หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เพราะอะไร ประเทศไทย เราถึง ไม่สามารถ ผลิต missile เองได้

โดยคุณ : jobnattapong เมื่อวันที่ : 27/12/2010 08:18:45

missile แบบต่าง ๆ พื้น-พื้น , พื้น- อากาศ ,อากาศ - พื้น  พิสัยใกล้ - ไกล ฯลฯ

พิจารณา ส่วนประกอบในการผลิด missile

1. หัวรบ ติดระเบิด

     เรื่องระเบิด ไม่น่าใช่ปัญหา ผมว่า ทางกองทับสามารถผลิดได้

2. สารขับเคลื่อน missile

    น่าจะผลิดได้

3. ระบบ softwere ในการ ควบคุม missile สุ๋เป้าหมาย

    ส่วน ข้อนี้ ผมว่าน่าจะยากหน่อย แต่น่าจะพัฒนา ได้ Programmer เก่ง ๆ ในเมืองไทย มีเยอะ นักคณิตศาสตร์ ไทยเราก็ได้ เหรียญทองโอลิมปิก เยอะแยะ

ตัวอย่าง source code Missile Guidance System

www.codeproject.com/KB/recipes/Missile_Guidance_System.aspx

 

จากดูตัวอย่าง sorce code ผมมีความคิดว่า การผลิด missile ใช้งานเอง นั้น

น่าจะเป็นไปได้ และหัวใจสำคัญ คือ สูตร คณิตศาสตร์ เด็กไทย เหรียญทองโอลิมปิก ก็ได้ทุกปี

 

ถ้าหากไม่เริ่ม สักที ก็คงต้องชื้อ ตลอดไป และถ้าเกิดสงครามจริง ๆ อาวุธหมดคลัง ถึงตอนนั้น บริษัทผู้ผลิด ก็คงไม่อยากขายให้เพราะ

เกรงใจ คู่กรณี ตัวอย่าง สงคราม หมู่เกาะฟอกแลน ฝรั่งเศษ ก็ไม่อยากขาย เจ้า เอกโซเซ ให้

ในความเห็นส่วนตัว เราสามารถผลิดเองได้นะ





ความคิดเห็นที่ 1


ปัญหาอยู่ที่งบประมาณบวกกับวิสัยทัศน์ของผู้ใหญ่มากกว่าครับ ศักยภาพเราถ้าจะทำก็ทำได้ ดูอย่างไต้หวันเขาก็ผลิตเอง หลายรุ่นด้วย ทั้งพื่นสู่อากาศ sky bow I,II,III พิสัยไกล้-กลาง และอากาศสู่อากาศเขาก็ทำได้ โดยอาศัยพื้นฐานการพัฒนาจากของที่มีอยู่ อย่างไซด์ไวด์เดอร์ แพรทริออท


โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 25/12/2010 00:59:58


ความคิดเห็นที่ 2


ถ้าจะผลิตก็ผลิตได้นะครับ  มันขาดอยู่แค่ เงิน กับอีกอย่างนึงที่มีปัญหากันตลอดก็คือโกงกัน

