หล่อไม่เบา แล้วของเราไม่มีแบบติดท่อยิงจรวดแบบนี้บ้างไหมครับ
สวยอะ สั่งมาอีก สัก50 ได้ไหม 55+
เอาจรวด มาด้วยนะ
น่าเอาไปวิ่งเล่นทดสอบกระสุนจริงแถวชายแดนเขมรนะ
เท่ดีครับ
^__^
มีจรวดต่อต้านรถถังมาด้วนนิครับ การทดสองคงถอดเก็บ
จรวดต่อต้านรถถังมันลงน้ำไม่ได้ เลยต้องถอดออกก่อน
หมกตั้งนานมาแบบหล่อเลย
ดูจากรูปท่าทางจะลำบาก ทางออกด้านหลังก็ไม่มี ไม่แน่ใจทางออกใต้ท้องรถมีด้วยหรือไม่ หากถูกกระนาบจากด้านข้างทั้งสองฝั่ง และถูกกดจากด้านหน้า และด้านหลัง ผมว่าทหารในรถตายอย่างเขียด ตัวรถดูใหญ่เทอะทะ ไม่เหมาะกับสภาพภูมิประเทศบ้านเรา ที่เป็นป่าดิบชื้น และดินอ่อน มีหวังติดหล่ม เป็นภาระแ่ก่ทหาร เห็นว่าเตรียมเงินอีกเกือบ 6,000 ล้านบาท จะซื้ออีก 121 คัน ผมว่านำเงินจำนวนนี้ ได้พัฒนา ต่อยอด ศึกษา ประกอบรถเองจะดีกว่า โดยอาจจะจัดซื้อเฉพาะเครื่องยนต์ อาวุธ อุปกรณ์ที่เราพัฒนาเองไม่ได้ ก็น่าจะดีกว่าไปซื้อเค้าเอาอย่างเดียว เพราะดูแล้วรูปทรงก็มิได้ดูดีแต่อย่างใด เพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ หรือ อินโดนีเซียที่จะประกอบรถแบบนี้ได้เองยังดูดีกว่า ผมว่าผู้มีอำนาจควรตัดสินใจให้ดี ไม่อยากให้เหมือน T-69 ที่ซื้อจากจีน ส่วนใหญ่แล้วก็เอาไปทำเป็นปากการังเทียบซะหมด ผมเห็นว่าเราควรเน้นการพึ่งพาตนเองให้มาก ๆ เหมือนดั่งเช่นจรวดเพื่อความมั่นคงครับ ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ภาพประกอบต้องขอบคุณ คุณ MIGGERS ซึ่ง โพสเรื่อง กองทัพอินโดนีเซีย เมื่อวนที่ 2009-12-17
จากข้างบนครับ นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้เป็นคนใช้ เราจึงประเมินจากการที่เราได้เห็นและคาดคะเนไปเองซึ่งผิดหลัก กามาลสูตร ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนไว้
ใจเย็นครับ แค่เขาถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้ก็ดีแล้วครับแล้วค่อยสะสมประสบการณ์เอาไปทีละนิดครับ
ของไทยที่วิจัยก็มีครับ
งานวิจัยและพัฒนาที่แล้วเสร็จเป็นต้นแบบ ศอพท.
