ผมอยากรู้ว่า ทำไมบ้านเราจึงไม่เอาเครื่องบินขนาดใหญ่ 2 เครื่องยนต์บ้างครับ
เพราะเห็นเพื่อนบ้านเขามีกันหมดแล้ว แล้วไทยจะสู้ได้ไหม ลำเล็กนิดเดียวครับ
อย่าง SU 30 นะ F 15 นะครับอยากได้ครับ
คนไม่ค่อยรู้ครับ
เราเคยเสียค่ามัดจำกับ F-18 C/D ไปแล้วครับ
ก็ใด้ ADF มาแทน
เกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจสถานะการเงินมากกว่าครับ ถ้ามีพอเพียงก็คงใด้
ตามหลักแล้วเรามีใว้เพื่อป้องกันประเทศ เครื่องเล็กแบบกริฟเพน แต่สมรรถนะสูงก็ถือว่าเพียงพอกับภาระกิจ
กริฟเพน ถือใด้ว่าเป็นเครื่อง ยุคที่4.5 ที่สำคัญคืออาวุธทันสมัยที่มีความแม่นยำสูง(ยุโรป) สามารถติดตั้งใด้เลย
เรื่องเล็กหรือใหญ่นี้ไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพเลยครับ อาจเป็นรองก็แค่ระยะตรวจการณ์ แต่เราก็มี AEW ค่อยช่วยอยู่แล้ว ส่วนเรื่องความประหยัดนั่น Gripen C/D ชนะใสๆ ส่วนเรื่องอาวุธที่นำมาติดตั้งนั่น ไม่ได้เป็นรองเลยครับ ลองไปหาข้อมูลเก่าๆดูนะครับ ว่าเราสั่งซื้ออะไรไปบ้าง
เครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ อย่าง su3o หรือ f-15 นั้นบรรทุกอาวุธได้มากว่า gripen ก็จริง เหมาะสำหรับภาระกิจด้านการโจมตีระยะทางไกล ซึ่งไม่ใช่นโยบายของทอ.ไทย ที่เน้นตั้งรับเเล้วสวนกลับ4 4 2 เหมือน ทีมอีตาลี และจุดอ่อนที่ เครื่องลำใหญ่ เรดาห์จึงตรวจจับได้ง่ายกว่า เเละเนื่องจาก ขนาดของเครื่อง ค่าใช้จ่ายมันเยอะ บานเเน่ๆ
สรุป ก็คือ ไม่มีตัง มีตังก็สอย f-15 มาเเล้วพี่ใครจะไม่อยากได้
อยากได้เครื่องลำใหญ่ ต้องถามก่อนว่า จะเอาไว้ใช้ทำภารกิจอะไร.......... ถ้าเป็นการรบทางอากาศ เครื่องขนาดใหญ่ จะเป็นเครื่องครองอากาศ ซึ่งขีดความสามารถของมันจะมีความพิเศษตรงที่ สามารถเข้าไปสถาปนาการครองอากาศได้ลึกถึงดินแดนข้าศึก จะครองได้นาน หรือได้ชั่วประด๋าวอันนี้ยังมีเงื่อนไขปัจจัยอีกเยอะ(ไม่ขอกล่าว) .............จริงๆแล้ว ในอาเซี่ยน มีเพียงชาติเดียวคือเวียตนาม ที่มีเครื่องนครองความเป็นจ้าวอากาศแท้ๆในครอบครอง นั่นคือเครื่อง ซู-๒๗ (มิก-๒๙ ออกแบบเป็นเครื่องครองอากาศ แต่ด้วยขนาดและพิสัยบิน ถือว่ายังมีข้อค้านอยู่ในตัวเอง จึงจัดเป็นเครื่องป้องกันภัยทางอากาศ) ..............การครองอากาศเหนือดินแดนข้าศึกแบบเบ็ดเสร็จนั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สมบูรณ์เต็มรูปแบบ ............ คือต้องมีการโจมตีและกวาดล้างในขั้นเริ่มแรก จนแน่ใจได้ว่ากำลังทางอากาศของข้าศึก(เครื่องบินรบ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ) ได้ถูกลิดรอนลง ในสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการครองอากาศของฝ่ายเรา...................... จะเห็นว่า ปติมากรรมการรบลักษณะนี้ มีต้นทุนค่อนข้างสูง อาศัยเครื่องไม้เครื่องมือค่อนข้างมาก ทีสำคัญ เป็นการใช้กำลังในทางรุก อันมี "เจตจำนงในการสถาปนาอาณาเขต บนดินแดนข้าศึก"................ครับที่กล่าวมาข้างต้น ท่านว่า ในยุคปีสองพันสิบนี้ จะมีชาติใดในอาเซี่ยนที่หาญคิดการใหญ่ดังนี้ได้ครับ ?????? ความคิดในการทำสงครามเพื่อรวมดินแดนเหมือนที่เพื่อนบ้านเราเคยวาดฝันไว้ในอดีต น่าจะหมดไปจากสมองแล้ว การจัดกำลังที่เหลือทั้งหมดในอาเซี่ยน เพื่อมุ่งเน้นในการปกป้องน่านฟ้าเป็นหลัก ส่วนที่เหลือก็มีกำลังเพียงพอในการคลี่คลายความขัดแย้ง ประมาณว่าโดนเหยียบหัวโป้ตีน เลยต้องปล่อยของ ส่งคนไปตบกระบานถึงที่บ้าน อันนี้ก็เพื่อมุ่งหวังในการลิดรอน ไม่ก็เพื่อให้รู้สำนึกเสียบ้าง ก็คงเป็นไปแค่นั้น...............
ทีนี้ ที่สำคัญ เพิ่มเติมอีหน่อย บางชาติ ไม่ใช่ว่า มีเครื่องบินรบครองจ้าวอากาศใหญ่ๆ สักฝูงสองฝูง แถมมีเอแหวกลำสองลำ แล้วจะครองอากาศเหนือดินแดนข้าศึกได้ จะเห็นว่า ขนาดอเมริกาที่ระดมสรรพกำลังยิ่งใหญ่เป็นกองทัพยกมาตีเวียตนาม ทั้งเครื่องบินโจมตี เครื่องครองอากาศ เครื่องเตือนภัยล่วงหน้า เครื่องทำลายเรดาร์ เครื่องอิเลคทรอนิคส์แจมมิ่ง แท้งเก้อร์ ๙ล๙ แต่ที่สุด เอฟ-๑๐๕ บี-๕๒ และที่สำคัญเครื่องครองอากาศ/คุ้มกันชั้นดาราอย่าง เอฟ-๔ ก็ยังพลาดท่า ให้อินเตอร์เซปเตอร์ ราคาถูกๆ อย่าง มิก-๒๑ สอยร่วงได้.............เพราะฉะนั้นถ้าหากคิดว่า ทอ.ของเรา มีเอฟ-๑๕ ซี สักฝูง หรืออาจเป็น ราฟาล ยูโรไฟเตอร์ สัก โหลนึง แล้วจะบินไปกร่าง ทำวนฉวัดเฉวียนครองน่านฟ้าเหนือผืนดินพม่า เหนือเขมร หรือที่อื่นๆ เช่นนั้น ถือว่าคิดผิด ....... อาจจะโดนฝูงมิกรุมทึ้ง หรือมิเช่นนั้นก็อาจโดน แซมโบราณๆ สอยร่วงตูดจ้ำเบ้า...................ก็เป็นได้
แล้วชาติในอาเซี่ยนมียุทธศาสตร์ในการจัดกำลังทางอากาศอย่างไร ????..................ดังที่กล่าวไปบ้างแล้ว กำลังทางอากาศของอาเซี่ยนมีไว้เพื่อป้องกันมาตุภูมิจากการรุก แต่ส่วนหนึ่งก็สามารถเปิดยุทธการ กลับเป็นฝ่ายรุกเพื่อคลี่คลายปัญหา ..........จะเห็นว่าในบทบาทป้องกันการรุกราน ประเทศที่มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก จะเลือกใช้เครื่องป้องกันภัยทางอากาศขนาดเบา ประจำอยู่ตามฐานบินต่างๆ ........... ยกตัวอย่างเช่น ไทย พม่า และ สิงคโปร์ เลือกที่จะใช้ มิก-๒๙ เอฟ-๑๖ และ กริเป้น ในการปกป้องน่านฟ้า........................