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 25/12/2010 02:15:37


ความคิดเห็นที่ 3


ผมว่าควรผลิตปืนเล็กยาวด้วยนะ

โดยคุณ TOP เมื่อวันที่ 25/12/2010 02:33:03


ความคิดเห็นที่ 4


ต้องยอมรับว่า ประเทศเรา มีวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ทั้งสาขาคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ที่เก่งๆ น้อยมาก หรือไม่มีเลย หรือถ้ามี ก็คงไปทำงานที่ประเทศที่เค้าส่งเสริมวิทยาศาสตร์ครับ และต้องยอทรับความจริงว่า เยาวชนของเรา อ่อนด้านวิทยาศาสตร์มาแต่ไหนแต่ไร คณิตศาสตร์ อ่อนมาก ฟิสิกส์ ไม่ต้องพูดถึง และการเป็นนักวิทยาศาสตร์บ้านเรา ส่วนใหญ่จะไส้แห้งครับ เป็นวิศวกรก็ยังโอเคอยู่ มีงานเรื่อยๆ แต่ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์บ้านเรา ทำวิจัยทฤษฎีต่างๆมากมาย แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสนับสนุนครับ บ้านเราก็เลยอ่อนมาก เรื่องวิทยาศาสตร์ทฤษฎี  ต้องยอมรับความจริงครับ ว่าไอคิวของคนไทยส่วนใหญ่คิดวิเคราะห์อะไรที่เป็นคณิตศาสตร์ แคลคูลัสขั้นสูง ฟูเรียร์ ลาปลาส อะไรแบบนี้ ยากมากสำหรับคนไทย ผมเองจบวิดวะไฟฟ้าสื่อสาร จึงรู้ครับ ว่าปัญหาคืออะไร โดยส่วนตัวผมชอบฟิสิกส์ และแคลคูลัส และเรียนได้ค่อนข้างดีกับวิชาจำพวกนี้ แต่เพื่อนๆส่วนใหญ่ ซัด D ตลอด และเป็นเหมือนกันทุกมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะมีชื่อเสียงหรือไม่ ผมจึงฟันธงได้ว่า ยากครับ เพราะเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเรา ก็จำกัดอยู่แค่การไปเดินบ้านหม้อครับ  และบ้านหม้อ ไม่มีชุดKIT ระบบนำวิถีของจรวด มาให้บัดกรีเล่นครับ ^^ นี้คือความจริง

โดยคุณ RMUTK เมื่อวันที่ 25/12/2010 03:17:15


ความคิดเห็นที่ 5


การศึกษาไทยเน้นปริมาณไม่เน้นคุณภาพ ไม่มุ่งเน้นสร้างนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงด้านช่างเทคนิคต่างๆ แต่กลับมีการสอนสายสังคมมากจนเกินความสมดุล การปฏิรูปการศึกษาล้มเหลวไม่เป็นท่า มีการลองผิดลองถูกกับเด็กไทย ทุกวันนี้ก็ยังหาขอยุติไม่ได้ ผมเองก็เป็นผลผลิตของปฏิรูปการศึกษารอบแรก รุ่นหนูทดลอง

มนุษย์เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ทุกเชื้อชาติ โดยรวมไม่น่ามีสติปัญญามากกว่ากัน

เรื่องจรวดผมอ่านในเวบนี้ก็มีข่าวว่ากำลังพัฒนาอยู่ ครับ

โดยคุณ worapon เมื่อวันที่ 25/12/2010 05:40:24


ความคิดเห็นที่ 6


กำลังจะผลิตนะครับถ้าข้อมูลผมไม่ผิดพลาด จะอยู่ในโครงการจรวดเพื่อมความมั่นคงโดยพัฒนาต่อยอดมาจาก WS-1B ของจีน

1.การพัฒนาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องขนาดต่างๆ

2.อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนเครื่องยนตร์ Turbojet นำวิถีด้วย GPSระยะยิงราว 300กิโลเมตร ตามข้อกำหนด ของ MTCR

(Missile Technology Control Regime)

เครดิตรูปภาพ www.bloggang.com

 

ลองเข้าไปดูในกระทู้ปักหมุด จรวดเพื่อความมั่นคง

อันนี้เป็นตัวอย่างหัวข้องานวิจัยของ DTI ที่กำลังวิจัยอยู่นะครับ

1.การผลิตยางอะคริโลไนไตรล์บิวทาไดอีนเพื่อใช้เป็นฉนวนกันความร้อนของมอเตอร์จรวด

2.เทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วน Rocket Motor Case โดยวิธีการ Flow Forming

เข้าไปชมได้ที่http://www.dti.or.th

เครดิตข้อมูลรูปภาพจรวดของ ปากีสถาน จากกระทู้ปักหมุด จรวดเพื่อความมั่นคง วันที่ : 2009-02-22 06:12:38 วันที่ 2009-02-22 06:20:47

