หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ไทย-มาเลย์ ซ้อมรบทางทหารครั้งแรก เมษายน 54

โดยคุณ : ocean เมื่อวันที่ : 19/12/2010 21:59:45

ไทย-มาเลย์ ซ้อมรบทางทหารครั้งแรก เมษายน 54  (ไอเอ็นเอ็น)

          ประเทศไทย และ มาเลเซีย เตรียมซ้อมรบทางการทหารร่วมกันครั้งแรก ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์  ในเมษายนปีหน้า

          สำนักข่าวเบอร์นามาสื่อท้องถิ่นของมาเลเซีย รายงานอ้างคำกล่าว พลเอกตานศรี ดาโต๊ะ ศรี อซิซัน บิน อริฟฟิน ผู้บัญชาการกองทัพมาเลเซีย กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการระดับสูง มาเลเซีย-ไทย ครั้งที่ 26 ร่วมกับ พลเอกทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย เมื่อวันพฤหัสบดี (16 ธันวาคม) ที่ผ่านมาว่า ทางมาเลเซียรู้สึกยินดีสำหรับร่วมซ้อมรบทางการทหารร่วมกันในครั้งนี้ และได้เตรียมแผนการสำหรับการซ้อมรบร่วมเอาไว้แล้ว ได้แก่ การฝึกในที่บังคับการ รวมถึงการฝึกภาคสนาม

          นอกจากนี้ พลเอกอซิซัน ยังกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมฯ ว่าเป็นเวทีสำหรับสองประเทศเพื่อตอบสนอง  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือในเรื่องราวที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น การรักษาความปลอกภัยตลอดแนวชายแดนร่วมกัน ซึ่งการซ้อมรบร่วมครั้งนี้ ทางกองทัพบก จะเป็นผู้นำก่อนในครั้งแรก และจะมีการดำเนินการให้เหล่าทัพอื่น ๆ ร่วมซ้อมรบด้วยในครั้งต่อไป





ความคิดเห็นที่ 1


รู้จักกับกองทัพอากาศมาเลเซีย

กองทัพอากาศมาเลเซียก็เหมือนกับกองทัพอากาศของประเทศที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอื่น ๆ ก็คือในช่วงแรกจะเป็นกองทัพอากาศอังกฤษที่ดูแลน่านฟ้าให้ จนเมื่ออังกฤษถอนตัวออกไปในปี 1971 มีการลงนามสัญญาความมั่นคงร่วมกันระหว่างมาเลเซีย สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรในการร่วมกันปกป้องน่านฟ้า โดยในช่วงแรกกองทัพอากาศออสเตรเลียนำเครื่องบิน Mirage IIIO มาประจำการที่ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท (Butterworth Air Base) ตามสนธิสัญญา

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กองทัพอากาศมาเลเซียก็พัฒนาแบบก้าวกระโดด โดยในช่วงแรกได้ซื้อเครื่องบิน F-5E จำนวน 1 ฝุง 16 ลำ และ A-4C Skyhawks จำนวน 88 ลำซึ่งเป็นเครื่องบินส่วนเกินจากกองทัพอากาศสหรัฐ

กองทัพอากาศมาเลเซียจัดหาอากาศยานจากต่างค่ายกัน โดยหลัก ๆ มีอากาศยานจากสหรัฐ รัสเซีย และอังกฤษประจำการ

ปัจจุบันกองทัพอากาศมาเลเซียถือเป็นกองทัพอากาศอันดับต้น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทั้งหมด 5 ประเทศที่มีกองทัพอากาศใหญ่พอคือสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และ อินโดนิเซีย (เรียงตามลำดับความยิ่งใหญ่) มีอากาศยาประจำการเกือบ 100 เครื่อง โดยเป็นเครื่องบินขับไล่ โจมตีดังนี้



MiG-29N/NUB จำนวน 14 เครื่อง เป็นเครื่องบินขับไล่ของรัสเซีย ซึ่งมีข่าวว่ารัสเซียกำลังเสนอแผนการปรับปรุงเครื่องบินนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 19 ฐานทัพอากาศกวนตัน ลงไปทางใต้ของไทยไม่กี่ร้อยกิโล

F/A-18D จำนวน 8 ลำ ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 18 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ทใกล้ ๆ ชายแดนไทย โดยมีภารกิจหลักคือลาดตระเวนและโจมตีทางทะเล สามารถติดจรวดโจมตีเรือ Harpoon ใช้โจมตีเรือรบได้

