ผมอยากรู้ว่ามันมีความเร็วเวลาไล่ตามเครื่องบินรบ กี่มัคกันแน่
และเคยมีผลงานแบบว่าเคยยิงเครื่องบินตกบ้างใหม แล้ว ใต่ระดับความสูง ถึง 60000 ฟุตหรือไม่
ในคลิป เหมือนมันช้านะครับจรวดพวกนี้
S-300 ไม่เคยถูกไช้จริงครับ แต่ก็มีไช้ฝึกเป็นเป้าล่อของฝั่งนาโต้อยุบ้าง
ตัวนี้มีความเร็วตั้งแต่ 3-7 มัค สามารถไล่ตามเป้าหมายได้ สูงสุด 18 มัค
อ้างอิงวิกิ http://en.wikipedia.org/wiki/S-300_(missile)
ส่วนที่เห็นไนคลิปมันวิ่งช้า เขาเรียกว่าเป็นปรากฏการณ์พาราแล็กซ์
เหมือนกับที่เรานั่งรถแล้วเห็นพุ่มไม้ข้างทางเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
แต่กับเหมือนเห็นตึกที่อยู่ไกลๆ นิ่งอยู่กับที่
ไล่ตามเป้าหมายได้สูงสุด 18 มัค เร็วแบบมองไม่เห็นเลยสิครับ แบบนี้ต่อให้ F22 มี 4 เครื่องยนต์ ก็ คงหนีไม่พ้นสิครับ
ถ้ามันเร็ว ถึง 18 มัค ทัพเรือซื้อเลยครับ เอามาไว้บนเรือรบ แล้วเราไปท้าเวียดนามรบ พอเวียดนามยิง Brahmos มาเราก็ยิงตัวนี้สกัดได้สบายสิครับ
ด้วยความเคารพ แล้วไปท้ารบกับเวียดนามเพื่ออะไำรครับ ถ้า เรามี SA-300 มาประจำการจริงๆ
ไร้สาระสิ้นดี ไปท้ารบประเทศอื่น เบื่อเกรียน
ผมว่า 18 มัค ไม่ใช่ละมั้ง ฟังเวอร์มาก ขนาดสหรัฐทดลองปล่อยยานด้วยความเร็ว 20 มัคยานยังหลงทางเลย แล้วผมตามไปดูในวิกิไม่เห็นมีบอกว่า 18 มัค
^
เทียบเลขนัยผิดนิดหน่อยขอประทานอภัย
ตามตารางบอกว่าแมกซิมัมทาร์เกทสปีด 5000m/s ทีแรกผมแปลงไมล์เป็นกิโลกมตร
ประมานได้ 1.7กม =1ไมล ตารางบอกว่า1.185kMile /H ผมได้ประมาน 1900 KM/H
ผมแปลงหยาบๆโดยไม่ได้ไช้เครื่องคิดเลข ที่1มัค = 10XX KM/H เลยได้ 18 mach
แต่ถ้าจะแปลงระเอียดขึ้นมาหน่อย คือ 5000m/s
ถ้าจะแปลงเป็นมัค ง่ายๆเอาไม่แอดว๊าานซ์มากคือ 331+0.6 x T
ผมตีไห้Tทั่วๆไป 25 องศาละกัน มันจะได้ที่ 346M/S = 1 Mach
มันจะอยู่ที่ 14 มัค นิดๆละกัน ขออภัยอย่างสูงที่ไม่เทียบแล้วคูณตรงๆ
14 มัคก็ถือว่าเร็วแบบโหดๆแล้วครับ ส่วนเครื่องบินความเร็วก็ไม่เกิน 2.5 มัค แบบนี้เครื่องบินก็หนีไม่รอดหล่ะครับ มันอันตรายจริงๆ ไม่น่าเชื่อเราทำเครื่องบินรบได้ไ่ม่เกิน 2.5 มัค แต่ทำ Missile ได้ 14 มัค แบบนี้มันแปลกๆ
ตอบคุณยามาฮ่า
เผอิญว่ายิงเอฟ22ไม่โดนครับ เพราะเรดาร์ล็อคเป้าไม่ได้ ขณะเดี๋ยวกันเอแว็คที่มากับเอฟ22 (ถ้าไม่มากับเอแว็คก็โง่ละครับ อุตส่าห์เป็นสเตลธ์ทั้งทีแต่แพร่คลื่นเรดา์ซะเอง) จับเป้า s 300 ได้ ใครไปใครอยู่ก็คงไม่ต้องบอกแล้วครับ (ไม่ได้หมายความว่าเป็ฯไปไม่ได้เลย เพราะก็เชื่อกันว่าแซมประเภทคล้ายกันนี้ของรัสเซียเคยสอย เอฟ 117ตกที่เซอร์เบีย แต่ก็เป็นเพียงการคาดเดา ไม่เห็นมีใครฟันธง แต่ความเป็นไปได้ก็น้อยมากๆ)
แล้วความเร็วที่ว่า14มัค คือ จับป้าหมายที่มีความเร็ว ถึง 14 มัคได้ แต่ไม่ได้วิ่งไล่ทันครับ
ใช้การยิงดักหน้าเอา
