รุ่ง อรุณรับศักราชใหม่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 ณ ดินแดนแห่งความเสี่ยงภัยสูงสุดแห่งหนึ่งของไทย นายตำรวจหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด หรือหน่วย EOD (Explosive Ordnance Disposal) เสียชีวิตขณะเข้าทำการเก็บกู้ระเบิดกลางตลาดเทศบาลตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางข้อสงสัยในชุด "บอมบ์สูท" และ "เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์" อันเป็นปราการด่านสุดท้ายในการป้องกันชีวิตเจ้าหน้าที่ แต่ยุทโธปกรณ์ทั้งสองชนิดหาได้ช่วยอะไรไม่
แรงระเบิดทำลายล้างสูงหนัก 3 ปอนด์ ปลิดชีพ ดาบตำรวจกิตติ มิ่งสุข อายุ 50 ปี เจ้าหน้าที่เก็บกู้และทำลายระเบิดสังกัด ตชด.447 คาชุดเกราะ "บอมบ์สูท" ขณะที่ จ่าสิบตำรวจ กฤษดา ทองโอ ผบ.หมู่งานจราจร สภ.สุไหงปาดี ทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตในเวลาต่อมา และมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บอีก 9 นาย
จากการสอบสวนและตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบว่า คนร้ายมุ่งหมายเอาชีวิตเจ้าหน้าที่ชุด EOD เนื่องจากหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ประมาท และทำตามขั้นตอนการเก็บกู้ทุกประการ โดยก่อนจะเกิดระเบิดขึ้น ตำรวจกับทหารได้เข้าไปสังเกตการณ์ก่อนแล้ว 2 ครั้ง แต่คนร้ายไม่กดจุดชนวน กระทั่งเจ้าหน้าที่ชุด EOD เข้าไป จึงทำการกดระเบิด และระเบิดที่คนร้ายใช้ก็ยังเป็นระเบิดแรงสูงที่หมายเอาชีวิตด้วย
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้คนไทยตั้งคำถามถึงเรื่องชุด "บอมบ์สูท" และ "เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์" ว่าใช้การได้ประสิทธิภาพแค่ไหน และประเด็นกังขาที่ว่า บอมบ์สูท สนนราคาตัวละ 2 ล้านบาท แต่หมดอายุจริงหรือไม่ ???
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ด.ต.สว่าง มาลัย รองหัวหน้าชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดตำรวจภูธรจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ชุดบอมบ์สูท หรือ Blast (ชุดป้องกันอันตรายจากแรงระเบิด) ที่มีใช้อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมากกว่า 10 ชุด โดยเป็นของที่ผลิตจากประเทศแคนนาดา ราคาประมาณ 2 ล้านบาทต่อ 1 ชุด ได้รับมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 สามารถรับแรงระเบิดที่ขนาด 1.5 ปอนด์ จึงมีความสามารถป้องกันระเบิดได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น หรือผ่อนจากหนักเป็นเบา ไม่ได้ปลอดภัยจากแรงระเบิด 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในการปฏิบัติงานพิสูจน์ทราบวัตถุต้องสงสัยในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้เน้นการสวมชุดบอมบ์สูท แต่จะใช้รถยนต์หุ้มเกราะที่มีความปลอดภัยมากกว่า ส่วนการใช้ชุด บอมบ์สูท จะมีการพิจารณาเป็นครั้งคราวเท่านั้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า บอมบ์สูท ถูกออกแบบมาเพื่อทนต่อแรงระเบิดที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต มีประสิทธิภาพตามอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันแรงอัดและสะเก็ดระเบิดแบบป้องกันทั้งตัว สามารถป้องกันแรงอัดระเบิดและสะเก็ดระเบิดทั้งแบบธรรมดา สารเคมี หรือสารชีวภาพ มีความยืดหยุ่น น้ำหนักของชุดจะอยู่ระหว่าง 15 - 30 กิโลกรัม โดยหน่วย EOD จะสวมชุดป้องกันอันตรายจากแรงระเบิดในระหว่างการลาดตระเวนเก็บกู้ระเบิด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้
บอมบ์สูท ทั่วไป ประกอบด้วย....