Hawk 208 จำนวน 16 ลำ และ Hawk 108 จำนวน 6 ลำประจำการที่ฝูงบิน 15 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท ใกล้ ๆ ชายแดนไทยอีกแล้ว เครื่องบินนี้โดยพื้นฐานเป็นเครื่องบินฝึก แต่สามารถปรับภารกิจมาเป็นเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินได้

F-5E จำนวน 10 ลำ RF-5E สำหรับตรวจการจำนวน 2 ลำ และ F-5F รุ่นสองที่นั่งจำนวน 2 ลำ ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 12 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท ใกล้ชายแดนไทยอีกแล้ว

กองทัพอากาศมาเลเซียได้ประกาศการจัดหา F/A-18 F เพิ่มเติมจำนวน 18 ลำ โดยมีสเปคดังนี้

18 F/A-18F aircraft
36 F414-GE-400 aircraft engines
18 AN/APG-73 Radar Systems
3 spare F414-GE-400 aircraft engines
18 AN/ALR-67(V)3 Countermeasure Receiving Sets
18 AN/ALE-47(B)2 Countermeasure Dispensing Sets
12 AN/ALQ-214(V)2 Integrated Defensive Electronic Countermeasures
72 LAU-127B/A Guided Missile Launchers

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=skyman&month=03-2006&date=18&group=3&gblog=26

Blog กูรู ตัวจริง สมาชิกท่านใหม่ๆอาจยังไม่เคยเข้าดู

โดยคุณ ocean เมื่อวันที่ 18/12/2010 07:53:00


ความคิดเห็นที่ 2


รู้จักกับกองทัพเรือมาเลเซีย




หลังจากที่เราทราบข้อมูลคร่าว ๆ ของเรือดำน้ำและเรือฟริเกตที่ไทยน่าจะเล็งอยู่ ตอนนี้เราลองมาดูกองทัพเรือของประเทศด้านล่างดูบ้าง ซึ่งเป็นกองทัพที่น่าจับตามองและมีการพัฒนาอย่างแต่เนื่องด้วยแผนงานและงบประมาณที่น่าตกใจ ทำให้เราคงต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวของเค้าอย่างใกล้ชิด

ขี้เกียจพูดประวัติครับ เอาเป็นว่าเข้าเรื่องปัจจุบันเลยละกัน ในบทความนี้จะดูเฉพาะเรือฟริเกต คอร์แวตต์ และเรือดำน้ำ อาจจะมีเรือยกพลขึ้นบกและกองบินนาวีมาบ้างตามสมควรครับ มาดูนาวิกานุภาพของมาเลเซียกันเลย



Lekiu Class Frigate
เรือในชั้น: 2 ลำคือ KD Jebat (No.29)และ KD Lekiu (No. 30)



เจ้าลิเคียวนี้ระบบอาวุธแทบทั้งหมดเป็นของยุโรปครับ ไล่ตั้งแต่จรวดจนถึงเรด้าห์ โดยมีอุปกรณ์ของอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ เป็นต้น ต้องถือว่าเรือลำนี้สามารถปฏิบัติการได้ครบทั้ง 3 มิติอย่างสมบูรณ์ (ใต้น้ำ ผิวน้ำ อากาศ) โดยมีขีปนาวุธอากาศสู่พื้น exeocet MM40 Block II 8 ลูก ซึ่งทันสมัยกว่า exeocet MM38 ของไทยค่อนข้างมาก แถมระยะยิงไกลกว่า 100 กม. ส่วนขีปนาวุธอากาศสู่อากาศนั้นมาเลเซียเลือกใช้ Seawolf ของอังกฤษซึ่งเป็นขีปนาวุธระยะใกล้ที่มีระยะยิงประมาณ 6 กม. เดินทางด้วยความเร็ว 2.5 มัค โดยติดตั้งในท่อยิงทางดิ่ง (Vertical Launching) จำนวน 12 ท่อยิง ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการติดตั้งบนท่อยิงทางราบ เพราะไม่ต้องเสียเวลาหันท่อไปทางที่มีภัยคุกคามเข้ามา

Kasturi Class Frigate
เรือในชั้นนี้มี 2 ลำคือ KD Kasturi (Nio. 25) และ KD Lekir (No. 26)



สำหรับเรือชั้นนี้ก็ติดตั้ง exeocet MM40 Block II 4 ลูก เช่นเดียวกันกับชั้นลิเคียว แต่การป้องกันภัยทางอากาศนั้นใช้ปืน 30 mm แท่นคู่

