หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


การส่งมอบต้นแบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 ให้กับกองทัพบก v.2

โดยคุณ : sandeena เมื่อวันที่ : 27/01/2011 19:48:09

TAF Special #33 - DTI-1 Hand Over to RTA | การส่งมอบต้นแบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 ให้กับกองทัพบก PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Monday, 24 January 2011 19:45

วันนี้ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ DTI ได้ทำพิธีส่งมอบต้นแบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 ให้กับกองพลทหารปืนใหญ่ กองทัพบก ณ ที่ตั้งกองพลทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ภายในแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคงที่กระทรวงกลาโหมได้จัดทำขึ้น โดยในงานมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก ประธานคณะกรรมการและผู้อำนวยการของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)  ผู้บังคับการกองพลทหารปืนใหญ่ รวมถึงนายทหารชั้นผู้ใหญ่จากทั้งสามเหล่าทัพ และกำลังพลของกองพลทหารปืนใหญ่เข้าร่วมในพิธี ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวผลงานแรกของ DTI อีกด้วย

งานเริ่มต้นด้วยการกล่าวรายงานของพลโท ฐิตินันท์ ธัญญะสิริ ผู้อำนวยการของ DTI เกี่ยวกับความเป็นมาของระบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 ซึ่งจัดสร้างจากการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดย DTI มีภารกิจในการจัดสร้างและพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อเข้าประจำการในกองทัพไทยต่อไป

 

หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ์ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ได้กระทำพิธีส่งมอบต้นแบบจรวดระบบนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กดปุ่มเปิดม่านเพื่อเป็นการเปิดตัวระบบจรวดแบบ DTI-1 ต่อสาธารณะชน

ต่อมาพลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการของ DTI ได้ส่งมอบรายการยุทโธปกรณ์ให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อส่งต่อให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และส่งมอบต่อให้พลตรีสุกิจ เนื่องจำนงค์ ผู้บังคับการกองพลทหารปืนใหญ่ ในฐานะหน่วยผู้ใช้

หลังจากนั้น คณะนายทหารได้เดินชมระบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 ซึ่งก่อนหน้านั้น ทางกองพลทหารปืนใหญ่ได้สาธิตการตั้งยิงของระบบจรวดแบบนี้ โดยใช้กำลังพลประจำระบบจรวดของกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 711 ที่ได้รับการฝึกมาให้ทำงานกับระบบจรวดนี้ โดยระบบจรวดแบบนี้ประกอบไปด้วยรถสองคัน คันแรกเป็นรถบรรจุจรวดซึ่งมีแท่นบรรทุกจรวดจำนวน 4 นัด และอีกคันเป็นรถยิงซึ่งติดตั้งแท่นยิงที่สามารถยิงได้จำนวน 4 นัดพร้อมกับห้องควบคุมการยิงในบริเวณส่วนหน้าของตัวรถ

หลังจากได้รับตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องทำการยิงแล้ว รถยิงจะทำการเคลื่อนเข้าสู่ตำแหน่งตั้งยิง โดยตัวรถจะมีขาตั้งไฮโดรลิคจำนวน 4 ขาซึ่งจะกดลงกับพื้นในระหว่างยิงเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตัวรถ

กำลังพลจะใช้ข้อมูลจากหลายส่วนในการหาหลักฐานยิงหรือการหามุมทิศ มุมภาค เพื่อปรับแท่นยิงให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำการยิงได้อย่างถูกต้อง โดยนอกจากข้อมูลพิกัดของเป้าหมายที่จะทำการยิงแล้ว ยังต้องใช้ข้อมูลสภาพอากาศเพื่อทำให้ตัวลูกจรวดที่เคลื่อนที่แบบ Projectile นั้นวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้ โดยบนตัวรถจะมีห้องควบคุมการยิงซึ่งกำลังพลจะใช้คอมพิวเตอร์ในการหาค่าต่าง ๆ ที่จำเป็นและประมวลผลออกมาเป็นหลักฐานยิง

หลังจากได้หลักฐานยิง กำลังพลจะทำการยกแท่นยิงขึ้นตามมุมทิศและมุมภาคที่ได้คำนวณเอาไว้ โดยแท่นยิงนั้นสามารถทำการยกได้ทั้งการยกแบบอัตโนมัติซึ่งจะถูกควบคุมจากในห้องควบคุมการยิงและการยกด้วยการบังคับด้วยมือโดยใช้กล้องเล็งที่ติดตั้งอยู่ข้างตัวรถ

หลังจากแท่นยิงเข้าสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องและพร้อมสำหรับการทำการยิงแล้ว กำลังพลประจำรถจะทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าของแท่นยิงเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อทำให้แน่ใจว่าระบบทุกอย่างพร้อม ก่อนทำการขออนุญาตยิง