สำหรับประเทศที่มีห้วงอากาศค่อนข้างกว้าง เช่น อินโดนีเซีย เวียตนาม และมาเลเซีย การเลือกใช้เครื่องขับไล่ป้องกันภัยทางอากาศประจำฐานบิน ย่อมเป็นการลงทุนที่มีมูลค่ามาก และจะเป็นเรื่องเหลือวิสัย หากห้วงอากาศกว้างใหญ่นั้นอยู่เหนือบริเวณทะเล ..............การเลือกใช้เครื่องขนาดใหญ่ สามารถบินเกาะห้วงอากาศได้นานๆ ในลักษณะครองอากาศเหนือดินแดนตนเอง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ลงทุนน้อยกว่า ซึ่งทั้งสามชาติที่กล่าวมา เลือกใช้เครื่องบินรบแบบ ซู-๓๐.......................
การคลี่คลายวิกฤตการ ด้วยการเปิดยุทธการเป็นฝ่ายรุก.......................... บางวิกฤตการ ภัยคุกคามอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก ซึ่งบริเวณนั้น มีการคุ้มกันด้วยการป้องกันภัยทางอากาศเป็นอย่างดี..........................การใช้กำลังทางอากาศโจมตี ในการแก้ไขปัญหาบางครั้งจำเป็น ต้องใช้ยุทธวิธี แทรกซึม หลบหลีกเล็ดลอด เข้าไป ทั้งนี้อาจปราศจากการคุ้มกัน หรือแจ้งเตือนภัยจากฝ่ายเดียวกัน ...................เหตุนี้ เครื่องบินโจมตีจึงจำเป็นต้องมีลักษณะเฉพาะ....................... เครื่องที่มีขนาดใหญ่ ย่อมมีสมรรถนะดีกว่าเครื่องขนาดเล็ก เนื่องจาก เป้าหมายที่อยู่ไกลเข้าไปจากเขตแดน พิสัยบินจะเป็นตัวชี้วัดสมรรถนะในลำดับแรก ในบางกรณี เป้าหมายอาจอยู่ในพิสัยของเครื่องบินขนาดเล็ก แต่สำหรับเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถบรรทุกเชื้อเพลิงและอาวุธได้มากๆ ยังสามารถนำไปโจมตีหลายๆเป้าหมายต่างๆในระยะที่ต่างออกไป ซึ่งลักษณะเช่นนี้ อาจเกิดขึ้นด้วยการบินเจาะเข้าไปเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้สามารถลดความเสี่ยงจากจำนวนเที่ยวบิน และจำนวนเครื่องบินที่บินเข้าไปครั้งละมากๆ ได้อีกด้วย.........................ความจำเป็นที่ต้องเอาตัวรอดจากภารกิจ ด้วยตัวเอง ก็เป็นการกำหนดลักษณะของเครื่องบินโจมตีทางลึกยุคใหม่ ....................... คือนอกจากจะมีขีดความสามารถหลบหลีกการตรวจจับด้วยการบินเกาะภูมิประเทศเป็นอย่างดีแล้ว การป้องกันตัวเองจากเครื่องบินป้องกันภัยทางอากาศ ก็ได้สร้างให้เครื่องบินถูกอัดแน่นไปด้วยระบบเอวิโอนิคส์ ทั้งการนำร่อง ระบบตรวจจับชี้เปา รวมถึงอาวุธยิงอากาศสู่อากาศระยะไกลกว่าสายตามองเห็น โดยทั้งหมดบังคับให้มิติต้องมีขนาดใหญ่ เพื่อรองรับอุปกรณ์ดังกล่าว...........................