Laksamana Class Corvatte
เรือในชั้นนี้มี 4 ลำคือ KD Hang Nadim (No. 134) KD Tun Abdul Jamil (No. 135) KD Mohammad Amin (No. 136) KD Tan Pusmah (No.137)



เรือชั้นลักษมันน์นี้ความจริงเป็นเรือที่อิรักสั่งต่อเพื่อใช้ในกองทัพเรืออิรัก แต่เกิดสงครามอ่าวเสียก่อน ประเทศผู้ต่อคืออิตาลีจึงไม่จัดส่งเรือให้ และประกาศขายให้ประเทศที่สนใจ ซึ่งมาเลเซียก็รับซื้อไปทั้ง 4 ลำ เรือชั้นนี้ใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือ Otomat Mark 2/Teseo ของอิตาลีจำนวน 6 ลูก ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ Aspide บนแท่นยิงแบบ Albatros แบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเรือชั้นรัตนโกสินต์ของไทย ซึ่งถือว่าเรือชั้นนี้มีความสมบูรณ์แบบในตัวของมันเองค่อนข้างมาก

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=skyman&month=04-2006&date=20&group=3&gblog=11

โดยคุณ ocean เมื่อวันที่ 18/12/2010 07:54:42


ความคิดเห็นที่ 3


คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 15.jpg Views:	1185 Size:	51.1 KB ID:	763399   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display.jpg Views:	37 Size:	40.0 KB ID:	763400   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display2.jpg Views:	31 Size:	26.4 KB ID:	763401  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 1.jpg Views:	38 Size:	67.4 KB ID:	763402   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 3.jpg Views:	35 Size:	102.1 KB ID:	763403   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 4.jpg Views:	35 Size:	126.4 KB ID:	763404  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 5.jpg Views:	34 Size:	41.8 KB ID:	763405   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 6.jpg Views:	32 Size:	22.8 KB ID:	763406   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 7.jpg Views:	32 Size:	20.2 KB ID:	763407  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 8.jpg Views:	27 Size:	30.2 KB ID:	763408   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 9.jpg Views:	32 Size:	88.4 KB ID:	763419   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 10.jpg Views:	28 Size:	31.9 KB ID:	763421  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 11.jpg Views:	27 Size:	82.3 KB ID:	763423   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 12.jpg Views:	28 Size:	31.1 KB ID:	763424   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 13.jpg Views:	29 Size:	34.4 KB ID:	763426  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 14.jpg Views:	27 Size:	60.7 KB ID:	763427   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 16.jpg Views:	27 Size:	25.2 KB ID:	763429   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 17.jpg Views:	26 Size:	45.1 KB ID:	763431  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 18.jpg Views:	24 Size:	44.7 KB ID:	763432   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 19.jpg Views:	26 Size:	103.7 KB ID:	763433   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 20.jpg Views:	25 Size:	71.0 KB ID:	763437  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 21.jpg Views:	23 Size:	8.7 KB ID:	763438   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 22.jpg Views:	24 Size:	8.7 KB ID:	763439   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 23.jpg Views:	23 Size:	65.9 KB ID:	763440  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 24.jpg Views:	23 Size:	15.9 KB ID:	763441   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 25.jpg Views:	24 Size:	41.6 KB ID:	763442   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 26.jpg Views:	24 Size:	6.6 KB ID:	763443  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 27.jpg Views:	23 Size:	42.3 KB ID:	763444   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 32.jpg Views:	30 Size:	26.1 KB ID:	763445   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name:	1_display 31.jpg Views:	25 Size:	62.5 KB ID:	763446  

โดยคุณ ocean เมื่อวันที่ 18/12/2010 08:02:04


ความคิดเห็นที่ 4


ทำไมต้องเป้นประจวบครับ กะจะตัดจากตรงนั้นเลยรึเนี่ย อาย้อเย้นเด้อ !! น่าจะยกพลขึ้นที่พัทยา หื่อไม่ก็แถวโรงแรมสยามอื้อหื่อ หาดใหญ่น่าจะเบื่อแล้ว

โดยคุณ SPECI เมื่อวันที่ 18/12/2010 21:46:14


ความคิดเห็นที่ 5


พาดหัวข่าวก็มั่วแล้วครับ

ไทยกับมาเลเซีย มีความสัมพันธ์ทางทหารและฝึกร่วมกันมานานนนนนนนนนนน แล้ว (เริ่มฝึกร่วมกันครั้งแรก ๒๕๒๔)

http://www.do.rtaf.mi.th/index.php?option=com_content&view=article&id=63&Itemid=107