พวกต่อต้านอากาศยานต้องดูข้อมูลดีๆครับ เพราะความเร็วของตัวมิสไซล์ก็ิอันนึง ความเร็วเป้าหมายก็อันนึง ซึ่งขึ้นอยู่กับความแม่นยำ/ไว ของตัวค้นหาเป้า (seeker)กับความสามารถในการ manuveoure ของมิสไซล์
ขืนวิ่ง 18 มัค มีหวังละลายหมดก่อนถึงเป้าหมาย (ฮ่าๆ ขำๆ)
แก้ไขหน่อย
ที่สอยเอฟ117ได้ คือกองทัพยูโกสลาเวีย
จากการสัมภาษณ์ ผบ.หน่วยตอ่สู้อากาศยานนั้น เหตุที่จับเป้าได้เพราะจับจากจังหวะที่เอฟ 117 เปิดช่องปล่อยระเบิด ทำให้ความสเตลธ์ลดลง แต่ผู้ให้สัมภาษณ์แกตอนหลังออกมาบอกว่าแกบอกว่าแกพูดเล่น
ผมเลยไม่แน่ใจว่าตกลงทำไมถึงยิงได้
น่าจะเสตลธ์เป็นลำเดียวที่โดนยิงตก
พอและ ออกทะเลไปไกล
ตกลงมันจับเป้าหมาย ได้ที่ 14 มัค ผมเคยเห็นในข่าว ที่สถานีเรดาห์แห่งหนึ่งจับวัตถุลึกลับ ที่คาดว่าจะเป็น UFO หรือมนุษย์ต่างดาว ที่ความเร็ว 6 มัค ถ้างั้นก็ต้องบอกพวก UFO ว่าถ้าคิดจะบุกโลก ก็ไปทำยานให้เร็วกว่านี้ และเวลาบุกโลกให้พา AWAC และยานเติมน้ำมันมาด้วย และต้องทำยานตัวเองให้ ล่องหนได้ด้วย ไม่งั้น เจอ S-300 สอยตกไม่รู้เรื่องนะ UFO
ข้อมูลที่ได้อาจดูแปลกๆไปนะแต่ผมขอเอาวิกิเป็นตัวกันโดนด่าละกัน
เวปว่ามางี้อ่ะ เท็จจิงประการได หารู้ไม่ขอรับ
http://en.wikipedia.org/wiki/S-300_%28missile%29
คุณ yamaha เพ้อจนออกอวกาศเลยนะครับ UFOเท่าที่ผมได้ดูสารคดีของDiscovery ยานUFOสามารถเลี้ยวหักสอก90องศาได้ ซึ่งตามหลักอากาศพลศาสตร์แล้วเป็นไปได้ยากที่เครื่องบินธรรมดาหรือมิสไซทั่วๆไปจะทำได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง S-300ก็ยากที่จะติดตามได้ทัน
เหอๆๆ ท่าน yamaha ไม่ถึงขั้นนั้นมั่งครับ ผมเข้าใจว่าความเร็วสูงสุดของมันคือประมาณ 5-6 มัค (แล้วแต่รุ่น) ตอนปล่อยออกมาจากท่อยิงมันก็จะเร่งความเร็วถึงความเร็วสูงสุดของมันแล้วก็จะช้าลงเรื่อยๆ ตามระยะทาง 14 มัคนั้นคือความเร็วสูดสุดของเป้าที่มันยิงได้แต่ต้องดักข้างหน้าเอาตามที่ คุณ toeytei ได้ตอบไป ครับ
ถ้าเจ้า S-300 มันเร็วขนาด 14 มัค จริง คงไม่มีเครื่องบินแบบไหนหลบทันในระยะยิงหรอก เพราะการยิงแบบนี้ก็น่าจะใช้การยิงดักตามที่ ท่านข้างบนบอกไว้ เหมือนเรายิงนกเวลามันบินเรารู้ทิศทางมันแล้วเราก็กะจังหวะยิงที่ด้านหน้า ถ้าเร็วขนาด 14 มัค ก็แสดงว่ามันเร็วกว่าจรวดที่ส่งกระสวยอวกาศที่มีความเร็ว 11กม.ต่อ วินาทีนะสิ แต่เร็วขนาดนั้นมันคงหักเลี้ยวไม่ได้แน่นอนต้องวิ่งเข้าหาเป้าเหมือนลูกกระสุน ตัวอย่างเช่น เครื่องบินแบล็คเบิร์ดบินที่ความเร็ว3.2 มัค ต้องตีวงเลี้ยวถึง 100 ไมล์ทีเดียว
f-22 f-35 ฯลฯ ยังไงๆเครื่องบินรบมันจะมาสู้อาวุธภาคพื้นดินได้ไงอะครับ ผมไม่ได้ไปดูรายละเอียดของ sa-300 มาหลอกแต่เชื่อได้ว่าเค้ามีการลิงค์ข้อมูลกับฐานเรดาห์อยู่แล้วแถมทำได้ง่ายๆด้วย ชุดยิงกับชุดตรวจก็แยกกันได้ เครื่องก็ไม่ต้องติด เอาใบไม้ใบหญ้ามาติด หลบอยู่ในหลุด ยังไงๆก็ตรวจพบยากกว่า เครื่องบินรบแน่นอน เอแว็คกับเอฟ22 ยังไงๆก็เป็นเครื่องบิน
คุณ potmon ครับ