ในการยิงจริงนั้น ตัวลูกจรวดจะวิ่งออกจากแท่นยิงด้วยความเร็วราว 5 มัค หรือ 5 เท่าของความเร็วเสียง และใช้เวลาในการเดินทางเข้าสู่เป้าหมายที่ระยะยิงไกลสุดที่ 180 กิโลเมตรราว 2 นาที การยิงสามารถทำได้ทั้งการยิงทะละนัดและการยิงแบบซัลโวเป็นชุด และลูกจรวด 1 นัดมีรัศมีการทำลายได้ราว 1 สนามฟุตบอล

เมื่อยิงเสร็จสิ้น รถบรรจุจรวดสามารถทำการโหลดจรวดชุดใหม่ทั้ง 4 นัดได้ภายในเวลา 20 นาที เพื่อพร้อมสำหรับการทำการยิงอีกครั้ง ในปัจจุบันระบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 นั้นเป็นระบบจรวดที่ไม่นำวิถี ซึ่ง DTI มีโครงการที่จะพัฒนาระบบนำวิถีเพื่อติดตั้งกับระบบจรวดแบบ DTI-1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการยิงให้มากยิ่งขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในตอนหนึ่งว่า ในอดีตประเทศไทยต้งอนำเข้าอาวุธจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นการจ่ายงบประมาณออกไปยังต่างประเทศ และในหลายครั้งยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถจัดหาระบบอาวุธที่ต้องการได้ กระทรวงกลาโหมจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ด้วยการใช้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบอาวุธให้กับเหล่าทัพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพและประเทศชาติ

ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า การสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศถือเป็นภารกิจที่ท้าทาย แต่ถ้าทำสำเร็จ นอกจากประเทศไทยจะได้มีโอกาสในการใช้อาวุธที่ผลิตด้วยตนเองแล้ว การเป็นเจ้าของเทคโนโลยียังทำให้ประเทศไทยสามารถซ่อมบำรุงและพัฒนาระบบอาวุธของตนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งนอกจากการสร้างความเข้มแข็งและสร้างการพึ่งพาตนเองด้านการทหารแล้ว การวิจัยและพัฒนายังเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่ช่วยพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ช่วยสร้างเศรษฐกิจและสร้างงานให้กับวิศกรชาวไทย โดยในอนาคต

ทัง้นี้ กองพลทหารปืนใหญ่ในฐานะผู้ใช้งานจะนำต้นแบบระบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 ไปทำการฝึกและทดลองใช้งาน เพื่อหาข้อบกพร่องและให้คำแนะนำแก่ DTI ในการดำเนินการพัฒนาระบบจรวดแบบนี้ในรุ่นต่อ ๆ ไป

คณะทำงาน ThaiArmedForce.com ขอขอบคุณ


- สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)
- กองพลทหารปืนใหญ่ กองทัพบก

Last Updated on Monday, 24 January 2011 19:53




ความคิดเห็นที่ 1


ข้างบ้านหนาวแน่ๆ

โดยคุณ juk เมื่อวันที่ 24/01/2011 22:41:29


ความคิดเห็นที่ 2


อีกหนึ่งผลงานที่น่ายกย่องครับWink

โดยคุณ smoke2joice เมื่อวันที่ 24/01/2011 22:45:38


ความคิดเห็นที่ 3


ก้าวเล็กๆ ของกองทัพ แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของชาติ

 

"แม้หวังตั้งสงบ ต้องเตรียมรบให้พร้อมสรรพ์"

โดยคุณ che เมื่อวันที่ 24/01/2011 22:48:40


ความคิดเห็นที่ 4


BM-21 "Grad"
1372 bm 21 grad.JPG
Type Multiple rocket launcher
Place of origin  Soviet Union
Service history
In service 1964–present
Used by See Operators
Wars 1995 Cenepa War
Soviet War in Afghanistan
Lebanese Civil War
First Chechen War
Second Chechen War
2008 South Ossetia war
Production history
Produced 1963–present
Specifications (9K51)
Weight 13.71 tonnes (30,225 lb)
Length 7.35 m (24 ft 1 in)
Barrel length 3.0 m (9 ft 10 in)
Width 2.40 m (7 ft 10 in)
Height 3.09 m (10 ft 2 in)
Crew 4

Barrels 40
Rate of fire 2 rounds/s
Muzzle velocity 690 m/s (2,264 ft/s)
Maximum range 20 km (new rockets 30-40 km)
Sights PG-1M panoramic telescope

Engine V-8 gasoline ZiL-375
180 hp (130 kW)
Suspension 6x6 wheeled
Operational
range
405 km (251 mi)
Speed 75 km/h (47 mph)

 

