« เมื่อ: ตุลาคม 11, 2012, 10:15:31 PM » |
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=264245.0
สมัยก่อนไทยเรารบเก่งนะครับ แต่สมัยนี้ จะทำอะไรก็ กล้าๆกลัวๆไปหมด
น่าจะมีการนำไปทำฉากการรบจำลองของเสืออากาศไทยกับฝรั่งเศสใน dogfight history channel บ้างนะ
แต่ก่อนด้านการทหาร เราเป็นอันดับสองในเอเชีย รองเพียงญี่ปุ่นเท่านั้น เดี๋ยวนี้...
อย่าคิดมากครับ ตามสัดส่วนน่าจะแข็งแกร่งกว่าปัจจุบันแต่มันคงไม่ดีอย่างคิด อย่าลืมว่าในยุคนั้นในเอเซียมีประเทศเอกราชกี่แห่ง น่าจะแค่ญี่ปุน,จีน,ไทย,เนปาล และไทยไม่น่าจะแซงจีนได้ ญี่ปุนกับไทยในยุคนั้นอย่าเอามาเทียบกันเลยครับ
โปรดตรวจสอบข้อมูลด้วยครับ น่าจะมีตรงไหนไม่ดูกต้องนะครับ
ท่าน มานพ สุริยะ เป็นครูการบินระดับแนวหน้าของ ทอ. มีลูกศิษย์ลูกหาเพรียบ
และที่สำคัญท่านอยู่รับราชการใน ทอ. ต่อมาจนได้ยศเป็น พลอากาศโท และได้รับพระราชทานเพลิงเมื่อปี 2532
ในวันเดียวกันนี้เอง เราได้รับรายงานว่า ฝูงบินทิ้งระเบิด ฟามัง จอดอยู่ที่ฐานบินเมืองเสียมราฐ ไม่ไกลจากเขตแดนของไทยมากนัก เราจึงยกไปโจมตีฐานบินฝรั่งเศสที่เมืองเสียมราฐในวันนั้นเอง โดยใช้เครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด มิตซูบิชิ กิ - 30 นาโกย่า ได้ น.ท. หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร ทรงทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหมู่ มีลูกหมู่อีก 2 เครื่อง คือ ร.อ.ประสงค์ สุชีวะ (นักบิน) และ ร.อ.มานพ สุริยะ (พลปืนหลัง) จับคู่กับ ร.ท.บุญเยี่ยม ปั้นสุขสวัสดิ์ รวมเป็น 3 เครื่อง
เมื่อถึงเป้าหมาย นาโกย่า ของเสืออากาศไทยทั้ง 3 เครื่อง ทำการทิ้งระเบิดทันที แบบปลดครั้งเดียวหมดทั้งตับ ส่งผลให้เครื่องฟามังที่จอดเรียงรายอยู่บนฐานโดนทำลายหมดยกฝูง แต่ระหว่างที่กำลังทิ้งระเบิดใส่ฐานอยู่นั้น ได้มีเครื่องบินขับไล่ โมราน ซอนเยร์ จำนวน 4 เครื่อง ขึ้นสกัดกั้น จนเกิดการปะทะกันกลางอากาศอยู่เป็นเวลานาน ทำให้เครื่องหมายเลข 3 ของ ร.อ.มานพ กับ ร.ท.บุญเยี่ยม เกิดโชคร้ายหลุดออกจากหมู่ จึงถูกโมรานทั้ง 4 เครื่องรุมยิงจนตก เสียชีวิตทั้งคู่ ส่วนอีก 2 เครื่อง บินกลับฐานได้อย่างปลอดภัย
อ้างอิง
กองทัพอากาศ ได้ทำสารคดีการรบทางอากาศ การปฏิบัติการทางอากาศ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงเหตุการณ์ปัจจุบันครับ น้องๆ สารคดี DOGFIGTH ครับ มีโอกาสจะหามาให้ชมครับ....หรือไปชมได้ที่ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
รบกวน สอบถามนิดครับ ตรงโพสของ คุณ seaman ตัวเครื่องบินภาพแรก สีขาวอมเทา(ภาพมันขาว-ดำ) เป็น เครื่องบินไทย ใช่ไหมครับ และ เป็นเครื่องบินที่มาจากผู้ผลิตญี่ปุ่น เป็นเครื่องรุ่น อะไรครับ ผมมีโมเดล(1/144)อยู่ คล้ายๆกัน ถ้าใช่ตัวไทย ผมจะได้หาข้อมูลเพื่อจะทำโมตัวไทยครับ ขอบพระคุณครับ รบกวนผู้ที่ทราบนิดหนึ่งครับ
เครื่องในภาพขวาดำนั้นคือ Ki-30 นาโกย่า
เครื่องบินแบบ ๒๖ ( Nagoya ) หรือ จ. ๒