Air Thamal


            ความเป็นมา ในอดีตที่ผ่านมาโจรก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้มีการปฏิบัติการตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย ซึ่งรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ได้พยายามหาหนทางปราบปราม แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลนัก จนกระทั่งในปี 2510 - 2519 รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้จัดให้การปราบปราม โจรก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ร่วมกันในรูปแบบยุทธการผสมขึ้น แต่จัดเฉพาะกำลังทางบก คือ ยุทธการสวัสดี, ยุทธการซาลาม, ยุทธการสวัสดี - ซาลาม, ยุทธการไชโย ต่อมาในปี 2520 - 2521 ได้เริ่มทำการปรามปรามเป็นยุทธการผสมขนาดใหญ่ โดยใช้กำลังทางอากาศเฉพาะของกองทัพอากาศไทยเข้าร่วมสนับสนุน นับว่าได้ผลเป็นอย่างดี เกิดเป็นแนวความคิดที่จะใช้กำลังทางอากาศ ทั้ง 2 ประเทศร่วมกัน จึงได้จัดทำระเบียบปฏิบัติหรือ CIA SOP (Combined Instruction and Air Standing Operational Procedure) ขึ้น และได้ทำการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise: CPX) อากาศ - พื้นดิน เรียกชื่อการฝึกว่า"Exercise Air Ground Thamal" โดยทำการฝึกในปี 2524 ผลการฝึกเป็นที่น่าพอใจ ในปีต่อมาจึงได้มีการฝึก โดยใช้กำลังทางอากาศของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมในการฝึกด้วย ภายใต้ความเห็นชอบจากกรรมชายแดนทั่วไป โดยให้ คณะกรรมการขายแดนส่วนภูมิภาคเป็นผู้ดำเนินการ และได้ทำการฝึกมาทุกปี โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ และตั้งกองอำนวยการฝึกที่ฐานทัพอากาศในประเทศมาเลเซียแลไทย สลับกันไป

          ลักษณะการฝึก เป็นการฝึกปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีผสม ระหว่าง ทอ. และ ทอ.มซ. โดยไม่มีการจัดข้าศึกสมมุติ ดำเนินการฝึก เพื่อเตรียม และสนับสนุนการปฏิบัติการ บริเวณแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค

          พื้นที่การฝึก บริเวณแนวชายแดนไม่เกิน ๑๕ ไมล์ทะเล จากแนวเขตแดนระหว่างสองประเทศวงรอบการฝึก ดำเนินการฝึกแล้ว ๑๔ ครั้ง เริ่มการฝึกตั้งแต่ ปี ๒๕ โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ วางกำลัง ณ สนามบินหาดใหญ่ และ Butlerworth

          - ปี ๓๙ ทอ.ขอปรับวงรอบการฝึก เป็นจัดการฝึกทุก ๒ ปี โดยกำหนดการฝึก AIR THAMAL XV ณ ประเทศ มซ.ในปี ๔๑ แต่เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจ ทอ.ทั้งสองประเทศ)
เห็นชอบเลื่อนการฝึกเป็นปี ๔๔ (ค.ศ.๒๐๐๑)



โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 18/12/2010 22:33:13


ความคิดเห็นที่ 6


มิก ๒๙ ทอ.มาเลเซีย ที่โคราช




โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 18/12/2010 22:41:48


ความคิดเห็นที่ 7


ขำตรงที่ ทำไมชอบเอาเครื่องบินมาวางไว้ใกล้ชายแดนไทย ไม่รู้ว่าเอาไว้ป้องปรามไทย หรือเพื่อดุลยภาพทางเวหานุภาพ หรือว่าเพื่อป้องกันภัยจากกองทัพอากาศของสิงคโปร์

โดยคุณ Gemini เมื่อวันที่ 19/12/2010 08:15:28


ความคิดเห็นที่ 8


นำเครื่องบินมาไว้ใกล้ไทย แปลว่าทางมาเลเซียไว้ใจเรามากว่าครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 19/12/2010 08:45:14


ความคิดเห็นที่ 9


ผมเองก็คิดงั้นครับทีเอาเครื่องบินไว้ใกล้เรา เพราะเอาหนีสิงโปร์มากกว่าครับ

โดยคุณ kit_thaifighterclub เมื่อวันที่ 19/12/2010 10:59:43