ระบบตรวจจับของมิสไซล์ต่อสู้อากาศยานมันแยกกันอยู่แล้วครับ เพียงแต่เวลาเครื่องลินจะเล่นพวกนี้ก็จะจับสัญญาณเรดาห์ของชุดตรวจจับ แล้วก็ยิงเรดาห์ทิ้ง
ไอ้มิสไซล์ก็ทำอะไรไม่ได้ เหมือนตาบอด
การที่มิสไซล์โดนถล่มจากเครื่องบินไม่ใช่เื่รื่องแปลกครับ
เพราะหลักนิยมการรบ(ของอเมริกา ประเทศอื่นไม่มียังไม่มีเสตลธ์ใช้กันจริงๆ) ขั้นแรกก็จะเอาเครื่องบินสเตลธ์ไปไล่โปรยระเบิดใส่ฐานเรดาร์ จากนั้นก็เอาเครื่องอื่นๆที่ไม่ต้องเสตลธ์(เนื่องจากเรดาร์ภาคพื้นดินไม่เหลือแล้ว) เข้าไปครองน่านฟ้า ขั้นสุดท้ายก็บ.โจมตีไล่ถล่มทหารภาคพื้นดิน ส่วนมากใช้ B2
ดูจากการรบหลายครั้งหลัง ตั้งแต่อัฟกานิสถาน อิรัก ลิเบียก็ใช้วิธีนี้ (แต่ิำกรณลิเบียเป็นการยิงครูสมิสไซล์ใส่ฐานเรดาร์ ไม่ได้เอาเครื่องบินไปทำลาย)
กระทั่งก่อนจะมีเครื่องบินเสตลธ์ก็มีเครื่องบินขับไล่ธรรมดาเนี่ยแหละ วิ่งแบบปิดสลับกับเปิดเรดาร์เป็นช่วงๆ (เรียกว่าการปฏิบัติการแบบ wild weasel) วิธีนี้เครื่องบินจะเห็นเรดาร์จากระบบแซมเป็นระยะๆ ขณะเดียวกันแซมก็เห็นเครื่องบินเป็ฯระยะๆเช่นกัน แต่เผอิญว่าแซมจอดอยู่นิ่งๆ แต่เครื่องบินวิ่งไปเรื่อยๆ ทำให้เครื่องบินจับตำแหน่งแซมได้ แต่แซมจับเครื่องบินไม่ได้ เพราะเห็นแป๊บเดียวเครื่องบินก็เคลื่อนไปไกลแล้ว เครื่องบินก็จัดการปล่อยมิสไซล์ต่อต้านเรดาร์ซึ่งใช้ระบบตรวจจับเป้าหมายภาครับ คือตัวมิสไซล์ไม่แพร่คลื่นเรดาร์ออกไปแต่หาตำแหน่งแซมด้วยการรับเรดาร์จากชุดตรวจจับของแซมที่ปล่อยออกมา ทำให้แซมจับมิสไซล์ที่ยิงมาจากเครื่องบินไม่ทัน โดนยิงก่อน
(เครื่องบินหรือมิสไซล์หรือเรือหรืออะไรก็ตาม ถ้าปล่อยคลื่นเรดาร์ออกมาจะทำให้ถูกตรวจจับง่ายขึ้นมากๆๆๆเพราะเรดาร์อีกฝ่ายจะจับสัญญาณเรดาร์ของฝ่ายเราได้ ทำให้เหมือนกับว่า(เครื่องบินรถเรือมิสไซล์ฯลฯ)ฝั่งเรามีขนาดใหญ่กว่าเดิม แต่ถ้าปิดการแพร่คลื่นออกมาขนาดก็จะเท่าขนาดจริง เรดาร์ฝ่ายตรงข้ามก็จะตรวจจับเราได้ยากขึ้น หรืออาจต้องเข้ามาใกล้ขึ้นถึงจะตรวจเจอ)
ถึงคุณ : toeytei
ถ้า เทียบกำลังรบ ของลุงเค้ากับ อัฟกานิสถาน อิรัก ลิเบีย พวกนี้ถึงมี SA-300 ก็สู้ลุงเค้าไม่ไหวอยู่แล้วอะครับ(มีอยู่กี่ประเทศกันที่พอสู้ด้วยได้อะ) ส่วนเรื่องเทคนิคการรบเปิดๆปิดๆเรดาร์สู้กัน(เคยเห็นแต่ในหนังสงคราม เวียดนามอะ)คิดว่า SA-300 มันเป็นแบบอัตตาจรถึงไม่ได้เร็วแบบเครื่องบินก็สามารถหลบหลีกได้นะ ครับ(เคลื่อนไป 50 เมตรก็พล้นแรงระเบิดที่ บ.รบสามารถบรรทุกได้แล้วอะ) และถึงฐานเรดาห์ถูกทำลาย(ทำลายเมื่อไรก็รู้พิกัดเมื่อนั้นหรือจรวดมันจะสเตลท์ด้วยอะ) ก็ยังมีชุดตรวจจับ บวกกับอุปกรณ์ตรวจจับที่เป็นประเภทรับอย่างเดียวอีก ทั้งคน กล้องตรวจการณ์นานาๆแบบ ดาวเทียบ พวกนี้สามารถจับพิกัดข้าวๆให้ชุดยิงได้ไม่อยาก และถึงต่อให้ถูกยิงเข้าจริงๆอาวุธภาคพื้นมีการป้องกันได้ดีกว่าอยู่ แล้ว(ส่วน บ.รบนั้นเน้นวัดดวง) เอาเป็นว่าสมมุติ ลุงหนวดเค้าวันดีคืนดีไปบุกพี่หมีโดยใช้แต่ ทอ.อย่างเดียว ผมว่า พี่หมี ทบ.เค้าอย่างเดียวเอาอยู่อะ (หรือไม่เป็นแบบผมคิดหว่า)
