หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มีกระทู้หนึ่งในเว็บ Mthai เขาบอกว่า ไทยรบแพ้ลาว ในการรบบ้านร่มเกล้า แล้ว F-16 ติดเครื่องนาน 30 นาที เสียตังไป 10 ล้านบาท

โดยคุณ : seetha456 เมื่อวันที่ : 13/03/2011 08:06:05

1. เห็นเขาบอกว่า ทหารไทยรบแพ้ลาว ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า

2. แล้วก็ เครื่องบินรบ เครื่องบิน F-16 ติดเครื่อง 30 นาที ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 10 ล้านบาท

อยากให้คนเก่าของบอร์ดนี้ เล่าให้ฟังหน่อยครับ หรือมีกระทู้เก่าๆ ก็โพสขึ้นได้ครับ

นี่ลิ้งค์ของเว็บ Mthai ด้านล่างครับ เพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านดู

http://talk.mthai.com/topic/295504





ความคิดเห็นที่ 1


จากวิกฤตเศรษฐกิจไทยล้มสลายในช่วงที่ พล.อ.ชวลิต เป็นนายกฯ นั้น บางคนเรียกเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า "วิกฤตต้มย่้ากุ้ง" บางคนเรียกว่า "วิกฤตฟองสบู่แตก" ผมเรียกว่า "วิกฤตเงินท่วมแผ่นดินไทย" เมื่อเกิดภาวะเงินท่วมแผ่นดินไทย สิ่งที่ติดตามมา คือ เกิดภาวะเงินไหลออกจากแผ่นดินไทย เมื่อเงินไหลออกจากแผ่นดินไทยจนหมด ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยก็ล้ม ทุกคนก็ได้รู้กันทั่ว เงินไหลออกจากแผ่นดินไทย ก็เหมือนกับเขื่อนขนาดใหญ่ที่รับน้ำไม่ไหว เมื่อเขื่อนรับน้ำจำนวนมหาศาลไม่ไหวก็เกิดการพังทลาย น้ำจำนวนมหาศาลก็ทะลักไหลออกจากเขื่อน ซึ่งไม่มีใครแก้ไขปัญหาอะไรได้ เมื่อเขื่อนที่มีน้ำอย่างมากมายมหาศาลพังทลาย รัฐบาลจะนำเอากระสอบบรรจุทรายจำนวน 2 -3 พันกระสอบไปกั้นไม่ให้น้ำไหลออกจากเขื่อนนั้น ช่วยอะไรไม่ได้ แก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้ เงินท่วมแผ่นดินไทย และทะลักไหลออกจากแผ่นดินไทยอย่างมากมายมหาศาล รัฐบาบแก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินจำนวนน้อยนิดไปแก้ปัญหาก็ช่วยอะไรไม่ได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินท่วมแผ่นดินไทยนั้น มี 2 สาเหตุใหญ่ คือ 1. เงินที่ทหาร (พล.อ.ชวลิต) นำเอามาใช้รบกับลาวที่บ้านร่มเกล้า (บ้านแพ้ลาว) พิษณุโลก 2. เงินที่รัฐบาลนายกฯชาติชาย นำเอามาใช้จ่ายพัฒนาประเทศ ปัจจัยสำคัญ 2 ประการดังกล่าว คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินท่วมแผ่นดินไทย และทำให้เศรษฐกิจของไทยล้มสลายในเวลาต่อมา มีข่าวรัฐบาลทั้งนายกฯ รัฐมนตรีต่างประเทศ และฝ่ายทหาร ออกมาพูดเรื่องปัญหาชายแดนกับประเทศเขมร ทุกฝ่ายพูดได้สอดคล้องกันดีมาก ซึ่งมีท่าทีว่าจะทำสงครามกับเขมร เหมือนกับที่ พล.อ.ชวลิต เคยสร้างสถานการณ์รบกับลาว ทำได้เหมือนกันทุกประการ แต่สุดท้าย พล.อ.ชวลิต ก็ต้องกลายเป็นคนรบแพ้ลาว รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็จะกลายเป็นคนรบแพ้เขมร เหมือนกับที่ พล.อ.ชวลิต ต้องกลายเป็นคนรบแพ้ลาว พล.อ.ชวลิต รบแพ้ลาวคนเดียวไม่พอครับ คนไทยทั้งประเทศต้องแพ้ไปด้วย เพราะหลังจากรบกับลาวเสร็จก็ทำให้เกิดภาวะเงินท่วมแผ่นดินไทย เนื่องจาก พล.อ.ชวลิต นำเงินไปใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และทำให้เงินไหลออกจากแผ่นดินไทย จนเศรษฐกิจของประเทศไทยล้ม คนไทยทุกคนก็แพ้ไปด้วย Work Cited ภาวะเงินท่วมแผ่นดินไทย เกิดขึ้นได้อย่างไร ? | MThai Webboard , http://talk.mthai.com/topic/295504 retrieve date 10 March 2011 ตอบกันดีกว่า 1.ถ้ามองตอนแรก เรารบแพ้ลาวครับอันนี้เรื่องจริง แต่หลังจากเปลี่ยนกลยุทธ (หาอ่านเอานะครับในนี้ เคยมีลง) ลาวถึงกับไปไม่เป็น และ เป็นฝ่ายขอสงบศึกเอง 2. ดีนะครับที่เป็น F16 ถ้าเป็น แม่สาวซูซี ที่หลาย ๆ คนหลงรัก คงมากกว่านี้ จาก "สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินท่วมแผ่นดินไทยนั้น มี 2 สาเหตุใหญ่ คือ 1. เงินที่ทหาร (พล.อ.ชวลิต) นำเอามาใช้รบกับลาวที่บ้านร่มเกล้า (บ้านแพ้ลาว) พิษณุโลก 2. เงินที่รัฐบาลนายกฯชาติชาย นำเอามาใช้จ่ายพัฒนาประเทศ" อันนี้คนพูดคงเกิดไม่ทันนะครับ เพราะ ถ้าดูกันจริงๆ เงิืนท่วมประเทศจนทำให้ไทยต้องเข้่า IMF นั้นเกิดจาก BIBF ในยุคใครนั้น........... ไม่พูดดีกว่าเรื่องการเมือง อีกสาเหตุของการล้มละลายของประเทศ คือ คอรัปชั่น ซึ่งผมไม่ได้บอกว่า รัฐบาลไหนขาวสะอาด แต่ ผมจะบอกว่า มันโกงกินกันหนักขึ้นเรื่อย และ ตอนนี้มีโครงการช่วยคนรายได้น้อย หรือ ประชานิยม อีก ทำให้ รายจ่ายภาครัฐสูง (จริง ๆ อาจไม่สูงมากนัก แต่ คอรัปชั่น ทำให้ มันสูงปรี๊ด)
โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 09/03/2011 17:42:57


ความคิดเห็นที่ 2


โอยทำไม มันติดกัน หว่า อ่านลำบาก ขอแยก คำตอบนะครับ

 

ตอบกันดีกว่า

  1. ถ้ามองตอนแรก เรารบแพ้ลาวครับอันนี้เรื่องจริง แต่หลังจากเปลี่ยนกลยุทธ (หาอ่านเอานะครับในนี้ เคยมีลง) ลาวถึงกับไปไม่เป็น และ เป็นฝ่ายขอสงบศึกเอง
  2. ดีนะครับที่เป็น F16 ถ้าเป็น แม่สาวซูซี ที่หลาย ๆ คนหลงรัก คงมากกว่านี้ 
  3. จาก "สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินท่วมแผ่นดินไทยนั้น มี 2 สาเหตุใหญ่ คือ 
    1.  เงินที่ทหาร (พล.อ.ชวลิต) นำเอามาใช้รบกับลาวที่บ้านร่มเกล้า (บ้านแพ้ลาว) พิษณุโลก 
    2. เงินที่รัฐบาลนายกฯชาติชาย นำเอามาใช้จ่ายพัฒนาประเทศ" 
อันนี้คนพูดคงเกิดไม่ทันนะครับ เพราะ ถ้าดูกันจริงๆ เงิืนท่วมประเทศจนทำให้ไทยต้องเข้่า IMF นั้นเกิดจาก BIBF ในยุคใครนั้น........... ไม่พูดดีกว่าเรื่องการเมือง อีกสาเหตุของการล้มละลายของประเทศ คือ คอรัปชั่น ซึ่งผมไม่ได้บอกว่า รัฐบาลไหนขาวสะอาด แต่ ผมจะบอกว่า มันโกงกินกันหนักขึ้นเรื่อย และ ตอนนี้มีโครงการช่วยคนรายได้น้อย หรือ ประชานิยม อีก ทำให้ รายจ่ายภาครัฐสูง (จริง ๆ อาจไม่สูงมากนัก แต่ คอรัปชั่น ทำให้ มันสูงปรี๊ด)
 



โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 09/03/2011 17:46:17


ความคิดเห็นที่ 3


   คุณ u3616234 ไม่เข้าใจกับคำถามหรือเก็บกดอะไรมาหรือปล่าวครับหรือเข้าผิด บอร์ด ???

