เนื่องจากผมเห็นว่าประเทศเรามีอุตสาหกรรมอลูมิเนียมและเส้นใยคาร์บอนแล้ว TAI ก็ตั้งแล้ว ทำการ upgrade F-16 ก็แล้ว ผมว่าตอนนี้เราน่าจะพร้อมสำหรับโรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินได้สักทีนะครับ
เนื่องด้วย alpha jet L-39 F-5T และการขาดฝูงโจมตีไป 1 ฝูง ซึ่งมีจำนวนกว่า 100 เครื่อง แม้ว่ายังอีกนานพอควรที่เครื่องดังข้างต้นจะปลดประจำการ แต่แผนการผลิตและประกอบเครื่องบินนี่ก็ต้องเตรียมการนานเช่นกัน ผมว่าคิดเสียตอนนี้น่าจะทันการครับ
เท่าที่สเปกมีขายกันในท้องตลาดและกำลังมาแรงก็คือ M-346 และ T/F/A-50 ซึ่งเพื่อนๆใน TFC และ TAF ชื่นชมกันอยู่ ผมว่าเครื่องระดับรองลงมาจากเครื่องขับไล่น่าจะเป็นเครื่องยุคที่ 4 ซึ่งทั้ง M-346 และ T/F/A-50 ก็อยู่ในยุคนี้ ส่วนเครื่องขับไล่ใช้ F-35 ซึ่งเป็นยุคที่ 5 ดีที่สุดแล้วครับ
โดยส่วนตัวผมเชียร์ T/F/A-50 ครับ
ผมเห็นด้วยที่ว่าจะตั้งโรงงานประกอบเครื่องบิน จะได้เป็นการสร้างงาน สร้างเงิน
ส่วนการผลิตเครื่องบินยังอีกไกลมากทีเดียวที่ฝันจะเป็นจริง
1. ขาดบุคคลกรที่มีองค์ความรู้ (ถ้าใครเคยฟัง ดร.วรภัทร ภู่เจริญ บรรยายจะเข้าใจ)
2. ขาดการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะรัฐมนตรีกลาโหม (ดูกรณีเรือดำน้ำ)
และอื่นๆอีกมากมาย
ผมว่าประกอบเครื่องบินมันจะไม่คุ้มคงจะหาลูกค้าลำบากเพราะมีเจ้าครองตลาดไว้แล้ว ไทยน่าจะเปลี่ยนแนวครับ วิจัย,พัฒนาทำตลาดด้านจรวดร่อนดีกว่าครับ งานด้านโลหะวิทยา,วิศวกรรมอากาศยานไทยเบียดไม่ได้แน่ เราน่าจะวิจัยดด้านจรวดร่อนให้เต็มที่ ผมว่าด้านsoftwareเราไม่น่าจะเป็นรองใครระบบนำวิถีน่าจะวิจัยเองได้ ขอให้ดำเนินการอย่างจริงจังokแน่ครับ
ลองคิดดูหากไทยมีจรวดร่อนเอาแค่ ๒๐๐-๕๐๐ลูก หัวรบ ๓๐๐-๕๐๐kg ระยะยิงไม่ต้องมาก ๓๐๐-๕๐๐ km ผมว่าแถวนี้หนาวเป็นแถว และน่าจะทำตลาดได้ง่ายกว่าเครื่องบินรบ(ต้นทุนจรรวดร่อนน่าจะต่ำกว่าเครื่องบินรบเป็น ๑๐ เท่า มันหนักที่ R&D เท่านั้น)
เห็นด้วยกับการพยายามที่จะพึ่งพาตนเองครับ การผลิตเรื่องบินในประเทศขั้นต้นอาจจะเป็นไปในแนวทางร่วมทุนโดยการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยทำข้อสัญญาว่าเราจะจัดหาเท่าไหร่ และประเทศต้นแบบที่ร่วมทุนนั้นย่อมมีตลาดของตนเองในการผลิตเพื่อส่งออกอยู่บ้าง ในอนาคตเราจะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นกว่านี้เหมือนปัจจุบันที่เกาหลีใต้เป็น ถ้าหากว่ามามัวคิดว่า เรายังไม่พร้อม ไม่มีเทคโนโลยีเพียงพอ มันก็จะยังไม่พร้อมอยู่อย่างนั้น และรู้ได้อย่างไรว่าเราเทคโนโลยีไม่พอจริงๆ แต่ทั้งนี้เรายังไม่เหมาะที่จะวิจัยพัฒนาเองทั้งหมดนะครับ
ม่ายช่ายอย่างนั้นม่ายช่ายผมมัวคิดว่าเรายังไม่พร้อม แต่ผมมองว่าDT1 เราเริ่มไปแล้ววิจัยไปแล้ว ก็เร่งทำไปครับให้เห็นเปป็นรูปธรรมต่อยอดออกมาให้ได้ให้ออกมาเป็น cruise missile หากภายใน 5-10ปีมีเป็นกองพลได้ย่อมสร้างอำนาจต่อรองได้เยอะ
