หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ไทย-สหรัฐ-สิงคโปร์ส่งทหารกว่า1,200นายฝึกร่วมโคปไทเกอร์

โดยคุณ : nok เมื่อวันที่ : 18/03/2011 05:28:12

นาวาอากาศเอกคงศักดิ์ จันทรโสภา ผู้บังคับการกองบิน 1 เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 14-24 มี.ค. 54 จะมีการฝึกโคปไทเกอร์ (COPE TIGER ) ซึ่งเป็นการฝึกร่วมระหว่าง กองทัพอากาศของไทย สหรัฐอเมริกา และ สิงคโปร์ ซึ่งเน้นการฝึกการปฏิบัติการทางอากาศเชิงรุก และเชิงรับด้วยกำลังทางอากาศขนาดใหญ่ ซึ่งปีนี้จะฝึกในพื้นที่ น่านฟ้าของ จ. นครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิ อุดรธานี บุรีรัมย์ และ ลพบุรี โดยมี ทหารกองทัพอากาศสหรัฐมาร่วมฝึกจำนวน 260 นาย ที่จะนำเครื่องบินมา ประกอบด้วย ซี 130 , เอฟ 15 , เอฟ 18 , เอ 10 ในขณะที่กองทัพอากาศของสิงคโปร์จะส่งทหารมาร่วมฝึก จำนวน 400 นาย พร้อมเครื่องบิน ประกอบด้วย เอฟ 16 และ เอฟ 5 ส่วนของไทยมีทหารอากาศร่วมฝึกจำนวน 500 นาย โดยนำเครื่องบิน เอฟ 16 เอฟ 5 แอล 39 พร้อม อัลฟ่าเจ็ท มาร่วมด้วย รวมในการฝึกครั้งนี้จะมีเครื่องบินมาร่วมบินและร่วมฝึกกว่า 100 ลำ โดยการฝึกเราจะเน้นฝึกร่วมผสม โดยการฝึกแบบอากาศสู่อากาศ อากาศสู่พื้นดิน และมีการขับไล่โจมตี เป็นการฝึกซ้อมการปฏิบัติงานของกำลังส่วนสนับสนุนและส่วนการบิน รวมแล้วครั้งนี้มีทหารอากสซของ 3 กองทัพมาร่วมฝึกประมาณ 1,200 นาย
สำหรับการฝึกโคปไทเกอร์นั้น ในอดีตกองทัพอากาศได้จัดการฝึกผสม "AIR THAISING" ร่วมกับ กองทัพอากาศสิงคโปร์ ณ กองบิน 1 เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี 2526 โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ กล่าวคือ การฝึกที่บังคับการ (Command Post Exercise - CPX) ทำการฝึก ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยกองทัพอากาศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ ส่วนการฝึก ภาคปฏิบัติการบิน (Air Maneuvering Exercise - AMX) จัดขึ้นในประเทศไทย กองทัพอากาศเป็นเจ้าภาพ ได้ทำการฝึกมาจนถึงปี 2537 รวมทั้งหมด 12 ครั้ง ในขณะเดียวกัน กองทัพอากาศ ก็ได้ส่งกำลังเข้าร่วม การฝึกผสมหลายฝ่าย COPE THUNDER ร่วมกับ กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ และ กองทัพอากาศมิตรประเทศอื่น ๆ ณ ฐานทัพอากาศ CLARK ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประจำทุกปี
ต่อมาปี พ.ศ.2535 เกิดสถานการณ์ด้านการเมือง และภัยธรรมชาติในประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้สหรัฐ ฯ ไม่สามารถรักษาฐานทัพอากาศ CLARK ไว้ได้ เป็นเหตุให้การฝึก COPE THUNDER ซึ่งเป็นการฝึก กองกำลังทางอากาศ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นแปซิฟิก ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ สหรัฐ ฯ จึงได้แสวงหาพื้นที่ ในภูมิภาคนี้เพื่อฝึกทดแทน จากการประเมิน พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูง สำหรับการฝึกขนาดใหญ่ กรมยุทธการทหารอากาศซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบ ได้ดำเนินการตามลำดับ เพื่อจัดให้มีการฝึกผสมหลายฝ่าย หรือพหุภาคี (MULTI LATERAL EXERCISE) ขึ้น และ คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2536 เห็นชอบในการฝึกพหุภาคี ระหว่าง ทอ., ทอ.สป. และ ทอ./นย.สหรัฐ ฯ ครั้งแรกในปี 2538 โดยใช้รหัสการฝึกว่า "โคปไทเกอร์ 95 " (COPE TIGER 95) และเป็นเหตุให้การฝึก AIR THAISING ต้องยกเลิกไปโดยปริยาย การฝึก COPE TIGER ได้ดำเนินการต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งการฝึกออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคที่บังคับการ (COMMAND POST EXERCISE, CPX) และ ภาคการบิน (FIELD TRAINING EXERCISE, FTX)

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=500374