แบบว่าอยากทราบนะครับ
ฝันครับ จัดมาแค่ครบจำนวนเดิมประจำการที่เดิม
ผมจะแบ่งเป็น 6 ฝูงบินขับไล่ (แบบ Multi role) 6 ฝูงบินโจมตี (ไม่นับฝูงบินสนับสนุนอื่นๆ) จัดเป็น 2 ชั้นดังนี้
ชั้นใน โคราช F16 MLU & L39 , นครสวรรค์ F16 MLU (มือสองจากสิงค์โปร์) & L39 , นครปฐม Jas39 C/D plus & Alpha jet
ชั้นนอก เชียงใหม่ Jas39 A/B plus (มือสอง) & PC21 , อุบล Jas39A/B plus (มือสอง)& PC21 , สุราษฯ Jas39C/D & PC21
ส่วน ดอนเมือง จะรวมฝูงสนันสนุน C130 12 ลำ , AWAC 5 ลำ และ อื่นๆ
ส่วนสนามบินอื่นๆ เช่น นครพนม อุดรฯ หาดใหญ่ กาญฯ พิษณุโลก ประจำการด้วย UAV
จะเห็นว่าผมปลด F16 F5 ที่ไม่สามารถทำ BVR ออกไป และด้วยงบที่จำกัดจึงเน้นที่ เครื่องมือสองที่มีประสิทธิภาพ ได้จำนวนเครื่องตามต้องการ และใช้งบคงความพร้อมรบต่ำสุด
พิมส์เสร็จแล้วหายหมด!!! งั้นเอาแบบย่อๆแล้วกันนะ
ความฝันผมมั้ง
ทอ.
F-5 แทนด้วย Gripen jas 39 c/d หรืออาจจะ ng
F-16 ควรจะแทนที่ด้วย F-15 Se เนืองด้วยประเทศใน ACE ยังไม่มีโครงการจัดหา บ. ยุคที่5 นอกจาก พี่สิงค์ถ้านอกในแง้ต่างๆ F-15 Se น่าจะมี ภาษีดีกว่า F-35 มากว่าเนืองจาด ราคา ค่าตัวที่ถูกกว่า 30-40ล้านเหรียญ ซึ่งผมคิดว่าถ้าโครงการ Pak-fa ยังไม่เกิดในเร็ววัน(มีโอกาศทีั่จะเป็นไปได้ในการประจำการของ Pak-fa ในเวียดนาม) ไทยเราจะมีกองกำลังทางอากาศที่แข็งแกร่งที่สุดใน ACE หุหุ
L-39 กับ A-jet ควรจะแทนที่ด้วย A-10 ตามความต้องการของผม 5555+
เอ่ออยากจะทราบว่า โครงการ Fx-3 ของ คอเรีย(ภาษาตุ๊กกี้)ไม่ทราบว่า เครื่องชนิดได ชนะครับ ถ้า F-15se ชนะได้ จะดีใจเป็นที่สุด ฮ่า
ขอต่อครับ ที่ผมเสนอไปก่อนหน้าเป็นแผนปรับปรุง ทอ. ระยะ 1-10 ปี คราวนี้ขอมาต่อแผน 10-20 ปี บ้างครับ
กองบินชั้นนอก (มีหน้าที่ลาดตระเวน / สกัดกั้น/ โจมตีในขั้นแรกและรอการสนับสนุนจากกองบอนชั้นใน)
เชียงใหม่ 12 Jas39E/F และ PC21
อุบล 12 Jas39E/F และ PC21
สุราษฯ 12 Jas39C/D plus และ PC21
กองบินชั้นใน ( มีความสำคัญใช้ป้องกันเมืองชั้นในและช่วยเหลือกองบินช้นนอก จึงต้องดีที่สุด)
โคราช 10 F35 & 16 F16Block 50 Mod (จากสิงค์โปร์)
นครสวรรค์ 10 F35 & 16 F16Block 50 Mod (มือสองจากสิงค์โปร์)
นครปฐม 12 Jas39C/D plus และ PC21
กองบินอื่นๆ ประจำการด้วย UAV
