รถเกราะคอมมานโดสเก้าท์
(Commando Scout)
1. ความเป็นมาของโครงการ : เมื่อปี พ.ศ.2521 ศอว.ทบ. ได้ทดลองสร้างรถเกราะขึ้น 1 คัน ตามแนวความคิดของ พล.อ.เจริญ พงษ์พานิช ซึ่งเป้น เสธ.ทหาร อยู่ในขณะนั้น โดยยึดถือแบบรูปร่าง COMMANDO SCOUT ของบริษัท คาดีแลค สหรัฐอเมริกา เป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 130 แรงม้า และได้ทำการทดลองวิ่งเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ทั้งบนถนนและในภูมิประเทศ ต่อมาก็ได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ อีกหลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ.2523 ศอว.ศอพท. ได้รับงบประมาณให้สร้างรถเกราะ ต้นแบบคันที่ 2 อีก 1 คัน โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 150 แรงม้า รูปร่างใกล้เคียงกับคันแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่าคันแรก ทาง ศอว.ศอพท. ได้ทดลองวิ่ง อยู่ประมาณ 1 ปี เป้นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ผลปรากฎว่ารถมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ไม่สมดุลย์กับขนาดของเครื่องล่าง เกิดการชำรุด ง่ายและมีข้อบกพร่องซ่อนเร้น ไม่คาดมาก่อนหลายประการ
2. มูลเหตุที่ขอให้ดำเนินการวิจัย : ในช่วงปี พ.ศ.2522 +- 2523 นั้น การสู้รบปราบปราม ผคก. ยังอยู่ในชั้นรุนแรง ฝ่ายทหารมักจะถูก ผกค. ซุ่มโจมตี ได้รับความเสียหายอยู่เสมอ ทำให้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ต้องได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก พล.ท.สัมผัส พาสนยงภิญโญ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผบ.ศอว.ศอพท. อยู่ในขณะนั้น ได้มีแนวความคิดที่จะป้องกันและตอบโต้ฝ่าย ผกค. ที่คอยซุ่มโจมตีขบวนยานยนต์ของทหาร โดยการสร้างรถหุ้มเกราะขนาดเล็ก ๆ ขึ้น เพื่อเป้นการป้องกันและขวัญกำลังใจแก่ทหาร โดยขณะเคลื่อนพลด้วยยานยนต์ จากสถานการณ์และสภาพแวดล้อม ประกอบกับความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ที่ได้รับการสร้างรถเกราะ 2 คัน ต้นแบบที่ผ่านมา ศอว.ศอพท. จึงมั่นใจจะสร้างรถเกราะในแนวความคิดใหม่ขึ้นได้ และเพื่อให้มีการทดลองใช้จริงในสนามรบ โดยมุ่งหมายที่จะใช้รถตาม PILOT PROJECT ที่ปฏิบัติการจริง โดยให้หน่วยรบตามชายแดน เช่น ทหารราบใช้เป็นรถควบคุมขบวนเดินทาง หรือใช้เป็นรถเข้าปะทะทำการสู้รบโดยทันที ที่มีการชุ่มโจมตีเกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง เพราะ การปฏิบัติในขณะนั้น เมื่อถูกโจมตีครั้งใด ขบวนรถทุกทหารไปช่วยก็ได้ใช้รถ ขนาด 1/4 ตัน หรือ 3/4 ตัน ที่ไม่มีเกราะหุ้ม ซึ่งทำให้ฝ่ายเราได้รับอันตรายจากการซุ่มโจมตีจากฝ่าย