หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


รวบรวมมาให้อ่านเล่นๆ กันครับ เกี่ยวกับ"เรื่องเกราะรถถัง" เข้ามาอ่านดู

โดยคุณ : Troll เมื่อวันที่ : 09/05/2011 00:09:13

สวัสดีครับ วันนี้มีเรื่องมาที่อ่านมา เล่าต่อๆกันฟังให้ผู้สนใจและก็ผู้ที่รู้แล้ว ก็สามารถอ่านและเสนอความคิดเห็นกันได้ ครับ

         วันนี้ก็มากล่าวถึง รถถัง Tank กันครับ แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องงบประมาณจัดซื้อนู้นนี้นะครับ  ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ

เกราะของรถถัง   Armor plate   พอผมพูดถึงเกราะก็นึกถึง  Depleted Uranium (DU) กันทันที

ไอ้เจ้า  Depleted Uranium (DU) เนี้ย มีความหนาแน่นถึง  19050 kg/m³  ง่ายๆก็คือมันหนาแน่นกว่าน้ำ 19 เท่า ( น้ำ 1000  หรือเทียบกับ คอนกรีต 2400 kg/m³    คอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตรหนัก 2.4 ตัน  แต่เจ้า DU 1 ลบ.ม.หนักถึง 19 ตัน





ความคิดเห็นที่ 1


ก่อนจะไปรู้จัก Chabham Armour  มารู้ความเป็นประวัติ กำเนิดของเกราะรถถังกันก่อนครับ

       ในปี ค.ศ.  1918  นาย Neville Monroe Hopkins วิจัยค้นพบ Ballistic steel  ซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งแกร่งสูง มาเคลือบบางๆ 1-2 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันการเจาะทะลุ  พอมาถึงยุคปี 1960  อเมริกาก็ได้มีโปรแกรมการวิจัยเกราะยานยนต์โดยวัสดุผสมระหว่างเซรามิคกับโลหะ ในการวิจัยนี้ มุ่งไปที่อลูมิเนียมโครงสร้างผลึกเมทริกส์ (โลหะ) กับเสริมแรงโดย ซิลิกอน คาร์ไบด์( เซรามิค)   นำไปประกบเหมือนแซนวิส กับโลหะเหล็ก และก็ใช้ประโยชน์จากความลาดเอียงของเกราะ เพื่อป้องกันการกระสุน  Kinetic Energy Penetration (KE) และ high explosive anti-tank (HEAT) และมีการเลือกใช้วัสดุประเภทไฟเบอร์กลาสมาเคลือบแซนวิสกับเหล็ก เหมือนกับทางรัสเซีย ในยุค T-64  อเมริกาได้ทราบข้อมูลเมื่อถูกเปิดเผยหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย

โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 13:32:06


ความคิดเห็นที่ 2


และในแต่ละประเทศต่างๆ ก็เริ่มพัฒนาเกราะของตนเอง

1960 อังกฤษก็พัฒนาเกราะเช่นเดียวกัน โดยทีมวิจัย Gilbert Harvey  โดยมุ่งเน้นไปที่วัสดุเซรามิคโครงสร้างผลึกรังผึ้ง ผสม Ballistic ไนลอน

 

ในปี 1973 ขณะที่โครงการ MBT-70 ของเยอรมันยังคงไม่สำเร็จ   อเมริกาก็ได้วิจัยต่อยอดไปเป็นเกราะรุ่นใหม่สำหรับรถถังต้นแบบ XM815 และพัฒนารุ่นต่อไปๆ เพื่อต้านทานต่ออาวุธของรัสเซียที่พัฒนามาสู้กับเกราะรุ่นใหม่ๆ

 

ในปี 1974 อเมริกาและเยอรมันได้ร่วมกันวิจัยเกราะ Chobham Armour เพื่อเป็นเสนอตัวเลือกเกราะของรถถังหลัก มีการเสนอโดยการเติมเซรามิค โพลี-สตาลีนโฟม ในช่องว่างระหว่างลามิเนตหลายช่องในโครงสร้างของเกราะ

โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 13:34:43


ความคิดเห็นที่ 3


เข้ามาปาดแล้วรออ่าน  ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับข้อมูลครับท่าน Troll

