หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


โครงการรถไฟ ความเร็วสูง ของ ประเทศไทย

โดยคุณ : s.w.a.t เมื่อวันที่ : 27/03/2011 21:45:38

รายละเอียดโครงการรถไฟ ความเร็วสูง ของ ประเทศไทย 
ที่มา. ทีวีไทย ไทย พีบีเอส. เสาร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554 ( ขออนุญาติ นำรายละเอียด เสนอ ให้ สมาชิกกระดานข่าว ชก. ได้ ทราบ )
พิธีกร . สุภาพ คลี่ขจาย เวลา 13.00/13.30 ( ขออนุญาติ เอ่ยนาม )
รายละเอียด ข้อมูล ...ท่านปลัดกระทรวงคมนาคม/ ประธาน คกร. คุณ สุพจน์ ทรัพย์ล้อม .( ขออนุญาติ เอ่ยนาม)

รายละเอียด. ท่าน ปลัด คค. และ ในฐานะ ประธาน คกร . ได้ มาออกทีวี และ ได้ นำเสนอข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับ รถไฟความเร็วสูง ให้ พี่น้องประชาชน ชาวไทย ทราบ เมื่อ วันเสาร์ ที่ 12 กพ ที่ผ่านมา ทาง PBS TV. ดังนี้ ครับ 
เกี่ยวกับ รถไฟฟ้า ใน กทม และ ปริมณฑล สาย สี ต่างๆ ทุก สาย จะแล้วเสร็จ ใน ปี 2559/2560 
สายสีชมภู ที่มาจาก มีนบุรี เข้าแจ้งวัฒนะ ผ่านศูนย์ราชการ ไป บรรจบ สายสีม่วง ที่แยก แคราย จะเป็น โมโนเรล รถเบา เสร็จ 2559 
ส่วน บีทีเอส จาก หมอชิต จะ ขยายต่อไป สะพานใหม่ จะ ขยายไปถึง แยกลำลูกกา คือ คูคต จะ สร้างได้ ใน เดือนธค 54 เสร็จ ปี 2558 
สายสีแดง จะแล้ว เสร็จ ในอีก 3 ปี ข้างหน้า ทุกระบบ
สายสีเขียวแก่ ไป ทาง บางแค สมุทรปราการ จะแล้ว เสร็จ 2559 
บีทีเอส ส่วนต่อจากอ่อน นุช จะวิ่งได้ ธค 54 
สายสีม่วง จากบางซือ ไป บางใหญ่ เสร็จ ก่อน เพื่อน จะเสร็จ 2557 ปลายปี 
สายวงเวียนใหญ่ สายนี้ ไม่เวนคืนที่ดินมาก เพราะ ใช้ วิ่ง บนตอม่อ จะแล้วเสร็จ 2558
 

ในส่วนของ รฟท. รถไฟความเร็วสูง ครับ 
1. สาย หนองคาย / กรุงเทพ จะเริ่มเซ็น MOU ได้ ในปีหน้า 2555 การก่อสร้าง จะแล้วเสร็จ ในปี 2559 ครับ จีน ร่วมลงทุน 
2. สาย ระยอง ระยะทาง 235 กม. จะเริ่มก่อสร้างในปี 2555 เช่นกัน แต่ จะเสร็จก่อนเพื่อน ในปี 2558 
3. สาย กรุงเทพ เชียงใหม่ ระยะทาง 760 กม. ปีหน้า ถึงจะมีรายละเอียดชัดเจน เพราะ เมื่อต้นเดือน กพ ที่ผ่านมา ผู้แทน ของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ เข้าพบ รมว. คค และ ปลัดกระทรวง คค. ขอยื่นความจำนง อยากลงทุน ใน สาย เชียงใหม่ ต้อง มาเริ่ม แบ่งเค้ก กันใหม่ แต่ แนวโน้ม บริษัทญี่ปุ่นอยากได้ โปรเจ็ค และ มี แนวโน้ม น่าจะได้ (ญี่ปุ่น) 
4.สายปาดังเบซาร์ จากกรุงเทพ ไป ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 980 กม จะแล้วเสร็จในปี 2564 สายนี้ จะเริ่มดำเนินการได้ ในปี 2559 ครับ จะเสร็จหลังสุด 
และ ท่าน ประธาน คกร . ของ รฟท. ได้ ร่ายยาว ถึง ประเทศจีน ว่า จะดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จาก คุนหมิง มา ถึง เวียดนาม มาถึง เวียงจันทน์ จะเชื่อมต่อรถไฟไทย อย่างไร 
นับว่า เป็น ข่าวดี ขอ งประเทศไทย แต่ อาจจะเป็น ข่าวร้าย ของ ครฟ. เพราะ ทุกเส้นทาง เอกชนเป็น เจ้าของ ร่วมลงทุน ...สร้างเสร็จแล้ว การบริหาร งาน เก็บค่าลงทุน จะเป็นอย่างไร ..อันนี้ น่าคิด 
ข้อสังเกตุ . ใน อนาคต จะมีรถไฟ ความเร็วสูง แต่ ไม่ ยักพูดถึง ปัจจุบัน ว่า ปัญหา ของ รฟท. เกี่ยวกับ รถจักร ล้อเลื่อน จะได้ รับการแก้ไข อย่างไร ....

