มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศว่ากองทัพอากาศไทยได้ลงนามจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ (UAV) แบบ Aerostar จากบริษัท Aeronautics ของประเทศอิสราเอล
หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 กองทัพอากาศไทยได้ปรับโครงสร้างกำลังรบของตนใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือโครงการจัดตั้งฝูงบินที่ปฏิบัติการด้วยอากาศยานไร้คนขับในอัตรา 1 ฝูง หรือ 10 - 12 ลำ ตามเอกสารที่มีการแผยแพร่ในเว็บไซต์ของกองทัพอากาศ
ทั้งนี้ ตามข่าวกล่าวว่ากองทัพอากาศไทยได้ลงนามในสัญญาจัดหาตั้งแต่ปี 2552 TAF คาดการณ์ว่า Aerostar น่าจะเข้าประจำการที่ฝูงบิน 402 กองบิน 4 ตาคลี ซึ่งเป็นฝูงบินลาดตระเวนของกองทัพอากาศอยู่แต่เดิม และคาดว่า Aerostar น่าจะพร้อมปฏิบัติการได้ภายในปี 2554 นี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรบของกองทัพอากาศเพื่อก้าวไปสู่กองทัพอากาศที่ปฏิบัติการรบโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Air Force) ต่อไปในอนาคต และเป็นไปตามนโยบายของกองทัพอากาศในการพัฒนากองบิน 4 ให้เป็นกองบินที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Air Base) พร้อมๆ ไปกับโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการรบของเครื่องบินขับไล่แบบ F-16A/B (โครงการ MLU) ของฝูงบิน 403 ด้วยเช่นกัน
Aerostar เป็นอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีขนาดกลาง สำหรับภารกิจหาข่าวกรอง เฝ้าตรวจ ค้นหาเป้าหมาย และลาดตระเวน (ISTAR) ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ลูกสูบ 2 จังหวะ ของบริษัท Zanzottrra รุ่น 490IA กำลัง 38 แรงม้า ปีกกาง 7.5 เมตร ยาว 4.5 เมตร เพดานบิน 18,000 ฟุต ความเร็วบินปฏิบัติการ 60 น็อต ความเร็วสูงสุด 110 น็อต ระยะเวลาปฏิบัติการมากกว่า 12 ชั่วโมง รัศมีปฏิบัติการจากสถานีควบคุมราว 200 กิโลเมตร น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 210 กิโลกรัม โดยเป็นอุปกรณ์ภารกิจ 50 กิโลกรัม ระบบอากาศยานทั้งเครื่องยนต์ ส่วนควบคุมการบิน อุปกรณ์นำร่อง อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์ภารกิจ ควบคุมด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลแบบ UMAS ที่มีชั่วโมงการใช้งานก่อนซ่อมบำรุงถึง 30,000 ชั่วโมง
Aerostar ติดตั้งอุปกรณ์ภารกิจสำคัญ คือ ระบบตรวจการณ์ติดตั้งบนแท่นหมุนทรงตัวได้ ของบริษัท Controp Precision Technologies แบบ DSP-1 ประกอบด้วยกล้อง CCD-TV แบบสี ความละเอียดสูง ทำงานในเวลากลางวัน กล้อง FLIR ย่านความถี่ปานกลาง (MWIR 3-5 ไมครอน) พร้อมระบบซูมภาพแบบต่อเนื่อง และสามารถติดตั้งเลเซอร์วัดระยะหรือเลเซอร์ระบุตำแหน่งเป้าหมายได้ แต่ในข่าวนี้ไม่ได้ระบุว่ากองทัพอากาศเลือกอุปกรณ์ภารกิจรุ่นดังกล่าวหรือไม่
Aerostar ติดตั้งระบบสื่อสาร/เชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (data-link) ด้วยวิทยุ line-of-sight ทำงานได้หลายความถี่ (C, L หรือ S-band) ใช้จานสายอากาศแบบบังคับทิศทางได้ ของบริษัท Commtact มีระยะการทำงานกว่า 200 กิโลเมตร และสามารถติดตั้งระบบสื่อสาร/เชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีผ่านดาวเทียม (SATCOM) เพิ่มเติมได้ มีสถานีควบคุมภาคพื้นแบบ HCS ที่สามารถควบคุมอากาศยานหลายเครื่องได้พร้อมกันในเวลาจริง (real time) และมีอุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้แบบ RPCS สำหรับใช้งานในภาคสนาม (เช่น สำหรับชุดผู้ควบคุมอากาศยานหน้า) เพื่อรับข้อมูลจากอากาศยานผ่าน data-link และใช้ควบคุมอุปกรณ์ภารกิจได้ สถานีภาคพื้น HCS สามารถเชื่อมต่อหรือบูรณาการเข้ากับระบบควบคุมและสั่งการต่างๆ ได้อย่างง่ายดายเพื่อส่งข้อมูลให้กับผู้บังคับบัญชาระดับสูงใช้ในการตัดสินใจดำเนินกลยุทธในสนามรบได้ในเวลาจริง เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญของการปฏิบัติการรบที่มีเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (network centric warfare)
Aerostar เข้าประจำการครั้งแรกปี 2543 ในกองทัพอิสราเอล นอกจากนี้ยังมีลูกค้าต่างประเทศอีกกว่า 15 ราย เป็นจำนวนรวม 131 เครื่อง ทั้งสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ตุรกี จอร์เจีย ไนจีเรีย แองโกล่า โดยผ่านการใช้งานจริงในปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายของกองกำลังนาโต้ (ISAF) ในประเทศอัฟกานิสถาน ปัจจุบัน Aeronautics อยู่ระหว่างการพัฒนารุ่น Aerostar-C ที่มีขนาดกว้างกว่าเดิม 2.5 เมตร ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบ 4 จังหวะ กำลัง 65 แรงม้า มีระยะเวลาปฏิบัติการนานขึ้นเป็น 24 ชั่วโมง และบรรทุกอุปกรณ์ภารกิจได้ถึง 80 กิโลกรัม และน่าจะอยู่ในความสนใจที่กองทัพอากาศไทยจะจัดหามาใช้งานเพิ่มเติมในอนาคตตามที่ข่าวระบุ
ในระหว่างงาน Defense & Security 2009 ที่ประเทศไทย ทีมงาน TAF ได้มีโอกาสสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่จากบริษัท Aeronautics ซึ่งกล่าวว่าทางบริษัทได้เสนอแบบแผน UAV แบบ Aerostar ให้กับกองทัพอากาศไทย พร้อมกับเงื่อนไขในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกองทัพอากาศไทยอีกด้วย แต่ทั้งนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าในสัญญาการจัดหาจริงนั้นกองทัพอากาศไทยได้ร้องขอการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยหรือไม่
จากเว็ป http://www.thaiarmedforce.com
เพิ่มเติมให้ครับ ที่่มาของข่าวข้างต้นครับ
DATE:05/01/11 Royal Thai Air Force orders Aerostar UAVsBy Arie Egozi ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ผู้ผลิต |
Last Updated on Thursday, 06 January 2011 11:54 |
มันเป็นการทำฝนเทียมของฝรั่งครับ
ก็ดีสิครับ
เราจะได้มีการประสานงานระหว่างบนพื้นกับบนฟ้าที่ดีขึ้น
มีการข่าวที่ดีขึ้น
ถามนิดนึงครับ UAV พวกนี้ สามารถ ติดอุปกรณ์ ก่อกวนสัญญาณมือถือได้หรือเปล่าครับ แบบ แจมเมอร์ เพราะ้ถ้่าได้ จะดีมากเลย ให้บินบน แจมสัญญาณ ขณะ หน่วย EOD เข้า ทำลายวัตถุระเบิด
คุณภาพก็พอใช้ได้ครับ แต่มันจะบินได้ทุกสภาพอากาศรึเปล่า ยังสงสัยอยู่??
ส.ค.ส.๒๕๕๔ ครับคุณนก ฮึๆๆๆๆ...ผมไม่รู้อะไรนะ..ฮึๆๆๆๆๆๆ
พล.อ.อ.บุญยฤทธิ์ เกิดสุข ตำแหน่ง ผช.ผบ.ทอ.ประธานกรรมการแลกเปลี่ยนโดยวิธีพิเศษ พร้อมด้วยคณะรวม ๕ คน เดินทางไปราชการและรับทราบความเสร็จสมบูรณ์ของการติดตั้งตามคุณลักษณะเฉพาะ การบินทดสอบ และการรับทราบความเสร็จสมบูรณ์ของการบินทดสอบ ของ อ.ไร้นักบิน (UAV) แบบ Aerostar เครื่องที่ ๑ (S/N 678) เมื่อ ๒๙ พ.ย.๕๓ ณ สนามบิน GVULOT รัฐอิสราเอล
from www.rtaf.mi.th/news
เพิ่มรูป
ตกลงยังไงกันแน่ ทอ.ออกแถลงว่าไม่ได้จัดซื้อ แต่มีภาพว่าเจ้าหน้าที่ทอ. ไปตรวจความเรียบร้อย ฮาจริงๆประเทสไทย ไม่ได้จัดซื้อ แต่เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยวิธีพิเศษด้วย ภาษาทนายความจริงๆ ประเทศไทย