มีข่าวการวางโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ จ.อุบลฯ พร้อมข่าวการต่อต้านจากประชนชนชาวอุบล พี่ๆน้องๆ มีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงการนี้
วันนี้เลยเอาผลกกระทบจากอุบัติเหตุที่เชอโนบิวล์มาให้ดูกัน
ต่อไปนี้เป็นสาเหตุของระเบิดทำลายล้างที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล วิธีการดำเนินการเก็บกวาดที่มีผลกระทบต่อผู้คนมากมาย และ สถานะปัจจุบันของเชอร์โนบิล
ในวันที่ 26 เมษายน 2529 ได้เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ขึ้นที่หน่วยที่ 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน อดีตสหภาพโซเวียตโซเชียลลิส ทีมปฏิบัติการวางแผนที่จะทดสอบว่ากังหันจะสามารถผลิตพลังงานเพียงพอที่จะ ทำให้เครื่องปั๊มความเย็นทำงานเมื่อสูญเสียพลังงานหรือไม่ ก่อนที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซลฉุกเฉินจะเริ่มทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าของเครื่องปฏิกรณ์ขัดข้อง ระบบรักษาความปลอดภัยได้ถูกปิดโดยเจตนา และมีการลดกำลังไฟฟ้าของเครื่องปฏิกรณ์ลง 25% ซึ่งกระบวนการนี้ไม่เป็นไปตามแผน โดยกำลังไฟฟ้าของเครื่องปฏิกรณ์ลดลงเหลือต่ำกว่า 1% ดังนั้นจึงต้องเพิ่มกำลังไฟฟ้าขึ้นอย่างช้าๆ แต่ 30 วินาทีหลังเริ่มทดสอบ กำลังไฟฟ้าได้พุ่งสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิด และระบบหยุดทำงานฉุกเฉินของเครื่องปฏิกรณ์ (ซึ่งใช้สำหรับหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่) ล้มเหลว ธาตุของเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์ปะทุออก ทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ฝาปิดสนิทน้ำหนัก 1,000 ตันของเครื่องปฏิกรณ์ระเบิดออก อุณหภูมิมากกว่า 2,000 องศาเซลเซียสทำให้แท่งเชื้อเพลิงหลอมละลาย ตะกั่วดำที่ใช้เคลือบเครื่องปฏิกรณ์ติดไฟ และลุกไหม้เป็นเวลา 9 วันทำให้รังสีปริมาณมหาศาลกระจายสู่สิ่งแวดล้อม อุบัติเหตุครั้งนี้ปล่อยรังสีออกมามากกว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลงบนฮิโร ชิมา ประเทศญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 2488
การเก็บกวาดความพยายามในช่วงแรกๆ ที่จะดับไฟที่กำลังลุกไหม้เครื่องปฏิกรณ์ คือ การฉีดน้ำเย็นไปที่เครื่องปฏิกรณ์ หลังฉีดน้ำ 10 ชั่วโมง ไม่มีการดำเนินการใดต่ออีก ในวันที่ 27 เมษายน - 5 พฤษภาคม เฮลิคอปเตอร์ของทหารมากกว่า 30 ลำบินขึ้นเหนือเครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังลุกไหม้ และทิ้งตะกั่ว 2,400 ตัน และทราย 1,800 ตันลงไป เพื่อพยายามดับไฟและดูดซับรังสี ความพยายามดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ แท้จริงแล้วกลับทำให้สถานการณ์แย่ลง เพราะความร้อนได้ทับถมใต้วัสดุที่ถูกทิ้งลงไป ทำให้อุณหภูมิของเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นอีกครั้ง รวมถึงรังสีปริมาณมากถูกปล่อยออกมา ในช่วงสุดท้ายของการดับไฟ แกนของเครื่องปฏิกรณ์ถูกทำให้เย็นลงด้วยไนโตรเจน ไฟที่ลุกไหม้และการปล่อยกัมมันตภาพรังสีไม่สามารถถูกควบคุมได้จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม แม้จะเป็นอันตรายอย่างเห็นได้ชัด แต่การรับมือกับหายนะครั้งนี้ต้องใช้คน ไม่ใช่คนจำนวนน้อย แต่เป็นหลายพันคน ที่ต้องเสียสละชีวิตและสุขภาพเพื่อความพยายามที่เปล่าประโยชน์ในการควบคุม หายนะครั้งนี้ คนเหล่านี้ถูกเรียกว่า "นักกู้ภัย"