โดยคุณ โดยคุณ : TOP SECRET

 

จรวดร่อน นำวิถี   RAAD   ของ ปากีสถาน  ระยะยิงไกล 350 กิโลเมตร

ติดตั้งอยู่กับ MIRAGE 3 / MIRAGE 3V / JF-17 THUNDER

มีลักษณะคล้ายๆกับ  KEPD-350  / STORM SHADOW ( SCALP-EG ) และ AGM-158 JASSM

นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ของ กองทัพอากาศ ปากีสถาน

โดยคุณ : TOP SECRET

Babur Cruise Missile/Hatf VII

จรวดนำวิถี พื้น-สู่-พื้น ของ ปากีสถาน  เปรียบเทียบ ได้กับ BGM-109 TOMAHAWK  ของ อเมริกา

   อนาคต จะดัดแปลงให้ติดตั้ง กับเรือดำน้ำ U-214  ได้

 จรวดใช้เครื่องยนต์ Turbofan (solid-fuel booster rocket during launch)

 ระยะยิง  700  กิโลเมตร ( 435 ไมล์ )

 ระบบนำวิถี   GPS, TERCOM , DSMAC, INS

ความเร็ว  880 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ  0.8 มัค

โดยคุณ : TOP SECRET

ขออณุญาติท่านเจ้าของโพสด้วยนะครับที่ผมนำมาลง

 

ถ้าอยากเห็นภาพหรือข้อมูลเพิ่มเติมคงต้องรอท่าน เสือใหญ่ ครับ

 

 




 

 

 

 

 





โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 25/12/2010 06:08:36


ความคิดเห็นที่ 7


จรวด RAAD ของ ปากีสถาน นี่แสดงออกถึงความเป็นชายอย่างเด่นชัดเลยเนอะ ฮิ ฮิ ไม่ใช่ว่าไม่เคยทำนะครับ แต่ตอนหลังไ่รู้ว่าทำไมถึงเงียบหาย ไม่มีการพัฒนาต่อ หรือพอเกิดปัญหาก็ล้มเลิก ไม่มีการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อทำการแก้ไขผลิตแบบใหม่ แต่ตอนนี้เริ่มต้อนกันใหม่อีกครั้ง ด้วยโครงการจรวดเพื่อความมั่นคงของ DTI ก็ขอให้มุ่งมั่นกันต่อไปและตลอดไปครับ และขอให้มีการผลิตขึ้นใช้อย่างจริงจัง และทางที่ดีควรจะมีการออกแสดงตามงานแสดงอาวุธเพื่อโปรโมทและเสนอขายต่างประเทศต่อไปครับ ซึ่งถ้ามีลูกค้าเข้ามาเพิ่มเติม ผลิตได้เยอะ ต้นทุนก็จะถูกลงและมีเงินทุนต่อเนื่องสำหรับวิจัยชิ้นงานต่อไปครับ
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 25/12/2010 08:12:42


ความคิดเห็นที่ 8


ส่วนตัวไม่ได้เรียนคณะวิทยาศาสตร์โดยตรงแต่คณะอยู่ใกล้กัน เพื่อนที่เรียนที่นั่นก็เก่งและตั้งใจเรียนกันดีครับ เพราะกว่าจะสอบเข้ามาได้ก้เหนื่อยกันแทบตาย

แต่ได้ยินว่าเวลาทำงาน ก็มีปัญหาบ้าง เนื่องจากปัจจุบันงานวิจัยยังเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับความสำคัญเท่าไร ... คงต้องให้กำลังใจกับเยาวชนรุ่นใหม่ครับ

มีน้องๆ เยาวชน ที่เก่งๆอีกมากมาย ที่สนใจมาเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ เท่าที่เคยพูดคุยก็เก่งและมีใจรักทางด้านวิทยาศาสตร์กันจริงๆ ... รอดูผลงานเยาวขนรุ่นใหม่ครับ

 