รถเกราะคอมมานโดสเก้าท์
(Commando Scout)
1. ความเป็นมาของโครงการ : เมื่อปี พ.ศ.2521 ศอว.ทบ. ได้ทดลองสร้างรถเกราะขึ้น 1 คัน ตามแนวความคิดของ พล.อ.เจริญ พงษ์พานิช ซึ่งเป้น เสธ.ทหาร อยู่ในขณะนั้น โดยยึดถือแบบรูปร่าง COMMANDO SCOUT ของบริษัท คาดีแลค สหรัฐอเมริกา เป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 130 แรงม้า และได้ทำการทดลองวิ่งเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ทั้งบนถนนและในภูมิประเทศ ต่อมาก็ได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ อีกหลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ.2523 ศอว.ศอพท. ได้รับงบประมาณให้สร้างรถเกราะ ต้นแบบคันที่ 2 อีก 1 คัน โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 150 แรงม้า รูปร่างใกล้เคียงกับคันแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่าคันแรก ทาง ศอว.ศอพท. ได้ทดลองวิ่ง อยู่ประมาณ 1 ปี เป้นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ผลปรากฎว่ารถมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ไม่สมดุลย์กับขนาดของเครื่องล่าง เกิดการชำรุด ง่ายและมีข้อบกพร่องซ่อนเร้น ไม่คาดมาก่อนหลายประการ
2. มูลเหตุที่ขอให้ดำเนินการวิจัย : ในช่วงปี พ.ศ.2522 +- 2523 นั้น การสู้รบปราบปราม ผคก. ยังอยู่ในชั้นรุนแรง ฝ่ายทหารมักจะถูก ผกค. ซุ่มโจมตี ได้รับความเสียหายอยู่เสมอ ทำให้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ต้องได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก พล.ท.สัมผัส พาสนยงภิญโญ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผบ.ศอว.ศอพท. อยู่ในขณะนั้น ได้มีแนวความคิดที่จะป้องกันและตอบโต้ฝ่าย ผกค. ที่คอยซุ่มโจมตีขบวนยานยนต์ของทหาร โดยการสร้างรถหุ้มเกราะขนาดเล็ก ๆ ขึ้น เพื่อเป้นการป้องกันและขวัญกำลังใจแก่ทหาร โดยขณะเคลื่อนพลด้วยยานยนต์ จากสถานการณ์และสภาพแวดล้อม ประกอบกับความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ที่ได้รับการสร้างรถเกราะ 2 คัน ต้นแบบที่ผ่านมา ศอว.ศอพท. จึงมั่นใจจะสร้างรถเกราะในแนวความคิดใหม่ขึ้นได้ และเพื่อให้มีการทดลองใช้จริงในสนามรบ โดยมุ่งหมายที่จะใช้รถตาม PILOT PROJECT ที่ปฏิบัติการจริง โดยให้หน่วยรบตามชายแดน เช่น ทหารราบใช้เป็นรถควบคุมขบวนเดินทาง หรือใช้เป็นรถเข้าปะทะทำการสู้รบโดยทันที ที่มีการชุ่มโจมตีเกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง เพราะ การปฏิบัติในขณะนั้น เมื่อถูกโจมตีครั้งใด ขบวนรถทุกทหารไปช่วยก็ได้ใช้รถ ขนาด 1/4 ตัน หรือ 3/4 ตัน ที่ไม่มีเกราะหุ้ม ซึ่งทำให้ฝ่ายเราได้รับอันตรายจากการซุ่มโจมตีจากฝ่าย ตรงข้ามทุกครั้ง ซึ่ง ผกค. จะรู้เสมอว่า เมื่อซุ่มโจมตีที่จุดใดแล้ว ก็จะจัดเตรียมซุ่มโจมตี ขบวนรถที่จะยกกำลังหนุนมาช่วยไว้ก่อนได้เสมอ และฝ่ายเราก็เป็นอันตรายทุกครั้ง แต่ถ้าใช้รถเกราะที่สร้างมาให้บรรทุกทหารได้คันละ 4 - 5 นาย จะสามารถเข้าช่วยฝ่ายเดียวกัน ที่ถูกซุ่มโจมตีได้แน่นอน โดยตนเองไม่ต้องถูกซุ่มโจมตีพินาศไปเสียก่อน อย่างที่เป็นอยู่เสมอ
3. ความมุ่งหมายของโครงการ : เพื่อ สร้างรถเกราะคอมมานโดสเก้าท์ จำนวน 5 คัน ให้หน่วยที่ออกปราบปราม ผคก. ใช้เป็น รถลาดตระเวนตามเส้นทาง เป็นรถคุ้มครองขบวนเดินทาง ใช้เป็นรถเข้าปะทะเมื่อถูกซุ่มโจมตี นอกจากนี้ยังใช้ป้องกันจุดสำคัญ และสถานที่สำคัญ ใช้ป้องกันสนามบิน ใช้เป้นฐานยิงในลักษณะต่าง ๆ เช่น การใช้เป็นฐานยิงเคลื่อนที่เร็วในการป้องกันสถานที่สำคัญ ๆ โดยติดตั้งอาวุธให้กับรถดังกล่าว มีอำนาจการยิงที่มีประสิทธิภาพ