โดยคุณ xman959 เมื่อวันที่ 09/03/2011 21:11:39


ความคิดเห็นที่ 4


คุณ u3616234

   ตามข้อแรก ผมคิดว่าคุณใช้คำผิดมากกว่านะครับ ความจริงแค่เราเพลี่ยงพล่ำช่วงแรกเท่านั้นเอง เพราะคำว่าแพ้ชนะควรดูที่ท้ายสุดของการรบครับ

 

ส่วนข้อ2 ถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของชั่วโมงบิน ของ F-16 ที่ผมเคยอ่านผ่านตาในนี้แหละ น่าจะอยู่หลักแสน ต่อ ชั่วโมงบินนะครับ ถ้าติดเครื่องไว้เฉยๆ ยิ่งไม่ถึงใหญ่เลย

โดยคุณ สายลับ007 เมื่อวันที่ 09/03/2011 21:18:18


ความคิดเห็นที่ 5


สมรภูมิบ้านร่มเกล้าเกิดปี 2531 อ้างจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2

มันจะเกี่ยวกันได้เหรอครับ ห่างกันตั้ง9ปี เอาข้อมูลมาจากไหนครับ ถึงว่าเกี่ยวข้องกัน

โดยคุณ palm555 เมื่อวันที่ 09/03/2011 21:19:44


ความคิดเห็นที่ 6


เจ้าของกระทู้นั้น ...ได้ใจมากครับ

 

ผมละอยากให้คุยเรื่องแบบนี้เฉพาะในเว็บแบบTFC /TAF  จริงๆครับไม่งั้นมันก็มั่วไปเรื่อยเลยจริงๆ

โดยคุณ SETSINA เมื่อวันที่ 09/03/2011 22:18:18


ความคิดเห็นที่ 7


ลองอ่านนี่ดูครับ ไทยแพ้ลาว http://atcloud.com/stories/82783  แล้วลองอ่านนี่ดูครับ http://atcloud.com/stories/20162 2 บทความนี่เขียนโดยคนที่ต่างมุมมองกัน  เห็นสิ่งไหนก็ว่ากันไปตามนั้น ในมุมมองส่วนตัว เราไม่ได้แพ้ลาวครับ แต่เราสูญเสีย มากมายทั้ง กำลังพล และ ยุทโธปกรณ์

โดยคุณ PIZZi เมื่อวันที่ 09/03/2011 23:19:46


ความคิดเห็นที่ 8


มันเกี่ยวอะไรกับ IMF ครับ

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 09/03/2011 23:20:56


ความคิดเห็นที่ 9


มั่วไปกันใหญ่แล้วสมัยนั้นพล.อ.ชวลิตเป็นผบ.ไม่ใช่นายกฯ โคตรจะมั่วเขียนแบบไม่มีหลักการอ้างอิงใด้ๆทั้งสิ้น

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 09/03/2011 23:39:13


ความคิดเห็นที่ 10


น้องอ่านและศึกษาเยาะๆๆ แล้วค่อยมาถามพี่เข้านะ

1.  ทหารไม่ใช่มีแค่ลาวนะที่รบช่วยนะ  เวียดนาม รัสเชีย จีน เขมร ทหารรับจ้างอีกส่วนหนึ่ง

2. เราประเมิณกำลังรบแค่ลาว เราไม่ประเมิณ พวกที่จะคอยขย้ำเราเพื่อนบ้านฝ่ายคอมมิวนิสนะ  พวกนี้อยากชนะไทยทั้งนั้น

3.ไทยเรามีขีดความสามารถในการรบอยู่แล้ว และหนือ กว่าด้วยซ้ำ ถ้าตัวต่อตัว หรือ รุมแบบหมาหมู่เรา ก็ยังชนะ

4 ตอนที่รบกับลาวบ้านร่มเกล้า เราไม่มีปืนอัตราจร และปืนที่เรามียิงไม่ไกลพอ ของเขามี 130 mm ยิงไกล 27-35 Kg

5. เรามีกองทัพอากาศ ที่หนือกว่า แต่ก็ ทำให้ F5E เราตกได้ 1 ลำ  เสียหาย 1 ลำ

6.  ที่สำคัญเราไม่อยากให้เกิดสงครามเต็มรูปแบบ เราจำกัดพื้นที่รบให้อยู่ที่ เนิน 1428 เท่านั้นทำให้ใช้เวลาหน่อยเท่านั้นเอง

7. ค่าใช้จ่าย F16 หลักแสนต้นๆๆครับ 

ขอให้ท่านผู้รูเพิ่มเติมหน่อยครับ ไม่อยากตอบให้ไปศึกษาหาอ่านตามกระทู้มีเยาะ  ตอบ คราวๆๆครับ

โดยคุณ willium เมื่อวันที่ 09/03/2011 23:44:01


ความคิดเห็นที่ 11


ผมคิดว่า คนเขียนไม่มีความรู้ แล้วก็มาเกียนๆๆ ขอตอบแบบสั้นๆๆ

1. สงครามไทย-ลาว บ้านร่มเกล้า ทั้งสองประเทศต่างสูญเสียทหารไปไม่น้อย(ไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอน ต่างฝ่ายต่างปิดบังตัวเลขที่แท้จริง) ช่วงแรกไทยโดนหนักสูญเสียเยอะครับ แต่ช่วงหลังเปลี่ยนยุทธวิธีทำให้ไทยได้เปรียบจนเกือบจะชนะแล้ว ลาวก็พลิกสถานะการณ์ โดยการขอเจรจาสงบศึก ก็อย่ากให้ท่านไปสรุปกันเองว่าใครแพ้ ใครชนะ แต่มีนายทหารไทยท่านหนึ่งเคยพูดใว้ว่า เสียใจแทนทหารที่เขาออกไปสู้รบ เพราะคนไทยชอบดูถูกทหารชาติเดียวกันว่าพวกเขารบแพ้ลาว  ซึ่งจริงๆๆ แล้วท่านก็ลองพิจารณากันเองว่าเอาอะไรมาตัดสินว่าเรารบแพ้ลาว

2. เรื่อง F 16 ผมไม่ขอตอบแล้วกัน คิดว่าท่านผู้เขียนกระทู้นี้ในเว็บ Mthai คงเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้น้อยจริง (ขุดไม่ขึ้น)

โดยคุณ nkjohn5 เมื่อวันที่ 10/03/2011 00:00:07


ความคิดเห็นที่ 12


อ๊า...ขอบคุณทุกๆ ท่านมากครับ จากเจ้าของกระทู้

พอดี ผมไปอ่านเจอในเว็บ Mthai นะครับ ไม่ได้เขียนเอง

จึงเอามาถามท่านสมาชิกทั้งหลาย และพวกพี่ๆ สมาชิกเก่าๆ เผื่อจะมีลิ้งค์ข้อมูลให้ไปอ่านบ้าง

ขอบคุณมากครับ สำหรับท่านที่ให้ลิ้งค์เว็บไว้อ่าน...

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 10/03/2011 00:05:43


ความคิดเห็นที่ 13


ถ้าพี่ๆ สมาชิกเก่าๆ หรือ เพื่อนๆ สมาชิก พอมีความรู้ หรือ มีเว็บ หรือ ลิ้งค์ของเว็บ ที่เกี่ยวข้อง ก็เอามาโพส หรือ ทิ้งไว้ที่นี่ ก็ได้ครับ

ผมถือว่า นี่คือ "การแบ่งปันความรู้ และ ข้อเท็จจริง" เว็บไหนที่เขาเขียนระเอียดๆ ก็แนะนำได้นะครับ

เพราะรุ่นลูกรุ่นหลาน ที่พวกเขาเกิดไม่ทัน จะได้ศึกษาในสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง จะได้ไม่โดนข้อมูลที่เป็นเท็จ หลอกเอาง่ายๆ

และสิ่งสำคัญ จะได้จดจำวีรกรรมของเหล่าทหารหาญ ไว้มิให้ลืมเลือน มันจะได้ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานตลอดไป

ผมถือว่า นี่คือ การแบ่งปันความรู้ไปสู่ลูกหลานของเราครับ

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 10/03/2011 01:46:45


ความคิดเห็นที่ 14


ถ้าจะโพสเดียวกลัวตาลายชะก่อน...โพสเลยล่ะกัน

 

การรบที่ร่มเกล้า


การรบระหว่าง ไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า
๑. มูลเหตุของการรบ
ยุทธการบ้านร่มเกล้า เกิดขึ้นในกรณีพิพาทระหว่าง ไทย-ลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดน ซึ่งไทยและลาวอ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ โดยลาวได้ส่งกำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยจึงได้ส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน และเกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายอย่างหนักหน่วง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๓๐ - กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ และมีการหยุดยิง ของทั้งสองฝ่ายเมื่อ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
๒. ปัญหาเส้นเขตแดน จุดก่อของสงคราม
ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ กำหนดให้น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส แต่ปีถัดมาพนักงานสำรวจทำแผนที่พบว่ามีน้ำเหืองสองสาย ฝรั่งเศสตัดสินเอาเอง (เข้าใจว่าไม่ได้แจ้งให้กรุงเทพฯ ทราบ) ว่าเลือกสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากขึ้นหน่อย เขตแดนตรงนั้นไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งปี ๒๕๓๐ ทางลาวอ้างว่าบริเวณบ้านร่มเกล้าเป็นของลาว เนื่องจากแผนที่คนละฉบับกับไทย ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการสำรวจครั้งนั้น ภายหลังพบว่าลำน้ำเหืองมี ๒ สาย ซึ่งไม่ตรงกับแนวลำน้ำในปัจจุบัน ซึ่งปรากฏในแผนที่สหรัฐทำให้รัฐบาลไทยช่วงสงครามเวียดนาม อีกทั้งลำน้ำในปัจจุบันเรียกว่าเหืองป่าหมัน ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่เคยปรากฏในเอกสารใด ๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๑