ทีนี้ พอจะทราบหรือยังครับ ว่าเครื่องบินขนาดใหญ่นั้น มีไว้ใช้ทำอะไรได้บ้าง...............................ผมเคยเชียร์ เครื่อง ซู-๓๐ ในครั้งที่ขับเคี่ยวกับ กริเพ่น...........................ครั้งนั้นผมเน้นย้ำโดยให้น้ำหนักไปที่การทำภารกิจโจมตีทางลึก.............................แต่ด้วยความที่ถูกออกแบบมาเป็นมัลติโรล์ไฟท์เตอร์ บทบาทการป้องกันภัยทางอากาศถือเป็นผลพลอยได้ที่คุ้มค่า ................ ที่สำคัญ ผมยังไม่เคยพูดถึงการครองอากาศโดยวิธีรุกเลย ซึ่งนอกจากทำไม่ได้แล้ว ยังเป็นไปไม่ได้ด้วย .............................. ผมได้ยินเพื่อนๆพูดกันบ่อย บอกว่ากองทัพอากาศของเรา เน้นตั้งรับ ไม่มีนโยบายทางรุก...............ด้วยดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องใหญ่.....................พูดเช่นนั้นไม่ถูกครับ....................... นโยบายตั้งรับหน่ะ ถูกต้องแล้ว แต่การตั้งรับมันมีทั้งตั้งรับแบบที่เข้าใจ แต่คือตั้งรับหยุดการเคลื่อนที่ของข้าศึก คือข้าศึกใช้กำลังทางอากาศ ครองอากาศเหนือดินแดนเรา(การครองอากาศ ประกอบด้วยการใช้เครื่องบินครองห้วงอากาศ และการโจมตีภาคพื้นดิน) ทั้งนี้เพื่อเปิดทางให้กำลังทางบกของเขา ...................ทีนี้ เราก็ใช้เครื่องบินเข้าสกัดกั้น เพื่อของเขาไม่ให้การครองอากาศสัมฤทธิ์ผล................................ หรืออีกกรณี ข้าศึกใช้การโจมขัดขวางทางลึก เราก็ส่งอากาสยานขึ้นสกัดกั้นทำลาย นั่น คือการตั้งรับ หรือการป้องกันภัยทางอากาศ............................
ทีนี้.กับการตั้งรับอีกแบบ คือ ตั้งรับเชิงรุก เป็นการใช้กำลังกับมิติด้านลึก คือการใช้กำลังเพื่อปกป้องอาณาเขต โดยเลือกให้มิติการรบไม่อยู่ในดินแดนของฝ่ายเรา แต่ถ้าเป็นการโจมตีทางอากาศจะหมายถึงการโจมตีขัดขวางทางลึก............................ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่เราจะเห็น ทอ. ยังมีความสนใจเครื่องบินรบสองเครื่องยนต์อยู่ โดยเสดงออกให้เห็นเป็นระยะๆ...........................ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่า เครื่องบินรบชนิดนี้ น่าจะได้รับการจัดหาเข้าประการ ก่อนเครื่องบินล่องหนขนาดเล็ก แบบ เอฟ-๓๕ เสียด้วยซ้ำ...............................
ขอบคุณ พี่กบ สำหรับบทความ เขียนดีมาก
เเต่สงสัยไม่เข้าใจคำว่า " โจมตีทางลึก หรือ ด้านลึก" ? คือ ลึกยังไง เเบบไหน ลึกเข้าไปในดินเเดนของข้าศึกหรือยังไง?