โดยคุณ INTANIA เมื่อวันที่ 25/12/2010 08:25:22


ความคิดเห็นที่ 9


ภาพโครงการจรวดเพื่อความมั่นคง

เครดิต

ThaiArmedForce.com


โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 25/12/2010 09:00:22


ความคิดเห็นที่ 10


เมื่อก่อนคิดว่าขาดเลยทำไม่ได้เห้นโครงการต่างเเล้ว ปัญหาอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้นำมากกว่าถ้าบริหารดีๆเรื่องงบคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่

ส่วนเรื่องวิจัยอาจจะน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ เเต่อาจารย์ที่จบด็อกเตอร์หลายท่าน ก็จบมาได้เพราะนักศึกป .ตรี(เอางานมาให้เด็กทำเเล้วเอาไปส่งเป็นของตัวเองอีกที)ดังนั้เชื่อว่าคนไทยเก่งพอ

      ปัญจึงตกอยู่กับผู้บริหารว่าจะทำจริงหรือเปล่าเเค่นั้น

               (ผมรักกองทัพไทยนะอย่าหาว่าผมใส่ร้ายผมพูดตามที่เห็น ไม่อยากให้กองพัทเหมือนลูกโปรงสวยดีลอบไปลอยมา ค้างในมีเเต่ลมLaughing)

โดยคุณ GTX เมื่อวันที่ 25/12/2010 10:39:10


ความคิดเห็นที่ 11


เรื่องนี้พูดกันบ่อยมาก และก็ยังมีความเช้าใจกันผิดว่าเป็นความไม่เอาใหนของกองทัพที่ไม่ผลิตอาวุธเอง

แต่จริงๆไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพที่จะทำอาวุธใช้เอง กองทัพมีหน้าที่ใช้อาวุธ แม้ว่าในกลาโหม และในกองทัพไทย

จะมีการผลิตอยู่บ้างก็เป็นการดำเนินการที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องต้นทุน กฎหมายและการบริหารจัดการ

ความคล่องตัวในการหาตลาด การปรับเปลี่ยนการผลิต การวิจัย ฯลฯ ประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศต้องอาศัยอุตสาหกรรมเอกชน หรือปรับรูปแบบองค์กรของรัฐบาลในการดำเนินการโดยไม่ใช้กองทัพทั้งนั้น แม้กระทั่งประเทศคอมมิวนิสต์แบบจีน ผมเขียนมาในที่นี้หลายครั้งแล้วว่าการผลิตอาวุธให้ใช้ในประเทศอย่างเดียวทำไม่ได้เพราะจำนวนน้อยมาก จะขาดทุนจนต้องเลิกทำในเวลาสั้นๆ อาจจะพอเสมอตัวหรือขาดทุนน้อยหน่อยในเรื่องกระสุนปืนขนาดเล็กที่ใช้ในประเทศมากหน่อย ถ้าเป็นอย่างอื่นรับรองขาดทุน ถ้าคิดค่าราคาโรงงาน ค่าวิจัย เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ซึ่งต้องรวมเป็นต้นทุนการผลิตด้วย  อย่างไรก็ตามกองทัพก็พยายามหาทางออกโดยการจัดตั้ง สทป.ขึ้นมาทำวิจัยโครงการใหญ่ แต่เมื่อได้ต้นแบบแล้วเวลาจะผลิตก็ต้องร่วมมือกับองค์กร และภาคเอกชนอยู่ดี ทางออกที่ดีคือหาเอกชนที่มีศักยภาพพอสมควร รัฐส่งเสริมโดยให้วิจัย และพัฒนาร่วมกับกองทัพ ส่งเสริมให้ส่งออกได้ และให้วิจัย พัฒนา รวมถึงผลิตร่วมกับบริษัทของต่างประเทศ สุดท้ายเมื่อผลิตได้ต้องให้กองทัพสนับสนุนด้วยการซื้อใช้งาน ไม่ใช่ผลิตแล้ว กองทัพตัวเองยังไม่ซื้อเลย  การผลิตไม่จำเป็นต้องทำทุกส่วน ส่วนที่ยากซื้อเขามาก่อนก็ได้