 

http://58.181.223.171/bb/Default.aspx?g=posts&t=6459

ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย 





ความคิดเห็นที่ 1


กระทู้นี้ ออกไปทางการเมือง ล่อแหลมดี

ใครจะมีเงินสร้าง การจะสร้างได้ต้องรัฐบาลอนุมัติ รถไฟฟ้าความเร้วสูงเป็นเรื่องการเมืองโดยแท้

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 22/03/2011 11:53:14


ความคิดเห็นที่ 2


ถ้าประเทศไทย ตั้งใจจะสร้างรถไฟความเร็วสูง "มันสร้างได้ไปตั้งนานแล้วครับ"

เพียงแต่เรื่องรถไฟ มันเป็นผลประโยชน์ล้วนๆ บางทีก็ไปขัดผลประโยชน์กับสายอื่น ที่หากินทางด้านคมนาคมแบบเดียวกันบ้าง (คงรู้นะครับว่า มีอะไรบ้าง นอกจากรถไฟ)

ถ้ารถไฟความเร็วสูง สามารถสร้างขึ้นได้ คนก็แห่มาขึ้นรถไฟความเร็วสูงกันเพียบ "เพราะมันมีความปลอดภัยสูง เดินทางไม่กี่ชั่วโมง-ก็ถึงที่หมาย ถึงจุดหมายเร็ว-แถมเส้นทางแทบจะผ่านทุกๆ จังหวัด แทบจะทุกอำเภอ" (มันก็กระทบกะสายอื่นอย่างรุนแรง)

ความเร็วระดับ 200-350 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ความปลอดภัยสูง-เดินทางแป๊ปเดียว-ถึงที่หมาย ไม่มีติดไฟแดง-ยิงยาวตลอด นั่งนิ่ม-นอนสบาย (ใครมันจะไม่อยากขึ้น)

โครงการรถไฟความเร็วสูงของรถไฟไทย มันมีมานานแล้ว ถ้ามีการร่วมทุนกะญี่ปุ่น ผมว่า ไทยสร้างได้ไปตั้งนานแหล่ะครับ ถ้าจะเอาจริงเอาจัง (ส่วนหนึ่ง ขาดการเอาจริงเอาจัง+ความตั้งใจ มั้ง มันเลยเกิดช้า)

ส่วนหนึ่ง คือ ประเทศเพื่อนบ้าน รอบบ้าน เขาจะสร้างรถไฟความเร็วสูงกันหมดแล้ว มันเลยเป็นการบีบประเทศไทยไปในตัว (ถ้าเพื่อนบ้านไม่มี รถไฟไทย ก็จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะครับ รถไฟไทย มีอายุเป็น 100 ปี แล้วมั้ง)

เหมือนกะการบริการอินเตอร์เน็ต ระหว่างทรู กะ เม็กเน็ต เลยแฮ่ะ ถ้าไม่มีแม็กเน็ตมาเป็นคู่แข่ง ราคาอินเตอร์เน็ตของทรูต่อเดือน-คงแพงหูฉี่เหมือนเดิม