ขออนุญาตช่วยตอบ
1. S-300 วิกิ บอกว่าใช้เวลาในการตั้งเตรียมยิง บวก เซทอัพเรดาร์ทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง(http://en.wikipedia.org/wiki/S-300_(missile)) ขณะที่อีกเว็บ (http://www.strategycenter.net/research/pubID.93/pub_detail.asp) บอกว่า 5 นาทีเสร็จ อย่างไรก็ตาม F 22 ได้ทำการปล่อย gbu 39 ที่ความเร็วเหนือเสียงมาแล้ว (http://www.edwards.af.mil/news/story.asp?id=123107101) สมมุติว่า F-22 ปล่อย gbu 39 ที่ความเร็วเหนือเสียง 1250 km/h มาจากระยะ 100 กิโลเมตร ก็พอดี 5 นาทีเลย อีกอย่างเวลาอาวุธนำวิถีทำการล็อกเป้าแล้วถึงแม้เป้าหมายจะเคลื่อนที่ ตัวมิสไซล์ก็จะทำการตามเป้าหมายเเบบเรียลไทม์ ดังนั้นเคลื่อน 50 เมตรมันคงไม่ได้อะไรขึ้นมาหรอก
2. JSOW-A1 นี่ดูเอาละกันครับว่าถึง 50 เมตรหรือเปล่า ผมว่าถึงนะ
หรือไม่ก็คลัสเตอร์บอมบ์แบบไม่ต้องนำวิถี เอา B-2 โปรยไปซะเลย
3. ถึงเรดาร์ถูกทำลาย (ทำลายเมื่อไรรู้พิกัดเมื่อนั้น) รู้พิกัดของอะไรครับ ถ้าหมายถึงพิกัดเครื่องบิน ก็เครื่องบินมันไม่ได้ติดกับจรวด มันก็ไม่เกี่ยวกัน ถ้าหมายถึงพิกัดของจรวด รูัไปก็ไม่เห็นเป็นไรนิครับในเมื่อมันระเบิดไปแล้ว
4.จรวดสเต็ลธ์ มีครับ JASSM ครูซมิสไซล์ อากาศสู่พื้น นอกจากนี้"จรวดต่อต้านเรดาร์" (anti-radiation missile) มันก็ไม่ได้แพร่คลื่นเรดาร์ แล้วเทียบขนาดของจรวดกับเรดาร์ภาคพื้นดินใคร เสี่ยงที่จะถูกตรวจจับมากกว่า
5. ถ้า เจ้า s-300 มันจะวิ่งหนี (ซึ่งก็ไม่ทัน) แล้วตกลงมันไปทำอะไร มันไปดักจับเครื่องบินหรือไปวิ่งหนีเครื่องบินกันแน่ เพราะถ้าเอฟ 22 บินมาสเต็ลธ์ ๆ แล้ว เจ้า S-300 ไม่เปิดเรดาร์ (แซมบางทีก็ปิดเรดาร์เวลาตรวจเจอเครื่องบินเหมือนกัน) หรือไม่ตั้งเตรียมยิง มันก็คงประมาณโดนยิงมาตั้งยิงกลับไม่ทันแล้วล่ะครับ
6. ข้อแรกเลย S-300 มันมีไว้ป้องกันสถานที่จะเป็นฐานทัพหรือเมือง หรือโรงงานอะไรก็แล้วแต่ ไม่ได้อยู่เพื่อป้องกันตัวเอง ขณะที่ทางฝ่ายที่โจมตีด้วยเครื่องบินเขาไม่ได้มีเป้าหมายหลักเพื่อมาถล่มระบบต่อต้านภัยทางอากาศ แต่เหตุผลหลักคือต้องการโจมตีฐานทัพ บ่อน้ำมัน โรงงานอะไรอย่างอื่น ดังนั้นถ้าหากทั้งแซมกับเอฟ 22 ปิดเรดาร์นั่งมองตา เจ๊ากันอย่างนี้ ฝ่ายเครื่องบินก็สามารถไปโจมตีเป้าหมายหลักได้เลย เสมือนไม่มีเเซมนั้นแหละ
เพิ่มเติมครับ s-300 ระบบละ 150 ล้านดอลลาร์ เเพงเท่าเอฟ 22 เลยเว้ย (http://rt.com/news/c-300-iran-contract-037/)
ที่สะกดว่า ข้าวๆ นี่คงหมายถึงคร่าวๆ หลงไปไกลมาก :)
ส่วนที่ว่าทอ.อย่างเดียวยกมาตีกับพี่หมีโดยให้พี่หมีใช้แต่ระบบต่อต้านอากาศยาน ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขคือฝั่งไหนล่ออีกฝั่งหมดก่อนชนะละก็ ผมคิดไม่ออกหรอก
ทอ. สหรัฐ มีF 22 187 ลำ
F 15 E 223 ลำ
F 15 C/D 522 ลำ
F 16 C/D 1,280 ลำ
A-10, 213 ลำ
B-1 lancer 66 ลำ