 

โดยคุณ โย่ง เมื่อวันที่ 25/12/2010 11:57:38


ความคิดเห็นที่ 12


อย่างมากก็จรวดไอน้ำ น่ะครับ เห็นมี ไทพีบีเอส ถ่ายทอดสดอยู่ทุกปี 

ส่วนหัวกะทิ คนเก่งวิทยาศาสตร์ ของไทยส่วนใหญ่ ไม่เปนหมอ เปนวิศกร ไปซะหมดน่ะครับ วิทยาศาสตร์หาน้อยหน่อย

ก็มันยากจริงๆนี่ครับ เอาแค่วงการดาราศาสตร์บ้านเรา สมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย ก็ต้องคิดกันใหม่ว่าจะอยู่ยังไงเพราะ

ได้ข่าวว่าจะโดนยุบรวมไปควบกับ องค์การมหาชนอีกที่นึง จริงๆเขามีดีนะ แต่เราไม่ได้ค้นหา มาเปน topic เล่าสู่กันฟัง 

  ว่ากันต่อหัวจรวด ก่อนที่องค์การนาซ่าจะกำเนิด เขาก็มีองค์กรกระจัดกระจาย กระเซ็นกระสายไปเยอะ จึงมีแนวคิดมารวมตัวกัน

เปนองค์การอวกาศ ระดับองค์การมหาชน ส่วนเมืองไทยมีไหม มีครับ อยู่ในกระทรวงไอซีที ห้อยติ่งอยู่ไม่ได้ทำไร เหมือน

หน่วยเรือดำน้ำของ ทหารเรือ ก็ห้อยติ่งอยู่ ได้ศึกษากันจริงๆ แต่ยังไม่มีเรือดำใหญ่ๆขับกัน เพราะตามข่าว ผลวิจัย ก็คือชุดฝึก

เรือดำน้ำ ไฟฟ้านี่ละเจ๋งสุดๆ มันเข้าเรื่องกันไหมเนี่ย

วงการดาราศาสตร์เมืองไทย ที่คนจะจบดาราศาสตร์เหน่งๆมีแค่ อาจารย์ชัยวัฒน์ คุปตระกูลน่ะครับ ที่มีผลงานนำเสนอ

พอมาให้ หลายสิบปีต่อมา ไม่ยักกะมี เลยครับ เพราะไปทำอาชีพอื่่นซะหมด จะ ฮาร์ดคอแบบอาจารย์ก็น้อยเต็มที

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 25/12/2010 20:56:47


ความคิดเห็นที่ 13


โดยคุณ RMUTK เมื่อวันที่ 25/12/2010 21:12:08


ความคิดเห็นที่ 14


กองทัพไทย มีขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนาจรวดนำวิถี และระเบิดเลเซอร์ ระเบิดร่อน มานานแล้วครับ คงต้องกลับไปดูในกระทู้เก่าๆ ที่ผมเคยเอางานนิทรรศการการวิจัยและพัฒนาอาวุธของกระทรวงกลาโหม มาให้ลง ๒ ครั้ง (๒ ปี) มีผลงานมากมายครับ ทุกวันนี้ จรวดนำวิถี AIM-9 ที่ใช้งานใน ทอ. เราก็สามารถซ่อมบำรุงทั้งตัวจรวดและระบบนำวิถีเองได้ครับ