ผมว่าในย่านนี้ ยังไม่มีประเทศที่วิจัยเรื่องจรวดร่อนอย่างจริงจัง หากไทยมุ่งเน้นวางแนวไปทางด้านนี้อย่างจริงจังผมมั่นใจว่าเราจะเป็นผู้นำเทคโนโลยี่ด้านนี้ในภูมิภาคได้ไม่ยาก
ผมว่าตลาดอาวุธประเภทนี้น่าจะเปิดกว้างอยู่และไทยน่าจะมีโอกาศมากๆหากเอาจริง
แต่ว่าแนวความคิดทีว่าให้หน่วยงานวิสาหกิจเข้าหุ้นกับต่างชาติโดยรัฐให้การสนับสนุนเริ่มจากง่ายไปถึงยากokครับเป็นความคิดที่ีดียืนบนขาตนเองได้ ตัวอย่างที่เห็นตอนนี้คือการซ่อมบำรุงอุปกรณ์การยิงของรถถังที่เอกชนดำเนินการนั่น okครับ
แต่ใจผมภายใน 5 ปีนี้ผมอยากเห็นจรวดร่อน made in thailand มากกว่าครับ เพราะภายใน ๕ ปีข้างหน้า ผมว่าระบบการป้องกันภัยทางอากาศของชาติแถวนี้จะดีขึ้นมาก มันคงไม่คุ้มหากจะใช้เครื่องบินรบฝ่าแนวป้องกันเข้าไป จรวดร่อนน่าจะเป็นคำตอบ พอหันมาดูขอsweden บอกได้คำเดียวว่าไม่ไหว ๔๐ ล้านบาบ/ลูก หากทำเองได้ราคาอยู่ที่น้อยกว่า ๑๐ล้านบาท/ลูกผมว่าเยี่ยมครับ
ผมคิดว่าทั้งโครงการพัฒนาจรวดแห่งชาติและการเริ่มต้นในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินนั้นต้องเริ่มไปพร้อมๆกันครับ จริงอย่างยิ่งที่ว่าจรวดร่อนนั้นต้นทุนต่ำกว่ามีความเสี่ยงทางอุตสาหกรรมต่ำกว่า ได้ผลในการรบที่ดี โดยเฉพาะเมื่อเราเป็นฝ่ายเปิดฉากบุกแล้วจะดีมากๆ เพราะสามารถส่งจรวดและจรวดร่อนเข้าไปทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่ตั้งทางทหารสำคัญๆ แต่เครื่องบินรบก็มีความจำเป็นเช่นกันครับ เพราะจำต้องใช้เครื่องบินรบไปเก็บกวาดแบบเด็ดขาดในขั้นต่อมา ดูปฎิบัติการของนาโต้และอเมริกันเป็นตัวอย่างครับ จรวดร่อนทำหน้าที่เปิดการ์ด(เหมือนปืนใหญ่ยิงกรุยทาง) แล้วตามด้วยเครื่องบินรบไปซ้ำณ.จุดที่จรวดทำงานได้ไม่ตรงตามเป้า(เหมือนส่งทหารราบตามเข้าไปยึดพ้นที่และทำลาย)
ผมขึ้นกระทู้ด้วยเห็นว่าตอนนี้มีโครงการจรวดแล้ววและมีการดำเนินงานแบบจริงจังด้วย งบไม่ถูกตัดเลย ผมก็เลยคิดว่าน่าจะถึงเวลาสำหรับเครื่องรบขนาดเบาต่างๆบ้างแล้วครับ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานนั้นสามารถปรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มาใช้ได้โดยปรับไม่มาก ดังนั้นพื้นฐานของประเทศในตอนนี้พร้อมแล้วครับสำหรับการผลิตเครื่องบินที่ไม่ซับซ้อนในระดับเครื่องยุคที่ 5 ชิ้นส่วนที่ซับซ้อนมากเกินไป เช่น เครื่องยนต์และระบบอิเลคทรอนิคบางรายการก็สามารถนำเข้ามาได้ครับ
ส่วนการที่จะให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ปรับกระบวนการผลิตบางอย่างเพื่อการผลิตเครื่อง รวมถึงโรงงานถลุงอลูมิเนียมที่จะต้องเพิ่ม Line การผลิต อลูมิเนี่ยมลิเธียม หรืออลูมิเนี่ยมอัลลัอยด์ และโรงงานผลิตเส้นใยคาร์บอนต้องขยาย Line ไปสู่การผลิตเส้นใยสำหรับอุตสาหกรรมการบินและวัสดุคอมโพสิต ได้นั้น ต้องมีตลาดให้เขาครับ ซึ่งผมเสนอวิธีดังนี้ครับ
