![]() |
|||||||||
กองทัพไทย ร่วมกองกำลังสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก เคลื่อนกำลังพล อาวุธ ยุทโธปกรณ์ เข้าพื้นที่หาดยาว ฐานทัพเรือสัตหีบ เตรียมพร้อมฝึกยกพลขึ้นบก ประเทศเกาหลีใต้ ส่งทหารนาวิกโยธินกว่า 300 นาย ร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ 2011 หาประสบการณ์ยกพลขึ้นบก และอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ในภาวะสงคราม |
|||||||||
|
|||||||||
อุดมเกียรติ ทิพย์ศรีกุล อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี หนังสือพิมพ์ สัีตหีบนิวส์ www.sattahipnews.com
|
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง แสดงแสนยานุภาพกำลังรบ เชิดชูวีรชนสละชีพเพื่อแผ่นดินไทย
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ จัด 5 กองพัน สวนสนามยานยนต์แสดงแสนยานุภาพกำลังรบ ตรวจสอบความพร้อมกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ พร้อมที่จะปกป้องไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติ และรำลึกเชิดชูเหล่าวีรชนที่สละชีพเพื่อแผ่นดินไทย
วันนี้ ( 3 กุมภาพันธ์ 2554 ) พลเรือตรี ธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้เป็นประธานในพิธีสวนสนามยานยนต์ของกำลังพล หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ณ กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อตรวจสอบความพร้อมของกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และยานพาหนะ ให้มีความพร้อมในการปกป้องอธิปไตยของชาติ และรำลึกถึงเหล่าวีรชนผู้กล้าของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่ง ที่ได้สละเลือดเนื้อ ชีวิต และต้องบาดเจ็บจนทุพพลภาพ ในการเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อปกป้องและรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติ รวมทั้ง เพื่อเป็นเกียริแด่เหล่านักรบทหารไทย ที่ได้เสียสละกาย ใจ ชีวิต จากครอบครัว และคนรัก ลงปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพียงมุ่งหวังให้ชาวไทยได้อยู่อย่างสงบสุข แม้แลกด้วยชีวิตก็ตาม
ซึ่งการสวนสนามมีกำลังพลเข้าร่วม ๖๖๔ นาย ยานพาหนะจำนวน ๘๙ คัน และอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวน ๔๔ แท่น/กระบอก/ระบบ โดยจัดกำลังในการสวนสนามเป็น ๕ กองพัน มีนาวาเอก สุชา เคี่ยมทองคำ เสนาธิการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นผู้อำนวยการจัดพิธีสวนสนามฯ นาวาเอก ไพศาล มีศรี ผู้บังคับการกรมรักษาฝั่งที่ ๑ เป็นผู้อำนวยการฝึก และนาวาเอก สรยุทธ พุ่มสุวรรณ์ รองผู้บังคับการกรมรักษาฝั่งที่ ๑ เป็นผู้บังคับกรมผสม โดยขบวนรถ และอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่เข้าร่วมในพิธีสวนสนาม ล้วนเป็นเขี้ยวเล็บที่มีสมรรถนะขีดความสามารถสูง ที่ยังประจำการอยู่ใน 5 กองพัน ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ประกอบด้วย กองพันที่ 1 กรมต่อสู้อากาศยานที่ 1 มี ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มิลลิเมตร แท่นคู่ จำนวน 8 แท่น และเครื่องควบคุมการยิงไดเร็คเตอร์ 5 M1 จำนวน 4 ระบบ กองพันที่ 2 กรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 มีปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 40/70 มิลลิเมตร จำนวน 4 กระบอก พร้อมเครื่องควบคุมการยิงฟลายแคชเชอร์ 2 ระบบ ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 40/60 มิลลิเมตร จำนวน 4 กระบอก และอาวุธปล่อยนำวิถีแบบประทับบ่ายิงจำนวน 2 ระบบ กองพันที่ 3 กรมรักษาฝั่งที่ 1 มีปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง 155 มิลลิเมตร 6 กระบอก ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีราบ 130 มิลลิเมตร 4 กระบอก กองพันที่ 4 ศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กรมสนับสนุน และศูนย์การฝึก มีเรดาร์ BOR – A 550 จำนวน 2 ระบบ รถเรดาร์เคลื่อนที่ RAYTHEON จำนวน 2 คัน และยานพาหนะที่ใช้ในการส่งกำลังบำรุง