http://thaidefense-news.blogspot.com/2011/06/f-16-eurofighter-typhoon.html
งานเข้าเลย อิอิ เราก็จัด เอฟ 16 เอดีเอฟ มาอีกฝูงเลยครับ แล้วเอาแจส 39 ซี/ดี อีก 1 ฝูง จัดมาๆๆๆ เรารวยอยู่แล้ว 555
ปล.เชื่อผมว่าเรามีเงินซื้อจริงๆ ครับ บ้างที่เราก็ทำเป็นจน บ้างที่ก็ทำเป็นรวย แปลกมากๆ อิอิ
การรบระยะประชิด หรือ Dogfight ของเครื่องบินขับไล่นั้น ตัวเครื่องบิน (AeroDynamic Design) มิได้เป็นปัจจัยเดียว ที่จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบครับ
ปัจจัยด้าน ระบบอาวุธ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีต่าง ๆ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ระบบป้องกันตัว คอมพิวเตอร์ภาระกิจ เป้าลวง ECM ECCM EOS ล้วนเป็นปัจจัยสนับบสนุนความสำเร็จในภาระกิจ
ปัจจัยด้านยุทธวิธีเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การทำใช้ข้อได้เปรียบของเครื่องให้เป็นประโยชน์ การไม่ยอมตกอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ ทั้งหมดทั้งมวล
"นักบิน" เป็นหัวใจหลักเลยครับ
จากประสบการณ์ตรงที่ได้รับมา ถึงมันจะเป็นแค่ "เกมส์" แต่ความรู้ที่ได้ คงเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้บ้าง
ในเกมส์ Flanker Su27K เป็นเครื่องที่ผมบิน มันเป็นเครื่องที่สุดยอด ระบบการบิน Aerodynamics Avionics สุดยอด
แต่ เมื่อเริ่มเล่น ผม dogfight "แพ้" เครื่อง Mig23ML Su33(เครื่องบินโจมตีทะเล) F-14 Tomcat A-10 ThunderBolt หมดรูปทุกกระบวนท่า
ทั้ง ๆ ที่เครื่องที่กล่าวมา ตามคุณลักษณะไม่น่าคว่ำ Su27K ลงได้เลย (แบบใช้ "ปืน" อย่างเดียวนะครับ)
ต่อมา เมื่อเริ่มศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าในการ Dogfight ผมสู้ได้แม้กระทั่ง F-15 ซึ่งเป็นคู่ต่อสู้ที่สูสี
ซึ่งทำให้ผมเข้าใจว่า การ "ฝึกศึกษา" ของนักบิน มีความสำคัญมาก มาก ๆ มากที่สุด
กรณี F-16 ของปากีสถาน กับ Thypoon คงอย่างเดียวกัน
ตำรา เทคนิค เพื่อการฝึกศึกษาด้าน Dogfight ของ F-16 คงมีมากกว่า Thypoon
Dogfight ระหว่างทั้งคู่ จึงเอวัง ด้วยประการละฉะนี้
สรุปว่า เพิ่งพาแต่เทคโนโลยีมากเกินไปจนลืม พื้นฐาน
ก็คล้ายๆกับที่ สหรัฐ ประจำการ F4 ในเวียดนาม ซึ่งในรุ่นแรกๆที่เอาไปประจำการ ไม่ได้ติดปืน เน้นใช้แต่อาวุธนำวิถีเป็นหลัก
พอเจอกับ Mig ของเีวียดนามหลุดเข้ามาประชิดได้ ก็ทำได้แต่บินหนีพื่อเพิ่มระยะห่าง จนพอที่จะใช้อาวุธนำวิถีได้ ทั้งที่ถ้ามีปืน ก็จบไปแล้ว
ดังนั้นจึงเริ่มมีติด กระเปาะปืนภายนอก ในที่สุด
ไม่น่าแปลกใจหรอกครับ นักบิน F-5 เรายังเคยยิง F-15 ของอเมริกาได้เลยในการฝึกร่วมครั้งอดีต ลองถาม ท่านท้าวทองไหล ดูครับ น่าจะมีรายละเอียด ส่วนภารกิจของ Typhoon กับ F-16 นั้นเป็นลักษณะแบบเดียวกันครับ น่าจะขึ้นอยู่กับ เทคนิค ความชำนาญ ไหวพริบ และยุทธวิธี ของตัวนักบินครับ รู้ว่าเครื่องเรามีจุดด้อยจุดเด่น เสียเปรียบได้เปรียบตรงไหน ของเขาเป็นอย่างไร ถ้าจะวิเคราะห์ดู คาดว่าน่าจะเกิดจากความเชื่อมั่นของนักบิน Typhoon ว่าทันสมัยกว่า ดีกว่า จึงเชื่อว่าต้องชนะอยู่แล้ว หรืออาจจะยังไม่คุ้นเคยในเครื่องบินดีพอ ในขณะที่นักบิน F-16 มองว่าเครืองบินตัวเองทันสมัยน้อยกว่าขับขี่มานานจนรู้จักเครื่องบินดีพอ แล้วพยายามเอาจุดเด่นของ F-16 ที่อาจจะเป็นข้อได้เปรียบกว่า Typhoon มาใช้ในยุทธวิธี สุดท้ายนักบิน Typhoon จึงปราชัยไป ไม่แน่ ถ้าหากว่านักบิน J-10 มาประลองอาจจะแพ้ก็ได้ครับจากความคุ้นเคยที่น้อยกว่า F-16
ต้องดูครับว่า Typhoon ทำภารกิจอะไร และ F16 ทำภาระกิจอะไร
การฝึกซ้อมรบ ในระยะสายตาที่กำหนดขึ้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิณ บ.รบTyphoon ของอังกฤษก็เป็นใด้
ในความเป้นจริง รบกันอยู่บน จอ HUD อยู่แล้ว นอกระยะสายตาซะเป็นส่วนใหญ่ อาวุธหมดกลับฐาน
ถ้าเจอข้าศึกกลางทาง ยังมีหมวกเล็งยิง+iris-T ในระยะสายตา
และการฝึกซ้อมรบ อาจมีการวางแผนไม่รัดกุมเท่าการรบจริงๆ