เอาๆเข้าเรื่องครับ นี่เรืองการเปิดสายการผลิตเครืองบิน ผมดันชักมาที่จรวดร่อนแฮะๆๆ โทษทีๆๆ
นั่นคือให้ต่างชาติมาลงทุนใช้ประเทศไทยเราในการผลิตอากาศยาน โดยเฉพาะบริบัทญี่ปุ่น เพราะโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และถลุงอลูมิเนียมเป็นของญี่ปุ่นหรือมีญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนใหญ่ ดังนนั้นเป็นการง่ายที่จะชักจูงเขาให้มาเปิดสายการผลิตเครื่องบินในไทยเราครับ จริงๆแล้วจากข่าวที่เคยออกในสื่อมวลชนก็รับทราบทั่วกันว่าทางญี่ปุ่นเองด้วยซ้ำที่เป็นฝ่ายเสนอตัวเข้ามาเองเลย เพราะว่าเงื่อนไขทางอุตสาหกรรมเราพร้อมทุกด้านแล้วครับ
หรือว่าเปืดช่องให้บริษัทอเมริกันและยุโรปเข้ามาตั้งฐานการผลิตที่ไทยเราโดยผู้ผลิตชิ้ส่วนยานยนต์สามารถเอากลุ่มผู้ผลิตจากอเมริกาและยุโรปมาเป็นลูกค้าได้ เท่านี้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเกือบทั้งหมด(ยกเว้นชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับระบบอิเลคทรอนิคทั้งหมด)ก็สามารถรองรับการผลิตทั้งหมดได้แล้วครับ
เมื่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นดำเนินงานแล้ว ทาง TAI ก็แค่กำหนดสเปกชิ้นส่วนที่ตนต้องการจากการออกแบบเพื่อเปิด Line ในการผลิตเครื่องบินรบในประเทศได้ทันทีเลย โรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนไม่ได้มีความเสี่ยงอะไรเพิ่มขึ้นอีกแม้แต่น้อย แถมถ้าเครื่องบิน M-346 หรือ T/F/A-50 สามารถประสบความสำเร็จทางการตลาดมากๆแล้ว(ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้นทั้งสองเจ้า) ทางผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ยิ่งได้รับอนิสงค์เต็มๆครับ
นึกเอาสิครับว่าผู้ผลิต M-346/Yak-130 และผู้ผลิต T/F/A-50 นั้นมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าเราทั้วนั้น ทางเขาจะไม่สนใจเหรอ ก็เหมือนบุสมาสเตอร์แหล่ะครับ บางที่เราอาจจะรับผลิตทั้ง M-346 และ T/F/a-50 เลยก็ได้
ส่วนด้านจรวดและจรวดร่อนก็ได้รับอานิสงค์ทันที่เมื่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนเปิดดำเนินงาน เพราะจะได้ชิ้นส่วนคุณภาพสูงในราคาถูกมาใช้ในการผลิตจรวดแบบต่างๆที่เราต้องการทันที ประเทศจะสามารถผลิตจรวดในระดับสเกลการผลิตขนาดใหญ่ได้ครับ เพราะเครื่องจักรตัวเดียวกับที่ใช้ผลิตเครื่องบิน แถมถ้าหาตลาดให้ เช่น รับจากผลิตชิ้นส่วนจรวดให้แก่ผู้ผลิตในอเมริกาและยุโรป(แต่อาจจะไปประกอบที่อเมริกาและยุโรป) เพราะอาศัยต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เท่านี้เราก็จะได้สเกลการผลิตที่มหึมาแล้วครับ แถมยังไดเทคโนโลยีการผลิตระดับสูงด้วย
