บางท่านกล่าวว่า เครื่องบิน Gripen ประเทศไทยมีความต้องการก่อนรัฐบาล คมช
ชนิดที่ว่า เครื่องบินเปิดตัวจากสายพานการผลิตใหม่ๆ เท็จจริงแค่ไหนครับ
จขกท. อยากบอก หรือ อยากรู้กันแน่ อ่านหัวกระทู้ กับข้อความในกระทู้แล้วงง
งั้นบอกแค่ว่าการเลือกพิจารณา บข.20 ซึ่ง Gripen เป็นหนึ่งในตัวเลือกนั้น
เกิดก่อน คมช.ครับ ตอนนั้น คมช.ยังไม่เป็นวุ้นเลย เกิดตอนช่วงที่มีข่าวลือว่า
ไทยจะเอาไก่ไปแลกเครื่องบิน SU-30 นั่นแหละ
สมัยอดีตนายกทักษิณก็เคยให้ความสนใจกริฟเพนครับแต่ข่าวก็เงียบไป
เข้ามางงอีกคน กับคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ(มั้ง)
แต่เห็นด้วยกับการเข้าประจำการ ครับ เหมาะกับประเทศเรา เศษฐกิจแบบเรา
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ ของ ทอ.ไทย ตามสมุดปกขาว ที่แจกประชาชน ครับ เกิดขึ้นก่อนปี ๒๕๔๖ แต่เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี เลยเลื่อนมาเป็น ๒๕๔๙ ครับ (เลยเป็น ยุค คมช. ซึ่งบางคนเลยโยงเป็นเรื่องการเมือง) ซึ่งเราเคยพูดกันแล้วว่า มีทั้งหมด ๕ แบบ (มาจากทั้ง อเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และสวีเดน) สรุปว่า GRIPEN 39C/D ได้รับเลือกครับ ต้องย้อนกลับไปดูครับว่า ปี ๒๕๔๖ GRIPEN 39 C/D เปิดสายการผลิตหรือยัง ตอนนั้น A/B อาจจะปิดสายการผลิต มังครับ เลยสรุปคำพูดว่า ตอนที่เราคิดว่าจะซื้อมันปิดสายการผลิต ในรุ่น A/B หรือเปล่าครับ
การจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการเสนอโครงการของกองทัพอากาศและขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีกรณีจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ JAS-39 (Gripen) เพื่อทดแทนเครื่องบิน ขับไล่ F-5 B/Eเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ เพื่อเป็นการชี้แจงถึงความจำเป็นในการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของกองทัพอากาศ ให้กับพี่น้องประชาชนได้ทราบ และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการต่างๆ ของกองทัพอากาศอย่างโปร่งใสและสุจริต โดยผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้กล่าวสรุปใจความว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ ให้กองทัพอากาศ ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) ระยะที่ ๑ จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ การฝึกอบรม การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน และอาคารสถานที่ ระหว่างปี ๒๕๕๑ ถึงปี ๒๕๕๕ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๙,๐๐๐.- ล้านบาท โดยใช้งบประมาณของกองทัพอากาศที่ได้รับ การจัดสรรตามปกติประจำปี นั้น
กองทัพอากาศขอชี้แจงสาระสำคัญของความเป็นมา และความจำเป็นในการจัดหาตลอดจนขั้นตอน การดำเนินงานจัดหาเครื่องบิน และประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ สรุปได้ดังนี้
ความเป็นมาและความจำเป็นของโครงการ
กองทัพอากาศได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร รวมทั้งการพัฒนาประเทศและการรักษาผลประโยชน์ของชาติ จึงเป็นความรับผิดชอบของกองทัพอากาศ ในการดำรงขีดความสามารถและเสริมสร้างกำลังทางอากาศ ให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย บูรณาภาพแห่งดินแดน และความมั่นคง รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ของชาติให้ปลอดภัยจากการคุกคามในรูปแบบต่างๆ กองทัพอากาศ ต้องเตรียมกำลังทางอากาศให้พร้อมปฏิบัติการเพื่อป้องกันประเทศ ในมิติของการป้องกันทางอากาศ กองทัพอากาศ จึงต้องมีเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่มีจำนวน และคุณภาพที่เพียงพอ เหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจ ในช่วงเวลา ที่ผ่านมากองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) เข้าประจำการ โดยเครื่องบินดังกล่าวถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีของยุคเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา และได้ประจำการปฏิบัติภารกิจมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งในปัจจุบันมีปัญหาระบบส่งกำลังและซ่อมบำรุง ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ และความปลอดภัยในการบิน ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) ที่ประจำการอยู่นั้น ใกล้จะครบกำหนดอายุการใช้งาน และจำเป็นจะต้องปลดประจำการในปี ๒๕๕๔ กองทัพอากาศจึงได้เตรียมการจัดหาอากาศยานทดแทนที่เป็นเครื่องบินรบยุคใหม่ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีศักยภาพเชิงคุณภาพทดแทนการจัดหาเชิงปริมาณ ซึ่ง กองทัพอากาศได้เริ่มโครงการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ และ ได้วางแผนไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ แต่ด้วยข้อจำกัด ด้านงบประมาณจึงเลื่อนมาดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๑
การดำเนินงานโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์
กองทัพอากาศได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินที่เหมาะสมเป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่ทันสมัย ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) โดยกำหนดกรอบหลักเกณฑ์เครื่องบินรบที่จะจัดหาต้องมีสมรรถนะ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคต มีความเหมาะสมตามสภาพภูมิยุทธศาสตร์ในการวางกำลังทางภาคใต้สำหรับภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศ สามารถสนับสนุน และปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น ตลอดจนคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจะต้องมีระบบควบคุมการบิน การสื่อสาร เครื่องช่วยเดินอากาศ และสามารถติดตั้งระบบอาวุธที่ทันสมัย รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับเครื่องบินฝ่ายเดียวกัน และระบบบัญชาการและควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเครื่องบินรบดังกล่าวจะต้องเป็นพื้นฐานการพัฒนากองทัพอากาศในด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร การถ่ายทอดเทคโนโลยีของอากาศยาน การฝึกศึกษา เพื่อให้สามารถดูแล และบำรุงรักษาได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วกองทัพอากาศจึงเลือกเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ JAS-39 Gripen ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ผลิตโดยบริษัท Saab ประเทศสวีเดน ที่ถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจการป้องกันประเทศ เครื่องบินแบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน และการซ่อมบำรุงโดยรวมที่ต่ำกว่าเครื่องบินในประเภทเดียวกัน ตลอดจนสามารถปฏิบัติการได้โดยไม่พึ่งพาอุปกรณ์สนับสนุนภายนอกมากนัก
กองทัพอากาศได้ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อให้สามารถเริ่มโครงการได้ในปี ๒๕๕๑ โดยแบ่งการจัดหา เป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ จัดหาเครื่องบินจำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ และการฝึกอบรม วงเงิน ๑๙,๐๐๐.- ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ ๕ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ถึงปี ๒๕๕๕ และระยะที่ ๒ จัดหาเพิ่มอีกจำนวน ๖ เครื่อง ในโอกาสต่อไป สำหรับการบริหารงบประมาณนั้น ใช้งบประมาณของกองทัพอากาศในกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีที่ได้รับ
ประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ
การจัดหาเครื่องบินดังกล่าวจะสามารถเข้าประจำการได้อย่างเร็วภายในปี ๒๕๕๓ ซึ่งจะสามารถเริ่มทำการฝึกบินได้ โดยต้องใช้เวลาในการฝึกนักบินอีกเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี จึงจะมีขีดความสามารถเพียงพอ และพร้อมปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศได้ในปี ๒๕๕๔ ซึ่งจะเป็นระยะเวลาที่พอดีกับการปลดประจำการของเครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) ในส่วนของข้อเสนอ และเงื่อนไขในการจัดซื้อครั้งนี้ประเทศสวีเดนได้เสนอโครงการขายเครื่องบินพร้อมการซ่อมบำรุง และอะไหล่ ๒ ปี มีการเสนอให้ผลประโยชน์อื่นๆ กับประเทศไทยลักษณะความร่วมมือไทย - สวีเดน ที่จะก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวม เช่น ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม ความร่วมมือทางด้านการซ่อมบำรุงและการส่งกำลังบำรุง การถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลสวีเดน ความร่วมมือด้านการลงทุน การส่งสินค้าออก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ครั้งนี้ เป็นการสร้างกำลังทางอากาศไว้เป็นรากฐานด้านความมั่นคงให้มีอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ในการรักษาอำนาจอธิปไตยให้มั่นคงยั่งยืนต่อไป
๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในการแถลงข่าวเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ JAS-39 (Gripen) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) ณ ห้องรับรองกองทัพอากาศ
***ขออนุญาติข้อความที่ท่านท้าวเคย post มาให้ดูครับ****
Date:2004 (2547)
เท่าที่ทราบมาเครื่องบินที่จะจัดหามาใช้ในขณะที่รอ F-35 คณะกรรมการพิจารณา 5 แบบ ขณะนี้ครับ