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 25/12/2010 23:30:27


ความคิดเห็นที่ 15


เราต้องไม่หลอกตัวเองก่อนว่าทำโน่นทำนี่ได้ เพราะที่ทำมาแล้วทั้งหมดบางครั้งเป็นต้นแบบเป็นงานวิจัยเสียส่วนใหญ่ การผลิตเป็น mass ใช้งานได้จริงยังไม่มีเป็นรูปธรรม เว้นแต่ลูกระเบิดและกระสุนที่มีโรงงานผลิตของกลาโหมและในเหล่าทัพอยู่บ้าง แต่คนในวงการรู้ดีว่า ยังไม่เคยผลิตได้แม้แต่ครึ่งของกำลังการผลิตจริง(ไม่ใช่ทำไม่ได้แต่ทำได้เกินต้องการ) ผมถึงบอกว่าส่วนสำคัญคือตลาดครับ ซึ้อโรงงานมาผลิตนั้นง่าย แต่ขายยาก นึกด้วยนะครับว่าโรงงานที่ซื้อมานั้นเป็นระดับพันล้านบาทขึ้นไป ควรต้องใช้ให้คุ้ม

ที่น่าจะ Work คือทำปืนเล็กที่เป็นอาวุธประจำกาย ลูกปืนเล็ก (ไม่ว่าจะใช้แบบของต่างประเทศที่ใช้งานดีแล้ว) นอกจากนั้นก็ต้องเป็นของอื่นๆที่ผลิตด้วยมือเป็นลำๆ เข่น UAV ซึ่งวิจัยออกแบบเองก็ได้ ซื้อ platform เขาก็ได้ ติดตั้งกล้อง หรือ เรดาร์ หรือpayload อื่นๆ ออกแบบระบบควบคุมควบคุมเอง สรุปแล้วทำไอ้ที่เราทำได้เอง ซื้อที่ต้องซื้อ เช่นกล้อง electro optic ที่ไม่ใช่จะทำได้ง่ายไปก่อน หุนยนต์เก็บกู้ระเบิดก็น่าจะทำได้เอง รถรบหลายอย่างที่บ้านเรามีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทนี้อยู่แล้วก็น่าจะได้ เรื่องจรวดยากๆโดยเฉพาะที่นำวิถีคงต้องรอ สทป.นำร่องไปก่อน อีกอย่างต้องรำลึกไว้เสมอว่า ทำวิจัยไปจนผลิตได้นั้นต้องแน่ใจจริงว่าประสิทธิภาพดี และปลอดภัย ไม่เช่นนั้นทหารที่เป็นผู้ใช้ไม่กล้าใช้ ทำแล้วต้องใช้ได้จริงไม่ใช่ทำไว้โชว์ตามนิทรรศการต่างๆ ลองคิดดูว่าสมมติผลิตจรวด(แค่จรวด ไม่ใช่  อาวุธนำวิถี) ก่อนนำไปใช้งานต้องทดลองยิงกี่ร้อยกี่พันลูกว่ามันปลอดภัยจริง ไม่ระเบิดใส่หน้าผู้ใช้ หรือยิงแล้วโค้งกลับมาหาฝ่ายเดียวกัน บางท่านอาจจะเคยเห็นรูปการทดลองยิงปืนใหญ่ประจำเรือ ปืน76/62 OTOMelara ปลอกลูกปืนที่ทหารเรือเรียกลองลูกปืน กองเต็มรอบแท่นเป็นพันนัด ยิงจนหมดอายุลำกล้องในคราวเดียว ถ้าไม่ยิงทดลองจริงก็ไม่ได้ตารางยิงที่แท้จริง (สมัยนี้อาจใช้การคำนวนช่วยให้ทดลองยิงน้อยลง) ไม่รู้ว่าถ้ายิงต่อสู้กันจริงแล้วปืนจะขัดข้องหรือ ถ้าขัดข้อง ขัดข้องตรงใหนบ่อย ฯลฯ

 

โดยคุณ โย่ง เมื่อวันที่ 26/12/2010 00:23:08


ความคิดเห็นที่ 16


ลองดูการทดสอบยิงปืน 76/62 super rapid คาลิเบอร์เท่าปืนรถถังงเบา สกอร์เปี้ยน

 