ก็ดีครับ สร้างรถไฟความเร็วสูงให้มันเส็จเร็วๆ ผมก็เบื่อที่จะเหตุการณ์หัวจักรรถไฟ-ไปดับกลางป่าเขาลำเนาไพร บางทีก็ต้องรอให้ขบวนอื่นแซงไปก่อน เพราะประเทศไทยดันมีแค่รางเดียว-ออกต่างจังหวัด (เจอบ่อยเหตุการณ์นี้)

ส่วนหนึ่ง อาเซี่ยน จะเป็นการค้าเสรีเต็มที่ ในปี 2558 ซึ่งการคมนาคม ก็ต้องพัฒนา ไม่ว่า จะรถไฟหรือ-ทางหลวง ก็ต้องมีการพัฒนา




โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 22/03/2011 13:35:10


ความคิดเห็นที่ 3


สหภาพแรงงาน เค้าจะยอมหรือครับ

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 22/03/2011 20:55:04


ความคิดเห็นที่ 4


ต้องขออภัยท่านเจ้าของกระทู้ครับ "อนุญาต" ครับ ไม่ใช่ "อนุญาติ"  เห็นเขียนผิดกันเยอะ ไม่ว่ากันนะครับ อนุญาต ไม่มีสระอิ ครับ ส่วนมีสระอิมีอันเดียวครับ "ญาติ" ครับ

โดยคุณ dakdam เมื่อวันที่ 22/03/2011 21:16:44


ความคิดเห็นที่ 5


จำง่ายๆ

ยาดติโก โหติกา  =  มีสระอิตรงคำว่า ติ  เช่นญิติพี่น้อง

 

ที่เหลือ ไม่มีญาติ ก็ไม่มีสระอิ  เช่น อนุญาต

โดยคุณ jaidee8008 เมื่อวันที่ 23/03/2011 00:49:52


ความคิดเห็นที่ 6


แก้ไข

เช่น ญาติพี่น้อง

โดยคุณ jaidee8008 เมื่อวันที่ 23/03/2011 00:50:36


ความคิดเห็นที่ 7


dakdam นี่คือตัวอย่างการแนะนำที่ดีในการใช้ภาษาไทย ไม่มีการเสียดสีใดๆ แนะนำด้วยใจเป็นธรรมใช้เป็นคำพูดที่น่าฟัง หวังว่าทุกท่านคงนำไปเป็นตัวอย่างในการแนะนำการใช้ภาษาให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในเวปนะครับ

โดยคุณ leeming เมื่อวันที่ 23/03/2011 00:55:23


ความคิดเห็นที่ 8


ความเห็น ท่านท้าวทองไหล น่าคิดนะครับ

 

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 23/03/2011 05:53:54


ความคิดเห็นที่ 9


ส่่วนตัวมองว่า การสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น ไม่น่าจะมีผลกระทบกับ รฟท. ครับ เพราะ รถไฟความเร็วสูงนั้นราคาค่าตั๋วโดยสารก็น่าจะสุงกว่ารถไฟทั่วไปอยู่พอสมควร ซึ่งประชาชนชาวบ้านก็ยังนิยมรถไฟแบบทั่วไปอยู่เนื่องจากราคาค่าตั๋วที่ต่ำ แต่ว่า รฟท. ก็ควรจะมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยแข่งกับรถไฟความเร็วสูงครับ เช่น ระบบรางคู่ ใช้รางแบบใหม่แทนรางแบบเก่าทีแคบ ไม่ต้องจอดรอขบวนสวนกันนานสองนานที่สถานีย่อยทั้งทั้งที่เป็นรถเร็วรถด่วนที่ไม่ต้องจอด ที่นั่งกว้างขวาง(ไม่ใช่คนตรงข้ามนั่งเมื่อยแล้วเหยียดขาไปยันที่นั่งตรงหว่างของคนตรงข้าม) แค่นี้ประชาชนก็นิยมกันมากมายครับ รฟท. สามารถทำให้ได้หรือไม่เท่านั้นครับ ส่วนรถไฟความเร็วสูงนั้นคาดว่าน่าจะเป็นที่นิยมในหมู่คนชั้นกลางขึ้นไปที่เน้นรวดเร็วสะดวกสบายเป็นหลัก แต่คู่แข่งของรถไฟความเร็วสูงนั้นน่าจะมาจากพวก โลว์คอสแอร์ไลน์ และ รถทัวร์ มากกว่าครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 23/03/2011 06:56:02