นักดับเพลิง 600 คน ของหน่วยดับเพลิงของโรงไฟฟ้า และทีมปฏิบัติการของโรงไฟฟ้าคือกลุ่มผู้ได้รับรังสีรุนแรงที่สุด โดยในกลุ่มนี้ 130 คนได้รับรังสีในปริมาณเท่ากับขีดสูงสุดต่อปีของการได้รับรังสีของคนงานรวม 650 ปี บุคลากรทางการทหารหลายพันคนและคนงานจากที่อื่นๆ ถูกเกณฑ์ไปช่วยเคลื่อนย้ายวัสดุกัมมันภาพรังสีที่อันตรายถึงชีวิต โดยมีการป้องกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
คนงาน 31 คนเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน 600,000 - 800,000 คนมีส่วนในการปฏิบัติการเก็บกวาดที่เชอร์โนบิลจนถึงพ.ศ. 2532 ในกลุ่มนี้ 300,000 คนได้รับรังสีเกินขีดสูงสุดสำหรับประชาชน 500 เท่าเป็นเวลา 1 ปี ปัจจุบันผู้ที่รอดชีวิตยังทุกข์ทรมานกับสุขภาพที่ถูกทำลาย
คำถามที่ว่า จนถึงปัจจุบันคนเหล่านั้นได้เสียชีวิตไปกี่คนเป็นคำถามที่เป็นที่โต้เถียง กันมาก หน่วยงานรัฐบาลในอดีตประเทศในสหภาพโซเวียต 3 ประเทศที่มีประชาชนได้รับผลกระทบระบุว่า จนถึงปัจจุบัน "นักกู้ภัย" ประมาณ 25,000 คน ได้เสียชีวิตลง แต่สมาคมเพื่อนักกู้ภัยทั้งหลายใน 3 ประเทศนี้ได้ประมาณการตัวเลขที่มากกว่าตัวเลขของทางการมาก ในทางตรงกันข้าม รายงานจากการประชุมเชอร์โนบิลในพ.ศ. 2548 ระบุตัวเลขของการเสียชีวิตของนักกู้ภัยที่น้อยกว่ามาก
ตัวเลขที่ไม่ตรงกันนี้เกิดจากวิธีการในการประเมินที่ต่างกัน นอกจากนี้สถิติของนักกู้ภัย (จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและปริมาณรังสีที่ได้รับ) ถูกบิดเบือนโดยหน่วยงานต่างๆ ของโซเวียต ดังนั้นจึงอาจไม่มีวันทราบตัวเลขที่น่าเชื่อถือที่สุดได้
การสิ้นสุดของหายนะ?
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2531 นักวิทยาศาสตร์ของโซเวียตประกาศว่า "โลงศพโบราณ" ที่ปัจจุบันใช้ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์นั้นถูกออกแบบให้มีอายุเพียง 20-30 ปี
3 ปีหลังเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล รัฐบาลโซเวียตสั่งหยุดสร้างเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 5 และ 6 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครบวงจรเชอร์โนบิล และหลังการเจรจาระหว่างประเทศที่ยืดเยื้อหลายครั้ง โรงไฟฟ้าทั้งพื้นที่ถูกปิดตัวลง 14 ปีหลังเกิดอุบัติเหตุในวันที่ 12 ธันวาคม 2543
โลงศพโบราณคืออะไร
หลังเกิดเหตุระเบิด มีการสร้าง "โลงศพโบราณ" (สิ่งห่อหุ้ม) ขนาดใหญ่ ที่ทำด้วยคอนกรีต เพื่อปกคลุมเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 ที่ถูกทำลาย โลงศพนี้ถูกออกแบบมาเพื่อหยุดการปล่อยรังสีเพิ่มขึ้นขึ้นสู่บรรยากาศ
ภาระกิจแรกในการควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ที่ลูกทำลายคือการสร้าง "แผ่นหินหนาสำหรับทำความเย็น" ใต้เครื่องปฏิกรณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเพลิงที่ยังร้อนอยู่เผาไหม้ผ่านหลุมที่ฐานเครื่อง ปฏิกรณ์ คนงานเหมืองถ่านหินถูกเกณฑ์ไปเพื่อขุดอุโมงค์ใต้เครื่องปฏิกรณ์ และภายในวันที่ 24 มิถุนายน คนงานเหมือง 400 คนสามารถสร้างอุโมงค์ยาว 168 เมตรใต้เครื่องปฏิกรณ์ได้สำเร็จ
The sarcophagus around the Chernobyl reactor.