ผมแนะนำว่าให้ใช้โมเดลของอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นแบบอย่างในอุตสาหกรรมอากาศยานครับ
มีปัญหาเดียวแหล่ะครับที่ผมมองไม่ออกว่าจะทำอย่างไร นั่นคือ อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคการบิน
ซึ่งต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมพื้นฐานทางอิเลคทรอนิคอย่างมากทีเดียว นั่นก็คือ โรงงานถลุงซิลิค่อน โรงงานโดปสารเซมิคอนดักเตอร์(ผมเรียนเอกทางด้านนี้ครับ) และโรงงานผลิตชิปหน่วยความจำ ซึ่งตอนนี้หมดสิทธ์เจาะตลาดเพราะเราพลาดรถไฟขบวนนั้นไปแล้ว ตอนนี้จีน เกาหลี ไต้หวันกวาดเรียบ ถ้ามีช่องสำหรับส่วนนี้ได้ก็ให้เพื่อนๆเสนอความคิดเห็นกันได้ครับ
ผมทราบว่าผู้ใหญ่ในกองทัพบางท่านเองก็เข้ามาดูเวปนี้ และมีการให้เจ้าหน้าที่ทางหารเข้ามาตรวจสอลเวปด้วย ดังนั้นผมจึงถือโอกาศเป็นการดีถ้าการเสนอความคิดเห็นของพวกเราจากทุกสาขาวิชาชีพได้เสนอช่องทางให้กองทัพไดเข้มแข็งขึ้นมากๆได้
ส่วนผลประโยชน์ที่เจ้าหน้าที่ในกองทัพได้ก็คือ หลังเกษียณอายุก็สามารถรับเป็นหุ้นลมและที่ปรึกษาในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและยุทโธปกรณืเหล่านั้นได้แบบเนื้อๆ รับรองว่าถ้าลุยในอุตสาหกรรมทางทหารเต็มสูบเมื่อไร่ มีบริษัทเปิดตัวกันเป็นร้อยบริษัทครับ ย่อมต้องการที่ปรึกษาและหุ้นส่วนยามยากอีกมากเลย
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีอะไรที่จะขว้างได้ถ้าคิดจะทำ มั่วเเต่พุดว่าเเต่ว่าเเล้วเมื่อไรจะได้ทำ
ผมมองจากความเป็นจริงแล้วดูแล้วยังห่างไกล
แต่ถ้าจะทำผมว่าทำได้ แต่ต้องถามกองทัพกับรัฐบาลว่าพร้อมไหม ถ้าทำก็ร่วมมือกันไปเลยเป็นเครื่องบินที่อาเซียนสร้างเองใช้เอง ตลาดมันถึงจะใหญ่หน่อย ถ้าเราทำเองรับรองว่าโครงการล่มชัวร์ แชร์กันไป ไทย มาเลย์เซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินโด หลัก ๆ พวกนี้ก็น่าจะเอากับเราด้วย ระบบก็ได้ซอร์สโค๊ดของสวีเดนมาแล้ว ตัวเครื่องก็ก๊อบ ๆ ชาวบ้านเขามาเปลี่ยนไปก่อน ผมว่าดูโปร่งใสและมีโอกาสจะสำเร็จเป็นไปได้ เอาให้ได้ซัก F18 หรือ Jas-39 นี่ก็หรูแล้ว 4.5 เนี้ย อย่าเพิ่งไปมองถึง ยุค 5 เลย
เห็นด้วยน่ะครับ ทำเอง ถึงแม้ไม่ดี ก็ถือเป็นการเริ่มต้น
แต่หลายคน พูดรายละเอียดกว้างๆ ผมขอเจอะในรายละเอียดเชิงเทคนิค
การออกแบบ/ผลิต เครื่องบิน หรือขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ หรือขีปนาวุธร่อน เป็นต้น นั้น มีปัญหาอย่างหนึ่ง คือ ใครจะเป็นคนพัฒนาระบบสมการ และ solution ระบบสมการ equations of motion for multibody systems ล่ะครับ ถ้าดู paper ของ มหาลัยต่างๆ แล้ว เทคโนด้านนี้ เราไม่เชี่ยวชาญมากๆ แค่ equations of motion for rigidbody systems