ความคิดเห็นที่ 10


คุณเด็กทะเล วิเคราะห์ได้อย่างน่าสนใจมากครับ

โดยคุณ composite-k เมื่อวันที่ 23/03/2011 07:57:36


ความคิดเห็นที่ 11


ให้ มันจริงเหอะ  ผมจะได้แอบไปกินข้าวต้ม ตอนกลางวันที่เชียงใหม่ 555

โดยคุณ CAPT.TOM เมื่อวันที่ 23/03/2011 09:01:53


ความคิดเห็นที่ 12


คงอีกนานครับแค่เวรคืนที่รถไฟรางคู่กทม.ถึงนครสวรรค์ยังมีปัญหาเลยที่ลพบุรีตรงปรางสามยอดกับเจ้าพ่อสามพระกาณต้องอ้อมไปตั้งไกลเลย

(บ้านเก่าอยู่ติดรถไฟที่นครสวรรค์ยังมีปัญหามากๆเลยเรื่องเวณคืนที่รถไฟรางคู่ที่บ้านก็โดนด้วยแค่รถไฟรางคู่นะไม่ใช้รถไฟความเร็วสูง)

โดยคุณ js เมื่อวันที่ 23/03/2011 09:20:41


ความคิดเห็นที่ 13


ที่แน่ๆ คือ สิ่งที่ผมต้องการมากที่สุดคือ "รางรถไฟ รางคู่" จากกรุงเทพฯ-อุบลฯ,กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,กรุงเทพฯ ถึง สายใต้สุด" พวกสายหลักๆ ทำให้มันเป็นรางคู่ก่อน (ออกต่างจังหวัด-ยังเป็นรางเดี่ยวอยู่)

มันต้องเป็นรางคู่ เส้นหนึ่งขาไป-เส้นหนึ่งขากลับ มันจะได้สะดวก (นี่ต้องจอดรอที่สถานีย่อย-เพื่อให้อีกขบวนหนึ่งแซงไปก่อน)

ทีทางหลวง สร้างเอ๊าสร้างเอา จาก 2 เลน เป็น 4 เลน ทางหลวง "รางคู่รถไฟ สร้างทีเหอะ พวกสายหลักๆ นะ"

พม่า ยังสร้างรางรถไฟคู่สายหนึ่งไปตั้งนานแล้ว ระยะทางก็ประมาณ 600 กว่ากิโลเมตร / ถ้าเทียบกะสายของไทย น่าจะสาย กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี

แค่รางคู่ ก็พอใจแล้วครับ ทำตัวนี้ให้มันได้ก่อน ในสายหลักๆ


โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 23/03/2011 10:28:07


ความคิดเห็นที่ 14


ก็ว่าแหล่ะครับ ถ้ารถไฟความเร็วสูง เกิดขึ้น ก็เป็นคู่แข่งตัวฉกาจของพวกสายการบินภายในประเทศ และ พวกบริษัททัว (คงต้องปรับตัวกันใหญ่เลยแหล่ะ พวกนี้)

แหม...อยากเห็นเร็วๆจัง รางคู่+รถไฟความเร็วสูง (ไปเที่ยวเหนือ-ไปเที่ยวใต้-ไปเที่ยวอีสาน คงเดินทางแป๊ปเดียว-ถึงที่หมาย)

อยากให้มันเกิดเร็วๆ จัง ครับ โอ๊ว...แม่เจ้า



โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 23/03/2011 10:42:32


ความคิดเห็นที่ 15


บ้านผมอยู่อุดร......อยู่ติดทางรถไฟด้วย จะโดนเวียนคืนที่ดินรึเปล่าเนี้ย....