1. กางเกงด้วยที่สามารถปรับระดับความยาวและความกว้าง
2. แจ๊คเก็ต (Smock) ที่มีคอและขาหนีบที่แนบมาห่อหุ้ม
3. แขน
4. รองเท้าบู๊ท
5. ถุงป้องกันมือ
6. แผ่นห่อหุ้มทรวงอกและขาหนีบ
7. หมวกนิรภัย
8. หมวกกันน็อค
9. กระเป๋าพกพา
ภาพเหตุการณ์คนร้ายวางระเบิดที่ จ.ยะลา เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 53 : เครดิต ไทยโพสต์
ดัง นั้น หากพิจารณาชุดบอมบ์สูทที่หน่วย EOD ใช้เก็บกู้ระเบิดในปัจจุบัน จะพบว่าเป็น บอมบ์สูท "หมดอายุ" เพราะผลิตในปี พ.ศ.2547 และมีอายุการใช้งานเพียง 5 ปี แต่ถึงอย่างนั้น เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้โทษว่า บอมบ์สูท เป็นตัวช่วยที่ไร้ประโยชน์จนนำมาซึ่งการเสียเลือดเนื้อของ 2 นายตำรวจ หากแต่พุ่งเป้าไปที่เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ "ความสามารถต่ำ" เพราะไม่สามารถตัดสัญญาณได้ 100 เปอร์เซ็นต์
ดาบตำรวจ แชน วรงคไพสิษฐ์ หัวหน้าชุดเก็บกู้ระเบิดตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ระบุว่า สาเหตุ ที่ไม่สามารถตัดสัญญาณโทรศัพท์มือได้ เนื่องจาก เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ของชุดเก็บกู้ระเบิดทำงานได้ประมาณ 5-10 นาที แต่ระยะเวลาในการเก็บกู้นาน 30-50 นาที ทำให้เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ไม่สามารถสู้ความแรงของสัญญาณโทรศัพท์มือถือ บริษัทเอกชน ที่อยู่ใกล้จำนวน 3 ต้น ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 100 เมตร คนร้ายจึงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อจุดชนวนระเบิดได้สำเร็จ
ขณะเดียวกัน มีรายงานด้วยว่า หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด ก็มีปัญหาขัดข้องในการทำงานวันเกิดเหตุ และเป็นหุ่นยนต์ที่ผลิตเองภายในประเทศ ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานต่ำกว่าหุ่นยนต์จากต่างประเทศที่บังคับด้วย คอมพิวเตอร์ในห้องทำงานหรือรถยนต์กันกระสุน ทำให้เจ้าหน้าที่มีความเสี่ยง เนื่องจากต้องบังคับในที่โล่ง และอยู่ในรัศมีที่แรงระเบิดทำงาน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นช่องว่างที่ทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต และเป็นอีกครั้งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องชี้แจงทำความเข้าใจ เพราะเลือดเนื้อของตำรวจและทหารที่อยู่ใกล้เส้นแบ่งแห่งความตาย หรือพื้นที่เสี่ยงอย่าง 3 จังหวัดชายแดนใต้ พวกเขาคือ "บุคคลสำคัญ" ที่ดูแลชีวิตพี่น้องประชาชน
ที่มา จากhttp://hilight.kapook.com/view/54962 ครับ
บอมสูตร มีหมดอายุด้วยหรอครับ
เครื่องบิน เรือรบ ยังมีอายุการใช้งานเลยครับ....