ง่ายๆ ยังต้อง solution ตัวแปรมากมาย นับ100 ใน rigidbody ที่มีความซับซ้อน แต่ นี้ทำเครื่องบิน เป็น ระบบ multibody ตัวแปร ก็น่าจะประมาณ หลายแสนตัว รวม kinatic และ kinematic ด้วย ถึงแม้จะทำการ generalized แล้ว ตัวแปรก็น่าหลักแสน หลักหมื่น
คงสงสัยแล้วเมืองนอกเขา solution ยังไง
เขาใช้ โปรแกรม CAE/FEA ที่ถูกเขียนขึ้นมาเฉพาะ
แต่ถ้าคนไทยทำ คุณจะๆไม่สามารถใช้ของเขาได้ ต้องมาปรับแก้เพราะ ระบบสมการเคลื่อนที่ข้างต้นแตกต่างกัน พูดง่ายๆ ทำใหม่ง่ายกว่า
ทำโดย ใช้ Numerical analysis มาแปลงระบบสมการข้างบนที่หยุ่งยากซับซ้อนให้ สามารถถูกsolution ได้ด้วย คอมพิเตอร์ พูดๆง่าย คงต้องสร้าง CAE/FEA ขึ้นมา solution
ที่ พูดมา แค่ยกปัญหาด้าน Dynamics System อย่างเดียว ยังไม่พูดถึง การ solution ปัญหา Aerodynamics ซึ่ง ต้องสร้าง CAE/FEA มาsolution อีกตัว
อาจ จะมีบางท่านสงสัยอีก ไมไม่ซื้อ nastran มาใช้ ….............................ก็เพราะว่า มัน แค่ใช้งานในระดับอุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมอาวุธ มันอีกขั้นหนึ่งครับ
แต่ผู้ผลิต อย่าง boeing ก็ยังใช้ nastran ในงานบางงาน แต่ต้องมาแก้ไข และเพิ่มเติมเพื่อรองรับกับ ระบบทางกล และequations of motion for multibody systems ที่แตกต่างกันครับ
สรุป จากเรื่องเล็กๆ ที่ยกมา
มันคือ พื้นฐานของการสร้าง /ออกแบบ เครื่องบิน และขีปนาวุธ ก่อนอื่นก็ไปลองหางานวิจัย ของสถาบันต่างๆของรัฐ ดูว่าใครวิจัยด้านนี้บ้าง แล้วคุณจะรู้คำตอบ ว่าพอทำได้ไหม
แต่ ผมคิดว่าทุกอย่างเริ่มต้นได้ วันนี้เราไม่มี เราก็สร้างได้
เช่น คนไหนที่เรียน ME อยู่ ควรตั้งใจกับวิชา mechanic of dynamic มากๆ ต้องได้ A
แล้ว ก็ควรศึกษาวิชา Intermediate Dynamics และสุดท้ายสำคัญสุด ถ้าไม่มีก็ไม่รู้ถึงวิธี generalized แบบซับซ้อน และไม่สามารถแปลงให้ solution ด้วยคอมได้คือ Analytical Dynamics
ถ้ามีคนที่เชียวชาญด้านนี้มากๆ จบออกมาล่ะก็ การออกแบบ ผลิต เครื่องบิน และขีปนวุธ ก็ไม่ใช่สิ่งเพ้อฝันครับ
หมายเหต...**แค่ยกเทคโนจำเป็นมากลุ่มเดียว ยังมีอีกมาก ที่จะต้องใช้ และผมไม่พูดถึง**
ผมประทับใจการตอบแบบเชิงวิชาการในการลงมือปฎิบัติจริงของคุณ red_c มากๆเลยครับ ตอนผมเรียนฟิสิกส์และเลือกเอกทางด้านโซลิตสเตทก็เพราะตอนนั้นอุตสาหกรรมทางด้านอิเลคทรอนิคบูมอย่างมากในเอเชีย และประเมินต้นทุนการผลิตของประเทศต่างๆแล้วคิดว่าเราคงจะสามารถแจมกับชาติเอเชียชาติอื่นได้แน่นอน ตอนนั้นประเทศเรารุ่งจริงๆครับ แต่ทุกอย่างพังทลายเมื่อเกิดวิกฤติปี 40 กะว่าถ้าจบทางด้านนี้ในเวลานั้นคงได้งานโคตรหรูแน่ๆ 555 คิดผิด
ตอนนี้ต้องมาค้าขายแทนครับ แล้วต้องหันไปเรียนด้านเศรษฐศาสตร์และธุรกิจแทน ทำให้ผมเห็นภาพอีกมุมมองนึงนอกจากภาพวิชาการทางเทคนิค(ตอนเรียนหงอกไปครึ่งหัว5555ยากโคตร) แต่ทำให้ผมเห็นภาพทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงมากขึ้นแบบไม่เคยเห็นมาก่อน