ประกอบด้วย รถพยาบาลสนาม รถหัวลากชานต่ำ จำนวน 2 คัน บรรทุกปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง 155 มิลลิเมตร 1 กระบอก โดยทั้ง 4 กองพัน เป็นหน่วยที่มีความพร้อมทั้งทางด้าน กำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และยานพาหนะ ที่สามารถเคลื่อนย้ายกำลังเข้าปฏิบัติการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้ทันที กองพันที่ 5 กองพันผสม ทำหน้าที่เป็นกองหนุน มีอาวุธยุทโธปกรณ์ และยานพาหนะ ในการเตรียมกำลังเพิ่มเติม ร่วมกับยานพาหนะ และยุทโธปกรณ์ ในการส่งกำลังบำรุงให้กับหน่วยกำลังรบ ตามหลักการส่งกำลังจากส่วนหลังไปยังส่วนหน้า และกำลังในการป้องกันหน่วยกำลังรบหลักของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หรือ สอ.รฝ. เป็นหน่วยกำลังรบหลักของกองทัพเรือ ที่มีความองอาจ เข้มแข็ง และกล้าหาญ ตลอดจนมีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง มีภารกิจหน้าที่ในการจัดเตรียมกำลังป้องกันภัยทางอากาศและภัยทางทะเลตามแนวชายฝั่งต่อที่ตั้งสำคัญทางทหาร และสถานที่สำคัญเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของชาติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา สอ.รฝ. เป็นหน่วยทหารที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีวีรกรรมในการต่อสู้กับข้าศึกอย่างไม่ย่นย่อต่อกำลังรบที่เหนือกว่า นับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการพัฒนากำลังรบอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านองค์วัตถุ องค์บุคคล และองค์ยุทธวิธี นอกจากนี้ ยังเป็นหน่วยทหารที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจตามที่กองทัพเรือมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดกำลังถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ในการเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรมที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี การจัดกำลังเป็นหน่วยเฉพาะกิจเฝ้าตรวจ และรายงานตามเกาะบริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศกัมพูชา พม่า และมาเลเซีย อีกทั้งการแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศ และช่วยหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ งานอนุรักษ์ป่าชายเลน และงานอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่กองทัพเรือได้อย่างสม่ำเสมอ... สมกับคำกล่าวขานที่ว่า หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ถือกำเนิดขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ป้องนภา...รักษาฝั่ง ของผืนแผ่นดินไทย
พลเรือตรี ธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กล่าวว่า การสวนสนามยานยนต์ในครั้งนี้ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมรบ ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็ง การมีระเบียบวินัย บ่งบอกถึงขีดความสามารถในการเคลื่อนย้ายกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์ทางยุทธวิธีของหน่วย ที่จะสามารถกระทำได้ทุกเมื่อทุกเวลา หากมีผู้ใดลุกล้ำ หรือรุกราน อธิปไตยของชาติ ที่นำมาซึ่งความไม่สงบ ก็พร้อมที่จะปกป้องรักษาไว้ ให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศ ถึงแม้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่ง จะเป็นหน่วยรบทางบกในการป้องกันพื้นที่ส่วนหลังของประเทศก็ตาม แต่ทหารทุกนาย ก็พร้อมที่จะร่วมกาย ร่วมใจ แสดงพลังอันยิ่งใหญ่ ในการปกป้อง รักษาชีวิต และ ทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนทรัพยากรของชาติทั้งทางบก และทางทะเล ให้เกิดความสมดุล ด้วยความกล้า เกรียงไกร และพร้อมรบตลอดเวลา คงจะทำให้ผู้ที่คิดไม่ดี ประสงค์ร้ายต่อแผ่นดิน ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้เลิกคิดและเลิกล้มเจตนาร้ายไปให้หมด และทหารเรือทุกคนได้รับภารกิจที่สำคัญจากกองทัพเรือ อีกทั้งได้รับความไว้วางใจจากประชาชน จึงมีขวัญ และกำลังใจ ในการต่อสู้กับอุปสรรค ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และพลังปัญญาในการพัฒนากองทัพเรือให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นปราการด่านหน้าในการดูแลประชาชน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต่อไปอย่างมั่นคงและยาวนาน