โดยคุณ tao_kub เมื่อวันที่ 23/03/2011 11:43:13


ความคิดเห็นที่ 16


ความคิดส่วนตัวนะครับ  รถไฟความเร็วสูง ผู้ที่จะกระทบมากที่สุดคือ สายการบินมากกว่าครับ เพราะ ระยะเวลาทางเดินภายในประเทศระยะใกล้และระยะกลาง จะใ้ช้เวลาพอ ๆ กันเลย คงต้องมาดูที่ค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวว่าใครจะถูกหรือแพงกว่ากัน

โดยคุณ tantongs เมื่อวันที่ 24/03/2011 02:54:55


ความคิดเห็นที่ 17


จริงๆ แล้ว ทางรถไฟ ที่รถไฟ นับจากกึ่งกลางรางออกไปข้างละ 15 - 20 เมตร (ระยะทางอาจจะผิดพลาดขออภัย)  เป็นของการรถไฟ เพียงแต่ที่ผ่านมาให้เช่าบ้าง โดนโกงไปบ้าง (ตามที่เป็นข่าว) การสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ต้องใช้เงินเยอะ  เช่น ต้องยกระดับเมื่อผ่านชุมชน  ทางถนนที่ตัดผ่าน  ต้องสร้างรั้วกั้น คน และควาย ขึ้นมาบนทางรถไฟ  ที่เด็ดกว่านั้น แม้แค่ภาคเอกชนจะซื้อหัวรถจักร มาใช้ลากรถสินค้าเอง  การที่เอกชนจะมาซื้อเส้นทางบางสายวิ่งเหมือนแต่ก่อน อุปสรรค์ที่เรียกว่า "สหภาพแรงงานรถไฟ" ยังมีครับ บางอย่าง ผมเห็นด้วยกับสหภาพเลยครับ บางเรื่องอาจจะทำให้ไม่เจริญรุ่งเรือง แต่สมบัติของชาติ ถูกตกไปเป็นของเอกชน ก็ไม่ดีครับ  ปัญหาใหญ่ๆ คือต้องกลับไปดูกฏหมายล้อเลื่อน ที่ไทยใช้มาตั้งแค่ ๒๔๗๕ นู๊นมัง ฯลฯ แก้กฏหมายก่อนเป็นอันดับต้นๆ


โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 24/03/2011 04:04:39


ความคิดเห็นที่ 18


ที่จริงแล้วก่อนที่เริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูง ก็ควรจะปรับปรุงรถไฟไทยให้มันดีกว่าเดิม อย่างที่หลายๆท่านบอกมาว่าให้มีรางรถไฟคู่ผมว่ามันควรมีมานานแล้วแหละครับ

ยกตัวอย่างเช่นนั่งรถไฟจากกรุงเทพ-เชียงใหม่ใช้เวลาเป็นวันแต่ก็ได้นั่งกินบรรยากาศไปด้วยแต่มันหน้าเบื่อที่ต้องมาจอดสถานนีย่อยซึ่งมันก็นั่งจนเบื่อว่าเมื่อไหร่รถเราจะได้ออกสักกาที แหละนิ เซง

สู้ไปนั่งรถทั่วร์ นั่งแค่8-10ช.ม.แต่ก็อึดอัดอีกอ่ะครับมันเดินเล่นเหมือนรถไฟไม่ได้จะได้เดินทีก็ตอนจอดรถไปกินข้าวก็แค่นั้น ที่จริงก็ชอบรถไฟมากกว่ารถทัวร์นะครับ แต่บางทีมันก็ต้องใช้รถทัวร์เพื่อทำเวลาเหมือนกัน ที่ดินของรถไฟไทยก็มีอยู่แยอะแยะเหมือนกัน เห้นเป็นที่ล้างต้นหญ้าขึ้นเป็นดง ทำไมไม่ลองเอาที่ว่างเปล่ามาใช้ให้เป็นประโยด บ้างอ่ะครับ จะได้ที่ตังไปทำรางรถไฟคู่ ปรับปรุงหรือซื้อรถลากใหม่ ตู้ใหม่ จะได้ดึงลูกค้ากลับมาอีกครั้ง