ตรงข้ามทุกครั้ง ซึ่ง ผกค. จะรู้เสมอว่า เมื่อซุ่มโจมตีที่จุดใดแล้ว ก็จะจัดเตรียมซุ่มโจมตี ขบวนรถที่จะยกกำลังหนุนมาช่วยไว้ก่อนได้เสมอ และฝ่ายเราก็เป็นอันตรายทุกครั้ง แต่ถ้าใช้รถเกราะที่สร้างมาให้บรรทุกทหารได้คันละ 4 - 5 นาย จะสามารถเข้าช่วยฝ่ายเดียวกัน ที่ถูกซุ่มโจมตีได้แน่นอน โดยตนเองไม่ต้องถูกซุ่มโจมตีพินาศไปเสียก่อน อย่างที่เป็นอยู่เสมอ
3. ความมุ่งหมายของโครงการ : เพื่อ สร้างรถเกราะคอมมานโดสเก้าท์ จำนวน 5 คัน ให้หน่วยที่ออกปราบปราม ผคก. ใช้เป็น รถลาดตระเวนตามเส้นทาง เป็นรถคุ้มครองขบวนเดินทาง ใช้เป็นรถเข้าปะทะเมื่อถูกซุ่มโจมตี นอกจากนี้ยังใช้ป้องกันจุดสำคัญ และสถานที่สำคัญ ใช้ป้องกันสนามบิน ใช้เป้นฐานยิงในลักษณะต่าง ๆ เช่น การใช้เป็นฐานยิงเคลื่อนที่เร็วในการป้องกันสถานที่สำคัญ ๆ โดยติดตั้งอาวุธให้กับรถดังกล่าว มีอำนาจการยิงที่มีประสิทธิภาพ
4. ขอบเขตการวิจัย :
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : เมื่อดำเนินการสร้างรถเกราะคอมมานโดสเก้าท์ สำเร็จแล้ว มีผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
ระยะเวลาดำเนินการ : ใช้ระยะวลาดำเนินการ 5 ปี (2523 - 2528)
คุณลักษณะเฉพาะ
พลประจำรถ | 4 | นาย |
น้ำหนักพร้อมรบ | 7 | ตัน |
ความกว้าง | 2,180 | มม. |
ความยาว | 5,070 | มม. |
ความสูงตัวรถ | 1,730 | มม. |
ความหนาเกราะ | 9 | มม. |
อาวุธ | ||
|
1 | กระบอก |
|
1 | กระบอก |
สมรรถนะ | ||
|
105 | กม./ชม. |
|
60 | % |
|
150 | ลิตร/335 กม. |
เครื่องยนต์ | ||
|
||
|
||
|
รถเกราะล้อยางขนาด 7 ตัน
(Armoured Wheeled Vehicle)
ความเป็นมาของโครงการ : ตาม ที่ ผบ.ทบ. ได้อนุมัติหลักการให้ ศอว.ฯ ดำเนินการตามโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างรถเกราะขนาดเล็ก แบบคอมมานโดสเก้าท์ จำนวน 1 คัน โดยใช้งบประมาณ ปี 23 ในวงเงิน 800,000.-บาท จากงบจัดหาผลิตของ รง.ตวพ.ฯ ที่ได้รับอนุมัติหลังการสั่งจ่ายไว้แล้ว และให้ สปช.ทบ. ให้การสนับสนุนต่อไปในปีงบประมาณ 24 ตามกำลังงบประมาณ จนกว่าจะแล้วเสร็จเป็นต้นแบบต่อไป จากความรู้ วิธีทำ ( Technical Know How ) ของโครงการ ดังกล่าวในปี 27 ศอว.ฯ (โดย รง.ตวพ.ฯ) ได้เริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนารถเกราะล้อยางขนาด 7 ตัน จำนวน 1 คัน จนประสบความสำเร็จ และได้ทดสอบในขั้นตอนการวิจัย ฯ เรียบร้อยแล้ว ศอว.ฯ จึงได้รายงานขอส่งรถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน จำนวน 1 คัน ให้กับ ทบ. (ผ่าน สวพ.ทบ.) เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
