ตามที่มีข่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
มีโครงการเกี่ยวกับรถสะเทินน้ำสะเทินบก เอเอวี
ซึ่งหลายท่านคาดการณ์ไปว่า อาจจะเป็นการ
สร้าง/พัฒนา รถฯชนิดนี้โดยออกแบบสร้างขึ้นมาใหม่
แต่ข่าว/รายละเอียดที่ผมได้รับทราบมา
โครงการนี้จะมีขอบเขตปนะมาณนี้ ครับ
1. ซ่อม,บำรุง/คืนสภาพ รถเอเอวี 7 เอ 1 ที่ชำรุดทรุดโทรม
ให้คืนสภาพกลับเข้าประจำการได้ใหม่ (ประมาณ 12 คัน)
เดิม นย. มี รถฯเอเอวีประมาณ 36 คัน ปัจจุบันใช้งานได้ 24 คัน
2. เสริมประสิทธิภาพ รถฯ เช่น การติดตั้งเกราะเสริม เป็นต้น
โดย ชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการฯนี้ คือ
โครงการวิจัยพัฒนาปรับปรุงและเสริมประสิทธิภาพรถสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV)
ความคิดเห็นที่ 1
จริงหรือนี่นับว่าดีเป็นอย่างยิ่งหากทำได้เองเเล้วก็จะดีไปใหญ่ขอบคุณสำหรับข่าวดีครับนย.จงเจริญ
โดยคุณ
nonarmy 
เมื่อวันที่
19/03/2011 12:16:12
ความคิดเห็นที่ 2

สาระสังเขป
พลเรือเอก ศ.ดร. อุดมสวัสดิ์ เอกภูม มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลภายในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาการการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายงบประมาณของชาติโดยรวม จึงได้ริเริ่มโครงการวิจัยชื่อโครงการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพรถ AAV-P7 ซึ่งหากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในขีดความสามารถและศักยภาพในเทคโนยีการผลิตเครื่องยนต์ภายในประเทศ และผลักดันให้มีการถ่ายทอดไปสู่ส่วนราชการอื่นรวมทั้งภาคเอกชน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากที่ยังต้องพึ่งพาความรู้เทคโนโลยีด้านนี้จากต่างประเทศ
การทำวิจัยนี้มีความเชื่อว่าความสำเร็จในโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 300 แรงม้า ของพลเรือเอก ศ.ดร. อุดมสวัสดิ์ เอกภูม จะเป็นพื้นฐานให้โครงการนี้สำเร็จลงได้ โดยเฉพาะถ้าการวิจัยลักษณะวิศวกรรมย้อนรอย REVERSED ENGINEERING ประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นก้าวสำคัญของการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องยนต์ดีเซลขึ้นใช้เองในกองทัพเรือ เป็นการประหยัดงบประมาณและทำให้สามารถนำรถ AAV-P7 ทั้ง 12 คันกลับมาใช้ราชการได้ แต่เมื่อลงมือทำการวิจัยแล้วกลับพบว่า มีอุปสรรคสำคัญหลายประการโดยเฉพาะด้านบุคลากร จึงทำให้โครงการนี้ไม่สามารถประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างสมบูรณ์ได้ โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนเลียนแบบในลักษณะ REVERSED ENGINEERING ผลการวิจัยจึงสรุปได้เพียงว่าในปัจจุบัน คณะวิจัยฯ ชุดนี้มีขีดความสามารถในการซ่อมคืนสภาพรถ AAV-P7 ได้ในระดับหนึ่ง และการวัดผลงานวิจัยโดยการนำรถไปใช้ราชการทางยุทธการได้ การที่จะปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพให้สำเร็จได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องทำการการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม และขจัดอุปสรรคและข้อจำกัดที่มีอยู่ให้หมดไปตามข้อเสนอแนะในเอกสารเล่มนี้
ที่มา http://www.navy.mi.th/nrdo/research/p4501.htm
โดยคุณ Chin เมื่อวันที่
19/03/2011 20:18:57
ความคิดเห็นที่ 3
ความคิดเห้นส่วนตัวนะครับ ผมว่างานวิจัยต่างๆของทหารมักจะไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำวิจัยครับ โดยเฉพาะมีอุปสรรคสำคัญด้านบุคลากร เงินทุน ถ้าโครงการนี้วิจัยร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ถือเป็นเรื่องดีทีเดียวครับ แต่ต้องเน้นว่าวิจัยร่วมนะครับ
โดยคุณ SPECI เมื่อวันที่
20/03/2011 00:56:18
ความคิดเห็นที่ 4
ผมเองพึ่งมาสนใจเรื่องพวกนี้ได้ไม่ถึงปี แต่ก๋คิดเหมือนกันว่า ถ้าให้เอกชนวิจัยร่วม ก็เป็นการดีนะครับแต่ในใจผมอยากให้รัฐเข้ามาช่วยในเรื่องของงบประมาณการวิจัย จัดหาพวกเครื่องมือในการวิจัยที่ทันสมัย จะดีขึ้นมากครับ
โดยคุณ สึนามิ เมื่อวันที่
20/03/2011 02:24:49
ความคิดเห็นที่ 5
ข้อมูลตามที่คุณ chin นำมาฯ ข้างต้นนั้น
เป็นข้อมูลที่คณะทำงานชุดเดิม ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในกองทัพเรือ
ได้ดำเนินการไปและได้ปิดโครงการไปแล้ว ครับ(2548)
สำหรับโครงการฯ ที่กล่าวถึงในกระทู้นี้
เป็นโครงการฯใหม่
ดำเนินโครงการฯโดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ที่มีความตล่องตัวกว่าหน่วยงานราชการ
ส่วนตัวคิดว่าน่าจะประสบความสำเร็จ
เพราะโครงการจรวดหลายลำกล้อง ดีทีไอ 1
ซึ่งน่าจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าโครงการรถเอเอวี
ยังดำเนินการได้ ผมจึงมั่นใจว่า
ทางสถาบันฯ จะปรับปรุง/พัฒนา รถฯเอเอวี สำเร็จเช่นกัน
โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่
20/03/2011 02:54:14
ความคิดเห็นที่ 6
ขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกนิดหน่อยครับ
คือ การปรับปรุงดังกล่าวนั้น
จะครอบคุมถึง รถฯ รุ่นเก่า ตากลม ด้วย
คือ ถ้าเสร็จโครงการฯ(เฟสแรก)
ทาง นย. จะมีรถฯที่เป็นมาตราฐานเดียวกันทั้งหมด
เท่าที่ทราบ สถาบันฯ จะนำ รถฯ ทุกคันเข้าโครงการฯ
รวมถึง คันที่จอดโชว์ด้วย
โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่
23/03/2011 10:27:23