ในเวปwww.timawa.netบอกวันที่28/9/55เวลา15.00น เรือลำใหม่ที่ลงน้ำได้ไม่นานนี้ไฟไหม้เรือหมดแล้วกำลังหาสาเหตุอยู่น่าเสียดายมากครับ
กำจิงๆ
น่าเสียดายมากๆครับ ไม่เข้าจัยไม่มีเรือดับเพลิงอยู่แถวนั้นเลยหรา
เป็นเรือทหารทำไมมาจอดอยู่แถวนี้
นี่ถ้าเกิดออกปฏิบัติภารกิจแล้วมีการประทะเกิดขึ้น ถ้าโดนกระสุนฝ่ายตรงข้ามเข้านัดหนึ่งสงสัยไหม้ยกลำ สงสัยอยู่ว่าวัสดุแบบนี้เหมาะที่จะใช้ต่อเรือรบหรือเปล่านี่
เห็นข่าวแล้วน่าตกใจครับ ถือเป็นประสพการณ์กับวัสดุคาร์บอนคอมโพสิต
ในโคลงการนี้สงสัยต้องทบทวนปรับปรุงยกโคลงสร้างกันใหม่
ระบบเรือเป็นระบบปิดเพื่อลดการตรวจจับ ฉะนั้นถ้าเกิดโอเวอร์โหลด ความร้อนจากภายในน่าจะควบคลุมใด้ยาก
หวังว่ากำลังพลประจำเรือคงปลอดภัยนะครับ
จิงๆมันไม่น่าวอดได้ทั้งลำนะครับ โดยปกติเรือจะต้องมีระบบ ดับไฟฉุกเฉินไม่ไช่หราครับ
อย่าเพิ่งตกใจครับ กรุณณาใช้วิจารณาณดีๆครับ ทั้งผู้โพสต์และผู้อ่าน
เท่าที่เคยเข้าไปดูในคลิปยูทูป เรือลำน้ำนี้เค้าสร้างเพื่อใช้ในงานเทศกาล
ไม่ใช่เรือรบจริงๆ ปล่อยให้เรือลอยออกไป แต่ไม่รู้ว่าเผาเองคล้ายๆกับพิธีกรรมเผากงเต๊กหรือเป่าก็ไม่รู้
แหม่น่าจะใหม้ไปให้หมด ฮ่าๆ
โดนวางเพลิงหรือเปล่าครับ!!! มันไม่น่าไฟไหม้หมดลำ
ประกันจ่ายเปล่าครับ
ว่าแต่ใช่ตัว สเตลล์ เปล่าอ่ะ
เฮ้อ ตกใจหมด
ถึงว่า มันไหม้กระทั่งตัวโครงสร้างของเรือ
ช่วยใช้ภาษากันให้ถูกต้องด้วยครับ
ผมว่ามันทะแม่งๆตั้งแต่พิธีปล่อยเรือลงน้ำแล้วเรือรบอะไรปล่อยเรือลงน้ำแถวชายหาด
มันคือเรือจริงๆนั่นแหละไมใช่เรือกงเต๊ก วัสดุที่ใช้ท่าทางจะติดไฟง่ายไปหน่อย โครงสร้างน่าจะเป็นโลหะผสมตัวเรือเป็นคอมโพสิท สภาพมันจึงวอดแบบนี้
คิดว่าเป็นเรือจริงไม่ได้สร้างเพื่อใช้งานเทศกาลเหรอครับดูในเวปของอินโดมีข้อมูลมากมาย เวป defense-studiesโครงการ(Klewang KRI 625) ยาว 63 เมตรคงไม่ได้ทำงานเทศกาลครับ
เรือจริงครับเห็นข่าวภาษาอังกฤษออก jakartapost
http://www.thejakartapost.com/news/2012/09/28/navy-vessel-catches-fire-banyuwangi.html
ถ้าเผาเป็นกงเต็กจริง ผมว่าคงไม่เอามาจุดกันใกล้สะพานหรอกมั้งครับ แล้วอีกอย่างผมก็ไม่เคยเห็นสักทีว่ามีพิธีกรรมแบบนี้
อ่านจะ Comments แล้วไหม้จริง 100% ครับ คนอินโดยังด่าบริษัทที่สร้างเรือเลย มีมาเลย์เข้ามาอวยให้เล็กน้อย อิอิ
อภิมหาซูเปอร์ล่องหน เรือรบใหม่อิเหนาเก๋าสุดในย่านนี้ | ![]() ![]() ![]() ![]() |
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000108016
บริษัท พีทีลุนดิน (PT Lundin) หรือนอร์ธซีโบท (North Sea Boat) ซึ่งเป็นบริษัทต่อเรือนานาชาติในชวาตะวันออกได้ส่งมอบเรือเร็วตรวจการณ์ติด จรวดนำวิถีรูปทรง “ซูเปอร์สเตลธ์” ยุคใหม่ให้แก่กองทัพเรืออินโดนีเซียในวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทนี้กล่าวว่าเป็นเรือทันสมัยที่สุดในระดับเดียวกัน