B-2, 20 ลำ
B-52, 85 ลำ
(http://www.af.mil/information/factsheets/)
ทร.สหรัฐ รวม 2,956 ลำ
รัสเซียมี S-300PMUs 768ระบบ
S-300Vs 185 ระบบ(http://warfare.ru/?lang=&catid=264&linkid=1695)
s- 400 32 ระบบ(http://en.wikipedia.org/wiki/S-400_(SAM))
รัสเซียมี s-300/400 985 ระบบ
เว็บไซต์ global firpower ระบุ ว่า รัสเซียมีอาวุธต่อต้านอากาศยาน 4,644 ระบบ(http://www.globalfirepower.com/country-military-strength-detail.asp?country_id=Russia)
ดูตัวเลขแล้วก็มีสิทธิ์ทั้งคู่ แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นว่าให้สหรัฐโจมตีรัสเซียด้วยเครื่องบินของทอ.เท่านั้น แล้วให้รัสเซียรับมือด้วยทบ.เท่านั้นโดยไม่ส่งเครื่องบินหรือยิงจรวดใส่ประเทศสหรัฐตอบโต้ละก็ ผมว่าสหรัฐชนะยับครับ เพราะรัสเซียคงต้องกระจายแซมทั่วประเทศขณะที่สหรัฐขนเครื่องบินมาทั้งประเทศได้ เผลอหย่อนนิวเคลียร์เข้าให้ก็จบเห่แล้วละพี่น้อง
ดูจากคลิปแล้วน่าจะเป็นการทิ้งบอม จาก F16 AB ส่วนกริฟเพ่น น่าจะทำได้ดีกว่านี้เยอะ
ตอบคุณ : tongwarit
1.เรื่อง เวลาติดตั้งนั้นผมว่าถ้าเริ่มติดตั้งแต่แรกเลยมันก็ต้องเป็นชม.อยู่แล้ว(คิด เล่นๆพี่หมีเราจะไม่รู้เหรอถ้า F-22 มันมาจอดในรัศมีปฎิบัติแถวบ้านเค้า)ส่วนเวลาในการโยกหลบ F-22 ผมว่า 5 นาทีมันนานไปอะเป็นผมอยู่ยามดัก F-22 ดูทีวีไปดูจอไป GBU39 วิ่งมา 2 นาทีแล้วค่อยๆ เดินไปสตาร์รถ 30 วิ ดูวิวรอบ 30 วิ เดินหน้าลงหลุมใกล้ๆอีก 10 วิ ลงรถมาอุดหูอีก 1 นาทียังต้องรออีก 50 วิ อะกว่าจะตูม(หลุมที่ว่าเอาแบบบังเกอร์ธรรมดาเหมือนในสงครามเวียดนามก็ได้ แล้ว)อันนี้ยังไม่นับพวกจรวดป้องกันพิสัยใกล้ที่พอรู้พิกัดก็สามารถยิงสกัด GBU39 ได้ ส่วนเรื่องการล็อกเป้าแล้วล็อกเลย มันจะมีจรวดที่สามารถล็อกเป้าเป็นวัตถุที่อยู่ใต้ดินได้เหรอ ต่อให้ GBU39 มันล็อกได้ก็คงยิงทะลุพื้นดินหนาเป็นสิบเมตรไม่ได้ อีกอันก็คงจะเข้าใจว่าการเคลื่อนที่ 50 เมตรในที่โล่งๆ(แบบในตอนที่เค้าฝึกซ่อมโชว์กล้องอะนะ ถ้าคุณเป็น ผบ.รบ คุณจะเอารถไปจอดโชว์แบบในคลิบไหมอะ)มันก็คงไม่ทันอย่างที่คุณเข้าใจนั้นแหละ
2.มัน ก็คงเกินร้อยนั้นแหละแต่ไม่ได้มากและอย่างที่ผมเข้าใจ อาวุธที่ F-22 บรรทุกได้มันคงไม่ได้รุนแรงแบบระเบิดในคลิบนั้นแน่ๆ(แต่ถ้าบรรทุกนอกตัว เครื่องเอา F-18 มาดีกว่ามั่ง)และจากในคลิบคงเป็นCutter Bombที่ มีความรุนแรงต่ำ(ส่วนใหญ่เค้าไว้ยิงคน)ระเบิดประเภทนี้พิสูจน์กันมาแล้วใน สงครามเวียดนามว่ามันไม่ถูกกันเลยบังเกอร์บ้านๆ ส่วนเรื่อง B-2 อันนี้ของหนักบังเกอร์บ้านๆคงเอาไม่อยู่ ต้องก่ออิฐโบกปูนกันน้อยซึ่งเทียบค่าใช้จ่ายของการทิ้งระเบิดไม่ได้ผลกับค่า อิฐค่าปูนฝ่ายไหนมีแต้มต่อก็รู้แล้ว