ด้วยงบประมาณอันจำกัด คงได้เท่านี้ ส่วนพวก L39 Alphajet ปลดประจำการแล้วจะไม่เอา พวก A/T50 มาประจำการเนื่องจากสิ้นปลืองค่าใช้จ่าย และสามารถใช้ F16 Jas39 ทำหน้าที่โจมตีทางลึก/ เป้าหมายที่มีการป้องกันสูง/ ครองอากาศ ได้ ส่วน PC21 ใช้ลาดตระเวนโจมตีเป้าหมายที่มีการป้องกันต่ำ UAV ใช้ลาดตระเวน / โจมตี ส่วย F35 ใช้ในภารกิจสำคัญที่มีความเสี่ยงสูง / ภารกิจป้องปรามทางจิตวิทยาระหว่างประเทศ
ทางเลือกใหม่ ทอ. F-15SE Silent Eagle F-15SE Silent Eagle -เนื่องจากโครงการ JSF F-35 เกิดการล่าช้าอย่างมาก ผนวกกับราคาที่มีต่จะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แทบไม่มีหวังเลยสำหรับประเทศนอกโครงการที่มีงบทางทหารค่อนข้างน้อยแบบไทย แต่ก็ใช่จะไม่เหลือตัวเลือกเลย สำหรับตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจ ที่มานำเสนอกันในวันนี้คือ F-15 ลุดใหม่ล่าสุด ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท โบอิ้ง ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถให้กับ F-15 อย่างล้นเหลือทีเดียว F-15SE Silent Eagle พัฒนาต่อจาก F-15E Strike Eagle หลังจากถูกพัฒนาไปไหนหลายๆเวอร์ชั่น (F-15I ของ ทอ. อิสราเอล, F-15J ของ กองกำลังป้องกันตนเอง, F-15K ของ ทอ.เกาหลีใต้, F-15SG ของ ทอ.สิงคโปร์) ซึ่งจุดประสงค์ของ F-15SE นั้นคือการเสนอเครื่องบินรบที่มีเทคโนโลยี Stealth ในราคาที่ต่ำและคุ้มค่า สำหรับประเทศที่ไม่สามารถจัดซื้อ F-35 ได้ เนื่องจากราคาที่แพง หรือสหรัฐไม่มีนโยบายที่จะขายให้ F-15SE ถูกพัฒนาให้เป็นเครื่องบินรบแบบกึ่งล่องหน(Stealth) ซึ่งตรวจจับทางเรด้าห์ได้ยาก พร้อมติดตั้งระบบอวิโอนิกส์ล่าสุดเป็นเทคโนโลยียุคที่ 5 ซึ่งอุปกรณ์บางระบบได้รับการพัฒนาเพื่อติดตั้งกับ F-15SG ของทหารอากาศสิงคโปร์ และ F-15K ของกองทัพอากาศเกาหลีใต้ เช่น ระบบเรด้าห์ AN/APG-63(V) 3 ทำงานด้วยระบบ AESA(Advance Electronic Scanning Array) ระบบอินฟราเรดสำหรับติดตามและค้นหาเป้าหมาย(IRST) กระเปาะชี้เป้า Sniper ภายในห้องนักบินติดตั้งจอภาพแสดงแบบจอกว้าง แผงควบคุมเครื่องวัดแบบ Flat Pamel Up-Front Control จอแสดงภาพสี นักบินสวมหมวกบินติดศูนย์เล็งแบบ Joint Helmet Mounted Cueing System(JHCS) ติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบ Digital Electronic Warface System(DEWS) และระบบ ถ่ายทอดข้อมูล Link 16 แผนแบบเครื่องบินขับไล่ F-15SE ถูกพัฒนาจกาแผนแบบของ F-15E รุ่นสองที่นั่ง แต่ได้มึการพัฒนาให้สามารถปฏบัติภารกิจที่สามารถเล็ดลอดการตรวจจับจากสัญญาณเรด้าห์เข้าไปโจมตีเป้าหมายได้ โดยการปรับปรุงทางด้านแผนแบบภายนอก รวมทั้งติดตั้งระบบสงครามอิลเกทรอนิกส์แบบใหม่ และติดตั้งระบบอวิโอนิกส์ที่ทันสมัยกว่า F-15 รุ่นปัจจุบัน F-15SE ถูกพัฒนาให้มีความสามารถกึ่งล่องหน เหมือนกับ F-22 และ F-35 ด้วยการเคลือบวัสดุดูดซับสัญญาณเรด้าห์ที่ผิวเครื่องด้านนอก (Radar Absorbent Material, RAM) ติดตั้งระบบอาวุธภายในกระเปาะเชื้อเพลิง (Conformal Fuel Tank, CFT) ด้านข้างลำตัวทั้งสองข้าง และปรับมุมแพนหางดิ่งจากแนวดิ่งชี้ขึ้นเป็นเฉียงทำมุม 15 องศาจากแนวลำตัวทั้วสองด้าน และเปลี่ยนช่องรับอากาศ(Intake) ที่เปลี่ยนเป็นแบบเดียวกันกับที่ติดตั้งใน F/A-18E/F Super Hornet เพื่อลดภาคตัดขวางสะท้อนคลื่นเรด้าห์เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม F-15SE มีคุณสมบัติลดการตรวจจับเฉพาะด้านหน้าเท่านั้น โดยอาวุธที่ติดนั้น F-15SE ถูกเพิ่มช่องเก็บขีปนาวุธเพิ่มอีก 3 ช่อง สำหรับติดตั้ง AIM-120 AMRAAM และ AIM-9 Sidewinder ได้ และสามารถติดอาวุธรูปแบบต่างๆได้ทั้งการโจมตีแบบ อากาศ-สู่-อากาศ และ อากาศ-สู่-พื้นดิน สเป็คเครื่อง บทบาท : เจ็ทขับไล่ครองอากาศกึ่งล่องหน 2 ที่นั่ง นักบิน : 2 คน ความยาว : 19.43 เมตร ความกว้างปีก : 13.05 เมตร ความสูง : 5.63 เมตร น้ำหนักตัวเปล่า : 14.3 ตัน น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 36.7 ตัน กำลังเครื่องยนต์ : เครื่องยนต์เจ็ทเทอร์โบแฟน Pratt&Whitney F100-229 2 เครื่องยนต์ ความเร็วสูงสุด : 2.5 มัค+(2,650 กิโลเมตร/ชั่วโมง) พิสัยทำการ : 1,480 กิโลเมตร พิสัยบินไกลสุด : 3,900 กิโลเมตร โดยติดตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราไต่ระดับ : 254+ เมตร/วินาที ระบบอาวุธ ปืนใหญ่อากาศ : ปืนเก็ตลิ่ง M61 วัลแคน 6 รู ขนาด 20 มม. 1 กระบอก บรรจุกระสุน 510 นัด ขีปนาวุธ : ยังไม่มีข้อมูล สเป็คหลายๆส่วนมีประสิทธิภาพเหนือกว่า F-35A อย่างเห็นได้ชัด ด้อยกว่าเพียงในเรื่อง Stealth ซึ่งหน้าตัดเรด้าห์ของ F-15SE ยังคงใหญ่กว่า F-35A เนื่องจากรูปทรงของตัวเครื่อง อย่างไรก็ตามราคาของ F-15SEงไม่ถูกเปิดเผยออกมาแน่ชัด แต่ชัดเจนว่าจะมีราคาถูกกว่า F-35A และน่าจะเป็นที่จับตามองของกองทัพอากาศทั่วโลก ที่ไม่สามารถซื้อ F-35A เจข้าประจำการได้ รวมทั้งไทยด้วยเช่นกัน ตราบใดที่วันข้างหน้ายังไม่มีข้อมูลแน่ชัด ทุกอย่างเปลี่ยนได้เสมอ ไม่แน่เจ้าเครื่องนี้อาจจะเป็นหนึ่งในตัวเลือก สำหรับ ทอ. ในการแทนที่ F-16 ที่กำลังจะถูกปลดประจำการภายใน 20 ปีข้างหน้า ซึงก็น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
เอาเวอร์ชั่นเกาหลีมาฝาก
..