๒.๑ จุดที่น่าสังเกตของเหตุการณ์ครั้งนี้
๒.๑.๒ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวคือปี ๒๕๒๘-๒๕๓๐ ทหารเวียดนาม-เฮงสัมริน ได้ส่งกองกำลังจำนวนมากเข้ากวาดล้างกองกำลังเขมรฝ่ายต่อต้าน ตามแนวชายแดนไทยที่จังหวัดอุบลราชธานี จนเกิดกรณีการรบกันอย่างหนักกับไทยที่ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย ลาว และกัมพูชา มีทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นแนวเขตแดน เนื่องจากพื้นที่ทางฝั่งเขมรเป็นที่ราบต่ำ ทหารเวียดนามจึงได้รุกล้ำเข้ามาตั้งฐานที่มั่นลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ ๕ กม. มีการปรับปรุงดัดแปลงที่ตั้งเพื่อรับการโจมตีจากทางไทยเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการตัดการติดต่อระหว่างไทยกับกองกำลังกลุ่มต่อต้านในการสนับสนุนยุทธปัจจัยการรบที่ช่องบก ที่ช่องบกนั้นมีการปะทะกันอย่างหนักระหว่างไทยและเวียดนาม (ไทยใช้กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ กองพันทหารราบ, ๑ ร้อยลาดตระเวนระยะไกล, ๒๗ กองร้อยทหารพราน, ๑ ร้อยรถถัง สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศ โดยเครื่องบิน เอ ๓๗ และเอฟ ๕) การรบมีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าที่บ้านร่มเกล้า การปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังทหารเวียดนามที่ช่องบก ตั้งแต่ ม.ค.๒๕๒๘-ธ.ค.๒๕๓๐ ทหารไทยสูญเสีย กำลังพล ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๔๔ นาย ยึดอาวุธจากฝ่ายเวียดนามได้จำนวนมาก (ตัวเลขที่เปิดเผยจากทางการไทย) ทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน จากการรบในเขมรและชายแดนไทยตั้งแต่บุกเข้ามาจนถอนออกไป บางส่วนถูกจับเป็นเชลยและหนีทัพมอบตัวกับไทยประมาณ ๕๐๐ คน
จุดที่น่าสังเกตเรื่องหนึ่งก็คือการรบครั้งนี้มีการเตรียมการอย่างดี ทหารเวียดนามมีอาวุธและระบบการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยมาก คาดว่าได้รับมาการสนับสนุนจากรัสเซีย ( ปี ๒๕๒๒ เวียดนามตีเขมรแดงแตกและถอยไปตั้งฐานที่ชายแดนไทย แถบเทือกเขาพนมมาลัย และเกิดการรบเรื่อยมาในเขมร โดยฝ่ายเขมรต่อต้านคือ เขมรแดง ได้จีนสนับสนุน กลุ่มซอนซาน และเจ้าสีหนุ (มีไทย สหรัฐ ฝรั่งเศสให้การสนับสนุน) กับทหารเวียดนาม ผสมกับเขมรกลุ่มเฮงสัมริน มีนายฮุนเซน เป็นผู้นำซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นเขมรแดงมาก่อน แต่แตกคอกันและไปเข้ากับเวียดนาม นำทหารเวียดนามมาขับไล่เขมรแดงออกไป)
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากบางหน่วยของกองทัพบกว่าทหารเวียดนามมีการใช้อาวุธเคมีในบริเวณดังกล่าวด้วย ซึ่งมีการยืนยันจากทหารเขมรในการปะทะหลายครั้งว่ามีการโปรยหรือทิ้งสารบางอย่างลงมา ซึ่งมีผลต่อผิวหนังและระบบหายใจ นอกจากนั้นแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าวยังเต็มไปด้วยสารพิษ จากการปะทะและกวาดล้างทหารเวียดนามในเนิน ๕๖๕,๔๐๘,๕๐๐,๓๘๒ พบหน้ากากและชุดสำหรับป้องกันอาวุธเคมี ด้วย
๒.๑.๓ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ากรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวครั้งนี้เป็นแรงผลักดันที่ลาวได้รับจากเวียดนามและโซเวียต ซึ่งพยายามขัดขวางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ และเป็นหนึ่งในแผนตัดขาดและยึดภาคอีสานของไทยตามยุทธการตัว L (L Operation) และรวมภาคอีสานของไทย ลาว เขมร เวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำ
ลักษณะภูมิประเทศรูปตัวแอลใหญ่คือพื้นที่ป่าภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ทอดตัวยาวลงมาทางใต้ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มาบรรจบกันบริเวณเขาใหญ่ บริเวณรอยต่อ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งทอดตัวยาวมาจากทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขาบรรทัด เขากำแพง และบรรจบกันที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
๒.๑.๔ ในช่วงดังกล่าวบางรายงานแจ้งว่ามีทหารเวียดนามในลาวประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน และในเขมรประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งอาจจะต้องการเปิดศึก ๒ ด้าน ให้ไทยพะว้าพะวงทั้งการรุกที่บ้านร่มเกล้าตีเจาะมาทางเหนือ และตีรุกเข้ามาที่ช่องบกทางใต้ เพื่อตัดและยึดภาคอีสาน เลยหากรณีมาอ้าง เพื่อทำการรบ
๒.๑.๕ จากการปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาวนั้น มีรายงานจากบางหน่วยแจ้งว่าฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติบัญชาการรบ อาจเป็นคนรัสเซีย และถูกทหารไทยยิงตายไปหลายคน (กองทัพไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกับเรื่องนี้มากนัก) จากการปะทะหลายครั้งบางหน่วยรายงานว่า ทหารที่เข้าใจว่าเป็นทหารลาว บางคนพูดร้องสั่งการเป็นภาษาเวียดนาม คาดว่าเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนามและลาวที่รบกับไทย ในการรบที่บ้านร่มเกล้านี้จึงไม่ใช่กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวธรรมดา
๒.๑.๖ ระบบอาวุธและการติดต่อสื่อสารในการรบที่ทางฝ่ายลาวใช้นั้น ทันสมัยมาก สามารถรู้พิกัดที่ตั้งปืนใหญ่ของไทย และยิงตอบกลับอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการรบกวนระบบการสื่อสารของทหารไทย ซึ่งกองทัพประชาชนลาวคงไม่มีระบบที่ทันสมัยอย่างนี้
๒.๑.๗ ที่ตั้งบนเนิน ๑๔๒๘ มีการดัดแปลงการตั้งรับอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ลักษณะเป็นเนินเขาบีบแคบ ในการเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้าอย่างเดียว ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบ หากจะต้องทำการรบในกรอบปกติ
๒.๑.๘ ข้อกล่าวหาของลาวต่อไทยอีกอย่างหนึ่งคือ ลาวกล่าวหาว่ามีบริษัทคนไทยบุกรุกเข้าไปตัดไม้และชักลากไม้ของลาวเข้ามาในอาณาเขตไทย ทหารลาวต้องการเงินค่าไม้ เมื่อไม่ได้รับจึงดำเนินการในลักษณะรุกรานดังกล่าว แต่บางรายงานก็กล่าวว่ามีคนไทยบางคนสมคบกับทหารลาวในพื้นที่ทำธุรกิจไม้เถื่อนจากลาวเข้ามาในไทย มีการติดต่อค้าขายกันมานาน ก่อนเกิดเหตุมีการคดโกงกันขึ้น คือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายไทยไม่ยอมจ่ายค่าไม้เถื่อนให้กับทหารลาวในวงเงินประมาณ ๕ ล้านบาท ทหารลาวจึงทำการเผารถแทรกเตอร์ รถบรรทุก และรถจี๊บเป็นการตอบแทน ซึ่งมีหลายฝ่ายของไทยกล่าวว่า การตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว เพื่อเป็นการเสริมเรื่องไทยรุกล้ำแดนลาว และยังเข้าไปตัดไม้ด้วย เพื่อหาเหตุผลในการรุกราน

ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของสงครามบ้านร่มเกล้า
..................ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๐ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)เคลื่อนไหวรุนแรงที่จะยึดอำนาจรัฐ พื้นที่ติดต่อเขตลาวในเขตนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเผ่าม้ง ใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนและปฏิบัติการ เพราะสามารถข้ามลำน้ำเหืองเข้ามาในเขตไทยได้ง่าย และบริเวณพื้นที่นี้กลายเป็นยุทธบริเวณอันสำคัญระหว่างทหารกับ พคท. ชาวม้งซึ่งเป็นแนวร่วมกับ พคท.ถูกปราบปรามอย่างหนัก หนีข้ามลำน้ำเหืองเข้าไปในเขตลาว
ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานการณ์ในอินโดจีนเปลี่ยนแปลง ประกอบกับนโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ ของรัฐบาลไทยคือใช้ยุทธวิธี “กวนป่า ล้อมบ้าน” ใช้ยุทธศาสตร์ “การเมืองนำทหาร” ทำให้ชาวม้งตัดสินใจกลับเข้ามาตามโครงการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กองทัพภาคที่ ๓ ได้ตัดถนนสายยุทธศาสตร์และแนวชายแดนจาก อ.นาแห้ว จ.เลย ขึ้นไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ มีการจัดตั้งชุดทหารพรานคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ขึ้น
..................๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวยกกำลังเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งไทยอ้างว่าอยู่ในเขต อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ทำลายรถแทรกเตอร์ของบริษัทป่าไม้เอกชนเสียหาย ๓ คัน มีผู้เสียชีวิต ๑ คน หายสาบสูญ ๑ คน ทหารพรานชุด ๓๔๐๕ เข้าปะทะกับทหารลาว
..................๑ มิถุนายน ๒๕๓๐ ทหารลาวเข้าโจมตีม้งที่บ้านร่มเกล้า โดยอ้างว่าเป็นการกวาดล้างม้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านทางการลาว (กลุ่มกองกำลังต่อต้านลาว ซึ่งมีการจัดตั้งในสมัยสงครามเวียดนาม ผู้นำคือนายพลวังเปา เพื่อใช้ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและลาวแดง ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวในภาคเหนือของลาว บางพื้นที่ทหารลาวยังไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปะทะระหว่างทหารลาวและลาวฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง เช่น ที่ด่านวังเต่าติดชายแดนไทยเมื่อไม่นานมานี้ และลาวกล่าวหาไทยว่าให้การสนับสนุน บางรายงานแจ้งว่าม้งกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากม้งที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศ) และมีทหารลาวอีกชุดหนึ่งยกกำลังข้ามพรมแดนเข้ามาที่เขตบ้านนาผักก้าม และบ้านนากอก อ.นาแห้ว จ.เลย ยิงราษฎรไทยตาย ๑ คน จับกุมตัวไป ๖ คน หนีรอดมา ๑ คน โดยกล่าวหาว่าราษฎรเหล่านั้นลักลอบเข้าไปตัดไม้ในลาว
..................๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวประมาณ ๒๐๐ นาย เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของทหารพรานชุดคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ที่บ้านร่มเกล้า (บางรายงานแจ้งว่าทหารลาวประมาณ ๑ กองพัน ซึ่งมีประมาณ ๘๐๐ คน เข้าโจมตี โดยการระดมยิงด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดจรวดอาร์พีจี และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังอย่างหนัก ก่อนจะโหมกำลังเข้าตี ตามกลยุทธ์ของคอมมิวนิสต์ ที่จะบุกเข้าตีข้าศึกด้วยกำลังมากกว่า ๑๐ เท่า และกองทัพภาคที่ ๓ ได้รายงานด่วนไปยังกองทัพบกถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น)
..................๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ สถานีวิทยุลาวเสนอบทสัมภาษณ์ประธานคณะปกครองเมืองบ่อแตน แขวงไทรบุรี กล่าวหาบริษัททำไม้เอกชนของไทยกับฝ่ายทหารไทยว่าได้ร่วมกันสร้างเส้นทางเข้าไปตัดไม้ในลาว และได้เรียกร้องให้ไทยยุติการกะทำดังกล่าว รวมทั้งกล่าวหาฝ่ายไทยว่าใช้กำลังทหารเข้ารุกรานเบียดบังเอาดินแดนของลาวไป
..................ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๓๐ ทหารไทยเคลื่อนกำลังเข้าประจำการในพื้นที่ที่เกิดปัญหาทั้งจากทหารราบ ทหารม้า ทหารพราน และหน่วยปืนใหญ่ เช่นเดียวกับทางลาวก็มีการเคลื่อนย้ายทหารและอาวุธจำนวนมาก ทหารไทยเข้าตีและทำลายเนินต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ที่ทหารลาวมาตั้งฐานอยู่ เพื่อยึดจุดยุทธศาสตร์
..................๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๓ เปิดยุทธการภูสอยดาว โหมการรบอย่างรุนแรงทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ โดยส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ ๕ อี ไปทิ้งระบิดในยุทธภูมิอย่างหนัก การสู้รบยังคงต่อเนื่องและรุนแรงยังคงดำเนินอยู่ ตัวเลขของความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่เป็นที่เด่นชัด บางรายงานแจ้งว่าทางลาวเสียหายอย่างหนักที่โรงพยาบาลเมืองไทรบุรีของลาวเต็มไปด้วยทหารที่บาดเจ็บ จนล้นโรงพยาบาล
..................๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าลาวมีความประสงค์ที่จะให้มีการเจรจาเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ หลังจากการเจรจาสองครั้งที่ผ่านมาคือครั้งแรก ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ ครั้งที่สอง ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ประสพความล้มเหลว (หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าทุก ๆ ครั้งที่ฝ่ายลาวเกิดการสูญเสียในการรบอย่างหนัก จะยื่นเจรจา เพื่อให้ทางไทยชะลอการรุก และทำการเสริมกำลังของฝ่ายลาว และปรับปรุงการตั้งรับ)
..................๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๓ ออกปฏิบัติการกวาดล้างเข้าโจมตีฐานทหารลาวเกิดการปะทะกันอย่างหนักของทั้งสองฝ่าย อย่างหนักหน่วง
..................๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศลาวเชิญอุปทูตไทยเข้ารับบันทึกช่วยจำ มีเนื้อความว่า เครื่องบินไทยละเมิดน่านฟ้าลาว และทำการทิ้งระเบิดพื้นที่แขวงไทรบุรีของลาว รวมทั้งมีการยิงปืนใหญ่ใส่บริเวณต่างๆของลาวอีกด้วย
สำหรับในกรณีนี้นั้นจากการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายกล่าวว่า เนื่องจากเนิน ๑๔๒๘ เป็นที่ตั้งที่ดี การเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้า ทางลาวตั้งฐานปืนใหญ่ด้านหลัง ซึ่งเป็นแนวเขาซับซ้อน ยากต่อการค้นหา และยิงตอบกลับ ในช่วงนั้นมีข่าวว่า กองทัพไทยประกาศว่าหากจะทำการบุกข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปก็ต้องทำหากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งมีผู้ใหญ่หลายฝ่ายออกมามาปรามในเรื่องนี้ เพราะไม่อยากให้สถานการณ์รุนแรงจนกลายเป็นสงครามเต็มขั้นระหว่างไทยกับลาว และจากการรบในช่วงแรกที่ทางไทยเข้าตีตามกรอบคือเข้าทางด้านหน้าได้รับการต้านทานอย่างหนัก และยากต่อการเคลื่อนกำลัง จึงมีการใช้เครื่องบินรบ เอฟ ๕ เข้าไปทิ้งระเบิดบนเนิน ๑๔๒๘ และที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในเขตลาว จนเสียหายยับเยิน เช่น สนามบินบ้านน้ำทาของลาว จากภาพถ่ายทางอากาศเนิน ๑๔๒๘ ราบเป็นหน้ากลองไม่มีต้นไม่เหลืออยู่เลย เพราะถูกระดมยิงจากปืนใหญ่ และการทิ้งระเบิดจากเอฟ ๕ แต่ทางลาวมีที่ตั้งแข็งแรง และเตรียมการตั้งรับอย่างดี บางรายงานกล่าวว่าเมื่อไม่สามารถเข้าไปตรง ๆ ได้ กองทัพไทย ได้ส่งหน่วยสงครามพิเศษ แทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ของลาว เพื่อทำการโจมตีระบบส่งกำลังบำรุง และค้นหาที่ตั้งปืนใหญ่ ทำให้การปฏิบัติการของลาวถูกกดดันมากยิ่งขึ้น (ซึ่งทางการไทยได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการรบใหม่เนื่องจากมีการสูญเสียกำลังพล และไม่สามารถรุกคืบหน้าได้)
..................๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ กองทัพบกออกแถลงการณ์ว่าขณะนี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวได้เคลื่อนย้ายกำลังพลและอาวุธอย่างต่อเนื่องเข้ามาในพื้นที่เมืองบ่อแตน แขวงไทรบุรี และได้เข้ามาในพื้นที่ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เพื่อลาดตระเวนวางกับระเบิดและทุ่นระเบิด พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ บินด่วนเพื่อตรวจสถานการณ์ และหาหนทางคลี่คลายสถานการณ์
..................๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ นายกิทอง วงสาย เอกอัครราชทูตลาวประจำองค์การสหประชาชาติ ยื่นหนังสือประท้วงไทยต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยมีใจความว่า ไทยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแขวงไทรบุรี และมีการระดมยิงปืนใหญ่เข้าไปในพื้นที่อย่างรุนแรง ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ที่ผ่านมา
..................๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ สำนักข่าวเอพี รายงานว่าการรบระหว่างไทย-ลาว ในวันที่ ๑๕ ธันวาคมที่ผ่านมา นับเป็นการต่อสู้ที่รุนแรงที่สุดของทั้งสองฝ่าย (มีรายงานจากบางหน่วยที่เข้ายึดฐานทหารลาวได้แจ้งว่าพบชุดป้องกันอาวุธเคมี แบบเดียวกันกับที่ยึดได้จากทหารเวียดนามในช่องบก บางรายงานแจ้งว่าทางการลาวมีแผนจะใช้อาวุธเคมีด้วย และในช่วงนั้นหนึ่งกรมทหารราบของลาว จะมี ๑ กองร้อยอาวุธเคมีประจำการอยู่)
..................๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๐ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศยืนยันว่าพื้นที่บ้านร่มเกล้าเป็นของไทย โดยหลักฐานมีแน่ชัด และได้กล่าวถึงเรื่องการเจรจาปรับความสัมพันธ์นั้น ทางไทยตั้งเงื่อนไขให้ลาวเปลี่ยนตัวหัวหน้าผู้แทนการเจรจา เพราะผู้แทนลาวมักไม่มีความจริงใจในการเจรจา เอาการเจรจาเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อทำลายไทย
..................๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ รายงานข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า ไทยได้เสนอผ่านประเทศที่สาม ให้ลาวแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศลาวคนใหม่แทนท้าวคำพัน สิมาลาวงศ์ ซึ่งมีพฤติกรรมชัดแจ้งหลายอย่างที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ผู้นำไทย และไม่สร้างบรรยากาศการแก้ไขปัญหาพิพาทให้ดีขึ้น
..................๕ มกราคม ๒๕๓๑ นักศึกษาลาวและพระภิกษุจำนวนหลายร้อยคนเดินขบวนประท้วงไทย ผ่านหน้าสถานทูตไทยประจำเวียงจันทน์ เรียกร้องให้ไทยยุติการโจมตี และให้ไทยถอนกำลังออกจากบ้านร่มเกล้าโดยเร็ว
..................๒๐ มกราคม ๒๕๓๑ ใกล้บริเวณเนิน ๑๔๒๘ ทหารลาวซุ่มโจมตีรถบรรทุกทหารช่างและทหารพรานเกิดความเสียหายครั้งสำคัญยิ่งของไทย
..................๒๑ มกราคม ๒๕๓๑ มีการปรับยุทธวิธีการสู้รบครั้งใหญ่ต่อยุทธการภูสอยดาว เพราะไทยเริ่มมีการสูญเสียมากขึ้น และเพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว จึงมีการปรับปรุงยุทธการรบให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อยุทธภูมิที่เป็นอยู่ (ทางไทยเริ่มมีการใช้การรบนอกแบบ และได้ผล สร้างความกดดันต่อการปฏิบัติการของฝ่ายลาวเป็นอย่างมาก)
..................๒๒ มกราคม ๒๕๓๑ พลเอกเปรม ติณสูรานนท์ นายกรัฐมนตรี พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ รมว.กระทรวงกลาโหม พลเอกประจวบ สุนทรางกูร รมว.กระทรวงมหาดไทย พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา รมว.กระทรวงการต่างประเทศ และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ พร้อมทหารระดับสูงอีกหลายนาย เดินทางไปดูสถานการณ์การรบในพื้นที่ และเน้นให้ทหารผลักดันกองกำลังทหารลาวไปให้เร็วที่สุด แต่ก็ให้ทหารทำการรบในขอบเขตจำกัดที่สุด
..................๒๖-๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ ได้มีการเคลื่อนไหวของประชาชนนับแสนคน ในประมาณ ๒๐ จังหวัดทั่วประเทศ ทำการเคลื่อนไหวประท้วงลาวอย่างต่อเนื่อง เช่นที่ เลย หนองคาย มุกดาหาร สงขลา ระนอง และลำปาง เป็นต้น
๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ กระทรวงการต่างประเทศนำทูตประจำประเทศไทยจาก ๒๒ ประเทศพร้อมทั้งสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ไปดูสถานการณ์ในพื้นที่บ้านร่มเกล้าท่ามกลางการต่อสู้อย่างหนักของกองกำลังทั้งสองฝ่าย
๒๙-๓๐ มกราคม ๒๕๓๑ สถานการณ์ตึงเครียดรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณเนินยุทธศาสตร์ ๑๔๒๘นายชีวิน สุทธิสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้มีคำสั่งปิดพรมแดนด้านอำเภอปากชม เชียงคาน ภูเรือ ด่านซ้าย และนาแห้ว เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายลาวลักลอบเข้ามาซื้อสินค้ายุทธปัจจัยอันจะเป็นประโยชน์ในการรบของลาวต่อไป (ฐานทหารลาวที่ถูกไทยตีแตกพบว่าอาหารมีการซื้อมาจากฝั่งไทย ด้านจังหวัดเลย)
..................๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ การปฏิบัติการทางอากาศของเครื่องบิน เอฟ-๕ อี อย่างหนัก และรุนแรงในวันๆ หนึ่งมีเที่ยวบินไม่ต่ำกว่า ๓๐ เที่ยวบินรบ
..................๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เครื่องบินขับไล่ เอฟ-๕ อี ของไทยลำหนึ่งถูกยิงตกขณะบินปฏิบัติการเหนือยุทธภูมิร่มเกล้า โดยจรวดแซม ๗ ทำจากโซเวียต แต่นักบินปลอดภัย นับเป็นความสูญเสียที่สำคัญอีกครั้งของฝ่ายไทย เครื่องบินถูกยิงที่บริเวณส่วนหางและเครื่องยนต์ด้านขวา ทำให้เครื่องยนต์ระเบิดกลางอากาศ ได้รับความเสียหายอย่างหนักไม่สามารถบังคับเครื่องบินต่อไปได้ จำเป็นต้องสละเครื่องบินเหนือพื้นที่ที่ฝ่ายตรงข้ามครอบครองอยู่และได้ถูกควบคุมตัวโดยกำลังฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้รับนักบินทั้งสองนายกลับประเทศไทย รายงานบางกระแสแจ้งว่าทหารเวียดนามเป็นคนยิง โดยยิงพร้อมกันทีละ ๗ กระบอก การรบครั้งนี้ไทยยังเสียเครื่อง โอวี๑๐ ไปอีก ๑ เครื่องด้วย และมีเครื่องเอฟ ๕ อีกเครื่องหนึ่งโดนจรวดแซมยิงเข้าที่เครื่องยนต์ท้าย ในการเข้าโจมตีของเครื่องเอฟ ๕ จำนวน ๔ เครื่อง ที่เป้าหมายในการเข้าโจมตีทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายครั้งหนึ่ง แต่นักบินสามารถนำเครื่องกลับมาลงที่สนามบินได้อย่างปลอดภัย และกองทัพอากาศทำการแก้ไข ซ่อมแซมนำกลับมาบินได้อีกครั้ง
..................๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ หลังการสูญเสียเครื่องบิน เอฟ - ๕ อี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศกร้าวที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ อีกทั้งย้ำว่าทุกครั้งที่ทหารไทยที่เสียชีวิต ๑ คน ทหารลาวต้องเสียชีวิตอย่างน้อย ๓ คน และกล่าวถึงว่าถ้าหากจำเป็นจะเปิดศึกข้ามโขงก็ต้องทำ นายฮาเวียร์ เปเรซ เดอ เชอลาร์) (Javier Perez de Cuella ) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้มีสาส์นถึง พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ขอให้ฝ่ายไทยและลาวใช้ความอดกลั้นให้ถึงที่สุดเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก และขอให้หาทางยุติปัญหาโดยสันติโดยเร็วที่สุดและพร้อมที่จะช่วยเหลือในการเจรจายุติปัญหาดังกล่าว
..................๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีการเปิดเผยโดยอ้างแหล่งข่าวระดับสูงของกองทัพบกว่า ลาวและกลุ่มประเทศอินโดจีน มีแผนตั้งสหพันธ์อินโดจีน และจะมีการส่งกำลังรบจากลาวบุก ๑๖ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แล้วตัดส่วนที่อยู่เหนือบริเวณ ๓ จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย เป็นรูปตัว L เพื่อเป็นฐานที่มั่นของขบวนการดาวเขียวที่เวียดนามหนุนอยู่
..................๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีการประชุม และปรับยุทธการการรบของฝ่ายไทยอย่างเต็มที่ หลังจากมีการสูญเสียมากขึ้นโดยเน้นการประสานงานระหว่างหน่วยต่างๆ ในพื้นที่การรบ และที่สำคัญคือกำลังจากไทยเสียเครื่องบินรบไปในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
..................๙-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ คณะผู้แทนฝ่ายไทย นำโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปลาว ซึ่งหลายฝ่ายให้ความเห็นว่าเป็นการเดินทางไปทำงาน ให้รัฐบาลไทยในการหาทางหาข้อยุติในปัญหาพิพาทด้วยการเจรจา
..................๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ นายไกรสอน พรมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวได้ส่งสาสน์ถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย เสนอให้ทหารทั้งสองฝ่ายพบแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้โดยเร็ว ลาวพร้อมที่จะส่งคณะผู้แทนทหารมากรุงเทพมหานคร และยินดีที่จะต้อนรับคณะผู้แทนทหารของประเทศไทย ที่จะเดินทางไปนครเวียงจันทน์เพื่อปรึกษาหารือ ดังนี้
๑. ให้ทั้งสองฝ่าย หยุดยิงและแยกกำลังทหารออกไกลจากกันโดยทันทีแล้วตั้งคณะกรรมการทหารผสมของทั้ง ๒ ฝ่ายขึ้น เพื่อตรวจตราการหยุดยิง และแยกกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกไกลจากกันโดยเด็ดขาด
๒. ให้ทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงและหาวิธีการแก้ไขปัญหาชายแดนในบริเวณดังกล่าวนี้ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่อไป
๓. ให้ทั้งสองฝ่ายเสนอข้อร้องเรียนไปยังเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อขอความอุปถัมภ์ให้แก่การปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ตอบตกลงตามข้อเสนอของฝ่ายลาว และได้กำหนดวันพบปะหารือระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายขึ้น ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
..................๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ คณะผู้แทนลาวนำโดย พล.อ.สีสะหวาด แก้วบุญพัน พร้อมคณะเดินทางถึงไทยเพื่อเจรจาปัญหากับคณะผู้แทนฝ่ายไทย โดยมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าคณะ หลังการเจรจาตกลงได้มี แถลงการณ์ร่วมไทยลาวดังนี้
๑. ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มหยุดยิงในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
๒. ทั้งสองฝ่ายจะแยกทหารออกจากกันฝ่ายละ ๓ กิโลเมตร ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาหยุดยิง
๓.ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานทางทหารเพื่อพิสูจน์ตรวจตราและประสานการปฏิบัติตาม ข้อตกลง ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ อย่างเคร่งครัด
๔. ให้ทั้งสองฝ่าย สั่งทหารของตนให้หลีกเลี่ยงการปะทะด้วยอย่างเคร่งครัด เน้นการประสานความเข้าใจ
..................๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เริ่มวันแรกของการหยุดยิง และแยกทหารออกจากกัน มีการประชุมฝ่ายปฏิบัติการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายที่บ้านร่มเกล้า
..................๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ การแยก และถอนทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่การสู้รบ ๓ กิโลเมตร เริ่มขึ้น
..................๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และคณะเดินทางไปลาว เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้แทนลาวมาไทย และเป็นการไปปรึกษาหารือเพื่อหาหนทางแก้ไขให้เพิ่มระดับสันติภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากจะพบกับผู้บริหารประเทศแล้ว พลเอกชวลิต ยังได้เข้าพบเสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ ประธานสมัชชาซึ่งมีสายสัมพันธ์กับตัวท่านเองในฐานะ อา-หลาน และตกลงที่จะเจรจาครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๓-๔ มีนาคม ๒๕๓๑ ที่เวียงจันทน์
..................๓-๔ มีนาคม ๒๕๓๑ คณะผู้แทนไทยนำโดย ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเจรจากับลาวที่เวียงจันทน์โดยฝ่ายลาวมี พลเอกทองไหล กมมะสิด รองหัวหน้ากรมใหญ่การเมืองกองทัพประชาชนเป็นหัวหน้า แต่ยังตกลงกันไม่ได้ในประเด็นของแผนที่ที่จะนำเอามาอ้างชี้เขตแดน และประเด็นเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันพรมแดน
..................๖-๑๒ มีนาคม ๒๕๓๑ มีการออกเผยแพร่ใบปลิวลงท้ายว่า “ทหารม้า” โจมตีการปฏิบัติการที่ล้มเหลว และการสร้างความสูญเสียของกองทัพอากาศต่อฝ่ายไทยด้วยกันเอง โดยแจ้งว่าครึ่งหนึ่งของความสูญเสียมาจากการโจมตีผิดเป้าหมายของกองทัพอากาศไทยเอง (สำหรับการสูญเสียของทหารม้า จากตัวเลขที่เปิดเผยของกองพันทหารม้าที่ ๘ ที่จัดกำลัง กองพันทหารม้าผสม ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศชายแดนไทย - ลาว กรณีบ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกนั้น กำลังพลของหน่วยได้สละชีวิตในการป้องกันอธิปไตยของชาติไทยไว้ จำนวนทั้งสิ้น ๒๔ นาย และมีผู้ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จำนวน ๓ นาย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ายอดสูญเสียสูงมาก แค่หน่วยเดียวถึง ๒๕% ของยอดสูญเสียที่ช่องบก ถึงแม้จะมีรายงานว่าจำนวนทหารลาวที่เสียชีวิตจากการรบครั้งนี้มีจำนวนหลายเท่าของทหารไทย กระแสข่าวการสูญเสียดังกล่าวยังคงสร้างความสงสัยให้กับหลายคน)

ในกรณีการทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายเดียวกันเองนี้ เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก มีรายงานหลายกระแส เช่น
๑. เกิดจากความผิดพลาดในการประสานงานระหว่างกองกำลังภาคพื้น และเครื่องบินที่จะเข้าทิ้งระเบิด เช่น ทางภาคพื้นมีการแจ้งยกเลิกการโจมตี แต่กองทัพอากาศไม่ได้รับแจ้ง เมื่อมีการแจ้งยืนยันการทิ้งระเบิดที่เป้าหมาย มีการแจ้งกลับว่าให้ทำการโจมตีได้
๒. เกิดการรบติดพันรุนแรง และประชิด ไม่สามารถระบุเป้าหมายที่แน่นอนได้ (ในสงครามเวียดนามหรือกรณีอิรักครั้งล่าสุดยอดทหารสหรัฐที่เสียชีวิตจากการยิงหรือทิ้งระเบิดฝ่ายเดียวกันมีจำนวนมาก)
๓. ทหารไทยยึดฐานทหารลาวได้ก่อนกำหนดการณ์ และมีการเคลื่อนกำลังปะทะติดพัน ไม่สามารถแยกแนวรบที่ชัดเจนได้ ตอนที่นักบินทิ้งระเบิดลงไปโจมตี
๔. ทางลาวทำการรบกวนระบบการสื่อสารของไทย มีการดักฟัง ทำการถอดรหัส และรวมทั้งมีการเลียนเสียงการสั่งการ ซึ่งได้รับอุปกรณ์ที่ทันสมัยจากรัสเซีย
๕. เกิดการขัดแย้งกันในกองทัพ และสายทางการเมือง ที่ต้องการแย่งอำนาจการเมืองจากทางทหาร เลยทำการสร้างความแตกแยกในกองทัพ และมีการให้ข้อมูลแก่ฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับแผนการรบ ๆลๆ เนื่องจากในช่วงนั้น ส.ส. หลายคน อดีตเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาก่อนและมีความสัมพันธ์กับทหารบางกลุ่ม บางคนเคยเป็นสมาชิกของเขมรแดง หลังจากนโยบาย ๖๖/๒๓ จึงเข้ามาต่อสู้ทางการเมือง อีกทั้งฝ่ายทหารยังแตกแยกเรื่องการบังคับบัญชา
๖. การวางแผนการรบที่ผิดพลาด ขาดความยืดหยุ่นในการรบและการตั้งรับ และเรื่องยุทโธปกรณ์ที่ไม่พร้อม รวมทั้งการประเมินกำลังและขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้ามต่ำไป