3.ข้อนี้ผมงงไปพักหนึ่งสงสัยผมจะตอบไม่ชัด ผมบอกว่า "ทำลาย(ทำลายฐานเรดาห์)เมื่อไรก็รู้พิกัด(ของ F-22)เมื่อนั้นหรือจรวดมันจะสเตลท์ด้วยอะ" อันแรกเลยตอนเปิดระวางอาวุธของ F-22 ประสิทธิภาพการสเตลท์มันจะลดลง ต่อให้ไม่โดยตรวจได้แต่เมื่อยิงอาวุธออกไป(อาวุธไม่สเตลท์) เรดาห์จับได้สมมุติที่ระยะห่างจากตัวเครื่อง 500 เมตร(เรดาห์กระจอกๆ)ถ้าคุณเป็น ผบ.รบ คุณจะไม่รู้เหรอว่าไอ้ F-22 มันอยู่ในรัศมีห่างจากจรวดเท่าไร(ทั้งทิศทางการวิ่งเข้าหาของจรวด ทั้งจุดที่ตรวจจับจรวดได้ในครั้งแรก)หลังจากได้พิกัดข้าวๆ ตรวจจับต่อด้วยกล้องนานาแบบ(F-22 มันมีโหมดหล่อเย็นหรือเปล่า) ไงๆกล้องจับความร้อนก็ต้องจับได้ และส่งต่อพิกัดให้ชุดยิง ชุดยิงก็ยิง ชุดตรวจจับของ SA-300 ก็หลบลงหลุม ถ้าโชคร้ายเป็นฐานเรดาห์แบบถาวรก็ให้มันพังไป(นี้สำหรับฐานถูกๆนะฐานแพงๆ เค้าก็มีระบบป้องกันด้วยจรวดพิสัยใกล้) พี่หมีคงไม่ได้มีเรดาห์สำรองสองสามอันหรอก เทียบกับโอกาศได้ส่อย F-22 ใครได้เปรียบเสียเปรียบคิดดู
4.จรวดสเตลท์(ลูกหนึ่งถ้าจะแพง) อันนี้ผมยอม ถ้าฐานเรดาห์ไม่แพงจริงๆคงป้องกันไม่ได้ แต่ต่อให้มันสเตลท์ยังไงก็ต้องโดนจับได้ที่ระยะใกล้ๆอยู่ดี คงต้องเสียจรวดพิสัยใกล้ซักลูกสองลูก(ส่วนใหญ่จับความร้อนได้นะ)แต่ถ้าเทียบ กับราคาจรวดสเตลท์หละใครจะได้เปรียบ ส่วนจรวดต่อต้านเรดาห์ มันก็ไม่สเตลท์และคุณบอกมันไม่แพร่เรดาห์(งงอะ)แต่เรดาห์ก็ตรวจจับมันได้อะ ชุดตรวจก็แล้วก็หลบตามสูตร
5.ข้อ นี้ผมงงไปพักใหญ่ๆ เลยเอาบทความคุณมาแปะหละกัน "อีกอย่างเวลาอาวุธนำวิถีทำการล็อกเป้าแล้วถึงแม้เป้าหมายจะเคลื่อนที่ ตัวมิสไซล์ก็จะทำการตามเป้าหมายเเบบเรียลไทม์" ผมก็งงกับคุณอะไหนบอกแบบเรียลไทม์(มันต้องเฉพาะกับของลุงแซมมี้เหรอไอ้เรียล ไทม์อะ) ชุดตรวจจับตรวจเจอ ส่งพิกัดให้ชุดยิง ชุดยิงยิง ชุดตรวจก็หลบ ก็ตัวจรวดล็อกเป้าด้วยตัวเองได้แล้วอะชุดตรวจหลบไม่ได้เหรอครับ(แบบว่ามัน ไม่แมนเหรอ) สุดท้ายใช่ครับ SA-300 คงหนีแบบที่คุณว่านั้นแหละ แต่เค้าทำหน้าบรรลุแล้วก็หนีเป็นเรื่องผิดปกติหรือครับสำหรับการรบ ส่วนไอ้เรื่องทันไม่ทันแค่ขับรถขึ้นลงบังเกอร์มันไม่ได้นานนักหรอก
6.ข้อ นี้ผมงงที่สุดอะ เอาอะไรไปคิดอะครับว่ามันเอาไว้ป้องกันตัวเอง(อัจฉระยิจริงๆเลย) ที่ผมพูดมาทั้งหมดเป็นประเด็น F-22 สู้ SA-300 อะ และที่สำคัญผมพูดถึงเทคนิคการทำที่มั่นต่อสู้ให้ฝ่ายเราได้เปรียบในการรบโดย บังเกอร์เท่านั้นเอง(ถ้า F-22 ไม่ได้ยิงมาทางมันก็ไม่ต้องหลบ แล้วก็ยิง F-22 ได้นี้ครับ หรือถ้ายิงมาทางมันหละก็ ยิง F-22 กลับ แล้วหลบลงหลุมไม่ได้หรือครับ หรือดูไม่แมน) ส่วนที่ว่า SA-300 มันจะมามั่วป้องกันตัวเองโดยไม่ห่วงเป้าหมายที่มันคุ้มครอง ไม่มีทหารที่ไหนเค้าจะมาคิดแบบนี้หรอกครับ หน้าที่มันคือป้องกันภัยทางอากาศ เมื่อตรวจทราบอากาศยานข้าศึกจะโจมตี เป้าหมายที่มันคุ้มครองหรือตัวมัน หน้าที่มันคือทำลายข้าศึก(สมมุติถ้ามี ผบ.SA-300 คนหนึ่งมีหน้าที่คุ้มครอง กทม. แต่มี F-22 บินมายิง SA-300 ของเค้าแล้วเค้าบอกเรามีหน้าที่ป้องกัน กทม.แล้วก็ไม่ทำอะไรต่อเลยปล่อยให้จรวดวิ่งเข้าใส่ คุณคิดว่าเค้าโง่ ไหมอะครับ)