http://www.youtube.com/watch?v=TJpqNFkd9gI&feature=related

โดยคุณ โย่ง เมื่อวันที่ 26/12/2010 01:04:02


ความคิดเห็นที่ 17


งานนี้คงไม่ใช่แค่ตัวอย่างงานวิจัยหรอกครับผมรับรอง

เพียงแค่ตอนนี้ยังเปิดเผยข้อมูลไม่ได้เท่านั้น

ถึงบอกว่ารอท่านเสือใหญ่ไงครับ

ตัวอย่างที่นำมาใช้แต่ไม่ใช่ของ dti ก็เห่าไฟ พอจะเคยได้ยินไหมครับ

ปล. ผมภูมิใจในกองทัพ แม้บางส่วนจะเป็นแค่งานวิจัยอย่างน้อยเขาก็ยังสนใจ ดีกว่าซื้อเขามาใช้อย่างเดี่ยวไม่สนใจจะศึกษาอะไร

อย่างน้อยเขาก็จัดตั้ง dti ขึ้นมา แล้วคุณรู้ได้ไงว่าเขาไม่มีโรงงานครับเขาจัดตั้งโรงงานมาเป็นปีแล้วครับ อยู่แถวๆ นครสวรรค์

โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 26/12/2010 10:12:18


ความคิดเห็นที่ 18


กห.ตั้ง "องค์การมหาชน" ผลิตอาวุธป้อนกองทัพ



Ranking : 1  คะแนน

รายละเอียด :
ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ องค์การมหาชน (สปท.) พล.ท.ดร.ฐิตินันท์ ธัญญศิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ซึ่งถือเป็นหน่วยขึ้นตรงใหม่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยมีรูปแบบการทำงานแบบเอกชน
พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานแรกของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีภารกิจสำคัญในการวิจัยพัฒนาด้านยุทโธปกรณ์ที่นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้งานใน กองทัพ เป็นการพึ่งพาตนเองในด้านยุทโธปกรณ์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ อย่างยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อประชาชนไทยทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งหลายประเทศก็ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วเพื่อลดค่าใช้จ่าย ขณะที่ประเทศไทยยังจัดหายุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่จากต่างประเทศถึง 90 %
“สถานะขององค์การ คือ องค์กรเอกชน ต้องมีผลประกอบการเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน ซึ่งเราต้องสร้างให้ลูกค้าไว้เนื้อเชื่อใจให้มากที่สุด เพื่อที่จะเปิดตลาดออกไป และให้องค์กรอยู่ได้ ส่วนการจะนำเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาจากผลประกอบการ ถ้าคณะกรรมการฯ เห็นว่าสามารถดำเนินการได้ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ซึ่งมีการกำหนด กฎ ระเบียบ ในการปฏิบัติอยู่แล้ว” พล.อ.อ.ธเรศ กล่าว
พล.ท.ฐิตินันท์ กล่าวว่า แผนงานที่สำคัญในระยะแรก คือ การวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้อง ตามแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยมาตั้งแต่ปี 2549 รวมระยะเวลาดำเนินการไปแล้ว 5 ปี ซึ่งในชุดแรกจะดำเนินการแล้วเสร็จและนำเข้าประจำการในกองทัพบกในช่วงปลายปี งบประมาณ 2554 และตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากองทัพ จะมีการจัดตั้งกองพันจรวดหลายลำกล้องขึ้นในกองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน จรวดชุดแรกก็จะเข้าประจำการในกองร้อยแรก จำนวน 9 ชุดยิง ชุดยิงละ 10 นัด วงเงินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ให้ความสนใจ
