คืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ไปดูหนังมหากาพย์ที่กระผม(และหลายๆคนก็คง)รอคอยมานานแสนนาน
ตามที่ได้นั่งดูมาก็ค่อนข้างจะผิดหวังนิดๆ ทั้งเรื่องดนตรีประกอบฉาก, ระบบบันทึกเสียง, การเดินเรื่อง
การผูกเรื่องและเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกัน คาแรคเตอร์ของตัวประกอบ แบบว่ามันขัดๆยังไงก็ไม่รู้นะ
สรุปว่า ไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ รบกวนท่านสมาชิกที่ได้ดูมาแล้ว ช่วยวิเคราะห์ในมุมมองของแต่ละท่านให้กันฟัง
ขอบคุณครับ
หลังจากที่รอมาเกือบ2ปี แล้วไปนั่งดุ ผมขอบอกตรงๆว่าไม่ประทับใจเช่นกัน ทั้งการดำเนนเนื้อเรื่องจุดโฟกัสบางส่วน ไปตกอยู่กับ ออกพระราชมนู กับความรักหลายเศร้า?? จนแปลกใจว่านี่เป็นหนังเกี่ยวกับอะไร ไม่อยากให้โฟกัสไปที่เลอขิ่นมากนัก(จนถึงตอนนี้ผมไม่สามารถหาข้อมูลที่ยืนยันถึงการมีตัวตนของเจ้านางคนนี้ในประวัติศาสตร์ได้เลย)
ฉากสงครามที่ พระยาพะสิม เดินทัพเข้าหาทางปืนของเจ้าพระยาจักรีดูไม่สมจริงเอามากๆ เหมือนตั้งใจเดินให้ปืนใหญ่ยิงเฉยๆ
ฉากสมครามกับพระเจ้าเชียงใหม่ ถูกตัดลดบทบาทลงจากพระราชพงศาวดารไปเสียมาก ร่วมถึงการที่พระนเรศวรจะลงโทษพระราชมนูด้วยการตัดหัวเพราะทำผิดกฏอัยการทัพ
ทำให้ผมกลับมาคิดๆดู ว่าภาคนี้จะสื่ออะไรมาให้คนดู หรือจะสื่อความรักความเสียสละ ระหว่างพระนเรศวร กับพระเอกาทศรถ ออกมาเพื่อสร้างกระแสให้คนไทยรักกัน??
ฉากบางฉากยืดมากเกินไป บางฉากก็ตัดจนสั้น
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวน่ะครับ
การที่พระนเรศจะลงพระอาญาพระราชมนูตามกฎอัยการทัพมีจริงในประวัติศาสตร์น่ะครับ
เพราะพระประสงค์ของพระนเรศออกอุบาย ให้พระราชมนูแสร้งแพ้เพื่อให้ทหารเชียงใหม่ตามตีลงมาแบบไม่เป็นกระบวน แต่ว่าพระราชมนูกลับไม่ยอมถอยทัพหนำซ้ำยังฝืนรบต่อไปจนสู้เสียไพร่พล สมเด็จพระนเรศต้องส่งทหารไปตามถึงสามครั้ง โดยครั้งที่สาม พระองค์มีพระบัญชาให้ผู้ที่ขึ้นไปตามนำพระแสงดาบของพระองค์ไปด้วย ดีร้ายประการใดพระราชมนูไม่ถอย ก็ให้ตัดหัวพระราชมนูลงมาเลย
หลังศึก พระองค์มีพระบัญชา ให้ประหารออกพระราชมนู แต่ว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ทรงร้องขอชีวิตไว้ให้ครับ
ประวัติศาสรตืไทยนี่แหละทั้งสนุกทั้งคลุมเคลือ - -
"ร่วมถึงการที่พระนเรศวรจะลงโทษพระราชมนูด้วยการตัดหัวเพราะทำผิดกฏอัยการทัพ" ใช่เลยครับ จบฉากนี้ไป ไอ้กระผมก็นั่งลุ้นไปเดาไปว่าจบศึกพระเจ้าเชียงใหม่นี้แล้ว พระราชมนูญจะถูกลงโทษอย่างไร นึกว่าจะมีจุดหักมุมอะไรเล็กๆ เช่นเกิดวิกฤติความจงรักภักดีพระนเรศโดนเป่าหูให้ลงโทษพระราชมนูญแบบหนักๆ แล้วมารู้ซึ้งถึงความจงรักภักดีภายหลังแล้วช่วยกันตีหักศรัตรูให้ถอยพ่าย ที่ใหนได้ หักมุมจริงๆครับ...หักจนงง ผมก็กลับมาคิดว่า การทำหนังอิงประวัติศาสตร์มันยากขนาดนี้เลยเชียว แล้วอีกอย่างบทบาทของนักแสดงตัวประกอบที่ท่านมุ้ยได้กล่าวไว้ก่อนหนังลงโรงว่าได้เพิ่มเข้ามาเพื่อเพิ่มสีสันของหนังนี่ มันทำให้หนังดูสนุกขึ้นก็จริงมีฮามั่ง อะไรมั่ง แต่สำหรับผมแล้ว ไม่ได้คิดว่าหนังที่ผมรอคอย จะออกมาในรูปแบบนี้เลย แต่ถึงอย่างไร ก็จะรอดูภาค 4 ต่อไปครับ
ผมดูแล้วก็ไม่ชอบครับ
จะไปดู 2 คน นี้ ใส่ชุดแบบนี้ -_^
ดูแล้วเฉยๆครับตามที่หลายๆท่านกล่าวหนังโฟกัสผิดจุด
แต่โดยรวมแล้วก็สนุก ผมพยายามดูเพื่อความบันเทิงโดยจะไม่คอยนั่งจับผิดไรมากมายเดี๋ยวจะเสียอรรถรสในการชม
ก็สนุกดีครับ แต่ดูเหมือนประวัติศาสตร์ในพงศวาดารกรุงศรีอยุธยา ตอนยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุมันเกิดก่อน ส่งครามเมืองคัง และก่อนประกาศอิสรภาพ ผมก็ไม่เข้าใจว่าท่านมุ้ยทำไมถึงเอามาผูกโยงกับภาคนี้ตอนต้นๆเรื่อง จนทำให้เนื้อหาตอนรบกับพระยาพะสิม กับพรเจ้าเชียงใหม่น้อยเกินกว่าที่ควรจะเป็น
กรณีนี้ท่านมุ้ย ได้ตอบในพันทิปแล้วครับ ว่าเอาบทมาผูกกันครับ ไม่ได้อิงตามประวัติศาสตร์ของช่วงเวลาจริงครับ แต่เนื้อหานั้น อึงตามพงศดารทั้งหมดครับ
ผมไม่ไปดูสักภาคเลยครับ รับไม่ได้กับพระนเรศวรทรงเกราะ บิดเบือนมากๆ ม้าก็ด้วยหุ้มเกราะเฉยเลย ปืนก็ยาวเกินความเป็นจริงมาก
เติมคำว่าตำนานแล้วจะทำอย่างไรก็ได้หรือครับ?
ดูแล้วฉากสวยคับแต่กำกับได้มั่วแล้วไม่สมจิงเรยคับ
ภาคนี้อาจจะสร้างความไม่ประทับใจในบางแง่มุมครับ เช่นเน้นความรักของพระราชมนูมากเกินไป แต่ผมชอบตรงที่เสนอเนื้อหาได้ตรงกับภาคของหนังว่า "ยุทธนาวี"
จากการไปค้นในอินเตอร์เน็ทก็พบว่าจริงครับที่พระนเรศวรรบกับพระยาจีนจันตุก่อนประกาศอิสระภาพ แต่ผมว่าท่านมุ้ยต้องการเสนอว่าพระนเรศวรได้ไอเดียการรับมือการรบกับพม่าในครั้งนี้มาจากการรบเพื่อจับตัวพระยาจีนจันตุ ซึ่งในฉากหนังแสดงอำนาจและพลังของเรือปืนให้เราเห็นครับว่า เรือสำเภาจีนขนาดเล็กแค่บรรทุกปืนใหญ่ 12 กระบอก(ถ้านับไม่ผิด) ก็สามารถถล่มด่านขนอนเราจนกระจุยได้ แม้พระนเรศวรจะยกพลตามมาทันและมีจำนวนคนมากกว่า(จำนวนเรือก็มากกว่าด้วย)แต่ก็ไม่สามารถจะจับพระยาจีนจันตุได้ เนื่องจากเจอยุทธวิธีที่ชาญฉลาดและอำนาจการยิงของเรือปืนที่เหนือกว่าเรือทุกลำของฝ่ายเราที่ไล่ล่า พระเอกาทศรถต้องเสี่ยงเอาเรือเข้าขวางทางปืนใหญ่บังเรือพระนเรศวรให้พ้นการยิงของเรือจีนลำนี้ ต้องยอมรับว่าศึกครานั้นฝ่ายพระยาจีนจันตุรบชนะและสามารถหนีเอาตัวรอดไปได้