พัชรพล ปานรักษ์ Catagory : ภูมิภาค
Tags : สัตหีบ-ทหารต่อสู้อากาศยานทัพเรือ แสดงแสนยานุภาพกำลังรบ เชิดชูวีรชนสละชีพเพื่อแผ่นดินไทย
ประจวบเหมาะเลยนะครับกับเหตุการชายแดนบ้านเรา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของเราให้เขาดู
กองการฝึกร่วมผสม คอบร้าโกลด์ 11 งัดกลยุทธการฝึกโจมตีโฉบฉวยด้วยเฮลิคอปเตอร์ ทะยานสู่เป้าหมายทำลายล้างทางอากาศ
วันนี้ ( 13 ก.พ. 54 ) ที่ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ค่ายมหาเจษฎาราชเจ้า อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กองการฝึกร่วมผสมระหว่างกองทัพไทย และสหรัฐอเมริกา ภายใต้รหัสการฝึก “คอบร้าโกลด์” ได้ทำการฝึกการโจมตีโฉบฉวยด้วยเฮลิคอบเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งการฝึกที่มีความสำคัญที่สุด และถือได้ว่าเป็นไฮไลต์การฝึกคอบร้าโกลด์ทุกครั้ง นับแต่เริ่มมีการฝึกในปีพุทธศักราช 2499 คือ การฝึกปฏิบัติการยกพลขึ้นบก โดยได้มีการวิวัฒน์พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ทั้งกองกำลังที่เข้าร่วมการฝึกอาวุธยุทโธปกรณ์ ในรูปแบบทางยุทธวิธีที่ทันสมัยมากขึ้น กระทั่งมาถึงการฝึกในครั้งนี้ ภายใต้รหัส “คอบร้าโกลด์ 11 “
สำหรับการฝึกปฏิบัติการยกพลขึ้นบกในปีนี้ ได้มีการพัฒนานำอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย รวมถึงยุทธวิธีการรบสะเทือนน้ำสะเทือนบกที่มีการพัฒนามาถึงขั้นขีดสุด มาปฏิบัติการในสภาวะใกล้เคียงสถานการณ์จริง โดยมีการสนธิกำลังพล และยุทโธปกรณ์ ทั้งทางบก เรือ อากาศ จากกองกำลังเฉพาะกิจร่วม/ผสม จากประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ในส่วนของกองทัพเรือไทย ได้จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกประกอบด้วย เรือหลวงสุรินทร์ เรือหลวงมันนอก และกำลังรบยกพลขึ้นบกนาวิกโยธินไทย ส่วนกองกำลังสหรัฐอเมริกา ได้จัดกำลังจากหน่วยเฉพาะกิจที่ 76 (CTF76) พร้อมเรือรบ USS ESSEX เรือ USS DENVER เรือ USS GERMANTOWN และเรือ USS DDG เข้าร่วมการฝึกครั้งนี้
ทั้งนี้ การฝึกร่วมผสม ภายใต้รหัส คอบร้าโกลด์ 11 แม้จะมีการฝึกปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่มีความสมบูรณ์แบบ ทั้งด้านกำลังพล และยุทโธปกรณ์แล้ว การฝึกกำลังทางอากาศ ในยุทธวิธีการฝึกโจมตีโฉบฉวยด้วยเฮลิคอปเตอร์ ที่มีความทันสมัย ขีดสมรรถนะความสามารถสูง ประกอบด้วย เฮลิคอปเตอร์จำนวน 8 ลำ คือ เฮลิคอปเตอร์ แบบ CH 53 จำนวน 2 ลำ เฮลิคอปเตอร์แบบ CH 46 จำนวน 6 ลำ กำลังทางทหารฝ่ายไทย 24 นาย ฝ่ายสหรัฐ 92 นาย โดยเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมด จะทำการผงาดทะยานสู่ฟ้า มุ่งสู่พื้นที่เป้าหมายเปิดฉากโจมตีทำลายล้างด้วยปืนใหญ่ทางอากาศ เพื่อกดดันข้าศึก หลังจากนั้นกำลังจากหน่วยรบพิเศษของทั้งสองประเทศ จะโรยตัวทางดิ่งจากเฮลิคอปเตอร์ เพื่อทำการกวาดล้างข้าศึกในที่ตั้ง และแย่งชิงตัวประกัน ซึ่งการปฏิบัติจะเป็นด้วยความรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นรูปแบบการยกพลแบบใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเข้าพื้นที่ในป่าลึก ในเมือง ได้เป็นอย่างดี
พัชรพล ปานรักษ์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
Catagory : ภูมิภาค
Tags : สัตหีบ-กองฝึกร่วมผสม คอบร้าโกลด์ 11 ฝึกโจมตีโฉบฉวยด้วยฮ.ทำลายล้างทางอากาศ
![]() |
|||||||||
กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ร่วมทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ฝึกการปฏิบัติการสนับสนุนป้องกันสงครามนิวเคลียร์ชีวะเคมี แลกเปลี่ยนยุทธวิธี เทคนิค และการใช้ยุทโธปกรณ์ทางสงครามสมัยใหม่ |
|||||||||
|
|||||||||