ปัญหาที่ท่าน red_c กล่าวคือปัญหาด้านทางบุคคลากรทางเทคนิคครับ ซึ่งในยุคแรกของการเริ่มต้นอุตสาหกรรมยานยนต์ของเราก็เจอสิ่งนี้เต็มๆเลย เหมือนกับอุตสาหกรรมอากาศยานตอนนี้ยังไงยังงั้น แต่เราก็ผ่านมาได้จนเป็นผู้ผลิตยานยนต์สำคัญรายหนึ่งของโลกอย่างไม่น่าเชื่อครับ
ปัญหาทางเทคนิคนี้แก้ได้ด้วยกลไกทางเศรษฐกิจและการลงทุนครับ ผมถึงได้บอกว่าให้ยึดโมเดลของอุตสาหกรรมยานยนต์มาเป็นแบบอย่างไงครับ ตอนนั้นขาดแคลนบุคคลากรแทบทุกส่วน แต่รัฐได้สร้างเงื่อนไขการลงทุนเพื่อ "ดึงทุนและเทคโนโลยีรวมถึงการที่เอกชนต่างชาติต้องพัฒนาบุคคลากรแก่คนของเราเพื่อรับเงื่อนไขการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับเขา"
ประเทศเราถึงไม่ผลิตรถยนต์ยี่ห้อตัวเองออกขาย ทั้งญี่ปุ่น เยอรมัน ต่างต้องลงทุนสร้างศูนย์ฝึกและพัฒนาบุคคลากรทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์กันอย่างหนัก รวมทั้งภาครัฐก็สนับสนุนให้มหาลัยทุกแห่งเร่งเปิดหลักสูตรสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างจริงจัง ทุลักทุเลอยู่นานครับกว่าจะได้บุคคลากรและสถาบันชั้นนำที่ป้อนบุคคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม และต่างชาติ้นำทั้งเครื่องไม้เครื่องมือรวมทั้ง software ใช้งานต่างๆมาให้ทางเรา เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เขาคิดว่าคุ้มด่าแก่การลงทุนครับ
มันอยู่ที่ภาครัฐและหน่วยงานทางทหารจะทุ่มเต็มที่หรือไม่กับอุตสาหกรรมนี้น่ะครับ ถ้าเงื่อนไขการลงทุนที่จะให้แก่นักลงทุนต่างชาติเหมาะสม ทั้งเงินทุน ทั้งศูนย์ฝึกและสถาบันพัฒนาบุคคลากร ห้องlab และศูนย์วิจัยพัฒนา เครื่องจักรและ software ต่างๆจะย้ายเข้ามาอำนวยความสะดวกในจุดที่เราคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้สำหรับเราให้มันเป็นไปได้ขึ้นมาครับ
ถ้าจะลงทุนเอง ก็คงจบอย่างผมที่ว่าเรียนด้านโซลิตสเตทแล้วหางานไม่ได้น่ะแหล่ะครับ บางชาติทะเยอทะยานอย่างโง่ๆด้วยการทุ่มกับอุตสาหกรรมด้านนี้เพราะคิดว่าตนเก่งพอ ต้นทุนต่ำ งานนี้ต้องพึ่งเงื่อนไขการลงทุนเท่านั้นครับ ชักจูงให้ต่างชาติที่พร้อมให้เข้ามาพัฒนาให้เราทุกอย่างเพื่อแลกกับความสะดวกในการค้าและผลประโยชน์มหาศาลที่ "เขา" จะได้รับไป แฉกเช่นอุตสาหกรรมยานยบนต์น่ะครับ
ปล. ผมพร้อมอีกเมื่อไหร่ที่หมดพันธะทางครอบครัว ก็จะกลับไปเรียนทางสายวิศวะกรรมอากาศยานครับ กะว่าจะไปออสเตเรียเริ่มที่นั่นก่อน
ในทางเศรษฐศาสตร์จะมีวิชาหนึ่งในเอกของสายเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมครับ จะเป็นวิชาว่าด้วยเรื่องการถ่ายเทเทคโนโลยีทางการผลิต ซึ่งตรงนี้จะแก้ปัญหาทางด้านบุคคลากรให้เราได้หมดไปครับ
น่าจะมีนักการเงินและเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมมาตอบบ้างนะครับ เพื่อช่วยกันมองจุดดีจุดบอดที่เราจะสามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวต่อไป จะทำให้เราสามารถมองเค้าโครงที่จะเป็นไปได้มากขึ้น ตอนค้าขายผมจะมองในมุมกว้างๆก่อน เมื่อเห็นช่องผมก็จะเริ่มเข้าหาจุดเชิงทางเทคนิคทางด้านต่างๆที่จะทำให้ผมสามารถค้าขายด้านนั้นๆได้ ทุกงานมีจุดปราบเซียนอยู่ครับ บางทีผมต้องไปเรียนกับเด็กรุ่นลูกเลยล่ะ 5555
ที่เรายังทำไม่ได้ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการเมืองหรือเรื่องเทคนิคอย่างเดียวครับ มาดูกันว่าประเทศที่ส่งออกอาวุธหรือมีศักยภาพด้านการผลิตอาวุธเขามีแฟคเตอร์อะไรบ้าง
1) Economy of Scale
การเปิดสายการผลิตแล้วทำให้มีราคาต่อ unit ต่ำพอ จำเป็นต้องมีการผลิตที่ volume สูงมาเฉลี่ยต้นทุน ถ้าเปิดโรงงานและสายการผลิต เพื่อสร้างยุทโธปกร volume ไม่เท่าไร ราคาต่อ unit ย่อมต้องสูงอยู่แล้ว ประเทศที่สร้างอาวุธเองจึงมักจะมี :
2) Product Image
สมมุติว่าเราแก้ปัญหาด้านการตลาดและข้อกฎหมายได้ การที่สินค้าใดๆจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคนั้น ชื่อเสียงจากการใช้งานจริงเป็นส่วนสำคัญมาก โดยเฉพาะยุทโธปกรที่มีชีวิตผู็ใช้งานและอนาคตของชาติเป็นเดิมพัน นี่เป็นสาเหตุทีั่ทำไมทั้งๆที่ทุกปีจะมีอาวุธใหม่ๆออกมาในตลาดมากมาย แต่ของเก่าก็ยังขายได้อยู่ ก็เพราะของเก่าเหล่านี้ได้ผ่านการใช้งานจริงมาแล้ว(battle proven) หากชั่วโมงนี้ประเทศไทยสร้างอาวุธ คงหนีไม่พ้นให้ทหารเราใช้เองก่อน แต่ในเมื่อเราไม่ได้มีสงครามแบบเปิดเผยกับใคร จึงเป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าของเราดีขนาดไหน
3) Government Policy
สมมุติว่าเราสามารถส่งออกอาวุธที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับได้ เราจะอยากทำหรือเดินตามเส้นทางนั้นหรือเปล่า เราจะส่งออกให้ใครจึงจะไม่ส่งผลต่อความมั่นคงหรือชื่อเสียงของประเทศ เชื่อว่าไม่มีรัฐบาลไหนอยากโดนกล่าวหาว่าพัวพันกับการก่อการร้ายในประเทศ X การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศ Y หรือรัฐประหารในประเทศ Z ด้วยการเป็นผู้ขายอาวุธให้แน่นอน
นี่เป็นสาเหตุอื่นๆที่ผมคิดว่าน่าจะส่งผลต่อการผลิตอาวุธในประเทศไทยนอกเหนือจากเรื่องทางเทคนิคนะครับ ผมเองก็อยากเห็นเราพึ่งตนเองได้ในทุกๆเรื่องเหมือนกัน แต่เราก็ต้องมองหลายๆมุมและวัดข้อได้เปรียบเสียปรียบให้ดีก่อนจะลงมือครับ
ถ้าทำได้จริงอย่างที่หลายความคิดเห็นที่โพสกันมา
ผมมีคำถามเดียว สั้นๆ ง่ายๆ แต่ตอบโจทย์ทั้งหมดว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก (ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิด)
บ.ชอ.2 ทำไมไม่เข้าสู่สายการผลิตเพื่อประจำการอย่างเต็มรูปแบบ?
