ไม่ค่อยมีที่มาที่ไปเท่าไรเนื่องจากข้อมูลไม่ค่อยมีครับ รู้แต่ระยะยิง 25km คล้าย SA-3 ,SA-6 ค่ายหมี
แต่ที่น่าสนใจคือ การดัดแปลงเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้-ปานกลาง คล้ายๆ S400 /AEGIS/PATRIOT
แต่ระยะใกล้กว่าพวกนั้น และความเร็วเพียง 1.8มัค
สามารถยิงได้ตั้งแต่เครื่องบินและจรวด เห็นว่าเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ เจอเจ้านี่สัก 2 ลูก โอกาสดับสูญ เท่ากับ 90-99%
เรดาร์มันติดตามเป้าหมายได้ 64 เป้าหมายพร้อมกัน แต่ไกด์ให้จรวด ARKASH ได้ 12 ลูกพร้อม(ซึ่งถ้ายิงไป 4 ลูก โอกาสดับสูญเท่าไร น่าคิด)
ปล.มีถ้าดัดแปลงใส่เรือน่าจะดี แต่ขนาดมันใหญ่โตมาก ยาว 5.78ม. หนัก 700กก หัวรบหนัก 60kg ใช้ยูนิต BCC ควบคุมการทำงาน
ปล2. แต่อินเดียกลับจะใช้ระบบของอิสราเอล Barak-8 surface-to-air missile systems แทน ด้วยข้อหา มันยิงได้ใหล้เกินไป
http://peterpeng210.blogspot.com/2009/11/akash-indias-home-grown-patriot-missile.html
ขนาดจรวดค่อนข้างใหญ่ ความเร็วน่าจะ เกิน2มัคถึงจะไล่ บ.รบทันในเพดานสูง
ถ้าเพดานต่ำ ความเร็ว1.8มัค น่าจะใด้ในรุ่นประทับบ่ายิง
ว่าแต่รูปที่วาดขึ้นมาเนี่ย น่าจะเป็นเป็น แบล็คเบิร์ด(SR-71 "Blackbird) นี่นา แล้วจะไล่ตามทันหรือเนี่ย
ความเร็วต่ำกว่า 3มัคสอย SR-71 ลำบากกว่าจะไต่เพดานไปถึงระดับพื้นที่การบินใด้
เจ้าอากาศ(AKASH) ขอทับศัพท์ไปเลยครับ มันก็ SA-6 ธรรมดานี่เอง แต่ทึ่งที่ บริษัทในอินเดียเก่งมากที่อัพเป็นระบบได้ ถึงระยะยิงจะสั้นไปหน่อย ใช้คลุมเมืองทั้งเมืองไม่ได้ แต่ผมทึ่งในความพยายามครับ
อนาคตระบบ อาจมีประเภท เรือ ก. จับเป้าหมายได้ เรือ ข.จึงล็อคเป้า เรือ ค.ควบคุมการยิง เรือ ง-ฮ .เป็นเรือที่ยิงขีปนาวุธ อะไรแบบนี้ เป็นยูนิต+เน็ตเวิร์คดี ขยายขนาดพื้นที่ อำนาจการยิง อำนาจการตรวจจับ และใส่อาวุธปล่อยอะไรเข้าไปก็ได้
อินเดียเขาเก่งเรื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้วครับ
โปรแกรมเมอร์ในอเมริกา มักจะจ้างชาวอินเดีย
ดังนั้น ถ้าเขาจะเอาจุดแข็งตรงนี้มาพัฒนาระบบอาวุธ มันก็น่าจะทำได้ไม่ยาก