ใน นิตยสารนาวิกศาสตร์ ฉบับกุมภาพันธ์ 2554
มีบทความชื่อ การจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ
เขียนโดย พลเรือเอก อุฬาร มงคลนาวิน
โดยท่านผู้เขียนได้แสดงความเห็นว่า
กองทัพเรือ น่าจะจัดหาจรวดเพนกวิน มาติดตั้งบนเรือชุดปราบปรปักษ์
ทดแทนจรวดกาเบรียล มาร์ค 1
ซึ่งท่านผู้เขียน เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
ความเห็นของท่านฯย่อมมีน้ำหนักอยู่ฯ
ส่วนตัวของผมนั้น ได้เคยแสดงความเห็น สนับสนุนให้กองทัพเรือ จัดหาจรวดฯ
มาแทนจรวดกาเบรียล มาร์ค 1 มาหลายครั้งแล้ว
เพราะไม่อยากให้ เรือชุดปราบปรปักษ์ กลายสภาพมาเป็น
เรือเร็วโจมตีปืน เลย
ASM (Anti Ship Missile) มีหลายแบบ หลายขนาด ขณะนี้กองทัพเรือกำลังพิจารณาจัดหาเพื่อมาติดตั้งบนเรือชุด ต.994 อยู่
สมาชิกหลายคนมองไปที่ C-704 ของจีน
http://en.wikipedia.org/wiki/C-704
พลเรือเอก อุฬาร มงคลนาวิน มองไปที่ Penguin
http://en.wikipedia.org/wiki/Penguin_(missile)
โดยส่วนตัวผมมองไปที่อาวุธนำวิถีขนาดเล็กอย่าง
Sea skua
http://en.wikipedia.org/wiki/Sea_Skua
หรือไม่ก็
C-701
http://en.wikipedia.org/wiki/C-701
แต่เรือชุดนี้ประจำการมาตั้งแต่ปี 2519 จะคุ้มค่าแค่ไหนกับอายุการรับใช้ราชการอีกประมาณ 6 ปี (40 ปี) กับการติดตังอาวุธนำวิถี
http://www.navy.mi.th/newwww/code/calander/showform.php?varlink=370
และผมก็เชื่อว่ากองทัพเรือพยายามพัฒนากำลังและขีดความสามารถให้พอรับมือกับภัยคุกคามอยู่
ถ้าผมมอง ผมมองไปที่ กำลังทางเรือและอากาศนาวี นั้นเพียงพอกับการรับมือจากการคุกคามได้แค่ 2 มิติ คือ ทางอากาศ และทางผิวน้ำ
กองทัพเรือขาดแคลน เรือที่มีขีดความสามารถในการตรวจจับทั้งสามมิติ อยู่พอสมควร ในการรับมือกับ
เรือดำน้ำชั้นกิโล 6 ลำของเวียดนาม (ว่ากันว่าเป็นเรือดำน้ำดีเซลที่เงียบที่สุดในโลก) และ เรือดำน้ำชั้นสกอร์ปิเน่ 3 ลำของมาเลเซีย
ถ้าอ่าวไทยถูกปิดด้วยเรือดำน้ำแค่ 3 ลำ เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคงของประเทศจะเป็นอย่างไร
ยอมรับความจริงเถอะครับทะเลไทยกว้างใหญ่ไพศาลทีเดียว ด้วยกำลังทางเรีอที่มีการติดตั้งโซน่าเพียง 16 ลำ ไม่เพียงพอกับการค้นหาเรือดำน้ำ 3 ลำในอ่าวไทยแน่นอน
ป.ล.ถ้าผมตกเรือชุดไหนไป เพิ่มเติมด้วยครับ
เรือที่ติดตั้งโซน่าในกองทัพเรือไทย
1. ร.ล.ชุดนเรศวร 2 ลำ
2. ร.ล.ชุดเจ้าพระยา 4 ลำ
3. ร.ล.ชุดพุทธเลิศหล้านภาลัย 2 ลำ
4. ร.ล.ชุดตาปี 2 ลำ
5. ร.ล.ชุดรัตนโกสินทร์ 2 ลำ
6. ร.ล.มกุฏราชกุมาร 1 ลำ
7. ร.ล.ชุดคำรณสินธุ 3 ลำ
ส่วนตัวแล้วเสียดายที่กองทัพเรือมองภาระกิจของ OPV เป็นเพียงแค่ coast guard
เรือชุดปราบปรปักษ์
กองทัพเรือ ได้ทำการซ่อมทำใหญ่
เปลี่ยน/ซ่อมเครื่องจักรกล หลายรายการไปเมื่อไม่นานมานี่
และมีการทดสอบการทำความเร็ว ทำได้เกือบเท่าเมื่อครั้งต่อเรือมาใหม่ๆ
สำหรับกำหนดการปลดประจำการของเรือชุดนี้
คร่าวๆ น่าจะประมาณ 2570 ครับ
จึงน่าจะคุ้มที่จะนำอาวุธปล่อยฯมาติดตั้งฯ
ในส่วนตัวมองว่า เรือชุดนี้เป็นเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีด้วย เกเบรียล ที่เป็นแบบ เซมิแอคทีฟโฮมมิ่ง และระยะยิงที่ไม่ไกล แต่จุดประสงค์เพื่อต่อตีเรือขนาดใหญ่ได้ ถ้าสมมุติจะจัดหาอาวุธนำวิถีแบบใหม่มาทดแทน เกเบรียล นั้นผมมองว่าน่าจะมองถึงเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปของภัยคุกคามครับ เพราะสมัยนี้การที่จะอาศัยความเร็วของเรือเข้าไปเพื่อให้ถึงระยะยิงของจรวดนำวิถีนั้นคาดว่าคงไม่พ้นความสามารถของฝ่ายตรงข้ามที่จะสามารถตรวจจับและทำลายเรือเราได้ก่อน จึงคิดว่าหากจะต้องหาจรวดใหม่ก็อยากจะให้เป็นอาวุธนำวิถีระยะไกลไปเลย อย่าง ฮาร์พูน หรือ เอ็กโซเซ่ ไปเลยจะดีกว่าครับ ถ้าหากว่ายังต้องการให้เรือชุดนี้มีขีดความสามารถในการต่อตีเรือขนาดใหญ๋ แต่ถ้าหากว่าจะลดระดับลงมาให้ใช้สำหรับการต่อตีเรือที่มีขนาดเล็กลงมีและขีดความาสามารถไม่มากนักก็สนับสนุน เพนกวิ้น เช่นกันครับ