โดยคุณ ลมหมุนวน เมื่อวันที่ 07/05/2011 13:43:06


ความคิดเห็นที่ 4


           ภายหลังได้มีการพัฒนาเปลี่ยนวัสดุมาเรื่อยๆ เพราะว่าอำนาจการเกราะของอาวุธและระบบอาวุธนั้นดีมากขึ้น  เช่น แผ่นโบรอน-คาไบด์และเรซินกลาส       ทังสเตนอัลลอยในชาแลนเจอร์2   Depleted Uranium (DU) ใน M1 Abrams และอีกตัวคือ  Titanium Carbide Modulas

โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 13:43:28


ความคิดเห็นที่ 5


 ขอนอกเรื่องแปปหนึ่งครับ  เห็นรายการนักช๊อป ตัวยง เลือก M1ไปใช้ แต่ อเมริกา เขาดาว์นเกรด โดยการตัด DU Armour ทิ้งออกหมดไม่ว่าจะเป็น 

 

 ออสเตรียเลีย  59 คัน  อิยิปต์ 1005 คัน  อิรักที่จะ นำมาประจำการ 140 คัน  คูเวต 218 คัน ซาอุดิอาระเบีย 374 คัน     

โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 13:50:30


ความคิดเห็นที่ 6


 การพัฒนาเกราะ ในอังกฤษเกิดความล่าช้าเพราะเนื่องมากจากการล้มเหลวของโปรเจคหลายๆครั้ง จึงร่วมกับเยอรมันในโครงการรถถังหลัก และอังกฤษได้เน้นพัฒนาเกราะในยานยนต์ประเภท IFV ทำให้ยานเกราะมีขนาดเบากว่าเดิม 10 เปอร์เซนต์จากการป้องกันระดับเดียวกัน

ได้พัฒนาเกราะใน รถถัง FV 4211 และได้พัฒนาระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนโปรเจคถูกยกเลิกไป แต่รัฐบาลอินหร่านตัดสินใจซื้ออัพเกรด Shir-2 (FV 4030/3) ซึ่งใช้เทคโนโลยี Chobham ซึ่งมีน้ำหนักรวมทั้งสิ้น 62 ตัน แต่ยูกยกเลิกไปเพราะว่า เกิดปฎิวัติในอิหร่าน   ภายใต้แรงกดดันจาก รัสเซีย ทำให้อังกฤษใช้กำลังการผลิตที่เกินมาส่วนนี้ ออกแบบ มาเป็น ชาเลนเจอร์ 1 ประจำการ  1983 

โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 14:27:06


ความคิดเห็นที่ 7


Chobham Armour เวอร์ชั่นสุดท้ายในชาแลนเจอร์2 หรือเกราะรุ่นนี้ถูกเรียกว่า Dorchester armour แต่ Chobham Armour ในตระกูล M1 Abrams ต่างกัน วัสดุภายในเกราะ ใน M1 Abrams เป็นซิลิกอนคาร์ไบด์ และดูเหมือนจะได้ติดตั้งแผ่นอลูมิน่าและDU  และยังไงเทคโนโลยีของเกราะยังคงถูกเปิดเป็นความลับ โลหะที่ผสม และสัดส่วน ต่างๆ เพื่อคุณสมบัติการต่อต้านการเจาะ

โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 14:39:42


ความคิดเห็นที่ 8


ซิลิกอน คาร์ไบด์ ...


โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 14:46:19


ความคิดเห็นที่ 9


M1A1 Abrams ระดับความของเกราะ ในปี 1991
ในสงครามอ่าว 1991
ต้านการปะทะ KE  
ต้านการปะทะ HEAT
ป้อม
600 - 680 มม. RHAe
1,080 - 1,320 มม.RHAe
ส่วนหน้า
560 - 590 มม.RHAe
510 - 800      มม.RHAe
ตัวถัง
580 - 630 มม. RHAe
800 - 900      มม.RHAe

 

* RHAe คือ กระบวนการรีดร้อนเหล็ก เพื่อปรับปรุงคุณภาพ จากกระบวนการนี้ทำให้โครงสร้างเหล็กมี Gainที่ยาวและละเอียด มีผลทำให้กำลังวัสดุลดลง แต่ได้ความเหนียวเพิ่มขึ้น  พอดีจบวิศวมาก็พอมีความรู้นิดหน่อย

โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 15:47:37


ความคิดเห็นที่ 10


M1A1 Abrams  - ระดับความป้องกันของเกราะ ปี 2002
M1A1HC, M1A1HA, M1A1D
ต้านการปะทะ KE 
ต้านการปะทะ HEAT
ป้อม
800 - 900มม. RHAe
1,320 - 1,620 มม. RHAe
ส่วนหน้า
560 - 590มม. RHAe
510 - 1,050   มม. RHAe
ตัวถัง
580 - 650มม. RHAe
800 - 970      มม. RHAe
 