โลงศพโบราณที่ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ที่เชอร์โนบิล ภายในเดือนพฤศจิกายน 2529 โลงศพโบราณที่ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ได้สร้างเสร็จสิ้น โดยใช้เหล็กกล้ามากกว่า 7,000 ตัน และคอนกรีต 410,000 ลูกบาศก์เมตร
โลงศพโบราณถูกออกแบบมาให้มีอายุ 20-30 ปี ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือความไม่มั่นคง เพราะมันถูกสร้างอย่างรีบเร่ง เหล็กที่เป็นคานหนุนถูกกัดกร่อน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อบูรณาการของโครงสร้างทั้งหมด น้ำได้รั่วซึมเข้าไปในโลงศพผ่านทางรูบนหลังคา และถูกปนเปื้อนด้วยกัมมันตภาพรังสี จากนั้นจึงไหลซึมผ่านพื้นเครื่องปฏิกรณ์ลงสู่ดินข้างใต้ นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าหายนะจากนิวเคลียร์ครั้งต่อไปในระดับความรุนแรงเท่ากับที่เชอร์โนบิลจะเกิดขึ้นอีกที่เชอร์โนบิล เนื่องจากมีเกราะป้องกันที่บอบบาง ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ในเครื่องปฏิกรณ์มีปริมาณ เท่าใด แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากประมาณการว่าเหลือมากกว่า 95% ของเชื้อเพลิงทั้งหมด นอกจากนี้ สิ่งที่ถูกทิ้งไว้ในโลงศพ คือ กากนิวเคลียร์เป็นพันคิวบิกเมตรที่เกิดจากชิ้นส่วนของเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูก ทำลาย นอกจากนี้ดินที่ปนเปื้อนยังถูกทิ้งไว้ในโลงศพด้วย
ที่มา :
http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/nuclear/nomorechernobyls/what-happened-in-chernobyl
http://news.bbc.co.uk
สภาพในปัจจุบันยังเป็นเมืองร้าง (The Lost City of Chernobyl)
ที่มา :
http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/nuclear/nomorechernobyls/what-happened-in-chernobyl
http://news.bbc.co.uk
ในที่สุด ผีตายซาก ก็มาโผล่ที่นี่จนได้
ภาพคุ้น ๆ เหมือนจะเคยไปมา (เข้าไปเล่นใน Call of Duty 6 : Modern Warfare ด่าน สไนเปอร์ เหมือนแปะ ๆ เลย มาจบด่านตรง ชิ่งช้าสวรรค์นี้และ ป้องกันพื้นที่ รอเครื่องบินมารับ) ผู้แล้วคิดถึงโหลดมาเล่นดีกว่า
ผลประโชน์ที่ได้จากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น มีมากนะครับ แต่ในทางกลับกันถ้าเกิดการ
สะเพร่าของมนุษย์หรือความประมาทของวิศกรภายในครับ
ถ้ามีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว ค่าไฟถูก ประเทศไม่ต้องสูญเสียรายได้ไปซื้อไฟเข้าจากต่างประเทศ ปีๆหนึ่งเรียกว่ามหาศาลครับ
ในความคิดหนึ่งผมก็อยากจะให้มีนะครับ อาจจะมาจากด้วยเรื่องของพลังงานในอนาคตที่จะต้องมีสิ่งทดแทน ถ้าคิดว่าพลังงานจากกังหัน เขื่อน และแผงโซล่าเซลแล้วละก็ลองมองกลับกันครับว่ามันคุ้มกับทั้งประเทศที่นับวันที่อัตราการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