เรือรุ่นใหม่รูปทรงตรีมารัน (Trimaran) ซึ่งได้ชื่อว่า “เกลวัง” (KRI Klewang) นับเป็นลำแรกในจำนวนทั้งหมด 4 ลำที่กองทัพเรือ หรือ TNI-AL (Tentara Nasional Indonesia Angkatan Laut) สั่งซื้อ
บริษัทนี้ทำการวิจัยทดลอง และออกแบบเรือเร็วตรวจการณ์ติดขีปนาวุธ หรือ FMPV (Fast Missile Patrol Vessel) รุ่นนี้มาตั้งแต่ปี 2550 เริ่มต่อในปี 2553 และเก็บเป็นความลับตลอดมาตามความต้องการของกองทัพเรืออินโดนีเซีย บริษัทต่อเรือแถลงเรื่องนี้ในวันที่ 27 ก.ค.
ตามรายงานในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม พีทีลุนดินก่อตั้งขึ้นโดยนักลงทุนชาวสวีเดนที่เติบโตจากครอบครัวที่เป็นเจ้า ของบริษัทต่อเรือใหญ่ที่สุดในประเทศนั้น สาขาในอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ที่เมืองบุนยูวางี (Bunyuwangi) จังหวัดชวาตะวันออก นอกจากนั้น ยังมีอีก 2 สาขาในสวีเดน และในสิงคโปร์
อินโดนีเซียซึ่งภูมิประเทศประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยหลายพันเกาะ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เร่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งการป้องกันประเทศ ทั้งกองทัพบก เรือและอากาศ กองทัพเรืออินโดนีเซียซื้อเรือดำน้ำถึง 4 ลำ ในขณะที่กองทัพอากาศกำลังรอส่งมอบเครื่องบินรบ F-16 รุ่นเก่าแต่อัปเกรดจากสหรัฐฯ จำนวน 24 ลำ
ประเทศนี้ไม่ได้เป็นคู่พิพาทโดยตรงในกรณีหมู่เกาะทะเลจีนใต้เช่นประเทศ เพื่อนบ้านรอบข้างคือ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แต่ตระหนักถึงภัยข่มขู่จากการที่จีนขยายแสนยานุภาพลงสู่ทะเลแปซิฟิก.
เรือมีขนาด 53 ตัน ยาวตลอดลำ 63 เมตร ส่วนประกอบเกือบทั้งหมดของลำเรือต่อขึ้นจากวัสดุคาร์บอนผสม ออกแบบด้วยเทคโนโลยีสเตลธ์ หลบเลี่ยงการตรวจจับด้วยเรดาร์ของข้าศึก ติดเครื่องยนต์ขนาด 1,800 แรงม้า ทำความเร็วได้ถึง 35 นอต หรือเกือบ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วระดับเรือพิฆาตลำหนึ่ง
รูปทรงของเรือปิดบังอาวุธที่ติดตั้งมิดชิด มีทั้งระบบป้องกันการโจมตีทางอากาศและระบบป้องกัน/โจมตีเรือเป็นขีปนาวุธ พีทีลุนดินรายงานเรื่องนี้ในเว็บไซต์โดยไม่ได้ระบุชื่อ หรือรุ่นของระบบอาวุธ
ใต้ท้องเรือเป็นแบบตรีมารันซึ่งเป็นแบบเดียวกับเรือโจมตีชายฝั่ง LCS2 (Littoral Combat Ship-2) ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตชั้นอินดิเพนเดนซ์ (Independence-class) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ทำให้สามารถแล่นฝ่าคลื่นแรงได้อย่างคล่องแคล่ว แทนการถูกคลื่นยกตัวเรือขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล
เรือสร้างขึ้นภายใต้รหัส X3K ติดตั้ง มีชั้นดาดฟ้าสำหรับจอดเฮลิคอปเตอร์ บริษัทพีทีลุนดินกล่าวว่า เป็นเรือทันสมัยล้ำยุคที่สุดในบรรดาเรือระดับเดียวกัน ที่สร้างในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X12601464/X12601464.html
น่าจะใช่ลำนี้ มาเร็วเคลมเร็ว
เรือมีขนาด 53 ตัน ยาวตลอดลำ 63 เมตร ส่วนประกอบเกือบทั้งหมดของลำเรือต่อขึ้นจากวัสดุคาร์บอนผสม ออกแบบด้วยเทคโนโลยีสเตลธ์ หลบเลี่ยงการตรวจจับด้วยเรดาร์ของข้าศึก ติดเครื่องยนต์ขนาด 1,800 แรงม้า ทำความเร็วได้ถึง 35 นอต หรือเกือบ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วระดับเรือพิฆาตลำหนึ่ง
ใช่ลำนี้ไหมครับ
น่าจะเกิดจากควมาผิดพลาดในการทดสอบ ซึ่งเรือลำนี้น่าจะยังไม่ได้ส่งมอบให้กองทัพ
ปล.เรือลำนี้ผลิดในอินโดเอง เทคโนโลยีและมาตรฐานที่ใช้ยังน่าสงสัยอยู่
ซึ่งเจ้าของบริษัทเป็นสวีเดนเท่านั้น ส่วนคำกล่าวอ้างหรือคำอ้างอิงในประสบการณ์นั้น ไม่ค่อยชัดเจน
ไม่รู้ว่าจะเป็นการหลอกต้มคนดูหรือเปล่างานนี้
วัสดุคอมโพสิตนั้น มีหลายประเภท ไฟเบอร์กลาสก็ถือว่าเป็นวัสดุคอมโพสิตประเภทหนึ่ง(และคาดว่าคอมโพสิตที่ใช้ในเรือลำนี้ก็คือไฟเบอร์กลาสนั่นแหละ) เพราะฉะนั้นไฟไหม้แล้วดับยากก็ไม่แปลก แต่ที่แปลกใจคือ ระบบการควบคุมความเสียหายนั้น ยังไม่ได้ติดตั้งบนเรือเลยหรือ ?ทั้งๆที่ออกทดลองเรือในทะเลแล้ว เห็นภาพแล้วนึกถึงเรือเชฟฟิลด์(อันนี้ทำจากอะลูมิเนียม ) ใครจะไปคิดว่าเรือที่ทำจากอะลูมิเนียมก็ติดไฟได้ดีขนาดนั้น
อืมว่าแต่......เรือกงเต็ก
คิดได้ไง ถามจริงๆ รึว่าเล่นมุก
ปล.อ่านภาษาที่โพสกันแล้วปวดตับจี๊ดๆเลยทีเดียว โคลงการ โคลงสร้าง ควบคลุม ...ประสพการณ์ จัย หรา
เรือลำนี้เพื่อนๆในเวปนี้ลงข่าวการปล่อยลงน้ำไปแล้วนี่ผมจำได้ และท่าเรือที่ปล่อยก็ท่าเรือและชายหาดแถวๆนี้ วัสดุคอมโพสิตที่ใช้สงสัยไม่ได้มีการทดสอบเรื่องการติดไฟของมันเลย ถ เน้นแต่น้ำหนักที่เบาและความแข็งแรงทนทานจนลืมเรือการติดไฟ ซึ่งเรือรบทุกลำต้องคำนึงถึง เพราะการถูกยิงแล้วไฟไหม้นี่เป็นเรือที่เรือรบทุกลำต้องเตรียมเผชิญหน้ากับสิ่งนี้ นักออกแบบหลงลืมเรื่องง่ายๆไป ตลกดี
ดีนะครับที่มันไหม้ตั้งแต่ลำต้นแบบ ไม่ได้ไปรบกับใคร
ทำให้นึกถึงการใช้อลูมิเนี่ยมอัลลอย์ในการสร้างเรือรบ แต่นักวัสดุศาสตร์ลืมไปว่า อลูมิเนี่ยมนั้นสามารถติดไฟได้แบบไม้เมื่อติดไฟ แถมดับยากอีกต่างหาก.......555555
บางที่พวกนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรชั้นเยี่ยมบางทีก็หลุดเรื่องง่ายๆเอา......แต่งงที่วิศวกรรมและทีมงานของทร.อินโดนี่เชื่อฝรั่งง่ายขนาดนี้เชียว........