4. ขอบเขตการวิจัย :
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : เมื่อดำเนินการสร้างรถเกราะคอมมานโดสเก้าท์ สำเร็จแล้ว มีผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
ระยะเวลาดำเนินการ : ใช้ระยะวลาดำเนินการ 5 ปี (2523 - 2528)
คุณลักษณะเฉพาะ
พลประจำรถ | 4 | นาย |
น้ำหนักพร้อมรบ | 7 | ตัน |
ความกว้าง | 2,180 | มม. |
ความยาว | 5,070 | มม. |
ความสูงตัวรถ | 1,730 | มม. |
ความหนาเกราะ | 9 | มม. |
อาวุธ | ||
|
1 | กระบอก |
|
1 | กระบอก |
สมรรถนะ | ||
|
105 | กม./ชม. |
|
60 | % |
|
150 | ลิตร/335 กม. |
เครื่องยนต์ | ||
|
||
|
||
|
รถเกราะล้อยางขนาด 7 ตัน
(Armoured Wheeled Vehicle)
ความเป็นมาของโครงการ : ตาม ที่ ผบ.ทบ. ได้อนุมัติหลักการให้ ศอว.ฯ ดำเนินการตามโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างรถเกราะขนาดเล็ก แบบคอมมานโดสเก้าท์ จำนวน 1 คัน โดยใช้งบประมาณ ปี 23 ในวงเงิน 800,000.-บาท จากงบจัดหาผลิตของ รง.ตวพ.ฯ ที่ได้รับอนุมัติหลังการสั่งจ่ายไว้แล้ว และให้ สปช.ทบ. ให้การสนับสนุนต่อไปในปีงบประมาณ 24 ตามกำลังงบประมาณ จนกว่าจะแล้วเสร็จเป็นต้นแบบต่อไป จากความรู้ วิธีทำ ( Technical Know How ) ของโครงการ ดังกล่าวในปี 27 ศอว.ฯ (โดย รง.ตวพ.ฯ) ได้เริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนารถเกราะล้อยางขนาด 7 ตัน จำนวน 1 คัน จนประสบความสำเร็จ และได้ทดสอบในขั้นตอนการวิจัย ฯ เรียบร้อยแล้ว ศอว.ฯ จึงได้รายงานขอส่งรถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน จำนวน 1 คัน ให้กับ ทบ. (ผ่าน สวพ.ทบ.) เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
สวพ.ทบ. ได้เขิญ กรม ฝสธ., หน่วยที่เกี่ยวข้องและหน่วยเจ้าของโครงการ ประชุมพิจารณาผลการวิจัย ฯ รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ของ ศอว.ฯ เมื่อ 7 ต.ค.31 ที่ประชุมได้พิจารณาโดยละเอียดและรอบคอบแล้ว มีความ เห็นว่า รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ของ ศอว.ฯ เป็นรถเกราะแบบลำเลียงพล มีลักษณะเฉพาะยังไม่ตรงตามที่ กำหนดไว้ในโครงการ ฯ คือ ตัวรถไม่ได้ใช้เหล็กเกราะ จึงไม่สามารถยอมรับได้ และปัจจุบันความต้องการด้าน ยุทธการมีน้อยมาก จึงเห็นสมควรปิดโครงการวิจัย ฯ ไว้ในชั้นนี้ก่อน และเพื่อให้ทราบข้อมูลไว้ศึกษาในผลงานการวิจัยรถเกราะล้อยางที่ ศอว.ฯ ได้ดำเนินการไว้ ควรทดสอบผลงานวิจัย ฯ นี้ด้วยโดยให้ ศม. เป็นหน่วยรับผิดชอบในการทดสอบทางเทคนิคและในสนาม เพื่อให้สามารถมีข้อมูลไว้ศึกษาในผลงาน และมีเจ้าหน้าที่ของ สพ.ทบ. และ ศอว.ฯ ร่วมดำเนินการด้วย
จากการทดสอบทั้งทางเทคนิคและในสนาม โดยคณะอนุกรรมการ จาก ศอว.ฯ และ กรซย. ศอ.สพ.ทบ. ร่วมกัน ศม. สรุปได้ว่า รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน มีสมรรถนะโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ค่อนข้างดี ในโอกาสต่อไป หากกองทัพบกมีความจำเป็นทางด้านยุทธการ และจะให้มีการวิจัยพัฒนาเพิ่มเติมเพียงเฉพาะ เรื่องเหล็กเกราะที่ใช้ทำตัวรถให้สามารถป้องกันกระสุนปืนเล็กได้ก็จะเป็น เรื่องน่ายินดี ที่จะได้มีรถเกาะผลิตขึ้นเอง ในประเทศซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางทหาร ในสถานการณ์ลำเลียงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สมรรถนะไม่ได้ด้อยกว่ารถที่ผลิตจากต่างประเทศมากมายนัก