1 F-16 C/D
2 F-16 ????
3 EF-2000
4 JAS-39
5 SU-30
ส่วน F-35 นั้น ทอ.ไทย จะรับมอบหลังปี 2015 ส่วน ทร.ไทย จะรับมอบ หลัง 2018 ทั้งนี้ขึ้นอญุ่กับประเทศหลักว่าเขารับมอบครบหรือยังซึ่งคาดเดาว่า ณ เหตุการณ์อย่างนี้ อาจทำให้เรารับมอบหลังปี 2020 ครับสำหรับ F-35 เพราะฉนั้น บข.20 ควรเกิดก่อนจากแบบทั้ง 5 ที่คณะกรรมการคัดเลือกอากาศยานของ ทอ.กำลังพิจารณา.....ท้าวทองไหล
*******ข่าวลือช่วงปี 2548(2005)
ตามสูตรของคุณ gob12 กะ คุณเด็กเมื่อวานซืน นั่นแหละครับ
ซา-แอบ 12 ตัว กะ สุกี้หม้อไฟ อีก 6 หม้อ
งบกลางไม่ใช่งบ ทอ. ครับ คุณฟลายอิ้งฯ
หายไปนานเลยนะครับ..... เสือใหญ่
-----------------------
Date: 10 Mach’05
ได้ยินมาว่า ความต้องการระดับหนึ่งคือ กิเปน แต่งบทั้งหมดไม่ใช่งบประมาณประจำปีของ ทอ. เป็นงบที่จะพิจารณาใหม่ที่รัฐบาลจะมอบใหม่ ซึ่งโค-ตร มหาศาล ที่ค่อนข้างอด ส่วนแผนสองได้อยู่ในกำมือคือ ซู-30 ที่รัสเซียต้องใช้หนี้เรา โดยเขาขอจ่ายเป็นเครื่องบินรบแทน อันนี้อยู่ที่รัฐบาลและทอ.ว่า จะเอาหรือไม่เอา ซึ่งทั้งหมด 50 % ทั้งนั้น ยังไม่มีการเปิดเผย หรือสรุปที่แน่นอน เพราะฉะนั้นอยู่ที่ว่า ผบ.ทอ.คนใหม่ จะเอาอะไรเสนอเข้ามาให้รัฐบาล และรัฐบาลจะอนุมัติอันไหน โผเหล่านี้ก็เหมือนโผรัฐมนตรี และโผ ผบ.เหล่าทัพ เพราะอย่างนี้ผมว่าฟังอย่างเดียวอย่าพึ่งไปวิจารณ์เลย ความรู้สึกส่วนตัวผมก็อยากได้ทั้งหมดแต่เห็นใจรัฐบาลที่ยังต้องแก้ปัญหาประเทศที่เกิดจากภัยพิบัติ ผมพูดมากไปเดียวสื่อมวลชนบางสำนักข่าวเอาไปวิจารณ์ในทางเสียๆ เลยทำให้ทั้ง ทอ.และ ทร. อดได้เครื่องบินรบใหม่ครับ........ท้าว
**********ปี 2549 (2006)
ปฏิวัติ deal ของรัฐบาลเก่า ล้ม /// หวยออก Gripen 12 ตัว 2 งวด