เครื่องบินแบบ ๒๖ ( บ.จ. ๒ ) |
บทบาทของเครื่องบินโจมตี-ทิ้งระเบิด แบบ ๒๖ นาโกย่า (จ. ๒) | |
http://www.encyclopediathai.org/aircraft/Attack/nagoya/nagoya.htm
สำหรับการปฏิบัติภารกิจของเครื่องรุ่นนี้ในช่วงสงครามอินโดจีน ที่สำคัญๆ มีดังนี้
กองทัพอากาศไทยได้จัดฝูงบินโจมตี และฝูงบินไล่ขับไล่ ไปโจมตีทิ้งระเบิดสนามบินนครวัด ๒ ครั้งด้วยกัน ทำให้เกิดการยุทธทางอากาศที่สำคัญ ดังนี้
ครั้งที่ ๑ เป็นการสู้รบติดพันกลางอากาศของฝูงบินรบฝ่ายไทยกับฝูงบินขับไล่ฝ่ายข้าศึกครั้งที่รุนแรงที่สุด ซึ่งผลจากการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ ทำให้นักบินที่เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญแทบทุกคน เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๘๔ ฝ่ายไทยได้ส่งฝูงบินโจมตี พิบูลสงครามจากดอนเมือง มุ่งไปโจมตีทางอากาศ ที่สนามบินนครวัด โดยมี นาวาอากาศโทขุนรณนภากาศ เป็นผู้บังคับฝูงบินโจมตี ประกอบด้วย เครื่องบินโจมตีแบบ ๒ (Ki-30 Nagoya) จำนวน ๔ หมู่บิน (๑๒ เครื่อง) และ เครื่องบินขับไล่แบบ ๑๑ (Hawk-75N) บินคุ้มกันจำนวน ๒ เครื่อง ครั้งเมื่อฝูงบินโจมตีเดินทางถึงสนามบินนครวัด ฝ่ายไทยได้ถูกต่อต้านด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยานของข้าศึกอย่างดุเดือด แต่ฝ่ายไทยก็สามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ โดย เครื่องบินขับไล่ฝ่ายไทย จำนวน ๒ เครื่อง (มี พันจ่าอากาศเอกสังวาลย์ วรทรัพย์ กับ จ่าอากาศเอกทองคำ เปล่งขำ เป็นนักบิน) สามารถยิง เครื่องบินขับไล่ฝ่ายข้าศึก แบบโมราน (Morane-Saulnier 406) ตก จำนวน ๒ เครื่อง และ เครื่องบินโจมตีฝ่ายไทย (มี พันจ่าอากาศเอกสว่าง พัดทอง เป็นนักบิน และ พันจ่าอากาศเอกสำราญ โกมลวิภาต เป็นพลปืนหลัง) สามารถยิง เครื่องบินข้าศึกแบบโมราน (Morane-Saulnier 406) ตก จำนวน ๑ เครื่อง นอกจากนั้น เครื่องบินโจมตีฝ่ายไทยยังสามารถทำลาย เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ของข้าศึกแบบ ฟาร์มัง (F-221 FARMAN) บนลาดจอดเสียหายอีกด้วย แต่ขณะเดียวกันฝ่ายไทยได้สูญเสียเครื่องบินโจมตีแบบ ๒ (Ki-30 Nagoya) จำนวน ๑ เครื่อง (มี พันจ่าอากาศเอก บุญเยี่ยม ปั้นสุขสวัสดิ์ เป็นนักบิน และ พันจ่าอากาศเอกบุญ สุขสบาย เป็นพลปืนหลัง)
ครั้งที่ ๒ เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๔๘๘ ฝ่ายไทยได้ส่งฝูงบินโจมตีขนาดใหญ่ จำนวน ๓๓ เครื่อง โจมตีสนามบินนครวัดและเป้าหมายทางทหารในพื้นที่ใกล้เคียงที่เสียมราฐและสนามบินใหม่ที่นครธม โดยมี นาวาอากาศโทขุนรณนภากาศ เป็นผู้บังคับฝูงบินโจมตี ประกอบด้วย เครื่องบินโจมตีแบบ ๒ (Ki-30 Nagoya) จำนวน ๗ เครื่อง เครื่องบินโจมตีแบบ ๑ (Corsair V-93S) จำนวน ๑๖ เครื่อง เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ ๓ (Martin 139 WS) จำนวน ๓ เครื่อง และ เครื่องบินขับไล่แบบ ๑๑ (Hawk-75N) จำนวน ๗ เครื่อง เมื่อฝูงบินโจมตีฝ่ายไทยเดินทางไปถึงที่หมายเมืองเสียมราฐและสนามบินนครวัด