เเสดงว่าต้องมี การโจมตีทางตื้นด้วยสิ ( ด้วยความเคารพ ไม่ทราบจริงๆขอรับ)
ลำใหญ่ๆก็มีแล้วนิครับ C-130 ใหญ่กว่า SU-30อีกครับ ล้อเล่นนะครับ
ไม่มีเงินได้แค่นี้ก็ดีกว่า F-16 มือสองก็ดีแล้วครับ ถ้ามีเงินก็คงเป็น F-35 มั้งครับ
ถ้าตามที่คุณ กบว่าไว้หรือว่าท่านเท้าทองไหลใบ้หวยไว้ละก็ขอสนับสนุนแนวคิดนำเครื่องเก่าของอังกฤษเพิ่งปลดประจำการ ก็คือทอร์นาโด จีอาร์ ๔ นำมาขัดตาทัพก่อนรอจนกว่าเราจะพร้อมที่จะมีเจ้า เอฟ ๓๕
ถ้าเป็น F14 TOMCAT ยังพอเป็นตัวเลือกที่ดีใด้รึปล่าวครับ
Tomcat ปลดหมดแล้วครับ
เล็กใหญ่ไม่สำศัญสำศัญก็แต่คนขับเครื่องบินว่ามีฝีมือแค่ไหนฝึกมามากแคไหนเก่งแค่ไหนอยู่บนฟ้าใครเอาตัวรอดได้เก่งกว่าเป็นผุ้ชนะแก้ใขสถานการณ์
เฉพาะได้ดีกว่าก็เป้นผุ้ชนะเหมือนกันใครเคยดูหนังเรื่องTopgunฟ้าเหนือฟ้าบ้างไหมละที่ครูฝึกในเรื่องมักจะขับเครื่องA-4ส่วนคนฝึกจะขับเครื่องเอฟ-14
พระเอกเราก็ขับเอฟ-14เหมือนกันผลสุดท้ายด้วยประมาทจึงโดนA-4ของครูฝึกล๊อกเป้าได้ดังนั้นเล็กหรือใหญ่ไม่สำศัญมีคนขับมากกว่าถ้าดวลกันระหว่าง
พี่ซู-30ตัวtopซึ่งคนขับไม่เก่งเท่าไหร่กับเอฟ-5คนขับชำนาญมากกว่าใครจะชนะใครจะโดนสอยล่วงก่อนคิดดูเอาเองละกันเพราะในเรื่องtopgunตอนท้ายๆๆเรื่อง
เอฟ-14ยังโดนเอฟ5สอยไปได้หลายเครื่อง(ในเรื่องบอกว่าMIG-28)
แล้วถ้านักบินซู-๓๐ เก่งกว่านักบินเอฟ-๕ หล่ะครับ...............หรืออย่างน้อยที่สุดเก่งเท่าๆกัน แล้วทำยังไง.....เอาบรรทัดฐานใดมาตอบว่า นักบินเอฟ-๕ ทุกคนเก่งกว่านักบิน ซู-๓๐ เช่นนั้น อเมริกา จะต้องลงทุนพัฒนาแร้ปเตอร์ขึ้นมาทำไม ให้หมดเงินหมดทองไปเป็นโกฏ ส่งนักบินทั้งหมดเข้าโรงเรียนท้อปกัน แล้วให้ขับเอสี่ ออกไปรบ จะไม่ประหยัดกว่าเป็นมากโขหรือครับ.....................
หนังท้อปกันที่เราดูเป็นหลักสูตรรบทางอากาศ โดยเฉพาะการพันตูระยะประชิด ซึ่งจริงๆแล้ว ท้อปกัน ยังมีหลักสูตรเครื่องบินโจมตีอีกด้วย.............
ถ้าที่ท่านว่ามาเป็นเรื่องการรบทางอากาศเพียวๆ จะใหญ่หรือเล็กย่อมสู้กันได้สำคัญที่เงื่อนไข............แต่ถ้าเป็นการโจมตีทางลึก ยังยืนยันความได้เปรียบบนความใหญ่ ......... แนะนำว่า ไม่ลองอ่านข้อความ(ไม่กล้าใช้คำว่าบทความ)ของผมข้างบนให้จบก่อนเล่าครับ......................