เพิ่มเติมครับ SA-300 ราคาทั้งระบบนะครับพร้อมลูกๆ เท่ากับ F-22 ตัวเปล่า และราคาที่ใกล้กันก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพได้นะครับ
อัน สุดท้ายผมไม่ได้บอกนะครับว่า"ส่วนที่ว่าทอ.อย่างเดียวยกมาตีกับพี่หมีโดยให้ พี่หมีใช้แต่ระบบต่อต้านอากาศยาน" ที่ผมบอกไม่ใช้แค่ระบบต่อต้านอากาศยาน แต่ทั้ง ทบ.พี่หมีเค้านะ ส่วน "พี่หมีคงต้องกระจายแซมทั่วประเทศขณะที่สหรัฐขนเครื่องบินมาทั้งประเทศได้" พี่หมีเค้าก็กระจายอยู่แล้วนะ และถ้าจะโฟกัสโจมตีเป็นพื้นที่ไป ยิ่งโดนดักยิงไม่ง่ายเข้าไปใหญ่หรือครับ กล้องตรวจจับนานาแบบๆยิ้มรอเลย เรดาห์ก็ถอดปลั๊กไป เอแว๊กส์จะจับได้ไหมอะ แถมไม่มีทหารราบชี้เป้า จะไปยิงอะไรอะ ได้แต่โดนยิงอย่างเดียว สุดท้ายก็ถ้าลุงหนวดเค้ากล้าจัดนุกไป พี่หมีเค้าก็จัดไม่ยั่งเหมือนกัน ทบ.เค้ามีทั้งสั้นยาวใหญ่เล็ก
ปล.ผม ก็ไม่ได้คิดว่า SA-300 มันจะเทพอะไรหลอกนะ และก็ไม่ได้คิดว่าพี่หมีจะเก่งกว่าลุงหนวดหลอก แต่ที่ผมจะบอกคืออาวุธภาคพื้นดินมันมีการป้องกันได้ดีกว่าอย่างอื่นอยู่แล้ว และยิ่งเป็นการตั้งรับยิ่งได้เปรียบในการรบเข้าไปใหญ่ จะให้ ทอ.ลุงหนวด มาโจมตี ทบ.พี่หมีที่ตั้งรับ แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ผมว่าไม่มีทางชนะ และ ทอ.พี่หมี มาโจมตี ทบ.ลุงหนวดที่ตั้งรับ แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ผมว่าก็ไม่ชนะเท่ากัน
ถ้ามีการเตรียมการโจมตีที่ดี ระบบป้องกันภัยทางอากาศและเป้าหมายหลักรอดยากครับ
ฝ่ายโจมตีก็ต้องวางแผนจัดการเรดาร์และจรวด AA ก่อนละครับ ปัจจุบันสมาร์ทบอม์บกับจรวดร่อนสารพัด เป็นแบบ stand-off
ทั้งนั้น หาเป้าล๊อคเป้าได้ก็ไม่เหลือครับ (การค้นหาและพล๊อตเป้าเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนโจมตี) ยิงทีละหลายๆ ลูก จากนั้น
เครื่องเอฟเครื่องเอเครื่องบีก็ทยอยกันเข้ามาเก็บกวาดที่เหลือ รวมถึงเป้าหมายหลักที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศปกป้องอยู่ด้วย
แต่ถ้าหาเป้าไม่เจอก็ไม่รู้จะไปยิงใครได้ ต้องหาตัวล่อเข้ามาให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศเผยตัวอย่างกรณีที่อิสราเอลใช้กับซีเรีย
ที่หุบเขาเบก้าปี 2525 โน่น ส่งดดรนเข้าไปให้เรดาร์ซีเรียล๊อค โดรนอิสราเอลโดนสอยไปหลายตัวแต่อิสราเอลพล๊อตตำแหน่ง
ฐานยิงและเรดาร์ได้หมด จากนั้นก็โดนถล่มเรียบในเวลาไม่นาน
ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายโจมตีเป็นใคร มีศักยภาพและความพร้อมขนาดไหน หากเป็นอเมริกันก็ยากที่ฝ่ายป้องกันจะเอาตัวรอดครับ คือถ้า
รบตามแบบเสร็จอเมริกันครับ หลายๆ คู่กรณีจึงต้องหนีไปรบนอกแบบผสมการก่อการร้ายสู้กับอเมริกันและพันธมิตร แค่ถ้าฝ่ายป้องกัน
มีศักยภาพพอๆ กัน อันนี้ดูไม่ออกเพราะยังไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้จริงๆ สักที น่าจะออกมาในแนวเสียหายหนักทั้งคู่มั้งครับ...