จริงๆวัสดุคอมโพสิตที่ควรใช้ทำเรือควรเป็นพวก MMC ที่เป็นวัสดุคอมโพสิตโลหะกับเซรามิคมากกว่า ทนทาน ราคาแพงมาก ไม่ติดไฟ ทนแรงกดแรงเค้นแรงเฉือน ค่ายังโมดุลลัสที่สูง เบากว่าโลหะเพียวๆ แต่ก็ไม่เบาขนาดพวกคอมโพสิตเครื่องบินหรือพวกไฟเบอร์กลาส
เรือพึ่งปล่อยลงน้ำได้ไนนเอง แต่ก็งงตอนที่ปล่อยลงน้ำที่เพื่อนสมาขชิกเอามาลงทำไมเขาปล่อยลงน้ำแบบนั้นยังสงสัยไม่มีพิธีเลยหรือ เห็นเอารถแบ็คโฮช่วยอีกต่างหากหรือเขาไม่ทำพิธีเลยดดนแม่ย่านางดกรธเอาเลยดดนไฟไหม้เอา
ส่วนที่บอกว่าเรือกงเต็กนั้นไม่ใช่แน่นอน
http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=16799&topic=KRI Klewang, Indonesian เรือ stealth สวยงาม
นี่ครับจากกระทู้เก่าไม่นาน
หลังจากค้นหาไปมาเรื่องวัสดุคอมโพสิต ไปสะดุดตาเจอPDF อันนี้เข้า
อธิบายว่า อะลูมิเนียมไม่ติดไฟ!!!!!! อ้าวแล้วที่เชื่อๆกันมาก็ผิดสินะเนี่ย จริงๆแล้วที่เชฟฟิลด์ไหม้ไฟนั้นเนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ในตัวเรือ ซึ่งไม่เกี่ยวกับอะลูมิเนียม ....
แต่จำได้ว่าเคยอ่านเจอว่าอะลูมิเนียมบางตัวที่ติดไฟได้ เพราะมีส่วนผสมของแมกนีเซียมอยู่ด้วยเยอะ (หรือAluminium/Magnesium Alloy แบบเดียวกับที่พบได้ในกล้องDSLRหลายๆรุ่นอย่างNikon D7000/600/700/800 Canon EOS40/50D /5D/7D เป็นต้น) จนกระทั่งการติดไฟนั้นไม่ได้มาจากอะลูมิเนียม แต่เป็นแมกนีเซียม (แมกนีเซียมติดไฟได้ดีจริงๆ หากเคยลองเล่นในแล็บแล้ว จะรู้ว่าไฟจากแมกนีเซียมนั้นสว่างจริงๆ)
โว้วพึ่งโชว์ตัวได้ไม่นาน ไหม้ซะเเระ ทำไมเป็นงั้นไปได้ละเนี่ย..
แมกนีเซียมติดไฟดีมากครับ
อาจารย์เคมีตอนมัธยม บอกว่าแสงแฟล๊ซรุ่นแรกๆ ที่เราเห็นกันในหนังฝรั่งที่ช่างกล้องต้องยกขึ้นเหนือหัวนั่นละครับ
เป็นไฟจากแมกนีเซียม
คงต้องรอผลการ สอบสวน ครับ...
อาจจะเป็นที่ เครื่องยนต์ ก็ได้ครับ...
เพราะเรือรุ่นนี้เป็น Water Jet...ลูกเรืออาจจะไม่มีความชำนาญ หรือยังไม่เข้าใจในระบบดีพอ...ทำให้เกิดความเสียหายจนเกิดไฟลุกไหม่ จนเป็นผลเสียหายไปทั้งลำ...
ยกตัวอย่าง ร.ล.มกุฎราชกุมาร...ที่เครื่องยนต์ตอนสร้างเสร็จ (ถ้าจำไม่ผิด) เป็น แก้สเทอร์ไบด์ หลังจากประจำการน่าจะไม่เกิน 2 ปี...เกิดความผิดพลาด เพราะ ทร. ยังไม่เคยใช้งานเครื่องยนต์แบบนี้ ในสมัยนั้น...ทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนมากจนเกิดเพลิงไหม้ในส่วนเครื่องยนต์ จนเสียหาย...แลเไม่แน่ใจว่า ไหม้ในส่วนโครงสร้างด้วยหรือไม่...ทำให้ ทร. ต้องยกเครื่องยนต์ใหม่ เป็น เครื่องยนต์ดีเซล...