 Cambodia 100

เครดิต http://en.wikipedia.org/wiki/BM-21_Grad

โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 24/01/2011 23:09:46


ความคิดเห็นที่ 5


 วันนี้ที่รอคอย เมื่อไรจะมีภาพการทดลองยิงให้ดูครับ

โดยคุณ JOJO8869 เมื่อวันที่ 25/01/2011 00:48:48


ความคิดเห็นที่ 6


นั่นดิ น่าจะมีที่ทดลองยิง มั่งนะครับ

โดยคุณ mcot1047 เมื่อวันที่ 25/01/2011 02:58:49


ความคิดเห็นที่ 7


ผมดูเวปwww.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=94889.0เห็นมีวารสารเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

หน้าปกมีรูปDTI1ขึ้นหน้าปกครับอยากอ่านใครมีบ้างครับ

โดยคุณ js เมื่อวันที่ 25/01/2011 04:27:33


ความคิดเห็นที่ 8


เมื่อผลิตได้ครบตามจำนวนที่ต้องการแล้วเราอาจจะได้เห็นอะไรแบบนี้ก็ได้

 

โดยคุณ smoke2joice เมื่อวันที่ 25/01/2011 07:00:40


ความคิดเห็นที่ 9


คิดว่าน่าจะมีการทดสอบมาแล้วครับ เพราะการจะส่งมอบงานอะไรนั้น ผู้ผลิตต้องมีการทดสอบก่อนและจะต้องมีการสาธิตให้คณะกรรมการจัดหาได้ชมและฝึกอบรมผู้ใช้ด้วย อยู่ๆจะมารับมอบกันเฉยๆเป็นไปไม่ได้มีสิทธิ์โดนเช็คบิลกันทั้งคณะแน่ แต่ที่ไหนนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง ด้วยระยะยิงที่ไกลถึง 180 กม. และอำนาจการทำลายล้างขนาดฟุตบอลต่อจรวดหนึ่งนัด

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 25/01/2011 07:24:54


ความคิดเห็นที่ 10


ขาดคำว่าสนามไปครับท่านเดียวคนเข้าใจผิด

โดยคุณ MALEz เมื่อวันที่ 25/01/2011 07:59:20


ความคิดเห็นที่ 11


ที่น่าทึ่งก็คือ ความเร็วขนาด 5มัคระยะยิง 180 km

ติดครีบหางบังคับทิศทาง ใส่ระบบคำนวนหาพิกัดGPS ลงสู่เป้าหมายอย่างแม่นยำแน่นอน

แต่ถ้ายิงไปตรงๆ ระยะไกลขนาดนั้น กะแสลมจะทำให้จรวดตกห่างจากเป้าหมายที่กำหนดหรือป่าวครับ

ความเร็วขนาด 5มัคสามารถต่อตี อากาศยานใด้ทุกประเภทเลยนะเนี่ย

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 25/01/2011 09:29:40


ความคิดเห็นที่ 12


ชักอยากจะเห็น โทมาร์ฮอร์ค เวอร์ชั่น ไทยแลนด์ ซะแล้วซิ วงการทหารไทยคงจะมีอะไรที่น่าศึกษาเรียนรู้อีกมากมาย

โดยคุณ nova เมื่อวันที่ 25/01/2011 10:11:49


ความคิดเห็นที่ 13


สุดยอดครับ คะแนนเต็ม 100 ให้ 110 เลย

โดยคุณ NATSKI13 เมื่อวันที่ 25/01/2011 22:29:08


ความคิดเห็นที่ 14


สุดยอดครับ คงสามารถ ยิงเข้าห้องนอนเจ้าพ่อภาคตะวันออกเลยครับ ไม่ได้ว่าการเมืองนะครับท่าน admins  กลัววววว ล้อเล่นน่าน้อง ฮิฮิ

โดยคุณ TEERAPHONG เมื่อวันที่ 25/01/2011 23:08:12


ความคิดเห็นที่ 15


LOAD 20 นาที แล้วถ้ามีลูกยาวมาเหมือนกัน ช่วงนี้ต้องมีพวกฟาลังค์ มาเป็นตัวช่วยไหม (ถ้าเพื่อมันไปเอาของใครมา)

โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 25/01/2011 23:18:53


ความคิดเห็นที่ 16


 

อันนี้น่าจะ ใกล้เคียงสุด

โดยคุณ ocean เมื่อวันที่ 26/01/2011 08:18:23


ความคิดเห็นที่ 17


LOAD 20 นาที แล้วถ้ามีลูกยาวมาเหมือนกัน ช่วงนี้ต้องมีพวกฟาลังค์ มาเป็นตัวช่วยไหม (ถ้าเพื่อมันไปเอาของใครมา)

 

^

ยิงแล้วเปลี่ยนที่ตั้งยิงครับ ง่ายที่สุด

โดยคุณ ลมหมุนวน เมื่อวันที่ 26/01/2011 13:36:38


ความคิดเห็นที่ 18


เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ครับ

โดยคุณ JAS39gripen เมื่อวันที่ 27/01/2011 08:48:10