บทเรียนและการเปลี่ยนแปลงที่ได้จากสงครามครั้งนี้
๑. หลังจากที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศนโยบาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า มีการไปเยี่ยมเยียนกันของผู้นำทางทหารของไทย ที่ลาว และเวียดนาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งลดความตึงเครียดทางการทหารระหว่างกัน ปัจจุบันไทยกับลาวมีการร่วมมือกันมากขึ้นในด้านต่าง ๆ และลาวยึดไทยเป็นแบบอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการเดินตามเวียดนาม แต่ลาวก็ดำเนินนโยบายกับไทยอย่างระมัดระวัง เพราะกลัวไทยครอบงำและเข้าแทรกแซงทางสังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ใกล้เคียงกัน
๒. กองทัพบกได้ทำการปรับปรุงกำลังรบให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เข้าหาพื้นที่ที่เกิดปัญหา ปรับลดกำลังคนลงตามภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป และเพิ่มระบบอาวุธให้มีความทันสมัยและคล่องตัวมากขึ้น ตามนโยบาย "จิ๋วแต่แจ๋ว" รวมทั้งมีการจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว
๓. แนวทางในการป้องกันประเทศเปลี่ยนไป มีการดำเนินการของฝ่ายทหารและการเมืองเป็นระบบมากขึ้น ประสานการทำงานกัน โดยฝ่ายทหารทำการรบและสร้างความได้เปรียบและอำนาจการต่อรอง ส่วนฝ่ายการเมืองคือกระทรวงการต่างประเทศจะทำการเจรจา เมื่อมีกรณีปัญหาตามแนวชายแดนกองทัพจะส่งทหารเข้าไปในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหน่วยที่มีความคล่องแคล่ว และมีอำนาจในการยิงสูง ตรวจหาและตอบโต้กลับทันที เข้าตีและยึดพื้นที่ชิงความได้เปรียบในยุทธศาสตร์ก่อน อย่างในกรณีกระเหรี่ยงก็อดอาร์มีที่โดนทางการไทยโจมตีและกดดันจนต้องสลายกลุ่มและยอมมอบตัว หรือการปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารพม่าผสมว้า กรณีบ้านปางหนุน อ. แม่ฟ้าหลวง และพื้นที่ปัญหากู่เต็งนาโยง อ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีการประสานงานระหว่างกองทัพบกและกองทัพอากาศเป็นอย่างดี จากเหตุการณ์นี้มีการใช้เครื่องบินรบแบบ เอฟ ๑๖ เข้าปฏิบัติการด้วย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
๔. การจัดหาอาวุธและระบบป้องกันประเทศ เช่น
๔.๑ RTAD เฟส ๑ เฟส ๒
๔.๒ ระบบตรวจจับการยิงปืนใหญ่ ระบบปืนใหญ่แบบอัตตาจร
๔.๓ การพัฒนาและผลิตอาวุธขึ้นมาใช้เอง การพัฒนาระบบสื่อสารระหว่างหน่วยใหม่ที่เป็นความลับมากขึ้น
๔.๔ การจัดตั้งคลังอาวุธร่วมไทย-สหรัฐ ที่สามารถนำอาวุธมาใช้ได้กรณีฉุกเฉิน
๔.๕ การจัดหาเครื่องบินรบเอฟ ๑๖ รถถังหลัก รถสายพานลำเลียงพลจากสหรัฐและจีน เข้าประจำการจำนวนมาก การจัดหาระบบต่อสู้อากาศยานและต่อสู้รถถังที่ทันสมัยเข้าประจำการ
๔.๖ การจัดตั้งหน่วยนาวิกโยธิน
๔.๗ การฝึกร่วมกับกองทัพสหรัฐและต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้ระบบการรบและพัฒนากองทัพอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการรบและการรักษาสันติภาพ
..................๔.๘ การซ้อมรบของหน่วยกำลังรบผสมของกองทัพไทย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์รุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น (ครั้งล่าสุดมีการเคลื่อนย้ายกำลังพลหลายหมื่นคนและยุทโธปกรณ์จำนวนมากไปฝึกในพื้นที่จริง จนประเทศเพื่อนบ้านขนลุกต้องปิดชายแดนไปก็มี)

โดยคุณ apisit_aos เมื่อวันที่ 10/03/2011 02:10:57


ความคิดเห็นที่ 15


อยากให้ลองนั่งอ่านดูครับ ไม่น่าเบื่อ ได้ความรู้ ซึ้ง เศร้า น่าสงสารทหารกล้า ตื่นเต้นกับเหตุการณ์ และมีเหตุการณ์ชายแดนไทยพม่าด้วย ช่วงท้ายๆ.....