เห็นด้วยกับคุณกบนะครับ เรื่องการตั้งรับเชิงรุก และเราเองก็ยังไม่มีเครื่องบินประเภทนี้ด้วย ถ้าได้TORNADOมาก็ดี
ชอบท่าน กบ เขียนบทความบรรยายใด้ดีมากครับ
แต่อ่านดู ท่อนที่ 2และท่อนสุดท้าย มันขัดๆกันอยู่ เกี่ยวกับการครองอากาศเหนือดินแดนเป้าหมาย
ท่อนที่2 บินไปเหนือน่านฟ้าเป้าหมายแต่โดนสอย ด้วยจรวดโบราณๆ โดนมิครุมยำ
ท่อนท้ายสุด ยังจะไปตั้งรับเชิงรุกในดินแดนเป้าหมายอีก ไม่โดนสอยด้วย จรวดโบราณ ๆ รอบที่2อีกเหรอครับก้นจ้ำเบ้าอีกแล้ว
เราเลยใด้ กริฟเพนมาแทนเลย จะใด้ไม่ไปเพ่นพ่านเหนือดินแดนเป้าหมาย
งานเขียนนี่เป็นศิลปะ งานเขียนที่ดีต้องมีการ เกลา..............โดยเฉพาะคำฟุ่มเฟือย คำเชื่อมต่างๆต้องกระชับ....................ของผมที่เขียนยังไม่ ไม่ได้เกลาเลยไม่สละสลวย...................
ตอบคุณ แฟนธ่อม ไม่ค้านนี่ครับ..............................วรรคสอง เป็นเรื่องของการครองความเป็นจ้าวอากาศ........
วรรคสุดท้าย ตั้งรับเชิงรุก เป็นเรื่องของภารกิจ โจมตีขัดขวางทางลึก............... แม้จะต้องแหลนหน้า เข้าไปในดินแดนข้าศึกเหมือนกัน แต่จุดประสงค์และหลักยุทธวิธีต่างกัน สิ้นเชิงเลยครับ..........................
ดังนั้นเครื่องใหญ่ที่ผมว่า มันคือเครื่องโจมตีทางลึก เป็นเครื่องบินโจมตีขนาดใหญ่ ที่มีระบบนำร่องบินต่ำเกาะภูมิประเทศหลบเรดาร์เข้าไปเทระเบิดได้อย่างแม่น............ ที่สำคัญคือมีเรดาร์สมรรถนะสูงตรวจจับและยิงเครื่องบินรบข้าศึก ที่เข้าสกัดกั้นได้ตั้งแต่ระยะสายตามองไม่เห็น ............... ตัวอย่างเช่น เครื่อง เอฟ-๑๕ อีของสิงคโปร์ ไงครับ.......................
ส่วนการครองอากาศเหนือดินแดนข้าศึกนั้น เป็นการสถาปนาห้วงอากาศเหนือดินแดนข้าศึกเกือบจะเด็ดขาด คือมีเครื่องบินครองอากาศคอยบินวนคุ้มกันหากมีเครื่องบินข้าศึกบินขึ้นก็เข้าสกัด ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เครื่องบินโจมตี (อาจเป็นเครื่องขัดขวางในพื้นที่การรบ อันนี้เดี๋ยวจะอธิบานคุณราฟ เรื่องการโจมตีทางตื้น) ก็ดำเนินการ ในภารกิจโจมตีขัดขวาง หรือโจมตีสนับสนุนการรบร่วมกับเหล่าทัพอื่น................ ยกตัวอย่างเช่นสงครามอิรัคครั้งแรก หลังจากบอมบ์ด้วยนาๆอาวุธจนข้าศึกเปลี้ยแล้ว เอฟ-๑๕ ซี มะกัน ก็เข้าไปบินวนสถาปนาครองน่านฟ้า คุ้มกันแก่เครื่อง เอฟ-๑๖ ที่ทิ้งบอม โจมตีขัดขวางในพื้นที่การรบ.................
