หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เปอร์เซ็นต์ความแม่นยำของมิสไซล์อากาศสู่อากาศ

โดยคุณ : toeytei เมื่อวันที่ : 15/12/2010 22:19:06

ถามผู้รู้ครับ 

 1 มิสไซล์อากาศสู่อากาศของเครื่องบินที่ใช้รบกัน เช่นพวก aim 120 amraam 

aim 9 sidewinder และ aim 7 sparrow (ขออภัยแฟนๆอาวุธค่ายรัสเซีย เพราะผมไม่ค่อยรู้จัก) นั้น มีเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำยิงถูกแค่ไหน

เพราะอ่านในวิกิภาษาอังกฤษ มันบอก aim 7 ที่ใช้กับ f-4 phantom ประสบความสำเร็จในการทำลายเป้าหมายแค่ 10 % เองครับ จนความคิดที่จะถอด ปญอ.ออกจากเครื่องต้องยกเลิกไป

2 เวลาโดนยิงด้วยมิสไซล์ อากาศสู่อากาศ เครื่องบินมันหลบกันพ้นมั่งรึเปล่า แบบพวกที่หักเลี้ยวหลบ หรือพลิกลำตัวอะไรเทือกนั้น

3 แฟลร์ใช้ได้เฉพาะกับมิสไซล์ที่นำวิถีด้วยอินฟราเรดหรือว่าใช้กับมิสไซล์ที่นำวิถีด้วยเรดาร์ได้ ผมรู้แต่ว่าแฟลร์มันใช้ความร้อนล่อเป้าพวกที่นำวิถีด้วยอินฟราเรด แต่หากมิสไซล์ที่นำวิถีด้วยเรดาร์วิ่งไปปะทะกับแฟลร์จะถูกทำลายหรือไม่ครับ

 

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ. ผู้ไม่รู้ก็สามารถมาแลกเปลี่ยนความเห็นได้ครับ แหะๆ





ความคิดเห็นที่ 1


มาว่ากันที่ระบบป้องกันก่อนแล้วกันน่ะครับ ระบบป้องกัน มี2ประเภทอย่างที่ว่า แฟร์-พลุความร้อน ใช้ลวงหัวรบค้นหาเป้าหมายด้วยอินฟาเรด  ส่วนชาฟ ใช้ลวงหัวรบค้นหาเป้าหมายด้วยเรดาห์ โดยยังใช้ระบบสงครามอิเล็คทรอนิคประจำอากาศยานในการก่อกวนการนำทางให้อาวุธ จากอากาศยานหรือแม้แต่ตัวจรวดเอง  โดยแซมรัสเซียมาสารถยิงได้ทั้ง แอคทีพและเซมิ-แอคทีพ ก็คือใช้เรดาห์ จากเครื่องบินนำทางให้นั้นเอง  ส่วนที่ถามว่าจรวดจะถูกทำลายหรือไม่ ถ้าเป็นจรวดโดนลวงด้วยเป้าลวงทำงาน ก็คือวิ่งหลงทางไปนั้นเอง หรือ วิ่งไประเบิดที่พลูความร้อน แต่รุ่นใหม่ๆหัวรบค้นหาประสนิทธิภาพสูงมากขึ้น ในขณะเรายิงแฟร์ และเร่งเครื่องหนีความร้อนที่เกิดจากเครื่องยนต์อาจจะมากกว่าแฟร์ จนไม่สามารถลวงได้ผลครับ ประมาณวิ่งทะลุแนวแฟร์ เข้าหาเครื่องเลย

ส่วนอากาศยาน จะหลบพ้นหรือหักหนีทันรึเปล่า ส่วนใหญ่จรวดมีการทำงาน2แบบคือ กระทบแตกหรือเฉียดระเบิด ก็คือถ้าไม่พุ่งชนจังๆก็ระเบิดในระยะเท่านั้นและส่งสะเก็ดเข้าตัวเครื่อง เท่านี้ก็ถือว่ามากพอแล้วครับ มีขอบเขตการระเบิดที่กว้างพอดู ยิ่งจรวดจากรัสเซียลูกนึง 22-30กว่าก.ก.เป็นระเบิดแรงสูง ยิ่งแซฒภาคพื้นขนาด เอส-300 นี่ระเบิดเริ่มที่100ก.ก.

ส่วนอัตรายิงโดนเป้าหมายมีทั้ง ประสิทธิภาพของหัวรบในการค้นหา รวมถึงประสิทธิภาพในการตรวจจับจากอากาศยานด้วยกัน ที่ยุคนั้นยังพัฒนาไม่มากพอน่ะครับ

 


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 15/12/2010 00:50:37


ความคิดเห็นที่ 2


อาวุธปล่อยยุคแรกๆนั้นมีความคล่องตัวต่ำและทนแรงจีได้ไม่มาก

ในสมัยสงครามเวียดนามAIM-7นั้นมีระยะยิงไกลแต่มีข้อเสียคือต้องใช้เรดาร์ของเครื่องบินล็อคไว้ตลอดเวลา และมีความคล่องตัวต่ำ

ทำให้มีปัญหาเมื่อเจอกับMiG21มีมีขนาดเล็กและคล่องตัวสูง สถิติก็ตามที่วิกิบอกยิงไป100โดน11ถือว่าน้อยมาก