โดยคุณ apisit_aos เมื่อวันที่ 10/03/2011 02:21:18


ความคิดเห็นที่ 16


ผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในช่วงเวลาที่เกิดสงคราม อยากจะบอกว่าข้อมูลต่างๆที่ท่านเจ้าของกระทู้ลงมา มันสับสนไปหมด เรื่องราวหลายเรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องกันก็โยงได้ ตอนที่เรารบกับลาวช่วงแรกสูญเสียมาก เพราะลาวมีการตั้งเตรียมตั้งรับที่ดีกว่า  จนต้องมีการปรับยุทธวิธีถึงจะเป็นฝ่ายได้เปรีบยจนทางลาวต้องเจรจา  สมัยนั้นเรายังไม่ได้รับF16 มีแค่F5 ซึ่งไม่มีระบบป้องกันจรวด พอเข้าโทิ้งระเบิดเจอSAM7 เข้าก็เสร็จ OV10ก็เหมือนกัน และปืนใญ่ของเราก็ยิงได้ระยะสั้นกว่า ทำให้ไม่สามารถครองความได้เปรียบ อีทั้งฝ่ายลาวตั้งรับบนเนินเตรียมตัวดี เราต้องเป็นฝ่ายรุกเลยสูญเสียมาก

ผมอ่านกระทู้หลาย ไม่อยากให้ลงข้อมูลที่ไม่ถูกต้ิงเพราะจะทำให้คนที่ไม่รู้ประว้ติศาสตร์รับรู้ข้อมูลที่ผิด

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 10/03/2011 02:28:28


ความคิดเห็นที่ 17


ตอนนั้นเรายังไม่มี เอฟ 16หรอกครับ มีก็แต่เอฟ5 ที่บินเข้าทิ้งระเบิดอย่างเดียว

โดยคุณ apisit_aos เมื่อวันที่ 10/03/2011 02:32:51


ความคิดเห็นที่ 18


ผมเจ้าของกระทู้ ก็ขอขอบใจทุกท่าน และพี่ๆ ทั้งหลาย ที่เอาข้อมูลมาแบ่งปัน

เพราะช่วงที่เกิดสงคราม ผมกำลังลืมตาดูโลกนี้ 2530 ปี ผมเกิดพอดี

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 10/03/2011 02:53:19


ความคิดเห็นที่ 19


คืออยากทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับกำลังรบของลาวครับ

อย่างที่รู้กัน งานนี้ลาวไม่ได้มาคนเดียว แต่อยากทราบคับว่ามีอะไรบอกได้บ้างว่าลาวไม่ได้มาคนเดียว มีคนมาหนุนหลัง

(ผมเชื่อว่าไทยชนะเพราะไทยไม่ได้สู้กับลาวแบบ1-1...แค่อยากทราบคับว่ามีเหตุปัจจัยอะไรบ้างที่บอกได้ว่าเค้าไม่ได้มาคนเดียว)

โดยคุณ alpha35818 เมื่อวันที่ 10/03/2011 02:53:45


ความคิดเห็นที่ 20


เท่าที่ผมเดานะ (สมภูมิช่องบก มันเกิดก่อน สมรภูมิบ้านร่มเกล้า ใช่ไหมครับ) ช่องบก อยู่ระหว่างเขตแดนไทย,ลาว และกัมบูชา มาบรรจบกัน ที่จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนบ้านร่มเกล้าอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก

เพราะเวียดนาม (หรือทหารเวียดกงส่วนใหญ่) บุกกัมบูชา "แล้วไล่ตะเพิดเขมรแดงเข้าป่าไป-ก่อนหน้านั้น เขมรแดงยึดกัมบูชาไว้หมดแล้ว" แล้วน่าจะ ส่งทหารเข้าไปในลาวด้วย (หนุนโดยสหภาพโซเวียต เพราะถ้าลำพังลาว และเขมร ลำพังประเทศเดียวๆ คงไม่กล้าจะไปรุกรานประเทศอื่น โดยเฉพาะกับไทย แบบ 1-1 หรอกนะ ผมว่า)

ทหารเวียดนาม ที่หนุนโดยสหภาพโซเวียต และมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธที่ทันสมัย ที่ยึดได้จากสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก และอาวุธที่ได้รับจากสหภาพโซเวียต และจีน จำนวนมาก (จึงทำให้เวียดนามฮึกเหิม คิดที่จะรวบรวมอินโดนจีน-โดยการหนุนของสหภาพโซเวียต) เหตุการณ์นี้ น่าจะเกิดหลังจากเวียดนามชนะสงครามในสงครามเวียดนามเรียบร้อยแล้ว

ตามลักษณะนิสัยคนลาว เป็นประเทศที่รักสงบ ไม่น่าที่จะไปรุกรานใครง่ายๆ (ต้องมีใครหนุนอยู่เบื้องหลังแน่นอน)

อินโดจีน ก็ประกอบไปด้วยประเทศไทย+ลาว+พม่า+กัมบูชา+เวียดนาม และจีนตอนใต้ (จีนตอนใต้ น่าจะตรงบริเวณ สิบสองปันนา นี่แหละมั้งครับ) เห็นว่า เวียดนาม มีแนวความคิดที่จะรวบรวมประเทศในอินโดจีน

ผมว่า เหตุการณ์พวกนี้ มันน่าจะเชื่อมโยงกันนะ ทั้งสมรภูมิช่องบก,สมรภูมิบ้านร่มเกล้า,สมรภูมิเขาค้อ และสงครามสั่งสอนเวียดนาม-ที่จีนบุกเวียตนาม

การที่จีนบุกเวียดนาม สิ่งหนึ่งก็คือ ไม่ต้องการให้เวียดนามแผ่อิทธิพลในอินโดจีน และต้องการสกัดกั้นการแผ่อิทธิพลของสหภาพโซเวียต (จีนกะโซเวียต เคยมีเรื่องกัน จนเกิดการสู้รบตามชายแดนกันมาแล้ว ก่อนหน้านี้) แล้วโซเวียต คงมียุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน เลยเข้ามาสนับสนุนเวียดตาม (แต่ช่วงสงครามเวียดนาม ก็ต้องร่วมมือกันต่อต้านอเมริกาและพันธมิตร)

การที่จีนและสหภาพโซเวียต แตกคอกัน ทั้งๆ ที่ก็เป็นสายคอมมิวนีสต์เหมือนกัน ก็น่าจะมาจากต่างคน ต่างฝ่าย ต่างอ้างว่า "ตัวเอง-เป็นคอมมิวนีสต์สายที่ถูกต้อง"

ยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน..ของสหภาพโซเวียต โดยการสนับสนุนเวียดนาม เพื่อปิดล้อมจีนทางตอนใต้

และตอนนั้นคอมมิวนีสต์สายจีน ก็สนับสนุนเขมรแดง และพรรคคอมมิวนีสต์แห่งปรเทศไทย "การที่เราปิดความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐกะจีน ก็น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างมาก ตรงกับที่จีนไม่ต้องการให้เวียดนามแผ่อิทธิพลในอินโดจีนด้วยเช่นกัน"

สงครามสั่งสอนเวียดนามที่เกิดขึ้น กำลังทหารเวียดนามในลาว และเขมร ก็คงจะถูกดึงไปช่วยต้านกำลังทหารของจีน ด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่น ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรารบที่สมรภูมิบ้านร่มเกล้าได้สะดวกขึ้น

(นี่คือ ความคิดเห็นส่วน และความคาดเดาส่วนตัวของผมเองนะครับ ถ้าทุกท่าน มีความเห็นเป็นเช่นไร ก็มาแชร์ความรู้ความเห็นแบ่งปันกันได้ครับ ยินดีน้อมรับความคิดเห็นต่างๆ ได้เสมอ)

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 10/03/2011 05:14:12


ความคิดเห็นที่ 21


....ไทย ชนะ ครับ ....เพราะ ทางการทูตแล้ว ใคร ขอ เจรจา สงบ ศึก ก่อน ก็ แสดงว่า ขอ ยอมแพ้ ยกธงขาว....เข้าใจไหม ครับ


โดยคุณ arcobaleno เมื่อวันที่ 10/03/2011 05:21:29


ความคิดเห็นที่ 22


แก้ไขครับ "การที่เราปิดความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐกะจีน แก้เป็น "การที่เราเปิดความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐกะจีน / โทษทีครับ ลืมตรวจทาน

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 10/03/2011 06:24:25


ความคิดเห็นที่ 23


เท่าที่ผมทราบ นั้นก็คือเราเสียเปรียบตรงที่ปืนใหญ่ของเรายิงได้ในระยะสั้น แต่ทางฝ่ายลาวนั้นยิงได้ไกลกว่าแถมมีทหารรับจ้างจากประเทศรัสเซียมาคอยบอกทิศทางในการยิงปืนใหญ่เลยแม่นยำ เราจึงเสียเปรียบตรงนี้มาก ถ้าไม่มีใครมาบอกฐานที่ตั้งปืนใหญ่ของทหารไทยเราก็จะไม่มีการเสียทหารไทยไปมาก และก็เป็นบทเรียนอันแสนแพงที่ทำให้กองทัพต้องจัดหา รถถังอัตราจร  M109A5 มาประจำการ และตามด้วย Caesar

ส่วนเรื่อง เครื่องบินF-16ติดเครื่อง 30 นาที ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 10 ล้านบาท  ผมว่ามันไม่น่าจะเป้นจริงสักเท่ไหร่ ทุกวันนี้ F-16ขึ้นลงเป็นว่าเล่น 

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 10/03/2011 06:57:25


ความคิดเห็นที่ 24


ขอเสริมนิดหนึ่งครับ การศูญเสียของไทยในเบื้องต้น เกิดจากต้องเป็นฝ่ายเข้าตีลาวที่ตั้งรับอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบมากๆ

ปืนใหญ่ลาวได้เปรียบไทยในตอนต้นเนื่องจากใช้ ฮ. เคลื่อนย้ายที่ตั้งหลังการยิง ของไทยยังใช้รถลากจูงอยู่ ย้ายก็ไม่ค่อยย้าย

