อยากทราบว่าต่อหนึ่งเที่ยวบินสำหรับปฏิบัติการทางอากาศโจมตีภาคพื้นดินของทอ.ไทย ใช้เวลาคร่าวๆประมาณกี่นาทีคับ
เอาตั้งแต่บินขึ้น จับหมู่บินใช้เวลากี่นาที , บินเข้าสู่ที่หมายกี่นาที ใช้เวลาบอมบ์กี่นาที , บินกลับมาและโหลดอาวุธกับน้ำมันใหม่กี่นาที
เพราะปัจจุบันเริ่มมีคนเอา ทอ. ไปโยงกับความคิดบ้าสงครามของพวกเขา ว่าประเทศท. สามารถบอมบ์ประเทศ ก. ให้ราบเป็นหน้ากลองได้ในเวลาไม่ถึงสามวัน(แหม ถ้าเป็นอย่างงั้นจริงคงเก่งกว่าสหรัฐและพันธมิตรในสงครามอ่าวอีกมั่งเนี่ย)....เผื่อจะได้เอาข้อมูลไปชี้แจงให้เขาเข้าใจ ว่าสงครามไม่ได้เป็นเรื่องเล่นๆ และจบเร็วอย่างที่เค้าคิด
รอท่าน กบ มาตอบ
ไม่ว่าใครจะโยงความคิด หรือมีความคิด อยากทำสงครามหรือบ้าอย่างไร
ในระดับผู้สั่งการ /วางแผน คงไม่บ้าจี้กระทำการใดๆตามเป็นแน่แท้
ทุกๆสถานการณ์ตรึงเคลียดไม่ว่าด้านใด ต้องมีการกลั่นกรองวิเคราะห์ หารูปแบบแนวทางแก้ไขดำเนินการ อย่างเหมาะสมที่สุด
ศักยภาพ ทอ คงไม่ต้องเป็นห่วง ติดถังเชื้อเพลิงสำรอง/GBU-10/12/AGM-65D มีพร้อมในการป้องปราม
ผมว่าของอย่างงี้ตอบยากนะครับ อย่างที่ว่าจะบินไปถล่มประเทศก. ก็ต้องมาดูว่าเครื่องเราบินจากที่ไหน และเป้าหมายคือที่ไหน ถึงจะสามารถคำนวณเวลาได้อย่างแม่นยำครับ และต้องดูอีกว่าทำความเร็วที่เท่าไหร่?
งั้นผมกำหนดัวแปรไว้ให้แบ้วกันคับเผื่อไม่มีตัวแปร
อากาศยาน : Jas-39 , F16
ฐานที่ตั้ง : บินจากฐานทัพในภาคอีสาน(โคราช อุบล อุดร)
เป้าหมาย : เมือง พนป. และเป้าหมายในประเทษ กพช.(เค้าบอกบอมบ์ทั้งประเทศเลยนะเออ!)
รอท่านกบมาตอบคับ
ขออภัยถ้าพิมพ์ผิดคับ คียบอร์ดมันไม่ค่อยดี ไม่ได้ตั้งใจจะทำภาษาวิบัตินะคับ
การรบทางอากาศ มีขั้นตอนของมันครับ การถ่ายภาพทางอากาศ (ความจริงเราซื้อภาพดาวเทียมจากสหรัฐฯอยู่แล้ว เรามีแผนที่ดาวเทียมทุกสนามบิน ขนาด กูเกิลเอิร์ธ ยังได้รัดับหนึ่ง) จากนั้นก็วางแผน โจมตี ว่าจะให้ฝูงไหนทำหน้าที่อะไร ใช้ระเบิด จรวด ระเบิดร่อน ขีปนาวุธ ฯลฯ แบบไหน ใครทำหน้าที่คุ้มกัน สมมุติวิ่งขึ้นจากโคราช ไปทางตะวันตก เมื่อกลับมาลง จะไปเติมเชื้อเพลิงที่ไหน โหลดอาวุธเพิ่มที่ไหน ปกติ ทอ.มีการฝึกที่เรียกว่า "การฝึกสนามบินหน้า" FOB โดยสนามบินพานิชย์อย่าง เชียงราย ภูเก็ต ฯลฯ สามารถวางกำลัง F-16 ได้ไม่เกิน ๓ ชั่วโมง เมื่อมีคำสั่ง พูดง่ายๆ ว่า เมื่อเครื่องวิ่งขึ้นจากโคราช ไปโจมตีในทะเล กลับมาลงที่ภูเก็ต มีทีมช่าง และ ฯลฯ มารอรับเรียบร้อย พร้อมกลับไปรบใหม่ได้ การค้มกัน การบรรชาการ
โดยปกติ ในหลักสูตร ระดับโรงเรียนเสนาธิการทหาร (ขึ้นไป) ก็มีการซ้อมรบจำลอง หน้าจอ มีฝ่ายแดง ฝ่ายน้ำเงิน ออกข่าวลวง ข่าวจริง ส่ง บ.ไปถ่ายภาพ ส่งคนไปหาข่าว มีแพ้ มีชนะ แต่ไม่ตายจริง ทั้งหมดเอามาประเมินและบันทึกเป็นบทเรียน
กองทัพอากาศ มีหน่วยงานนอกเหนือจากหน่วยงานบัญชาการ ยังมีหน่วยงานที่เก็บบทเรียนการรบทางอากาศไว้ เช่น ศูนย์การสงครามทางอากาศ ที่โคราช เพื่อศึกษาบทเรียนสงครามทางอากาศทั่วโลก มาเป็นบทเรียนประเมิน วิเคราะห์ ให้ผู้บัญชาการ เช่นเดียวกับที่ กรมข่าว กรมยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์ยุทธการ กรมควบคุมปฏิบัติการ ฯลฯ ได้ให้ข้อมูล ฯลฯ แก่ผู้บังคับบัญชา
แต่ถ้าถามว่า จะทำแบบไหน คงตอบไม่ได้ครับ ระดับเสนาธิการ เค้าจะประเมินและกำหนดแผน ที่เปลี่ยนแปลงและแตกต่างออกไปในแต่ละคราว