ทั้งสองอย่างนี้ มันแตกต่างคนละเรื่อง...........ไม่เห็นน่าสับสนตรงไหนเลยครับ.................
ผมยกตัวอย่างนึงนะครับคุณแฟนท่อม................
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่ดินแดนตะวันออกกลาง ครั้งนั้นอาหรับซึ่งมีอียิปเป็นหัวโจก กำลังจะทำสงครามอัดยิว..................... เรื่องมีอยู่ว่า ณดินแดนไกลออกไป หลายร้อยพันกิโล ในดินแดนของประเทศ อิรัค ได้มีรงงานพัฒนานิวเคลียเกิดขึ้น ยิวมองว่า โรงงานนี้มีแนวทางการเสริมสมรรถนแร่ธาตุ ที่จะประกอบเป็นระเบิดทำลายล้างสูง ซึ่งแน่นอน ย่อมเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว........................
ถามว่าในวิกฤติการนี้ ถ้าบทสรุปคือต้องใช้กำลังทางอากาศเข้าทำลายล้าง ท่านแฟนธ่อมจะใช้ยุทธวิธีแบบใด
๑. ครองอากาศเหนือดินแดนข้าศึก
๒.ป้องกันภัยทางอากาศ ครองอากาศเหนือดินแดนตัวเอง
๓.โจมตีขัดขวางทางลึก...........
ถ้าเป็นข้อแรก ท่านจะต้องใช้สเต๊ว บินลึกข้ามหลายประเทศ(ไม่มีชาติไหนให้ไปตั้งฐานทัพใกล้ๆ) เข้าไปทิ้งบอมศูนย์บัญชาการรบ ทำลายสถานีเรดาร์ ฐานอาวุธปล่อย สนามบินข้าศึก จากนั้นจึงส่ง เอฟ-๑๕ บทบาทครองอากาศ และ เอฟ-๑๖ บทบาทโจมตีเข้าไปครองอากาศ
ถ้าแบบที่สอง ท่านจะมีเครื่องบิน กริเพ่น บินวนอยู่รอบๆเขตประเทศของท่าน ติดอาวุธบีวีอาร์ ประสานงานด้วยแอแหว็ค รอขีปนาวุธนิวเคลียร์บินเข้ามาหาท่าน แต่ถ้าท่านฝืนติดระเบิดให้นกกระจิบน้อย ท่านก็จะห้อยลูกระเบิดเข้ากับกริเพ่น ซึ่งไม่รู้ว่าจะบินไปถึงเป้าหมายหรือเปล่า
ถ้าเป็นแบบที่สาม ท่านมี สไตร้ค์ไฟท์เตอร์ ลำใหญ่ บรรทุกระเบิด จรวด และน้ำมัน พอที่จะบินต่ำ(ใช้ระบบนำร่องบินต่ำ)เจาะเข้าไปในดินแดนข้าศึก ทิ้งบอมแล้วดำต่ำบินกลับ ระหว่างทางให้บังเอิญเจออินเตอร์เซบเตอร์บินเข้าหาในทิศเบื้องสูง ก็จัดการล็อคเป้าแล้วปล่อยอำรามออกไปพร้อมกันสองนัด จรวดเข้าดังจมูกนักบินข้าศึก ลำละหนึ่งนัด ท่านบินกลับบ้านสบายอารมณ์................
ในอนาคตสถานะการมันไม่แน่นอนครับ................ไอ้การเปิดฉาก ก่อศึกสงครามแบบเต็มรูปแบบ นำกำลังไปครองอากาศบ้านเค้า อันนั้นคงไม่เกิด......................แต่ไอ้แบบเล็ดลอดเข้าไปเบิ๊ดนี่ โอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาครับ (โดยเฉพาะยุคนี้ด้วยแล้ว ศัตรูรอบบ้านเรามันทำมัยเยอะดีจัง พวกเค้าห่วย หรือมีใครห่วยกันแน่).............................