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 24/03/2011 08:45:15


ความคิดเห็นที่ 19


สภาพประเทศไทยตอนนี้ อีกเดี๋ยวเรื่องนี้ก้เงียบครับ ก็รู้ๆกันอยู่ช่วงนี้มันช่วงโปร จุดพลุ อัดแคมเปญ เดี๋ยวก็หายไปกับกาลเวลาครับไม่ต้องห่วง

โดยคุณ ลมหมุนวน เมื่อวันที่ 24/03/2011 11:36:08


ความคิดเห็นที่ 20


ุ้ถ้าผมจำไม่ผิด แผนงานรถไฟรางคู่ กับแผนงานรถไฟความเร็วสูงคนละฉบับกันนะครับ 

คือ รฟท.จะพัฒนาคู่กันไปครับ อย่าพึ่งเข้าใจผิดคิดว่าจะทิ้งรถไฟของเรานะครับ

ส่วนจะได้ยังไงผมเอาหมดครับ เป็นจิ้งจกกิ้งก่า ปรับตัวได้ ตอนนี้นั่งรถทัวร์ก็สุขกายสบายจิตดีครับ

บริการตามระดับราคา ...ส่วนถ้ารถไฟความเร็วสูงมาผมว่า คงยากที่จะได้นั่งเ พราะค่าตั๋วแพงหูฉี่ พอๆกับค่าเครื่องบินอะคิดว่านั่งได้มะ

ไปกลับ กทม. -+-- ชม. เชียงใหม่ 10000 บาท

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 24/03/2011 11:49:56


ความคิดเห็นที่ 21


ถ้าราคาตั๋วมันแพงขนาด ก็คงจะหาคนขึ้นยากหล่ะครับ "ขนาดตั๋วเครื่องบิน-ยังไม่แพงขนาดนั้นเลย" ถ้าห้อง VIP ก็น่าจะอยู่ในระดับ 1,000-2,000 ต้นๆ นี่แหล่ะ (555+ คาดเดาไปได้นะเรา มันยังไม่ทันเกิดด้วยซ้ำ รอให้มันเกิดก่อน ค่อยว่ากันว่า ราคาตั๋วมันจะเท่าไร)

การจะร่วมทุนกะต่างประเทศ เห็นว่า รัฐ ถือครองหุ้นอย่างต่ำประมาณ 70% ส่วนหุ้นนอกนั้น เป็นส่วนของผู้ร่วมลงทุน

สหภาพแรงงาน - ประท้วง หรือ ไม่ยอม แต่กลับไม่ยอมพัฒนารถไฟมันเสียเอง-เพราะไม่มีตัง-ไม่มีทุน (เพราะการพัฒนาส่วนนี้ มันต้องใช้เงินทุนมากๆ เช่นกัน)

รัฐ-มีเงินทุนบางส่วน+มีอำนาจ/เอกชน-มีเงินทุนมาก} ต่างประเทศจึงร่วมมือกัน ไม่งั้นรถไฟจีน-ไม่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดหรอก

แต่อย่างแรก ก็อยากได้รางคู่ก่อน เช่น ทำรางคู่ในพื้นที่นอกตัวเมือง-ป่าเขาลำเนาไพร ที่มันทำได้ง่ายๆ ก่อน (ซึ่งก็มีพื้นที่มากโขและยาวเลยทีเดียว) ส่วนในตัวเมืองที่พื้นที่บางส่วนมีปัญหา รัฐก็ต้องเข้าไปเจรจา-แก้ปัญหา อย่างจริงจัง

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 24/03/2011 22:27:41


ความคิดเห็นที่ 22


     ถ้าจะมาใช้ภายในประเทศไม่น่าส่งเสริม แต่ถ้าต่างประเทศรอบบ้านเขามีลิงค์เส้นทาง

     ก็น่าจัดหามาใช้ เพื่อเป็นอีกทางเลือกของการเดินทางไปยังต่างประเทศ ด้วยราคาที่

     น่าจะต่ำกว่าเครื่องบินและกลุ่มที่กลัวความสูง และสามารถเพิ่มเม็ดเงินจากการท่อง

     เที่ยวจากต่างประเทศได้ ก็ดีน๊ะครับ

โดยคุณ kabinblade เมื่อวันที่ 27/03/2011 10:45:37