นั่นแหละครับ ตามที่คุณน่าคิด ถามมา บ.ชอ. หรือ บ.ทอ. เมื่อไหร่จะได้โอกาสเกิดในเชิงพานิชณ์เสียที จะว่าไป ถ้าสมมุติจะดึง T/A-50 มาผลิตในไทยนันอาจจะยากอยู่ เราะถ้าหากว่า เกาหลีใต้ ผลิตนอกประเทศเขา ตัวเลือกน่าจะเป็น อินโดนีเซีย ที่เป็นลูกค้าเก่ากันและมีศักยภาพในการผลิตมาก่อนเราและมีแผนพัฒนาเครื่องบินแบบอื่นๆร่วมกัน เราควรมองไปที่เครื่องบินแบบอื่นๆทางฝั่งตะวันตกหรือญี่ปุ่นที่ต้นทุนแรงงานสูงกว่าเราและพร้อมที่จะลดต้นทุนโดยการร่วมทุนกับเราครับ
เห็นด้วยกับการคิดสร้างโรงงานผลิตเครื่องบินในประเทศ สำหรับด้านบุคคลากรของไทยมีความพร้อมทุกด้าน ขาดแต่โอกาสและเทคโนโลยีต้นแบบ ซึ่งผมเห็นว่าไทยควรใช้วิธีซื้อเทคโนโลยีสำเร็จมาพัฒนาต่อยอดครับ เพราะจากประสบการณ์เวลาเราซื้อเทคโนโลยีมาผลิตเอง เจ้าของลิขสิทธิ์จะส่งคนมาเป็นพี่เลี้ยงและมอบสูตร เอกสารการออกแบบ มาให้ครบเลย เรัยกว่าถ้าเราศึกษาดีๆก็สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเองได้ครับ
ขอยืนยันคนไทยเก่งไม่แพ้ใคร ขาดแต่โอกาสครับ และจากประสบการณ์อีกเหมือนกันบางทีปัญหาที่เจ้าของลิขสิทธิแก้ไม่ได้ มาแก้ได้ก็เพราะความคิดของคยไทยนี่แหละครับ แล้วเค้าก็หุบเอาไปขายต่ออีกที เป็นบ่อยมากๆครับ
เมื่อเห็นภาพ บ.ชอ.2 บินปร๋อ ก็นึกถึงข้อมูลเก่าๆของเพื่อนใน wing21 เอามาให้ชม จะว่าในเชิงเทคนิคนี่ก็แก้กันไปได้บางส่วนแล้วด้วยซ้ำ แต่ก็จริงครับกับคำถามของท่านน่าคิด........ใช่ครับที่มันเกิดไม่ได้ก็เพราะปัญหานี้แหล่ะ เฮ้ออออ......
สรุปปัญหาหลักไม่ได้มาจากทางเศรษฐศาสตร์ เทคนิค บุคคลากร เงินทุน แต่......เฮ้ออออ....
ถ้าเป็นงี้ต่อไป ถ้าอินโดนีเซียและเกาหลีช่วยกันจนประสพความสำเร็จในอุตสาหกรรมนี้ ท่าทางประเทศเราจะแป๊กอีกแล้วเหมือนคราวที่จะดิ้นรนเพื่อจับรถไฟขบวนที่บูมอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิค ถ้าตอนนั้นลุยทำล่ะก็ไทยเราคงจะมีชื่อในกลุ่มนี้ไปแล้วนอกจาก เกาหลี ไต้หวัน จีน ทั้งๆที่เงื่อนไขในเวลานั้นพร้อมทุกๆอย่างสำหรับอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิค
จะได้เลิกหวังและเลิกตั้งกระทู้แนวนี้ซะที
ในอีกแง่มุมหนึ่ง ผมมองว่าการผลิตอากาศยาน และ / หรือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่ไม่ได้ใช้ในทางทหารโดนตรง น่าจะมีสิทธิเกิดได้สูงนะครับ เพราะเทคโนโลยีต่ำกว่า และเอาไปต่อยอดได้เป็นเทคโนโลยีทางทหารได้ภายหลัง เราเองก็มี infrastructure ที่น่าจะทำให้ดีขึ้นถึงขั้นนั้นได้ไม่ยาก อยากเห็นตรงนี้เกิดอย่างยั่งยืนก่อนครับ ที่เหลือมันก็ตามมาเอง
ปัญหาที่เราถกกันที่นี่ผมมองว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีครับ การจะแก้ปัญหาได้ก็ต้องมองให้ออกก่อนใช่ไหมครับ ขนาดมนุษย์กระทู้อย่างเราๆ ยังมองเห็นได้ ผมเชื่อว่าคนไทยที่มีความสามารถและสติปัญญามากกว่าผม ย่อมหาทางแก้ได้ในที่สุดครับ
ผมว่าปัญหาก็คงเหมือนทุกๆโครงการที่เราเคยทำมา ทุกอย่างพอทำขึ้นมาแล้วก็เงียบหายไป ไม่มีการพัฒนาหรือว่าต่อยอด คือไม่เอาจริงเอาจังทำแบบครึ่งๆกลางๆ ขาดการร่วมมือหรือสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ ต่อให้คนของเราเก่งอย่างไร สุดท้ายก็ดับครับ