แล้วถ้าเป็นอย่างนี้ เห็นที่ กริเป้นกับ เอแว็คของท่าน คงไม่เวิร์คเท่าไหร่ ................ จริงมั๊ยครับ.................
อ่อ ยุทธการบาบิโลนเลยด้วนไปดื้อๆเลย เอาเป็นว่ามีเวลาจะเล่าให้ฟัง....................ยิวนี่ เค้าเก่งจริง สมัยก่อนอาวุธไม่ได้ดีโด่อย่างนี้ แต่เค้าก็มีวิธีเผด็จศึกจนได้ มีเวลาจะเล่าให้ฟังครับ
ตามหลักสูตรการฝึกของอเมริกา เครื่องเอฟ 5 จะถูกสมมติให้เป็นเครื่องมิก 21 ด้วยว่ามีความคล้ายคลึงกันหลายประการ แต่ในหนังไม่รู้เป็นเพราะยุคนั้น เอฟเฟ็คยังไม่ดี เลยต้องใช้เครื่องเอฟ 5 หรือเปล่า การจัดหาเครื่องมิกมาใช้ถ่ายทำก็คงจะลำบาก เนื่องจากยังอยู่ในยุคสงครามเย็น
จำได้ว่ายุคนั้น คอมพิวเตอร์ยังเป็น IBM ตระกูล 8086 อยุ่เลย
คือยุคนั้น คอมพิวเตอร์แบบ Desktop ยังเป็นจอสีเขียว ไม่มีฮาร์ดดิสก์ แล้วก็ยังใช้ DOS เป็น OS จะใช้งานแต่ละทีก็ต้องมานั่งเขียนคำสั่งภาษา เบสิค ทีละบรรทัด
ยุทธการบาลิโลน นี่ ใช่ ที่อิสราเอลนำเครื่องบินรบมาเรียงต่อกันให้ดูคล้ายเครื่องบินโดยสารพลเรือน เมื่อมองจากเรด้าห์ใช่ไหมครับ แล้วย่องไปทอยระเบิดถล่มโรงงานของอิรัก
ทีแรกก้สงสัยว่าจขทก.สงสัยเรื่องใดของกริเป้น...กระทู้ก็บานปลายไป แต่ไปในทางที่ดี
เพิ่มเติมครับ...โอเปอเรชั่น บาบิโลนหรือโอเปร่าในภาษาฮิบรู เมื่อปี 1981 (พ.ศ.2524) ที่อิสราเอลส่ง เอฟ-16 แปดลำ บรรทุกระเบิด มารค์-84 ลูกละ 2,000 ปอนด์ คุ้มกันด้วย เอฟ-15 หกลำ ไประเบิดโรงปฏิกรนิวเคลียร์โอสิรัคของอิรัค...ปฏบัติการได้สัมฤทธิ์ผลอย่างงดงาม ปรารศจากการสูญเสีย วิกิบรรยายได้สนุกสนานสนานมาก ลองเข้าไปดู
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับท่าน กบ
แต่ผมมองว่าสถานะการณ์ตะวันออกกลางกับรอบบ้านเรา ค่อนข้างจะแตกต่าง
ไม่ว่าพื้นที่ทะเลทรายขนาดใหญ่ หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถานการณ์สภาพแวดล้อมต่างๆ
และถ้ากริฟเพ็นมีหน่วยสนับสนุนเคลื่อนที่ไปด้วย ก็สามารถปฏิบัติการต่อเนื่องใด้ตลอดเวลา
แต่ปัญหาหลัก ประเทศเรากำลังจะโดนโจมตีด้วยนิวเคลียแล้วหรือนี่ ...
ถ้าเป็นทางตะวันตก F-16 เราวิ่งถึงที่แน่นอน
Tornado ผมว่า มันเก่าไปหน่อยนะครับ