พล.ท.ฐิตินันท์ กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบจากการยิงจากลำกล้องเดียวจะเห็นได้ว่าจรวดหลายลำกล้องที่ สถาบันได้พัฒนาให้มี 4 และ 6 ลำกล้องจะมีอำนาจการยิงที่เหนือกว่า ซึ่ง ส่วนหนึ่งเป็นการพัฒนา วิจัย และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมิตรประเทศให้กับเรา แต่ไม่สามารถบอกได้ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ในเบื้องต้นจะต้องมีการซื้อจรวดเหล่านั้นมาเป็นต้นแบบในการวิจัยก่อน จากนั้นเมื่อเราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลิตเองได้ ก็จะดำเนินการผลิตเอง โดยใช้โรงงานอาวุธที่นครสวรรค์ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างผลิตจรวดเหล่านี้
“สินค้าที่เราผลิตออกมาต้องได้มาตรฐานและทำให้ลูกค้าไว้ใจ เริ่มต้นก็คือกองทัพบก ถ้าสินค้าได้มาตรฐาน คุณภาพดี ก็จะทำให้สั่งซื้อจากเราตลอด โดยวิธีการจัดหานั้น อยากให้กองทัพจัดหางบประมาณผูกพันไว้ จากนั้นองค์การก็จะเจรจากับกองทัพบกว่าในงบประมาณนั้นจะดำเนินการได้แค่ไหน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องผลประกอบการและหนี้สิน เมื่อองค์การมีความเข้มแข็งมีกำไรก็ต้องดำเนินการวิจัย พัฒนา ยุทโธปกรณ์อื่นๆ อีกต่อไป และในอนาคตตลาดที่เราวางเป้าหมายไว้คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหากตลาดในประเทศเรามั่นคง ต่อไปก็ต้องไปทำตลาดต่างประเทศ เบื้องต้นใช้งบประมาณในการดำเนินการ 617 ล้านบาท” พล.ท.ฐิตินันท์ กล่าว
ผอ.สถาบันเทคโนฯ กล่าวว่า เราจะวิจัยพัฒนาต่อยอดยุทโธปกรณ์ที่กองทัพดำเนินการมาแล้วให้นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้งาน เช่นที่ผ่านมากองทัพเรือเคยวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็กไว้ เราก็จะนำมาดูเพื่อพัฒนาและผลิตเพื่อใช้ เพราะประโยชน์ในการใช้งานมีมากกว่างานทางด้านการทหาร เช่น สามารถสำรวจท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลของ ปตท.ได้ หรือกรณีของจรวด เห่าไฟ ขนาด 2.75 นิ้ว ที่เป็นจรวดที่ยิงจากเฮลิคอปเตอร์สู่พื้นดินที่กองทัพอากาศเคยวิจัยไว้ก็ สามารถนำมาพัฒนาต่อไปได้ เพราะบุคลากรขององค์กรมีความสามารถ มีทั้งพลเรือน 70 % และทหาร 30 % เหตุที่จำนวนข้าราชการทหารที่เข้ามาอยู่น้อย เพราะการเป็นพนักงานขององค์กรต้องลาออกจากราชการก่อน ทำให้บางคนยังลังเล ทั้งที่หลายคนมีความรู้และเชี่ยวชาญ ทั้งที่ในกองทัพมีคนจบระดับด็อกเตอร์และปริญญาโท มีความสามารถจำนวนมาก
สำหรับคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ประกอบด้วย พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี เป็นประธานคณะกรรมการ ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วย พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.รัชกฤต กาญจนวัฒน์ เสนาธิการทหาร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบก พล.ร.อ.รพล คำคล้าย เสนาธิการทหารเรือ และ พล.อ.อ.มานิต สพันธุพงษ์ เสนาธิการทหารอากาศ

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=407384

 
โดยคุณ : nok     ( อ่าน : 3190 / ตอบ : ) วันที่ : 2009-09-28 18:45:50  

ขออนุญาติคุณนกด้วยนะครับ
โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 26/12/2010 10:16:57


ความคิดเห็นที่ 19


ผมชอบและเอาใจช่วยเสมอให้ประเทศไทยผลิตอาวุธใช้เอง ไม่ใช่ดูถูก แต่ต้องกันด้วยความจริงเท่านั้นครับ อย่าไปโฆษณาชวนเชื่อ และต้องช่วยกันทำจริงๆ ไม่ใช่โชว์อย่างเดียว เอ้อ โรงงานของ สทป.เขาเพิ่งศิลาฤกษ์ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่เองไม่ใช่หรือครับ

โดยคุณ โย่ง เมื่อวันที่ 26/12/2010 21:18:45