มูลเหตุที่ขอให้ทำการวิจัย : จากประสบการณ์การสร้างรถเกราะคอมมานโดสเก๊าท์ 5 คัน เป็น PILOT PROJECT ดังกล่าว ซึ่งสำเร็จไปแล้ว ในระดับหนึ่ง และได้หาข้อมูลจากหลาย ๆ ประเทศมาพิจารณา ศึกษาตั้งแต่ระบบต้นกำลัง ระบบส่งกำลัง รวม ทั้งชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบและสร้างขึ้นเอง ที่สั่งทำและจัดหาได้ภายในประเทศ จึงเกิดความมั่นใจว่า มีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน ที่จะช่วยให้ปัญหาขาดแคลนยุทโธปกรณ์ประเภทนี้ยามที่ ทบ.ต้องการโดยไม่ต้องสั่งซื้อ สำเร็จรูปจากต่างประเทศ สามารถสร้างยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้ได้เอง เป็นการประหยัดงบประมาณของชาติอีกด้วย
ความมุ่งหมายของโครงการ : เพื่อ ให้การสร้างรถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ จึงกำหนดความมุ่งหมายที่สำคัญในการวิจัยสร้างต้นแบบ ไว้เป็นแนวทางปฎิบัติดังนี้
ขอบเขตของการวิจัย : การวิจัยพัฒนารถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ได้กำหนดขอบเขตเพื่อความเหมาะสมไว้ ดังนี้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : การวิจัยสร้างรถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ผลที่คาดว่าจะได้รับมีดังต่อไปนี้
การดำเนินงาน :
บทสรุป : การ ทดสอบ เนื่องจากมีระยะเวลาจำกัดดังได้กล่าวมาแล้ว ผลการทดสอบจึงไม่พบข้อบกพร่องที่สำคัญ มีเหตุขัดข้องเพื่อ 1 ครั้ง สายคันเร่งหลุดในขณะทำการไต่ลาด สาเหตุเนื่องจากคลัชท์ชำรุด ได้ดำเนินการแก้ไขใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชม. กลับเป็นปกติ สามารถทำการทดสอบได้ต่อไปจนเสร็จสิ้นภารกิจ สำหรับระบบต่าง ๆ อันได้แก่ ระบบเครื่องกำเนิดกำลัง , ระบบขับเคลื่อน, ระบบระบายความร้อน , ระบบไฟฟ้า , ระบบโครงรถ , ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง , ระบบห้ามล้อ , ระบบติดต่อภายในรถ ตลอดจนระบบซ่อมบำรุง อยู่ในเกณฑ์ ที่เหมาะสมสำหรับทางทหาร ซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบในบางระบบที่สำคัญ กับรถเกราะคอมมานโด วี - 150 ของ สหรัฐ ฯ ซึ่งมีประจำการอยู่ในกอบทัพไทย จากผลการทดสอบทั้งทางเทคนิคและในสนาม โดยคณะอนุกรรมการจาก ศอว.ฯ และ กรซย.ศอ. สพ.ทบ. ร่วมกับ ศม.สรุปได้ว่ารถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน มีสมรรถนะโดยทั่วไปเกณฑ์ปานกลางค่อนข้างดี ในโอกาสต่อไปหากกองทัพบก มีความจำเป็นทางด้านยุทธการ และหากมีการวิจัยพัฒนาเพิ่ม เติมเพียงเฉพาะเรื่องเหล็กเกราะที่ใช้ทำตัวรถให้สมารถป้องกันกระสุนปืนเล็ก ได้ ก็จะเป็นเรื่องน่ายินดี ที่จะได้มีรถเกราะผลิตขึ้นเองในประเทศ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางทหารในสถานการณ์ลำเลียงพล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สมรรถนะไม่ได้ด้อยกว่ารถที่ผลิตจากต่างประเทศมากมายนัก
คุณลักษณะเฉพาะ
พลประจำรถ | 3 | นาย |
น้ำหนักพร้อมรบ | 7 | ตัน |
ความกว้าง | 2,150 | มม. |
ความยาว | 5,420 | มม. |
ความสูงตัวรถ | 1,800 | มม. |
ความหนาเกราะ | 6.4 | มม. |
อาวุธ | ||
|
1 | กระบอก |
สมรรถนะ | ||
|
100 | กม./ชม. |
|
60 | % |
|
150 | ลิตร/450 กม. |
เครื่องยนต์ | ||
|
||
|
||
|
โครงการข้างบนพับเก็บไปนานแล้วนิครับ