แต่ท่านมุ้ยคงต้องการสื่อชัดเจนว่าจากประสบการณ์รบกับพระยาจีนจันตุ พระนเรศวรท่านจึงเห็นว่าอำนาจการรบด้วยอาวุธที่ทันสมัยมากๆสามารถทำให้ผลการรบเปลี่ยนแปลงได้มหาศาลแม้ว่ากำลังพลจะมีน้อยกว่ากันเป็นสิบเท่าครับ ท่านจึงเสนอให้ใช้กองเรือรบซึ่งระดมจากทั้งสำเภาจีนและเรือพวกโปตุเกสเข้าทำการรบ โดยระดมยิงทัพพม่าสายหนึ่งให้แตกพ่ายได้ด้วยอำนาจการยิงอันมหาศาลของกองเรือปืน และสามารถตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่ที่มีกำลังพลมากกว่า80000 ให้ย่อยยับได้ด้วยการหลอกล่อให้ข้ามลำน้ำเข้ามาสู่ที่โล่งและมีที่สูงล้อมรอบซึ่งเป็นพื้นที่สังหารตามยุทธวิธีการรบสมัยใหม่แป๊ะ โดนถล่มทั้งปืนเล็กปืนใหญ่สาระพัด หนังแสดงให้เห็นว่าทหารฝ่ายพระนเรศวรยืนดูข้าศึกถูกถล่มโดยที่ตัวเองแทบไม่ต้องวิ่งเอาดาบไปไล่พันเลย พอทัพข้าศึกจะถอยร่นหนีข้ามลำน้ำ นั่นล่ะท่านจึงสั่งให้ไพล่พลเข้าตามตีโดยใช้ดาบ(อาวุธที่ล้าสมัยไปแล้วสำหรับยุคนั้น)เพื่อเผด็จศึกไม่ให้ข้าศึกกลับไปตั้งลำได้ใหม่ในค่าย
ยุทธวิธีที่พระนเรศวรท่านใช้ต้องขอบอกเลยครับว่าทันสมัยสุดๆแล้วในยุคนั้น แม้แต่เสด็จพ่อของพระองค์ก็ยังไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่พระองค์เข้าใจได้ แสดงว่าพระนเรศวรท่านได้คิดยุทธวิธีการรบกับพม่ามาก่อนที่ท่านจะไปหงสาแล้วประกาศอิสระภาพ คงประเมินแล้วว่าฝ่ายตนจะสามารถทำการเอาชัยได้แม้ว่ากำลังรบต่างกันมากก็ตาม
จากภาค 2 เองเพื่อนๆก็จะเห็นว่าพระนเรศวรท่านได้วางหน่วยปืนใหญ่และปืนเล็กที่ทันสมัยที่สุดไว้รั้งท้ายเพื่อยันทัพสุระกัมมา โดยวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับปืนใหญ่และปืนเล็ก ท่านต้องการสงวนกำลังพลไว้ให้มากที่สุด การรบตรงนี้ครั้งสุระกัมมาต้องเสียไพล่พลจำนวนมากจากอาวุธไฮเทคเหล่านั้น จึงได้ส่งหน่วยปืนใหญ่และปืนเล็กของตนมาดวลปืนกับทัพหลังของพระนเรศวร แสดงว่าสุระกัมมาเข้าใจในการรบด้วยอาวุธทันสมัยเหล่านั้นครับ จากภาคสองแสดงว่าพระนเรศวรท่านได้ทำการวางแผนการถอยมาก่อนแล้วครับ
ผมต้องยอมรับครับว่าพระนเรศวรเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในอยุธยาที่เข้าใจการยุทธ์โดยใช้อาวุธทันสมัยล้ำยุคได้อย่างทรงประสิทธิภาพมาก น่าเสียดายที่ท่านต้องสิ้นไปก่อนไม่เช่นนั้นระบบกองทัพของเรายุคนั้นอาจจะเปลี่ยนโฉมไปทังหมดด้วยการจัดทัพรูปแบบยุโรปและการมีกองเรือปืนอันทรงพลังซึ่งมีกษัตริย์พม่าเพียงพระองค์เดียวเช่นกันที่ทรงเข้าใจในสิ่งนี้ นั่นคือ บุเรงนองครับ
สมัยบุเรงนองนั้นพม่ามีเรือปืนขนาดใหญ่ถึง 7 ลำ และมีปืนไฟในระวางทัพถึง 8 หมื่นกระบอก ปืนใหญ่อีกนับร้อยๆกระบอก เข้าใจถึงผลกำไรมหาศาลจากการค้าระหว่างประเทศและวิทยาการชั้นสูงจากตะวันตก มีกษัตริย์ไทยอีกพระองค์ที่เข้าใจในเรือการค้าระหว่างประเทศและวิทยาการชั้นสูงจากตะวันตก นั่นคือ พระนารายณ์มหาราชครับ ซึ่งยุคนั้นเรามีวิทยาลัยถึง2 แห่ง สามารถต่อเรือปืนระวาง 300 ตันซึ่งเป็นระวางขนาดของเรือฟรีเกต คือ เรือหลวงละโว้และเรือหลวงสยาม สามารถหล่อปืนใหญ่คุณภาพสูงเองได้ รวมทั้งมีปืนครกใช้ด้วยซึ่งสมัยนั้นปืนครกนี่ถือว่าเป็นอาวุธรุ่นล่าสุดของตะวันตก