เห็นตามท่านเสือใหญ่ครับ
S300 มีจุดอ่อนอยู่ที่ระบบตรวจจับเครื่องบินที่บินเกาะภูมิประเทศ/บินระดับต่ำครับ ดังนั้นเวลาปฎิบัติการ จึงมักจะมีระบบต่อสู้อากาศยาน Tor/Buk m1 ร่วมในการปฎิบัติการด้วยเพื่อเสริมเครือข่ายป้องกันภัยให้สมบูรณ์
แต่ทั้งนี้ฝ่ายที่เป็นฝ่ายโจมตี ย่อมได้เปรียบครับ เพราะต้องหาจุดอ่อนของฝ่ายตั้งรับ รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ต่างๆ ยิ่งถ้ารบแบบมหาอำนาจด้วยแล้ว โอกาสที่เป้าหมายจะถูกทำลาย มีสูงมากครับ
กลับมาแล้วครับ มีเวลาแล้ว
ผมว่าข้อถกกันไปกันมาแล้วมันชักแตกย่อยออกไปเรื่อยๆ เเฮะ :)
ผมอ่านที่คุณ potmon เขียนผมก็มีงงบ้างเหมือนกันแหละครับ
ที่คุณ potmon ว่าจะรอจรวดวิ่งมา 2 นาที แล้วชมวิว ดูทีวี คงไม่ได้มั้งครับ นั่นมันเเค่ขับรถเข้าที่กำบัง คุณจะไม่พับท่อปล่อยจรวด ฐานเรดาร์ ไม่เก็บขาหยั่งไฮดรอลิก ถอดสายไฟอะไรเลยเหรอครับ
ที่ว่าล็อกเป้าใต้ดิน ผมไม่ได้ว่าอย่างนั้นนะครับ เวลาปล่อยอาวุธใส่กันก็คือล็อกไปแล้วนิครับถึงปล่อย ก็คือก่อนจะไปอยู่ใต้ดิน ถ้าหลบเข้าที่กำบังก็ถือว่าภารกิจ suppression of enemy air defense ลุล่วงไปแล้ว
F-22 รูปทรงและวัสดุลดแรงสะท้อนเรดาร์ ขณะที่ S - 300 ไม่มีคุณสมบัติเหล่านั้นและมีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่า ดังนั้นขณะที่ S - 300 ปิดเรดาร์ก็ยังสามารถถูกตรวจจับได้
ตัวเครื่อง F-22 ก็คงไม่ได้หล่อเย็นหรอกมั้งครับ แต่ก็ลดความร้อนทั้งจากเครื่องและแรงลมหมุนวนปลายปีก แต่รู้สึกว่า S-300 รุ่นที่มีระบบอินฟราเรดจะมีแต่เฉพาะรุ่นบนเรือรบเท่านั้น
ถ้า S -300 ยิงแล้ว ก็จะต้องเปิดเรดาร์จนกว่าจรวดจะกระทบเป้าหมาย เพราะไม่มีคุณสมบัติโฮมมิ่งด้วยตัวเอง ด้งนั้นจึงไม่สามารถปล่อยจรวดแล้ววิ่งขับรถเข้าบังเกอร์ (ผมไม่ได้พูดเรื่องไม่มงไม่แมนอะไรเลยนะครับ) ไอ้การพรางด้วยตาข่ายเขาก็ใช้กันอยู่ แต่คงไม่ได้ขุดหลุมเข้าไปหลบหรอก หลุมคงใหญ่จนดูไม่ค่อยเป็นหลุมแล้วมั้ง นอกจากนี้หลุมมันไว้ป้องกันภัยทางราบจากทหารบกกันเองไม่ใช่เหรอครับ
รถที่อยู่กลางทะเลทรายผมว่าก็ไม่เเปลกนะ ลักษณะคล้ายๆ กับกรณี highway of death ในสงครามอ่าว นอกจากนี้เวลาเห็นภาพการติดตั้งระบบมิสไซล์หรือปืนใหญ่สนามก็เถอะมันก็อยู่่กลางลานที่ค่อนข้างกว้าง หรือไม่ก็ทุ่งหรือทะเลทราย ยังไม่เคยเห็นแบบดงๆ เลย อีกอยากรถแต่ละคันมีขนาดใหญ่โตกว่ารถถังหลายเท่าคงลุยป่าไม่ได้
แล้วทบ.มีอะไรจะไปสู้กับเครื่องบินอีกล่ะครับนอกเหนือจากอาวุธต่อต้านอากาศยาน
S - 300 ก็ต้องถือว่าเป็น SAM แบบหนึ่งที่ทาง Nato กลัวมากที่สุดแล้วมั้ง แต่การโจมตีมีความได้เปรียบคือเรารู้ว่าเราจะโจมตีอย่างไร มากกว่าที่คนตั้งรับจะรู้ว่าจะโดนโจมตีทางไหน การรบระหว่างทับบกปะทะทับบก หรือทัพอากาศปะทะทัพอากาศนั้นไม่ว่าใครจะรับหรือรุก มีความเป็นไปได้ว่าจะสูสีสูงเนื่องจากสองฝ่ายมีอาวุธใกล้เคียงกัน แต่การรบระหว่างทับบกกับทัพอากาศนั้น กองทับบกเสียเปรียบนะครับ กองทัพอากาศเคลื่อนที่ว่องไวกว่าตกเป็นเป้าต่ำกว่าและ มีเป้าหมายให้เลือกโจมตีมากกว่า ว่ากันตามตรงถ้ากองทัพอากาศไม่ได้เปรียบก็คงไม่มีใครใช้หรอก
ปล. ผมอาจจะเขียนภาษามันส์ปากไปบ้างก็ขออภัย ไม่ได้มีเจตนาเสียดสีกระแนะกระแหนอะไรใครนะครับ
สะกัดผิดเต็มเลยเว้ย
สะกดผิดซ้ำสองอีก (แทรกแผ่นดินหนีดีกว่า)