สวพ.ทบ. ได้เขิญ กรม ฝสธ., หน่วยที่เกี่ยวข้องและหน่วยเจ้าของโครงการ ประชุมพิจารณาผลการวิจัย ฯ รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ของ ศอว.ฯ เมื่อ 7 ต.ค.31 ที่ประชุมได้พิจารณาโดยละเอียดและรอบคอบแล้ว มีความ เห็นว่า รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ของ ศอว.ฯ เป็นรถเกราะแบบลำเลียงพล มีลักษณะเฉพาะยังไม่ตรงตามที่ กำหนดไว้ในโครงการ ฯ คือ ตัวรถไม่ได้ใช้เหล็กเกราะ จึงไม่สามารถยอมรับได้ และปัจจุบันความต้องการด้าน ยุทธการมีน้อยมาก จึงเห็นสมควรปิดโครงการวิจัย ฯ ไว้ในชั้นนี้ก่อน และเพื่อให้ทราบข้อมูลไว้ศึกษาในผลงานการวิจัยรถเกราะล้อยางที่ ศอว.ฯ ได้ดำเนินการไว้ ควรทดสอบผลงานวิจัย ฯ นี้ด้วยโดยให้ ศม. เป็นหน่วยรับผิดชอบในการทดสอบทางเทคนิคและในสนาม เพื่อให้สามารถมีข้อมูลไว้ศึกษาในผลงาน และมีเจ้าหน้าที่ของ สพ.ทบ. และ ศอว.ฯ ร่วมดำเนินการด้วย
จากการทดสอบทั้งทางเทคนิคและในสนาม โดยคณะอนุกรรมการ จาก ศอว.ฯ และ กรซย. ศอ.สพ.ทบ. ร่วมกัน ศม. สรุปได้ว่า รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน มีสมรรถนะโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ค่อนข้างดี ในโอกาสต่อไป หากกองทัพบกมีความจำเป็นทางด้านยุทธการ และจะให้มีการวิจัยพัฒนาเพิ่มเติมเพียงเฉพาะ เรื่องเหล็กเกราะที่ใช้ทำตัวรถให้สามารถป้องกันกระสุนปืนเล็กได้ก็จะเป็น เรื่องน่ายินดี ที่จะได้มีรถเกาะผลิตขึ้นเอง ในประเทศซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางทหาร ในสถานการณ์ลำเลียงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สมรรถนะไม่ได้ด้อยกว่ารถที่ผลิตจากต่างประเทศมากมายนัก
มูลเหตุที่ขอให้ทำการวิจัย : จากประสบการณ์การสร้างรถเกราะคอมมานโดสเก๊าท์ 5 คัน เป็น PILOT PROJECT ดังกล่าว ซึ่งสำเร็จไปแล้ว ในระดับหนึ่ง และได้หาข้อมูลจากหลาย ๆ ประเทศมาพิจารณา ศึกษาตั้งแต่ระบบต้นกำลัง ระบบส่งกำลัง รวม ทั้งชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบและสร้างขึ้นเอง ที่สั่งทำและจัดหาได้ภายในประเทศ จึงเกิดความมั่นใจว่า มีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน ที่จะช่วยให้ปัญหาขาดแคลนยุทโธปกรณ์ประเภทนี้ยามที่ ทบ.ต้องการโดยไม่ต้องสั่งซื้อ สำเร็จรูปจากต่างประเทศ สามารถสร้างยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้ได้เอง เป็นการประหยัดงบประมาณของชาติอีกด้วย
ความมุ่งหมายของโครงการ : เพื่อ ให้การสร้างรถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ จึงกำหนดความมุ่งหมายที่สำคัญในการวิจัยสร้างต้นแบบ ไว้เป็นแนวทางปฎิบัติดังนี้