..ก่อนอื่นต้องสมมุติก่อนว่าถ้าเศรษฐกิจเราดีขึ้นทุกปีชาวนาชาวไร่ผลิตพืชผักได้ราคาการค้าการลงทุนสดใส รัฐขายสินค้าไม่ขาดทุน(เฉียดนิดนึง)
...การพัฒนากองทัพอากาสจะแบ่งออกเป็ณ 3 ระยะคือ ระยะที่1 เป็น 1-5 ปี ระยะที่2เป็น3-10ปีและระยะที่3เป็น8-20ปี คือพัฒนาไปพร้อมกับระยะที่2(เศรษฐกิจเราดี)
….ระยะที่1
1-5ปี พัฒนาบุคคลากรของกองทัพอากาศทั้งกำลังพลและผบ.หน่วยให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานในสงครามข่าวสาร(Information war) สงครามแบบโครงข่าย(Network centric war)เปลี่ยนระบบบัญชาการให่เป็นระบบดิจิตอลทั้งหมดเชื่อมต่อด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้ดิน จัดตั้งหน่วยข่าวกรองที่ขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศจัดอบรมฝึกปฏิบัติการงานข่าวกรอง โดยหน่วยมอสสาสของอิศลาเอล(ทำในทางลับ)
...ระยะที่2
3-8ปี พัฒนาระบบป้องกันภัยทางอากาศจากที่มีอยู่แล้วในแต่ละภูมิภาค เปลี่นระบบเรดาห์ให้เป็นเรดาห์ระยะไกลแบบ3มิติ เพิ่มเติมระบบเรดาห์ระยะกลางแบบเคลื่อนที่เพื่อเป็นแบบ 3 มิติ เพื่อเสริมและเป็นระบบสำรองกรณีโดนโจมตีระบบป้องกันภัยทางอากาศจากฝ่ายตรงข้าม พัฒนาระบบขีปนาวุธป้องกันภัยให้กับฐานบินทั้งแบบระยะไกล้ กลาง กลางกึ่งไกลแบบเคลื่อนที่และอยู่กับที่ ให้มีครบทุกฐานบิน พัฒนาระบบสื่อสารด้วยดาวเทียมเพื่อการพึ่งพาตนเอง พัฒนาระบบอาวุธยุทธภัณฑ์ให้ทันสมัยและพร้อมปฏิบัติการอยู่เสมอ
...ระยะที่3
8-20ปี พัฒนาและจัดหาเครื่องบินรบ โจมตี ฝึกรุ่นใหม่เข้าประจำการหรือปรับปรุงเครื่องที่ยังมีอายุการใช้งานมากให้สามารถปฏิบัติการต่อไปได้เพื่ออุดช่องว่างระหว่างจัดหาใหม่
การจัดหา สำหรับฝูงบินหน้าด่านทั้ง4 ฝูงบินคือ กองบิน 21 41 23 7 ในเมื่อเรามาทางจิ๋วแต่แจ๋วแล้วก็ต้องเดินทางเดิมเพื่อความพร้อมรบและไม่หลากหลายจนเกินไป โดยจัดหามาทดแทนเครื่องบินรุ่นเก่าที่ประจำการตามฝูงนั้นๆ คือจัดหา JAS-39 C/D ในรุ่น แอ็ดว๊านด์ หรือรุ่น E/F มาประจำการฝูงละ 12 เครื่อง และเครื่องบินฝึก/โจมตีเบา ซุปเปอร์ทูคาโน่ ที่กองบิน 23 21 41ฝูงล่ะ 12 ลำ ยกเว้นกองบิน 7ต้องจัดหาเพิ่มจากของเดิมที่มีอยู่ 12 ลำให้เป็น 18 ลำ และจัดหาเตรื่องบินขับไล่ฝึกแบบ MB-345 จำนวน 36ลำ โดยประจำการที่กองบิน23 เพื่อทดแทนอัลฟ่าเจ็ตจำนวน 12 ลำ
การจัดหาสำหรับฝูงบินชั้นในคือ กองบิน 1 4 6 กองบิน 4 ประจำการด้วยเครื่อง F-16 MLU และเครื่อง MB-345 จำนวน 12 ลำ จัดหาเครื่องบินแบบ F-35 จำนวน 12 ลำประจการที่กองบิน 1(ถ้าเขาขายให้นะ)หรือจัดหา E/F-2000 จำนวน24 ลำประจำการที่กองบิน 1 และ MB-345 จำนวน 12 ลำจากทั้งหมด 36 ลำ ก็ประจำการ ณ กองบิน 1
การจัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางเพื่อเพิ่มเติมและทดแทนเครื่องรุ่นเก่า โดยจัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง จำนวน 12 ลำ และขนาดใหญ่จำนวน 6 ลำ อาจจะเป็น C-27 หรือ CN-235 กับ C-130 J หรือ A-400M และจัดหา ฮ.ให้ได้ตามจำนวนที่ ทอ.ต้องการ(ทั้งหมดงบประมาณคงเกิน 3 แสนล้านในระยะเวลา 20 ปี)
ในส่วนโรงเรียนการบินก็ประจำการด้วย ซูปเปอร์ทูคาโน่ รุ่นฝึก จำนวน 24 ลำ (มีป่าวหว่ารุ่นฝึก)หรือ PC-24 ในจำนวนที่เท่ากันและเครื่องบิน ทอ.6จำนวน18ลำ พัฒนา ยูเอวี ขนาดกลางขึ้นเองภายในประเทศเพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวณถ่ายถาพทางอากาศและจารกรรม