ได้ถูกต่อต้านด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยานข้าศึกอย่างหนัก และฝ่ายข้าศึกได้ส่งเครื่องบินขับไล่จากสนามบินนครธมขึ้นมาสกัดกั้นการปฏิบัติการของฝ่ายไทยเช่นเดียวกับคราวที่แล้วมา แต่ฝ่ายไทยสามารถปฏิบัติภารกิจโจมตีทิ้งระเบิดต่อที่หมายทางทหารในพื้นที่ดังกล่าวได้สำเร็จ และสามารถบินเดินทางกลับฐานที่ตั้งในประเทศไทยได้โดยสวัสดิภาพทุกเครื่อง ซึ่งในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ นาวาอากาศโทขุนรณนภากาศ ซึ่งเป็น ผู้บังคับฝูงบินโจมตี นอกจากจะปฏิบัติการโจมตีทิ้งระเบิดถูกโรงเก็บ เครื่องบิน และคลังน้ำมันจนเกิดการระเบิดไฟลุกไหม้ขนาดใหญ่แล้ว แทนที่จะรีบบินเดินทางกลับตามฝูงบินที่เดินทางกลับเมื่อเสร็จภารกิจ กลับได้บินตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศภายหลังจากการใช้อาวุธของฝ่ายไทยในพื้นที่เป้าหมายโดยลำพัง ทั้งที่บริเวณสนาบิน นครวัดและบริเวณสนามบินใหม่ที่นครธมซึ่งอยู่ทางเหนือของสนามบินนครวัดขึ้นไปประมาณ ๑๕ ไมล์ โดยไม่หวั่นเกรงเครื่องบินขับไล่ข้าศึกซึ่งยังคงบินปฏิบัติการในพื้นที่แต่อย่างใด และจากการปฏิบัติภารกิจโดยลำพังอย่างกล้าหาญนี้เอง ทำให้ นาวาอากาศโท ขุนรณนภากาศ ได้มีโอกาสแสดงฝีมือบินชั้นครูและความองอาจกล้าหาญของนักบินไทย ให้ประจักษ์ต่อนักบินขับไล่ฝ่ายข้าศึกซึ่งนำหมู่บินขับไล่แบบโมราน (Morane-Saulnier 406) จำนวน ๔ เครื่อง เข้าจู่โจมรุกไล่รบติดพันกันกลางอากาศกับ เครื่องบินโจมตีแบบ ๒ (Ki-30 Nagoya) ซึ่งมีความเร็วต่ำกว่า ก่อนที่เครื่องบินโจมตีแบบ ๒ (Ki-30 Nagoya) จะสามารถฝ่าวงล้อมของเครื่องบินขับไล่ของข้าศึกกลับมายังเขตไทยที่สนามบินจันทบุรีโดยสวัสดิภาพ จากการที่ นาวาอากาศโท ขุนรณนภากาศ ได้แสดงฝีมือบินและความองอาจกล้าหาญให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งตัวผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นลูกหมู่ และตัวข้าศึกในการรบทางอากาศที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ทั้ง ๒ ครั้งนี้ ชาวไทยและชาวกองทัพอากาศทั้งปวงจึงถือกันว่าท่านเป็นวีรชนผู้ยิ่งใหญ่ของชาติ และของกองทัพอากาศท่านหนึ่ง
http://yyoothp15.wordpress.com/
เป็นที่น่าเสียดายว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบ และเมื่อประเทศไทยเข้าเป็นพันะมิตรกับสหรัฐและเริ่มรับความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารของสหรัฐได้ขอให้ไทยทำลายเครื่องบินญี่ปุ่นให้หมด (สาเหตุคงเพราะไม่ชอบเป็นการส่วนตัว) จึงไม่เหลือเครื่องรุ่นนี้ให้คนไทยรุ่นหลังได้เห็นอีกครับ คงเหลือแต่เครื่องบินฝึกของญี่ปุ่น บ.ฝ.๖ ทาชิกาวา (Tachikawa) ที่รอดมาได้เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น
ผมอ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นมากๆเลยครับ วีรกรรมของเสืออากาศไทยนี้สุดยอดไปเลย ทั้งเก่งและกล้าหาญมาก .....ขอบคุณ คุณ seaman มากๆๆครับ