เดี๋ยวนี้เขานิยมใช้หุ่นยนต์ไปเก็บกู้วัตถุระเบิดแทนแล้วครับ บอมบ์สูทแค่เซฟไว้อีกชั้นหนึ่ง กันเจ้าหน้าที่ EOD โดนลอบยิงเวลาปฎิบัติงาน เช่นเวลาบังคับหุ่นยนต์ไปกู้ระเบิดหรือเวลาเข้าไปเก็บระเบิดที่ถูกถอดชวนแล้ว แต่ถ้าใครเคยดูข่าว เจ้าหน้าที่ EOD ของไทยเคยพูดว่าบอมบ์สูทแค่ใส่กันร่างกายเละเวลาโดนระเบิดเท่านั้น ที่เจ้าหน้าที่ EOD ของไทยอยากได้จริงๆคือ หุ่นยนต์กู้ระเบิด กับ TBOX III(ตัวตัดสัญญาณจุดชวนระเบิด) ทั้งสองอย่างที่ว่ามานี้สามารถผลิตเองภายในประเทสได้ทั้งนั้นขาดแต่งบประมาณสับสนุน ดีกว่าเอางบไปซื้อ GT200 หรือเรือเหาะ
ขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุดต่อการสูญเสียอันสำคัญนี้ครับ
ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกรุณาทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับการเก็บกู้วัตถุระเบิดด้วยครับ ต้องอย่าลืมว่า"ระเบิดไม่ได้มีไว้กู้" จะเก็บกู้ต้องด้วยความจำเป็นอย่างยิ่งยวดแล้วเท่านั้น ถ้าพบทุกครั้งต้องเอาคนเข้าไปกู้ทุกครั้งค่าเสี่ยงภัยเดือนละแสนก็ไม่พอ ใช้ปืนยิงน้ำแรงดันสูงกับหุ่นยนต์เก็บกู้ครับ ลากระเบิดออกมาในที่ๆลดอำนาจการทำลายชีวิตและวัตถุ แล้วก็ทำลายทิ้งอย่าเดืยว
บอมสูทไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแรงระเบิด แต่ออกแบบให้กันสะเก็ดและบรรเทาแรงอัดลงได้บ้างเท่านั้น ซื้อใหม่ตัวละสิบล้านก็เอาไม่อยุ่ครับ
ทบทวนหลักนิยมใหม่ครับ งบฯ๓จังหวัดมีมหาศาล และอุปกรณ์เครื่องมือก้ไม่ใช้ว่าจะหาไม่ได้
ถ้าเคยดู Hurtlocker จะรู้เลยครับว่า ชุดหนา ๆ ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะ แทนที่จะตายเพราะ แรงระเบิด แต่จะตายเพราะแรงอัดข้างใน
จริง ๆ แล้ว 3จังหวัดนั้น เป็นพื้นที่แดง เรื่องสัญญาณโทรศัพท์ น่าจะใช้ พรก สั่งตัดได้ (ถ้าไม่ทำ ก็สั่งปิด บริษัทไปเลย ) หรือถ้า ไม่ได้ ก็ควรจะมี ระบบ ก่้อกวน แบบที่แรงมาก ๆ เช่น ใช้ UAV ที่ใส่พวก สงครามอิเล็กทรอนิค (ขนาดแจม โคตรเรด้าได้ คง แจมสัญญาณมือถือได้นะ ) หรือว่า เอา โคตรเทพบอลลูน ก็ได้
เสียใจกับทหาร ตำรวจ ที่ต้องเสียชีวิต กับเหตุการณ์ีที่มันควรจะป้องกันได้
ชุดกันระเบิดมีวันหมดอายุจริงครับ เขาบอกกันว่า อายุใช้งานอยู่ที่ 5 ปีเอง........
ส่วนยานเก็บกู้ ปัญหามันอยู่ที่ ระเบิดส่วนมากที่วางๆกัน มันวางในพื้นที่ ที่ยานเก็บกู้พวกนี้เข้าไปทำงานไม่ได้ เพราะยานเก็บกู้พวกนี้ทำงานได้เฉพาะในพื้นที่ราบเรียบเท่านั้น
แต่ไอ้ที่วาง มันแอบไปวางในป่าข้างทางบ้าง ในคูน้ำข้างทางบ้าง ซึ่งยานพวกนี้เข้าไปไม่ได้ เลยต้องใช้คนเข้าไปทำ
ทำไมไม่หารถหุ้มเกราะติดแขนกล เอาไว้หยิบจับระเบิด รถต่อเองในประเทศหาแขนกลมาติด ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมในรถหุ้มเกราะ เพราะที่ผ่านมาระเบิดส่วนใหญ่จะติดไว้ที่รถจักรยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ ที่ทำให้เจ้าหน้าเก็บกู้เสียชีวิต รถระเบิดส่วนใหญ่ก็จอดที่ริมถนน รถหุ้มเกราะติดแขนกลน่าจะเข้าถึง .
มันกันได้แค่ระเบิดเล็กๆนะครับ ถ้าระเบิดลูกใหญ่ๆมันช่วยได้แค่ ทำให้ศพสวย