ระยะยิงไม่ต่างกันเท่าไหร่ครับ ตอนนั้นเรามี เอ็ม-๑๙๘ ใช้แล้วถึงจะยังไม่มาก แต่ก็ได้ออกศึกแล้ว

หลังศึกร่มเกล้า ชีนุกดี ๖ ตัว ถึงได้เกืดอีกครั้ง ตั้งใจเอาไว้หิ้ว ป. ย้ายที่ตั้งบ้าง ส่วนพาลาดินเอ็ม-๑๐๙ ก็ถูกจัดหามาด้วย แต่ถึงเป็นอัตตาจร ก็ไม่เหมาะเท่าไหร่กับการเคลื่อนย้ายที่ตั้งในภูมิประเทศแบบร่มเกล้า ยุคนี้พอมีตังเหลือ ฃีฃ่าร์ล๊อตแรกจึงถือกำเนิด ตอบโจทย์ได้ตรงใจ พล.ป. ดูผลงานได้จากเดือนที่ผ่านมา

 เรื่องทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายเดียวกัน มีความเป็นไปได้อยู่ เนื่องจากกำหนดวัน ว. เวลา น. ในการทิ้งระเบิด ที่ง ทบ. และ ทอ. ประสานกันเรียบร้อยแล้ว แต่ด้วยสภาพภูมืประเทศที่เป็นทั้งหุบและภูเขาสูงชัน เป็นไปได้ว่า ทบ. ถอนออกมาไม่ทัน ทอ. เข้าสไตร์คในเวลาที่กำหนด โดยใช้เอฟ-๕ เอฟ ชี้เป้าด้วยเลเซอร์ (มือล้วนๆ) เอฟ-๕ อี ทอยจีบียูลงไป

ค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวบินฝึกของเอฟ-๑๖ ประมาณ ๑ แสนบาท (กริเป้นประมาณ ๖ หมื่นครับ)...

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 10/03/2011 13:49:31


ความคิดเห็นที่ 25


เวียดนามบุกกัมพูชาในช่วงเวลา ก.พ. 2521 โดยใช้กำลังพล 200,000 นาย

ช่วงเวลาสงครามจีนสั่งสอนเวียดนาม เกิดขึ้นเมื่อ 15 ก.พ. 2522 กินเวลานาน 4 สัปดาห์ ฝ่ายจีนเสียชีวิต 26,000 นาย ฝ่ายเวียดนามเสียชีวิต 37,000 นาย

สงครามช่องบก ไทย-เวียดนาม ตั้งแต่ ม.ค. 2528- ธ.ค. 2530

สงครามร่มเกล้า ไทย-ลาว ตั้งแต่ ปลาย 2530- ก.พ. 2531

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 10/03/2011 21:20:22


ความคิดเห็นที่ 26


สงครามสั่งสอนจีน-เวียดนาม ในอีกมุมมองครับ

 

http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=warboard&No=6106

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 10/03/2011 21:22:15


ความคิดเห็นที่ 27


ตัวเลขการสูญเสียในสงครามร่มเกล้า ว่ากันว่าได้มาจากหน่วยข่าวกรอง

ฝ่ายไทย

-เสียชีวิต147นาย

-พิการ55นาย

-บาดเจ็บสาหัส167นาย

-บาดเจ็บเล็กน้อย550นาย

(สำหรับการสูญเสียของทหารม้า จากตัวเลขที่เปิดเผยของกองพันทหารม้าที่ ๘ ที่จัดกำลัง กองพันทหารม้าผสม ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศชายแดนไทย - ลาว กรณี บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกนั้น กำลังพลของหน่วยได้สละชีวิตในการป้องกันอธิปไตยของชาติไทยไว้ จำนวนทั้งสิ้น ๒๔ นาย และมีผู้ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จำนวน ๓ นาย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ายอดสูญเสียสูงมาก แค่หน่วยเดียวถึง ๒๕% ของยอดสูญเสียที่ช่องบก จนเป็นที่มาของการปรับปรุงการประสานงานของเหล่าทัพระยะต่อมา)

ฝ่ายสปป. ลาว

-ทหาร สปปล.เสียชีวิต286นาย,บาดเจ็บ301นาย

-ทหารเวียดนาม เสียชีวิต157นาย,บาดเจ็บ112นาย

-ทหารโซเวียตเสียชีวิต2นาย,บาดเจ็บ2นาย

-ทหารคิวบา เสียชีวิต2นาย

**ตั้งแต่ ปี 1961-1962 และ ปี 1974-1991 โซเวียตส่งทหารเข้ามาในลาวทั้งหมด 1840 นาย เสียชีวิตในลาว 8 นาย

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 10/03/2011 21:35:37


ความคิดเห็นที่ 28


แจ่มๆ ครับ เอามาแชร์ความรู้ แบ่งปันกันเรื่อยๆ ครับ

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 10/03/2011 23:28:57


ความคิดเห็นที่ 29


เข้าไปอ่านแล้ว แล้วก็วีนแตกแล้ว แบบว่าเหลืออด จำได้ว่าเว็ปเราก็เคยมีสมาชิกแบบนั้นน่ะครับ คือไม่คิดจะรู้อะไรจริงๆเลย รู้แต่ว่าตัวเองต้องถูก ดังนั้นเพื่อนสมาชิกที่เข้าไปอ่าน  ขอความกรุณาอย่าลิ้งเว็ปเราไปน่ะครับ เพราะท่าคนๆนั้นมาเล่นเว็ปนี้ เว็ปเราเดือดปุดๆแน่ๆ

โดยคุณ ลมหมุนวน เมื่อวันที่ 11/03/2011 00:58:12


ความคิดเห็นที่ 30


ผมละเบื่อจริงๆกับพวกไม่รู้จริงแล้วก็ไปโพสในเว็บต่างๆให้คนเข้าใจผิดๆกัน

ประเด็นแรกคือไทยใช้เอฟ16ตอนเหตุการณ์บ้านร่มเกล้า

=มั่ว

ขอยกในวิกิตอนหนึ่งมาดังนี้ 6 F-16A-15OCU planes. 18 more aircraft were received in 1995
แปลได้ว่าไทยได้เอฟ16 6ลำครั้งแรกมาในปีพ.ศ.๒๕๓๘

ส่วนบ้านร่มเกล้าหรือที่สากลเรียกว่า Thai–Laotian Border War (สงครามชายแดนไทย-ลาว) เกิดขึ้นในปี เกิดขึ้นระหว่าง December 1987 - February 1988 (ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ - กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๑)

ส่วนผลแพ้ชนะนั้น ส่วนใหญ่อ้างว่าลาวชนะแต่สุดท้ายก็จบลงที่โต๊ะเจรจา (สังเกตว่ายังไม่มีข้อมูลยืนยันในการอ้างชัยชนะ) 

Result Laotian victory, return to status quo ante bellum[citation needed]
โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 11/03/2011 06:28:11


ความคิดเห็นที่ 31


เห็นทหารที่มาร่วมรบฝั่งลาวมีแต่ฝ่ายคอมฯ ทั้งนั้น

โดยคุณ game48530017 เมื่อวันที่ 11/03/2011 08:40:10


ความคิดเห็นที่ 32


หายไปนาน โทษที เพราะต้องทำงานไม่ว่างเป็นนักเลงkeyboad อยู่นะครับ " คุณ u3616234 ไม่เข้าใจกับคำถามหรือเก็บกดอะไรมาหรือปล่าวครับหรือเข้าผิด บอร์ด ???" xman959 ขอโทษครับ ผมเข้าใจคำถามดีั และ ไม่ได้เก็บกดอะไร แค่ ผมเป็นคนที่อยู่กับปัญหาตอนนั้น จริง ๆ ไม่ทราบว่า Xman เกิดทันไหมครับ ได้รับผลกระทบจากมันไหม? ไม่ทราบว่าผมไปตอบอะไร ที่ทำให้ Xman ไม่พอใจครับ เพราะผมขึ้นไป review คำตอบที่ผมตอบ ก็ ไม่มีอะไรที่รุนแรง ถ้าจะมีก็คงเป็น คำตอบแรก ซึ่ง ผม เอา ข้อมูลของ link ที่ เขาวางไว้ ดึงมาดู ที่เวป เลย จะได้ไม่ต้อง link ไป ที่โน่้น (ถ้ามองดี ๆ ผมจะทำ ref เป็น work cited ไว้ ครับ ดูดี ๆ ก่อน) ซึ่ง Xman คงไม่ได้เข้าไปดูที่ Link แล้ว คง มา ว่าผมก่อน ซึ่งอันนีี้ ผม คงไม่ว่าครับ เพราะ คนไทยไม่ค่อยอ่าน (คนไทยเฉลี่ยอ่านหนังสือปีละ 7 บรรทัดเอง) ตอบ คุณสายลับ007 อันนี้ผมต้องขอโทษด้วย ที่อาจใช้คำที่ผิด ไป ถ้าใช้ คำว่า เพลี้ยงพล้ำ ก็คงได้ครับ กลับมาเรื่องร่มเกล้า ยุคนั้น เป็นยุคที่ทำให้เราคิดว่า เรายืนบนลำแข้งตัวเองไม่ได้ เพราะสมัยก่อนเรามีพี่เลี้ยงมาตลอด จนถึงรบที่ร่้มเกล้า .... ซึ่งเป็นการดีที่ทำให้เรากลับมา พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อย่างจริงจัง ซึ่งผลของการทำได้ประจักษ์ในการดวลกัน ครั้งล่าสุด กับเขมร กระสุนปืนใหญ่ที่ประเคนให้ เขมร MADE IN THAILAND ซะด้วย
โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 12/03/2011 21:06:07