ขอบเขตของการวิจัย : การวิจัยพัฒนารถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ได้กำหนดขอบเขตเพื่อความเหมาะสมไว้ ดังนี้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : การวิจัยสร้างรถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ผลที่คาดว่าจะได้รับมีดังต่อไปนี้
การดำเนินงาน :
บทสรุป : การ ทดสอบ เนื่องจากมีระยะเวลาจำกัดดังได้กล่าวมาแล้ว ผลการทดสอบจึงไม่พบข้อบกพร่องที่สำคัญ มีเหตุขัดข้องเพื่อ 1 ครั้ง สายคันเร่งหลุดในขณะทำการไต่ลาด สาเหตุเนื่องจากคลัชท์ชำรุด ได้ดำเนินการแก้ไขใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชม. กลับเป็นปกติ สามารถทำการทดสอบได้ต่อไปจนเสร็จสิ้นภารกิจ สำหรับระบบต่าง ๆ อันได้แก่ ระบบเครื่องกำเนิดกำลัง , ระบบขับเคลื่อน, ระบบระบายความร้อน , ระบบไฟฟ้า , ระบบโครงรถ , ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง , ระบบห้ามล้อ , ระบบติดต่อภายในรถ ตลอดจนระบบซ่อมบำรุง อยู่ในเกณฑ์ ที่เหมาะสมสำหรับทางทหาร ซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบในบางระบบที่สำคัญ กับรถเกราะคอมมานโด วี - 150 ของ สหรัฐ ฯ ซึ่งมีประจำการอยู่ในกอบทัพไทย จากผลการทดสอบทั้งทางเทคนิคและในสนาม โดยคณะอนุกรรมการจาก ศอว.ฯ และ กรซย.ศอ. สพ.ทบ. ร่วมกับ ศม.สรุปได้ว่ารถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน มีสมรรถนะโดยทั่วไปเกณฑ์ปานกลางค่อนข้างดี ในโอกาสต่อไปหากกองทัพบก มีความจำเป็นทางด้านยุทธการ และหากมีการวิจัยพัฒนาเพิ่ม เติมเพียงเฉพาะเรื่องเหล็กเกราะที่ใช้ทำตัวรถให้สมารถป้องกันกระสุนปืนเล็ก ได้ ก็จะเป็นเรื่องน่ายินดี ที่จะได้มีรถเกราะผลิตขึ้นเองในประเทศ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางทหารในสถานการณ์ลำเลียงพล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สมรรถนะไม่ได้ด้อยกว่ารถที่ผลิตจากต่างประเทศมากมายนัก
คุณลักษณะเฉพาะ
พลประจำรถ | 3 | นาย |
น้ำหนักพร้อมรบ | 7 | ตัน |
ความกว้าง | 2,150 | มม. |
ความยาว | 5,420 | มม. |
ความสูงตัวรถ | 1,800 | มม. |
ความหนาเกราะ | 6.4 | มม. |
อาวุธ | ||
|
1 | กระบอก |
สมรรถนะ | ||
|
100 | กม./ชม. |
|
60 | % |
|
150 | ลิตร/450 กม. |
เครื่องยนต์ | ||
|
||
|
||
|
น่าจะสานต่อนะครับ เสียดายจัง
ค่อย ๆ ทำไป ได้ผลยังไงก็พัฒนาเรื่อย ๆ
ส่วนหนึ่งมาลงอุตสาหกรรมยานยนต์ยี่ห้อไทยทำเอง ใช้เองในประเทศ
เงินไม่รั่วไหล มีแต่ได้ ทั้งเทคโนโลยี ทั้งเงิน
อิอิ
ขอบคุณเรื่องดีๆที่นำมาเล่าครับ
อยากให้มีล้อเพิ่มหน้าหลังอย่างละ 2 ล้อ(เหมือน...)
ใช้เพลาแยกกันหน้าหลัง เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ให้เกิดความคล่องตัว
(เดี๋ยวโดนยิงล้อหลุดแล้วไม่ต้องไปไหนเลยนะ) อิอิ
ลืมดูไปครับ ตัวรถมันสั้นถ้าเอามาแทน REVA ก็โอเคครับ