมาใส่ก็น่าจะไม่มีปัญหาเพราะ upper มันเป็นอลูอย่างดี ใช้มา 40 กว่าปี ก็แทบไม่สึกเลย
อีกอย่าง นอกจากเกรียวในลำกล้องแล้ว ยังมีเรื่อง ความยาวของลำกล้องด้วยนะ ยิ่งยาว ยิ่งแม่นยำ ยิงไกลๆได้แม่นยำและ ความเร้วต้นของลูกกระสุนจะเร้วขึ้นมาก อยากพวก m16 เสียงปืนยิ่งเบา ส่วนปืนที่ลำกล้องสั้นๆ เช่นพวก m4 cqb, G36c ความเร็วต้นจะต่ำกว่าพวกไรเฟิลอยู่พอสมควร และที่สำคัญเสียงจะดังกว่ามากๆๆๆๆ