 

 

ทั้งสองแบบ  มี Depleted Uranium DU อยู่ด้วย    

โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 15:54:24


ความคิดเห็นที่ 11


ในเมื่อมีเกราะที่หนา  การเจาะก็ต้องการ กระสุนที่มีอำนาจการเจาะมากขึ้นตามลำดับ 

สำหรับ M1 Abrams ปิน 120มม. M256 ที่สามารถยิง  M829A1,A2,A3     APFSDS-T (Armor Piercing, Fin Stabilized Sabot and Tracer)  M830 High Explosive Anti-Tank (HEAT)


โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 16:22:51


ความคิดเห็นที่ 12


งั้นมาดูของรัสเซียคราวๆ แม้ไม่ได้ พูดถึงฝ่ายรัสเซียเลย - - ซักนิด ไม่ได้เอียงเอน แต่ไม่มีเวลาพิมพ์จริงๆ

จัดตัวเด่นพี่แกเลย T-90

T-90S  -   ระดับความป้องกัน
T-90S + Kontakt-5 ERA
ต้านการปะทะ KE 
ต้านการปะทะ HEAT
ป้อม
750 - 920  มม.RHAe
1050 -1340  มม.RHAe
ส่วนหน้า
670 - 710  มม.RHAe
990 - 1070   มม.RHAe
ตัวถัง
240          มม.RHAe
380             มม.RHAe
 

ที่เด็ดก็น่าจะอยู่ที่ เกราะ ERA เริ่มวิจัยโดยชาวเยอรมัน โดยติดตั้งแผ่นพื้นวัตถุระเบิดโดยติดแซนวิสกับชั้นเหล็ก  เมื่อหัวกระสุนยิงเข้ากระทบที่เกราะ เกิดระเบิดแผ่นโลหะผลักออกเพื่อสร้างความเสียหายแก่หัวเจาะ   .... 


โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 16:50:19


ความคิดเห็นที่ 13


T-72 ติด ERA


โดยคุณ Troll เมื่อวันที่ 07/05/2011 17:08:06


ความคิดเห็นที่ 14


เกราะเสริม ERA นับว่าใช้ได้ผลดีในช่วงสงครามระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับช่วงปีทศวรรษที่ 80 ครับ

แต่พัฒนาการของจรวดต่อสู้รถถังยุคใหม่ในทศวรรษที่ 90 ทำให้เกราะเสริม ERA ถูกท้าทายมากขึ้น

เนื่องจากได้มีการพัฒนาหัวรบเจาะเกราะ 2 ชั้น / โจมตีจากด้านบน ซึงเป็นจุดอ่อนของรถถัง

ตัวอย่างในกรณ๊สงครามกลางเมืองในอดีตยูโกสลาเวีย รถถัง M-84 (T-72 v Yugo) ถูกทำลายลงเป็นจำนวนมากจากการยิงของ อาวุธนำวิถี HJ-8 ของจีน ด้วยการยิงเพียงครั้งเดียว แม้แต่มุมด้านหน้าของรถถัง

ส่วนเหตุเหตุการณ์อื่นๆ เช่นในเชคเชน ในอีรัก ในเลบานอนที่กล่าวถึง Kornet-E, RPG-29 ที่มีหัวรบเจาะเกราะ 2 หัวรบ ตามบทความของ

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ ตาม link คับ

https://sites.google.com/site/ana1081009/tha-ha-nth-har/rth-thang-1/phay-khukkham-khxng-rth-thang-yukh-paccuban

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 08/05/2011 04:01:32


ความคิดเห็นที่ 15


เกราะยูเรเนี่ยมของM1A1มีปัญหารุนแรงกับทหารประจำรถถัง ที่โดนกัมนตรังสีที่ยังคงมีตกค้างในกากยูเรเนี่ยมที่เอามาทำเกราะรถถังM1จากรายงานข่าวที่เคยติดตามมีผู้เป็นมะเร้งจำนวนมากในทหารอเมริกันที่ไปรบที่อิรักก็ด้วยซึ่งต้องอยุ่ในรถถังเป็นเวลานาน มันจึงเป็นเกราะที่น่ากลัวต่อผู้ใช้มากที่สุด

โดยคุณ Joke1oo เมื่อวันที่ 08/05/2011 13:09:15