ที่มา จาก WWW.taf (ถ้าผิดกฏกองทัพ เวปมาสเตอร์ ลบออกด้วย)
ปรับปรุงครั้งใหญ่
ประกอบ
แล้วเสร็จ
.....มองมุมกลับ....นะครับ
.....แสดงว่าความสามารถในการ "เมนเท็นแน้นต์" ของเราในระดับโรงงานสำหรับเครื่อง Jet ความเร็วต่ำ ไม่เลวทีเดียวครับ
.....แบบนี้น่าจะรองทำซ้ำ Copy เครื่อง Affa jet ดูหน่อยเป็นไร ? ครับ
.....สำหรับชิ้นส่วนที่ ฉีกขาด สามารถขึ้นรูปมาใหม่ทดแทนของเก่าได้ ครับ (ถ้าต้องการ)
อันนี้น่าจะเป็นผลงานของบริษัทTAIนะครับ ที่ตาคลี
ผมว่า เหมือนการ สร้างเครื่องบินL-39 ใหม่นะครับ เพราะเล่น รื้อออกมาหมด ฝีมือของคนไทย ถามว่าสามารถสร้างได้มั้ยสำหรับเครื่องบิน jet แบบฝึก ผมว่าเราสามารถทำได้นะครับ
มีทีมช่างจากทางเชคมาร่วมด้วยครับ ไม่ใช่ช่างไทยทั้งหมด
ถ้าขนาดไทยสามารถทำชิ้นส่วน L39 เองได้บ้างแล้ว (แม้จะมีทีมงานของเชคฯร่วมด้วย) ไทยก็น่าจะลองต่อยอดไปอีกขั้นอาจทำโครงสร้างทั้งลำแล้วใช้อุปกรณ์อื่นๆจากทางเชคฯ (ขอของ L159) ใช้งานดูน่ะครับ ทางเชคน่าจะยินดีและอีกอย่างในแง่การใช้งานฝึกบินและโจมตีก็ถือว่า ok. ไม่ต้องกังวลเรื่องอันตรายจากเครื่องบินรบอื่น เช่น Mig 29 เพราะก่อน L39หรือ L159 จะเข้าโจมตีต้องมีการครองอากาศก่อนด้วย F16 Jas39 อยู่แล้ว
เอ่อ ทำที่taiโดยช่างจากเชคมาควบคุมไม่ใช่เหรอครับ แล้วชิ้นส่วนก็นำเข้าทั้งหมดด้วย ผมหมายถึงเครื่องบินทุกลำที่taiทำการปรับปรุงนะครับ
อยากให้เรายืนอยู่บนความเป็นจริงว่าประเทศไทยยังไม่มีความสามารถทางด้านนี้สุงนัก กองทัพอากาศมีแผนการจะผลิตเครื่องบินใบพัดแบบพื้นฐานขึ้นมาจำนวนหนึ่งต้องรอดูต่อไปว่าจะรอดหรือจะแท้ง
อุตสาหกรรมอากาศยานของเราอยู่ในช่วงตั้งไข่พร้อมจะล้มได้ตลอดเวลาถ้าไม่มีเงินก้อนใหญ่จากรัฐบาล อยากรู้เรื่องนึ้ลึกๆให้คุณนีโอมาอธิบายแล้วกันผมพุดไม่ค่อยเก่ง
อัลฟ่าเจ๊ตเราทำอะไรได้น้อยมาก การก๊อปปี้ชิ้นส่วนตามที่เพื่อนๆว่า"คือการยื่นความตายให้นักบิน" ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเครื่องบินชิ้นส่วนที่ไม่ได้คุณภาพคือสิ่งที่ทำให้นักบบินฝีมือดีๆเสียชีวิต อันนี้ผมหายถึงประเทศอื่นนะที่เขารบกันบ่อยๆหน่ะ
วันนี้เรายังไม่มีศักยภาพพอจะผลิตชิ้นส่วนอากาศได้ในประเทศครับ แต่เม็ดเงินหลายหมื่อนล้านจะช่วยได้ โดยการเปิดโรงงานผลิตชิ้นส่วนทั้งลำเลยกับเครื่องบินซักแบบจะมีต้นทุนที่ถูกกว่ากีอปปี้บางชิ้นส่วน
อุตสาหกรรมการบินเริ่มจากชิ้นส่วนบางชิ้นไม่ได้นะครับต้องทั้งลำและมียอดขายเยอะพอสมควรถึงจะพออยู่รอดได้
.....ผมหวังว่า TAI คงไม่พบจุดจบแบบ THAI-AM ในอดีตนะครับ.....(เอาใจช่วยครับ)
.....อดีต บริษัท THAI-AM มีลูกค้าหลักอยู่รายเดียวคือกองทัพอากาศ ส่วนของกองทัพบก ทัพเรือ ตำรวจ
ยังนิยมส่งไปซ่อมเมืองสิงบุรี....มากกว่า มาซ่อมที่ THAI-AM น้อยมาก
.....ผล THAI-AM ต้องปิดตัวเองลง โอนพนักงานเข้าการบินไทย ปิดตำนาน THAI-AM ไว้ในความทรงจำ.....ตลอดมา
.....ผมก็รอดูลูกค้าจาก กองทัพบก ทัพเรือ เกษตรและตำรวจ อยู่นะครับ ไม่รู้เริ่มส่งมาบ้างแล้วยัง ครับ
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 00:00:37 น.
พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม เปิดเผยว่ากระทรวงเรียกผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดมาหารือเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์ร่าง พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท และการเชื่อมต่อทั้งถนน ราง ท่าเรือ และอากาศ ขณะนี้ในส่วนของความคืบหน้าเรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินที่ ท่าอากาศยานโคราชนั้น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้ให้นโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการบินพลเรือน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด สถาบันการบินพลเรือน ร่วมกันหารือเพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีคุณสมบัติ ระดับโลก มาเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการดังกล่าว.
บพ.เผยตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินโคราชคืบ
"วรเดช" เผย ตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินโคราช คืบ แก้ กม. ลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นคนไทย จาก 50% เหลือ 30% ต่างชาติ 70% รอเสนอสภา คาด 6 เดือน ประกาศใช้
นาย วรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบิน ว่า ขณะนี้ในส่วนของการปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบิน พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ได้แก้ไขสัดส่วนการลงทุนในกิจการผลิตอากาศยาน ผลิตอะไหล่ และให้บริการศูนย์ซ่อมอากาศยาน โดยให้มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นคนไทยไม่น้อยกว่า 30% ต่างชาติ 70% จากเดิมกำหนดให้หุ้นส่วนคนไทยไม่น้อยกว่า 50% ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอเสนอเข้าสู่สภา และคาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน จึงจะสามารถประกาศใช้ได้
อย่างไรก็ตาม เรื่องสถานที่ตั้งนิคมอุตสาหรรมการบินนั้น ส่วนตัวมองว่า สนามบินโคราชมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ประมาณ 4,600 ไร่ แต่ทั้งนี้สนามบินอู่ตะเภา ก็ยังถือว่าน่าสนใจ ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน
เครดิต INNnews
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=427164
จะเอาอู่ตะเภา หรือ จะเอาโคราช อีกสัก 1 ปีคงทราบ แต่ด้วยซีกการเมืองนี้ เดาว่าน่าจะเป็นโคราชมากกว่า และที่ต้องแก้กฎหมาย เพราะต้องการให้พวกญี่ปุ่นสามารถลงทุนได้เต็มที่ อำนวยความสะดวกครับ และใช้โมเดลการพัฒนามาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ประสพผลสำเร็จ
หวังว่าคงไม่ไปสะดุดหินล้านปีจนล้มอีกนะครับ.....................