แต่ก่อนที่จะมีการจัดสร้าง ควรมีการสร้างประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจซะก่อน และขั้นตอนเกี่ยวกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ นั้นละเอียดอ่อนมากครับ
อย่างที่กล่าว ทุกสิ่งทุกอย่างการควบคุมเตานั้นขึ้นอยู่กับวิศวกร ถ้าผิดพลาดก็เกิดเหตุครั้งใหญ่แน่นอน แต่ที่ผู้คนมักระแวงนั้นคือ ความมีระเบียบวินัยของคนไทยนั้นเองลองมองกลับกันซิครับแค่รถขนปลาคว่ำ ยังไปเอาของเขาแถมเปิดศึกแย่งชิงอีก เอาไปเปรียบกับญี่ปุ่นแล้ว มันช่าง . . . เสียจริง
ภาพคุ้น ๆ เหมือนจะเคยไปมา (เข้าไปเล่นใน Call of Duty 6 : Modern Warfare ด่าน สไนเปอร์ เหมือนแปะ ๆ เลย มาจบด่านตรง ชิ่งช้าสวรรค์นี้และ ป้องกันพื้นที่ รอเครื่องบินมารับ) ผู้แล้วคิดถึงโหลดมาเล่นดีกว่า |
โดยคุณ : spooky
+1 ชอบด่านนี้เหมือนกันเลย |
ภาพคุ้น ๆ เหมือนจะเคยไปมา (เข้าไปเล่นใน Call of Duty 6 : Modern Warfare ด่าน สไนเปอร์ เหมือนแปะ ๆ เลย มาจบด่านตรง ชิ่งช้าสวรรค์นี้และ ป้องกันพื้นที่ รอเครื่องบินมารับ) ผู้แล้วคิดถึงโหลดมาเล่นดีกว่า |
โดยคุณ : spooky |
เท่าที่จำได้ COD6 MW2ไม่มีฉากในเชอร์โนบีอยู่เลยนี่ครับจะมีก็แค่ที่ฉากสนามบินในมอสโควกระมัง ผมว่าเกมที่ท่าน spooky กล่าวถึงคงเป็นCOD4MWกระมังครับ
ฉากชิงช้าเคยเล่นเหมือนกันครับ คลาน ๆ หลบรถถังมายิงตัวปลอม
แต่คุณ spooky ครับ ตอนจบ ฮ. มารับครับ ...อิอิ
ภาพคุ้น ๆ เหมือนจะเคยไปมา (เข้าไปเล่นใน Call of Duty 6 : Modern Warfare ด่าน สไนเปอร์ เหมือนแปะ ๆ เลย มาจบด่านตรง ชิ่งช้าสวรรค์นี้และ ป้องกันพื้นที่ รอเครื่องบินมารับ) ผู้แล้วคิดถึงโหลดมาเล่นดีกว่า |
โดยคุณ : spooky |
Call of Duty 4 : Modern Warfare ครับ ไม่ใช่6
MW2ก็มีครับแต่เป็นโหมดออนไลน์ถึงจะมีจำชื่อแมพไม่ได้ ที่เป็นทุ่งหญ้ามีซากรถถัง ฉากหลังจะเป็นโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล
นั้น...โผล่ไป Call of Duty เฉยเลย..!!!
ผมยิง คนขับฮ. !!!!
ตกด้วย 555
เด๋วนี้เทคโนโลยีไปไหนๆแล้วไม่ต้องกลัวหรอก...ข้างๆบ้านเราเค้าก็สร้างคิดดีๆ......ถ้ามันตูมตามขึ้นมาเราก็ไม่รอดอยู่ดี...สร้างเหอะครับ
ผมคนหนึ่งละที่เห็นด้วยในการสร้าง อย่างที่ท่าน bird6757 บอกนั่นแหละครับเวียดนามมีโครงการที่จะสร้างตั้ง4-5 โรง เกิดเป็นอะไรไปเราก็รับเต็มๆ เหมือนกันเพราะฉะนั้นเรื่องอะไรเราจะต้องมารับกรรมโดยไม่ได้ใช้ ทุกวันนี้เทคโนโลยีทันสมัยมากครับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่รัสเซียคงจะไม่มีแบบนั้อีกแล้ว ส่วนที่ญี่ปุ่นก็เกิดจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของโรงไฟฟ้าเอง ต่อไปก็คงมีการออกแบบให้ดีกว่านี้ ที่สำคัญโรงไฟฟ้านิวเคียร์ของญี่ปุ่นที่ฟูกูชิมา ก็สร้างมาตั้งสี่สิบปีแล้ว
สร้างเถอะครับ ประเทศไทยจะได้ไม่ต้องพึ่งพาเพื่อนบ้านในการซื้อไฟฟ้า