แต่ในปัจจุบันAIM120นั้นเป็นระบบยิงแล้วลืมความแม่นยำจัดว่าเชื่อถือได้

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 15/12/2010 01:25:02


ความคิดเห็นที่ 3


แล้วอาวุธนำวิถีค่ายยุโรปตะวันตก (ไม่นับของฝรั่งเศส) อย่างพวก แอสแรม IRIS-T ที่ยังไม่เคยใช้ในสงครามจริงจะน่าเชื่อถือได้ในระดับไหนครับ

โดยคุณ Condor เมื่อวันที่ 15/12/2010 04:12:49


ความคิดเห็นที่ 4


 

เท่าที่ทราบน่ะครับ

1.%ความแม่นยำ ขึ้นอยู่กับรุ่นของจรวด sidewinderรุ่นแรกๆจะเป็นรุ่น aim-9p จะเป็นรุ่นแรกๆสำหรับจรวดค้นหาอินฟราเรด  โดยจะต้องวางตำแหน่งของเครื่องบินให้อยู่บริเวณหางเครื่องบินของศัตรูจึงจะยิงได้แม่น     รุ่น aim-9m จะเป็นรุ่นที่ยิงได้องศากว้างกว่า    รุ่น aim-9x ล่าสุดจะยิงได้ทุกองศา ความแม่นยำสูง  รุ่นใหม่ๆจะใช้สัญญาณความร้อนที่มาจากเครื่องบินโดยตรง  โดยคลื่นความถี่ของความร้อนของเครื่องบิน กับแฟลร์จะไม่เหมือนกัน  ดังนั้นต่อให้ใช้แฟลร์  แต่ถ้าเราล็อคเป้าที่ตัวเครื่องบินได้ แฟลร์ก็หมดประโยชน์

 สำหรับ aim-7 เป็นรุ่นsemi active radar ต้องใช้เรดาห์เครื่องบินช่วยนำทางให้จนกระทบเป้า  ไม่ค่อยจะได้ผลมากนักเพราะเครื่องบินที่จะล็อคต้องอยู่นิ่งเป็นเป้าซะเอง  ในสงครามเวียดนามบันทึกว่ายิงได้แค่ลำเดียวเอง  แถมระบบการพิสูจน์ฝ่ายในสมัยนั้นก็ระบุได้ยากและไม่รวดเร็วพอด้วย

aim-120 เป็นรุ่นที่พัฒนามาจาก aim-7  มีเรดาห์เล็กๆในตัว ความแม่นยำดีมาก  ในการยิงระยะปานกลาง จะต้องให้เครื่องบินล็อคเป้าระยะหนึ่งก่อน  พอเข้าระยะที่เรดาห์ของจรวดจับได้ ก็จะล็อคเป้าเอง คราวนี้เครื่องบินก็สามารถหลบหนี หรือจะไปล็อคลำอื่นได้อีก

2. มันก็ต้องหลบละครับ ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือนักบิน และอุปกรณ์ลวงที่ติดมาด้วยครับ พ้นไม่พ้นก็แล้วแต่ฝีมือแล้ว

3.แฟลร์ใช้กับจรวดนำวิถีด้วยความร้อนเท่านั้นครับ  จรวดนำวิถีด้วยเรดาห์ต้องใช้แชฟ (chaff) เป็นอุปกรณ์ที่มีแผ่นอลูมิเนียม หรือแผ่นฟลอยชิ้นเล็กๆจำนวนมากๆ ยิงออกไปให้ม่านกว้างๆ ลวงให้เรดาห์ของจรวดคิดว่าเป็นเป้า  ได้ผลแค่ไหน อันนี้ลองไปค้นดูเองนะจ๊ะ     จรวดแบบเรดาห์ไปกระทบกับแฟลร์ อันนี้ไม่เคยมีรายงานว่าจรวดจะถูกทำลาย เพราะโอกาสโดนต่ำมาก แฟลร์ลูกนิดเดียว แถมเผาไหม้ไวยังกะไม้ขีดไฟ

 

อะไรที่บอกผิดไปก็วานกูรูบอกด้วยนะจ๊ะ

 

โดยคุณ tapfah เมื่อวันที่ 15/12/2010 10:37:26


ความคิดเห็นที่ 5


ณ.ปัจจุบัน จรวจนำวิถีตามความร้อนยุคที่5 มีโหมดจดจำและวิเคาระห์รูปแบบ รังสีความร้อนของตัวเครื่องด้วยนะครับ และความอ่อนตัวในการพุ่งเข้าหาเป้าหมายก็สูงขึ้น ความเร็วก็สูงขึ้น

จำเป็นต้องตามเทคโนโลยี่ของ บ.รบยุคหน้าให้ทัน เพราะจากรูปแบบหน้าตัดลดการสะท้อนกลับของเรด้าห์/วัสดุและสีที่ดูดกลืนการสะท้อนเรด้าห์ของตัวเครื่อง..ฯลฯ

อนาคต ชาฟ/แฟร์ ก็คงมีความจำเป็นต้องปรับรูปแบบ เฉพราะแต่ละเครื่อง ตามไปด้วย

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 15/12/2010 11:19:08