กองทัพบกมีความพร้อมในด้านการสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตยานเกราะ เพราะมีโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นพื้นฐาน ดังนั้นจึงง่ายขึ้นมากที่จะดำเนินงาน
กองทัพเรือ มีอู่ราชนาวีเป็นแกนกลางในการพัฒนา (ลุ้นอย่างมีความหวังว่าเฟส 2 จะได้รับงบและมีการขยายให้มีโรงต่อเรือและสลิปเวยื) ดังนั้นเรือรบทั้งหลายจึงสามารถต่อเองได้แล้วครับ ทร.จึงมีความพร้อมสูง และจะสูงมาก เมื่ออู่ราชนาวีมีการพัฒนาถึงขีดสุด และเมื่อนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือและถลุงเหล้กที่ภาคใต้มีการก่อตั้งจริงจังอีกครั้ง เราก็จะมีความพร้อมในระดับโลก
ส่วนทอ. ต้องรออีกนาน......................................เพราะอุตสาหกรรมพื้นฐาน ไปสะดุดหินล้านปีเข้า เลยล้ม
เอกชนหนุนไทยฮับซ่อมเครื่องบิน จี้คมนาคมเร่งแก้ปัญหาให้ตรงจุด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 4 มีนาคม 2556 19:26 น |
ผู้ประกอบการผลิตและซ่อมอากาศยานจี้แก้ปัญหาจราจรและกฎระเบียบการนำ เข้า ก่อนตัดสินใจขยายโรงงาน “ชัชชาติ” สั่ง บพ.เร่งศึกษาทำโรดแมปเดินหน้าผุดนิคมอุตสาหกรรมการบินดันไทยเป็นฮับศูนย์ ซ่อมบำรุงอากาศหวังดึงแอร์เอเชียใช้ไทยเป็นฐานการบินครบวงจร ชี้ตลาดโลว์คอสต์และการบินในเอเชียแปซิฟิกเติบโตสูงสุด
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม สมาคมการค้าไทย-ยุโรป ได้นำผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมการบิน 3-4 บริษัทเข้าพบ เช่น บริษัท โรลส์-รอยซ์ ผู้ผลิตรถยนต์และผลิตเครื่องยนต์สำหรับอากาศยาน จากประเทศอังกฤษ บริษัท ไทรอัมพ์ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด ผู้ซ่อมชิ้นส่วนอากาศยาน (MRO) โดยภาคเอกชนเห็นด้วยกับนโยบายนิคมอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน แต่เห็นว่าควรจะต้องมีโรดแมปที่ชัดเจน และเร่งแก้ปัญหาอุปสรรคเช่น กฎระเบียบ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือและช่างเทคนิคและปัญหาการจราจรที่ทำให้การเดินทาง ไม่สะดวกและมีต้นทุนสูง
ทั้งนี้ ผู้ประกอกการต้องการความมั่นใจเพื่อขยายโรงงานเพิ่มไลน์การผลิตในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่ตั้งโรงงานที่อีสเทิร์นซีบอร์ด และจังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้ยืนยันว่าจะแก้ปัญหาเร่งด่วนให้ก่อน เช่น ปัญหาจราจรบริเวณนิคมอุตสาหกรรม การขาดแคลนบุคลากร ช่างฝีมือ โดยทางสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) ได้ประสานกับมหาวิทยาลัยจัดโปรแกรมการเรียนการสอนให้สอดคล้อง รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับการทำธุรกิจ เช่น นำเข้าสีสำหรับอุตสาหกรรมการบิน ผู้ประกอบการระบุว่า สีจะมีส่วนผสมที่แตกต่างและอาจไม่สามารถแสดงรายละเอียดได้ทั้งหมดตามที่กรม โรงงานอุตสาหกรรมต้องการเพราะเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
นายชัชชาติกล่าวว่า ได้มอบหมายให้นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) เร่งหาที่ปรึกษาเข้ามาช่วยวางแผนและการจัดทำโรดแมปการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยเบื้องต้นได้ตั้งอนุกรรมการ 3 ชุด คือ ด้านการฝึกอบรมบุคลากร ด้านสิทธิประโยชน์ และด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน โดยอุตสาหกรรมการบินมีการเติบโตสูงโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี ซึ่งถือว่าสูงสุดในขณะนี้ ขณะที่รายได้เฉลี่ยของผู้ประกอบการในประเทศไทยประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
“นายกฯ มอบหมายให้ผมเป็นประธานเรื่องนี้ เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ที่ผ่านมาการพัฒนาไม่คืบหน้าเพราะอาจจะยังไม่เข้าใจ โดยเมื่อมีโรดแมปแนวทางจะชัดเจนขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่ในสนามบิน โดยบีโอไอต้องเข้าไปช่วยส่งเสริมการลงทุนก่อนเพราะระยะแรกอุตสาหกรรมการบิน จะไม่ค่อยใหญ่มาก ขณะที่ไทยตั้งเป้าหมายจะเป็นศูนย์กลางทั้งด้านการฝึกอบรม การผลิต และการซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นไปได้ จะดึงสายการบินกลุ่มแอร์เอเชียใช้ไทยเป็นฮับในการซ่อมบำรุง เพราะที่ตั้งของไทยเหมาะสม โดยจากนี้ทุกๆ เดือนจะมีการหารือเพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาและการจัดทำโรดแมป” นายชัชชาติกล่าว