หรือ มาเลเซีย ที่ซื้อเรือ LST มือสองจากสหรัฐชั้น Newport มาใหม่ ๆ...ก็เกิดเพลิงลุกไหม้ในส่วนเครื่องยนต์ จนทำให้เพลิงลุกไหม้ วอดทั้งลำ...เมื่อประมาณ 2 ปี ที่แล้วครับ...
ผมว่า คงต้องผลสอบสวนอีกทีครับ....
เรือ LST ชั้น Newport ของ ทร.มาเลเซีย ประจำการได้ไม่นาน ก็เกิดเพลิงลุกไหม้จนเสียหายทั้งลำ...
คงต้องรอการ สอบสวน ในครั้งนี้ครับ...
ซึ่งจะทำให้...เราทราบจุดบกพร่อง...ข้อดี ข้อเสีย...โดยไม่ต้องลงทุน...หรือ อาจจะพัฒนาได้ดีกว่า...เพราะมี บทเรียน..ที่คนอื่นทำให้ได้เรียนรู้แล้วครับ...
อาจนอกเรื่องไปนิดนะครับ ในความคิดผมที่ เรือ เรือรบ ในปัจจุบันเกิดเพลิงไหม้ได้ง่ายสวนทางกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน อาจเป็นเพราะความห่วงใยในสภาวะโลกร้อนแบบแปลกๆของพวกเราก็เป็นได้ครับ เรือปกติจะมีการควบคุมเพลิงอยู่ 3 ระบบอะครับ คือ ระบบคุมไฟ(ประมาณหัวสปริงเกอร์ตามเพดาตึกอะครับโดยมีน้ำเป็นสารคุมไฟ) ระบบดับเพลิงหลัก(ประมาณหัวรับสายน้ำดับเพลิง สีแดงๆตามตึกนั้นแหละครับ) และระบบดับเพลิงฉุกเฉิน(เป็นระบบที่แยกเป็นเอกเทศครับ ส่วนใหญ่สามารถเคลื่อนย้ายได้ครับ ประมาณถังดับเพลิงแดงๆตามตึกอะครับ) ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้มีเพียงระบบเดียวที่ทำงานอัตโนมัติครับ คือ ระบบคุมไฟ ที่สมัยก่อนใช้สารจำพวก CFC เป็นสารคุมไฟครับ แต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยนมาใช้เป็น สาร CO2 แทน(การใช้ CO2 เป็นสารคุมไฟต้องใช้ อุปกรณ์ที่มีพื้นที่และน้ำหนักมากกว่า CFC ประมาณเกือบ 10 เท่าตัวครับ ที่ประสิทธิภาพเดียวกัน) โดย IMO เป็นผู้กำหนดครับ ซึ่งจากขนาดพื้นที่ น้ำหนักการติดตั้งของ CO2 ทำให้ระบบคุมไฟถูกลดประสิทธิภาพลงอย่างมาก และถูกลดจุดติดตั้งลงครับ โดยเฉพาะ พวกเรือเล็ก เรือรบขนาดเล็ก มีปัญหากันมากครับ จึงติดตั้งได้เฉพาะในห้องเครื่องจักรใหญ่เท่านั้น(ส่วนใหญ่ห้องนี้มีปั้มน้ำ ระบบดับเพลิงหลักอยู่ด้วย ถ้าไฟไหม้ห้องนี้แล้ว ระบบคุมไฟเอาไม่อยู่ ระบบดับเพลิงหลักก็พังไปด้วยครับ) ซึ่งถ้าเกิดเพลิงไหม้ที่อื่นๆ ก็ต้องอาศัยกำลังคนในการดับเพลิงอะครับ ซึ่งก็จะมีการฝึกกำลังคน ในสถานีดับเพลิงอยู่เป็นประจำอยู่แล้วครับ แต่ในกรณีนี้ อินโดที่พึ่งรับ IMO ไม่นาน อุปกรณ์ใหม่ๆ มาตรฐานการฝึกใหม่ๆ อาจไม่เคยชินก็เป็นได้ครับ
Jiangkai II frigate tests its onboard fire-suppression system
Jiangkai II frigate tests its onboard1
Jiangkai II frigate tests its onboard2
Jiangkai II frigate tests its onboard3
เฮ้อ.....น่าเสียดายแทน