เขียนเป็นครั้งที่สอง เป็นบ่อยนะครับ เขียนแล้วกด OK แล้วหายไปใหนไม่รู้
เคยทราบมาว่า มีบางประเทศทำอยู่ แต่ต้องมีกรรมวิธีที่ซับซ้อน เพราะปกติกฎหมายของนานาประเทศไม่อนุญาตให้เรือสินค้า หรือเรือประมงมีอาวุธบนเรือ ถ้ามีอาจจะเข้าจอดประเทศต่างๆไม่ได้ หรือเข้าไปในน่านน้ำอาณาเขตของทุกประเทศไม่ได้ จะถูกจับ และถ้าแล่นผ่านไปที่ใดถูกตรวจพบว่ามีอาวุธโดยเฉพาะอาวุธสงคราม อาจถูกหาว่าเป็นโจรสลัดเสียเอง ที่ว่าบางประเทศทำอยู่คือมีการจ้างบริษัทคุ้นกัน โดยมีทีมบนเรือ แต่คงต้องให้คนและอาวุธอยู่นอกน่านน้ำอาณาเขตเมื่อเรือเข้าท่า(สำหรับประเทศไม่ได้มีการขอและได้รับอนุญาต) ที่ทราบมีที่ประเทศเซเชลล์ซึ่งยอมให้เรือประมงขนาดใหญ่ที่ได้รับสัมปทานจับปลาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ สามารถนำทีมคุ้มกันพร้อมอาวุธไปลงเรือและกลับมาขึ้นบกที่เซเชลล์ได้ แต่การที่จะทำกับเรือสินค้าที่วิ่งไปหลายเมืองท่าก็จะทำให้เรื่องซับซ้อนขึ้นอีกมาก (แม้กระทั่งท่าของประเทศเจ้าของเรือเอง) จำนวนเรือสินค้าของแต่ละชาตินั้นมีมากนะครับการส่งเรือไปวิ่งตามรับส่งทีมคุ้มกันทำยากเหมือนกัน และใช้เวลาด้วยดังนั้นทีมน่าจะเดินทางด้วยเครื่องบิน ไป-มา หรือต้องมีคนจำนวนมากรับส่งกันที่ต้นทางปลายทาง
โดยส่วนตัวเห็นว่า ประเทศต่างๆต้องหามาตรการผ่อนปรนทางกฎหมายให้เรือสินค้ามีสิทธิป้องกันตนเอง โดยการมีทีมคุ้มกันพร้อมอาวุธบนเรือในพื้นที่อันตรายได้ โดยมีการควบคุมอาวุธ ด้วยการตรวจที่ต้นทาง และปลายทาง(ทั้งนี้ต้องเก็บอาวุธและซีลไห้พร้อมตรวจที่ท่าเรือ)
การเอาเรือรบไปคุ้มกันมักทำได้ผลในกรณีกำหนดเส้นทาง อย่างIRCT(Internationally Recommended Transit Corridor) ที่เป็นช่องทางแคบมีเรือรบคุ้มกันอยู่ไม่ห่าง เมื่อถูกปล้นก็ส่งข่าว เรือรบสามารถส่ง ฮ.ขึ้นสกัดได้ทันขณะที่เรือสินค้า เร่งความเร็ว แล่นส่าย หันหัวสู้คลื่น สร้างสิ่งกีดขวางที่กราบเรือ ถ่วงเวลาให้นานที่สุดจนเรือรบไปช่วยทัน แต่ในทะเลเปิด ถ้าเรือสินค้าไม่ระวังตัว โจรขึ้นไปได้แล้วโอกาสชิงเรือ ชิงคนเป็นไปได้ยากเพราะเจ้าของเรือและญาติลูกเรือเกรงจะสูญเสียจึงมักจะเจรจาเกือบทุกชาติ
ถ้าไม่ร่วมกันปราบโจรบนบกในโซมาเลียเองอีกหน่อยมันอาจมาโผล่ที่ภูเก็ต เพราะตอนนี้ก็มาถึงใกล้อินเดียแล้ว เพราะโจรใช้เรือสินค้าและเรือประมงที่จับได้ทำเป็นเรือพี่เลี้ยง หรือเรือแม่
ขอโทษครับ ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดกระทู้ใหม่อะไร เขียนในกระทู้เดิมเรื่องป้องกันโจรสลัดที่โซมาเลีย มาโผล่ที่นี่ได้อย่างไรไม่ทราบ