บทความนี้แปลจากบทความในเว็ปไซต์ popularmechanicที่นำออกเผยแพร่ในโอกาสการปฏิบัติการจู่โจมในปากีสถาน
บทความนี้ขออุทิศ ให้ร.อ. กฤช คัมภีรญาน ผู้เสียชิวิตในการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อ๑๙ ม.ค. ๕๔
you shall not be forget
การจู่โจมที่คาบานาตวน ( ๓๐ มกราคม ๒๔๘๘)
ภารกิจ : ปลดปล่อยเชลยศึกชาวอเมริกัน มากกว่า ๕๐๐คนในค่ายกักกันใกล้เมืองคาบานาตวนในฟิลลิปปินส์
ผลลัพท์ : สำเร็จโดยมีการเสียหายเล็กน้อย
หลังจากการอพยพเชลยศึกอเมริกันและฟิลลิปปินส์ที่พ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นอย่างทารุณที่เรียกว่า Death March ในฟิลลิปปินส์
ในปี ๒๔๘๕ เชลยศึกอเมริกันบางส่วนที่เหลือรอดถูกควบคุมตัวในค่ายเชลยศึกใกล้เมืองคาบานาตวน สภาพการเป็น
อยู่ของเชยศึกภายในค่ายแย่มาก การประหารชีวิตหมู่ทำกันเป็นประจำ ด้วยความกังวลว่า(เมื่อสหรัฐยกพลขึ้นบกที่
ฟิลลิปปินส์แล้ว)ญี่ปุ่นอาจมีการโหมการประหารเชลยศึก ผู้นำสหรัฐจึงอนุมัติภารกิจการช่วยเหลือ
ร้อยเอกKenneth Schrieberได้หันเหความสนใจของทหารญี่ปุ่นในค่ายด้วยการ บินเครื่อง P-61 Black Widow เหนือค่าย
โดยแกล้งทำเครื่องเสีย บินต่ำ ทำทีว่าเครื่องบินจะตก ดับและสตารต์เครื่อง ทำให้มีเสียงดัง ควัญและประกายไฟ
จนทหารญี่ปุ่นมัวแต่ดูเครื่องบินในขณะที่ทหารอเมริกันจำนวน ๑๓๓ คนพร้อมกองกำลังใต้ดินฟิลลิปปินส์อีก ๒๕๐ คน
บุกยึดค่าย ในการจู่โจมมีชาวอเมริกัน ๔ คนเสียชีวิตเป็น เชลย ๒ คน และทหารที่เข้าไปช่วย ๒ นาย
เช่นเดียวกับการจู่โจมในปากีสถาน ในกระบวนการการวางแผนปฏิบัติการในฟิลลิปปินส์เมื่อปี ๒๔๘๘ ฝ่ายอเมริกัน
นอกจากจะสามารถรวบรวมภาพถ่ายของค่ายแล้ว ทั้งยังส่งหน่วยสอดแนมและส่งข้อมูลกลับหน่วยจนสามารถสร้าง
แบบจำลอง(โมเดล)ของค่าย ที่ช่วยเตรียมความพร้อมก่อนบุกจู่โจม
ผมว่าอเมริกาคงทำแบบสมัยคาวบอย นักล่าเงินรางวัล บินลาเดนยังมีค่าตัวตั้ง 29 ล้านดอลล่าห์ ท่านซัดดัม คนชี้เบาะแสก็เป็นญาติเพราะเงินก้อนโต ยังไม่รวม
เทคโนโลยี่ รวมทั้งภาพถ่ายจากดาวเทียมนับร้อยดวง ใครก็รู้กันอเมริกาไม่พูดคำว่าขอโทษ และสงครามทำให้เศรษฐกิจอเมริกาดี