หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


"นายกฯ"หวังเซฟงบกองทัพกระตุ้นผลิตอาวุธเอง พร้อมส่งขายต่างประเทศนำรายได้เข้ามาชดเชย ระบุค่าใช้จ่ายปัจจุบันด้านยุทโธปกรณ์และกำลังพลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดยคุณ : Chin เมื่อวันที่ : 06/03/2011 23:32:23

(4มี.ค.)  เมื่อเวลา 13.30 น. ที่หอประชุมกองทัพเรือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ : มิติใหม่ในทศวรรษหน้า" โดยมีพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยพลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) และผู้บังคับบัญชาระดับสูงในสำนักปลัดกระทรวงกลาโหมและกองทัพให้การต้อนรับ โดยมีหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานวิจัยภาครัฐและเอกชน องค์การมหาชน มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟัง อย่างไรก็ตามไม่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ผบ.ทบ.มาร่วมงานแต่อย่างใด

 นายอภิสิทธิ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ปีนี้ไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 ซึ่งทิศทางการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมุ่งไปที่การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมต่างๆ เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และการพึ่งพาฐานความรู้และความคิดสร้างสรรค์และจากการที่เราเป็นระบบเศรษฐกิจเปิด ติดต่อเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาสู่ความเสี่ยงในหลายเรื่องเราจึงต้องสร้างหลักประกัน ภูมิคุ้มกันหรือสามารถบริหารความเสี่ยงให้มากขึ้น

  นายกฯ กล่าวอีกว่า วันนี้ยังมีภาคอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ที่ยังเป็นโอกาสและมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจและความมั่นคงได้ ซึ่งหลายประเทศหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านของเราก็สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิดนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และหลายประเทศเองก็สามารถลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงจากต่างประเทศลงได้ ทำให้เกิดความมั่นใจว่าเวลาอยู่ในภาวะความจำเป็นที่ต้องใช้ยุทโธปกรณ์ก็ไม่ต้องกังวลในเรื่องผลิตหรือการจัดส่งจากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การมีอุตสาหกรรมภายในประเทศที่มีความเข้มแข็งก็ย่อมจะก่อให้เกิดการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่หรือทักษะเฉพาะได้หากมีการดำเนินการที่ดีและมีประสิทธิภาพ

 “ปัจจุบันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยถือว่ายังมีขนาดค่อนข้างเล็ก และเป็นการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนกองทัพเป็นหลัก ที่ผ่านมาเราไม่ได้พูดถึงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศมากนัก เท่าที่ผ่านมาเราพบปัญหาอุปสรรคหลายด้าน ทั้งนโยบาย ขีดความสามารถ ขนาดของตลาด ระดับการพัฒนาเทคโนโลยี ความร่วมมือกับต่างประเทศและแม้แต่เรื่องของกฎหมายยกฎระเบียบ ” นายกฯ กล่าว

 นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า กระทรวงกลาโหมมีโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในสังกัดอยู่ 48 แห่ง สังกัดกองทัพบก 21 แห่ง กองทัพเรือ 7 แห่ง กองทัพอากาศ 12 แห่งและกองบัญชาการกองทัพไทย 1 แห่ง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมอีก 7 แห่ง ทำหน้าที่ในการลิตชิ้นส่วน ยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพ และมีภาคเอกชนอีก 29 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นกิจการที่ไม่ใหญ่มากนักและส่วนใหญ่ก็เป็นการซ่อมแซมยุทโธปกรณ์  รวมทั้งมีกิจการที่เกี่ยวกับการซ่อมเรืออีก 38 แห่ง แม้จะมีขีดความสามารถระดับหนึ่ง แต่การส่งออกหรือการแข่งขันในตลาดโลกยังคงจำกัด

 นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 กองทัพไทยมีความเข้มแข็งในอันดับต้นๆของเอเชีย แต่เรามีการปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นการพึ่งพาการสรรหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ เพราะมีความสะดวก รวดเร็วหลายประเภทมีราคาไม่แพง มีข้อเสนอในเรื่องการให้ความช่วยเหลือ แม้จะสามารถตอบสนองความต้องการของกองทัพได้แต่ส่งผลให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของเราชะลอตัวหรือหยุดชะงัก และเมื่อประสบวิกฤติการเงินอย่างรุนแรงเมื่อปี 2540 - 2541 ทำให้กระทรวงกลาโหมประสบปัญหาข้อจำกัดด้านงบประมาณมากขึ้น ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์ และกำลังพลก็ยังเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลเห็นว่าในอนาคตกองทัพสามารถที่จะผลิตยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้น ก็จะเป็นผลดีทั้งหลักประกันด้านความมั่นคง การเสริมสร้างอำนาจรบของกองทัพ รวมถึงการประหยัด ลดการสูญเสียด้านงบประมาณ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นได้และก้าวหน้า สิ่งสำคัญคือการสนับสนุนงานด้านวิจัยและการพัฒนาอย่างจริงจัง แม้กระทรวงกลาโหมจะมีหน่วยงานวิจัยแต่ยังมีศักยภาพที่จำกัด โดยเฉพาะงบประมาณที่ได้รับประมาณ 70 - 80 ล้านนบาทต่อปี หรือร้อยละ 0.08 ของงบประมาณของกระทรวงกลาโหม

 “ เรื่องการส่งเสริมงานวิจัยและการพัฒนามติ ครม.เห็นชอบนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับที่ 8 โดยเพิ่งผ่านความเห็นชอบจาก ครม.จึงหวังว่าหน่วยงานต่างๆและกระทรวงกลาโหม จะนำไปใช้ให้เกิดผลดีต่องานวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะงานวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอด เพิ่มมูลค่าในระบบเศรษฐกิจและสังคมได้ ซึ่งอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศและความต้องการของทัพควรเป็นตัวกำหนดทิศทางการวิจัยพัฒนาให้สอดคล้องต่อความต้องการ ” นายกรัฐมนตรีกล่าว

http://www.komchadluek.net/detail/20110304/90623/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%9F%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87.html





ความคิดเห็นที่ 1


ปีหน้าก็จะเริ่มโครงการจัดหาเรือดำน้ำแล้ว      ไม่รู้จะได้เรือดำน้ำกับเขาอ่ะ เนี้ยๆๆๆ

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 05/03/2011 08:55:56


ความคิดเห็นที่ 2


เชียร์สุดๆๆๆ เลยคร๊าบ ,,ส่วนตัวแล้วอยากให้เริ่มปรับปรุงจาก อุปกรณ์ประจำตัวทหารอ่ะครับ ซึ่งหลายคนอาจจะมองข้าม

แต่ผมว่าสำคัญเลยนะครับ เช่น เสื้อเกราะ ปืนเล็กยาว เสื้อกั๊กซองกระสุน ฯลฯ ,, วันก่อนเห็นภาพสายรัดคางหมวกเคฟล่า

ของทหารยุ่ยหมดแล้วครับ น่าจะมีการเปลี่ยนเป็นประจำ ^^ ,, ทหารไทยสู้ๆ !!


โดยคุณ boomboom เมื่อวันที่ 05/03/2011 09:08:16


ความคิดเห็นที่ 3


เปลี่ยนรองในได้เลยก็ดีครับ 55555

โดยคุณ boomboom เมื่อวันที่ 05/03/2011 09:09:19


ความคิดเห็นที่ 4


จริงๆ ก็อยากให้มีการผลิตใช้งานและส่งขายเหมือนกันครับ เพราะของนำเข้ามาก็มักจะมีราคาแพง (ในแง่หนึ่งก็คือมียี่ห้อค้ำคอให้อุ่นใจ อย่าง Tactical Tailor หรือ Blackhawk) ทั้งที่เรามีความสามารถผลิตได้เอง อย่างน้อยก็เพื่อกำลังพลหลายนายที่อาจจะไม่มีโอกาสได้ใช้ของแบรนด์นอกแบบนั้นครับ

ปล. จริงๆ ที่บ้านโน้น ThaiArmedForce.com ก็มีการคุยเรื่องอุปกรณ์กันมากทีเดียวครับ

โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 06/03/2011 02:24:51


ความคิดเห็นที่ 5


พึ่งคิดได้เหรอ???

โดยคุณ ลมหมุนวน เมื่อวันที่ 06/03/2011 12:32:22