21/06/2556 09.30 น. ThaiArmedForce.com - กองทัพบกไทยเตรียมจัดหา UH-72 Lakota จำนวน 6 ลำ มูลค่า 77 ล้านเหรียญสหรัฐ
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงานความร่วมมือทางทหารของสหรัฐ (Deense Security Cooperation Agency) แจ้งต่อสภาคองเกรสถึงความเป็นไปได้ในการขายเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ UH-72A Lakota จำนวน 6 ลำ พร้อมอุปกรณ์สนับสนุน อะไหล่ การฝึก และการส่งกำลังบำรุง ให้กับกองทัพบกไทย มูลค่าสัญญาประมาณ 77 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจุบัน กองทัพบกไทยมีเฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1H ประจำการอยู่จำนวนเกือบ 100 ลำ แต่ส่วนใหญ่มีสภาพเก่าหรืออยู่ในสถานะงดบิน และมีอายุการใช้งานมานานกว่า 40 ปี กองทัพบกจึงมีแนวคิดที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ทดแทน UH-1H ในอนาคต
แหล่งข่าวกล่าวกับ TAF ว่า กองทัพบกไทยมีโครงการที่จะจัดหา UH-72A Lakota จำนวนทั้งหมด 30 ลำ เพื่อทดแทน UH-1H โดยจะทะยอยจัดหาเป็นเฟสจนครบตามจำนวนที่ต้องการ ทั้งนี้ หลังจากได้รับมอบ UH-72A Lakota แล้ว กองทัพบกจะทะยอยปลดประจำการ UH-1H และปรับโครงสร้างของกองพันบินต่อไป โดยจะจัดกองบินตามแบบอากาศยานเพื่อให้อากาศยานแต่ละแบบอยู่ในกองบินเดียวกัน และในการปฏิบัติการจะใช้วิธีจัดชุดปฏิบัติการเข้าสนับสนุนแทน
UH-72A Lakota เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปที่ผลิตขึ้นจากแผนแบบของเฮลิคอปเตอร์แบบ EC145 ของบริษัท Eurocopter ตามโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา (Light Utility Helicopter) ของกองทัพบกสหรัฐในปี 2549 เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ UH-1H และเฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์แบบ OH-58A/C ของกองทัพบกสหรัฐและหน่วย National Guard โดยมียอดจัดหาตามโครงการจำนวน 345 ลำ
ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมากองทัพบกมีโครงการจัดหาอากาศยานหลายรายการเช่น การปรับปรุง Bell 212 เป็นเฮลิคอปเตอร์กันชิพ จัดหา Mi-17 ปรับปรุง CH-47D จัดหา UH-60L/M รวมถึงจัดหา Enstrom 280B และการจัดหาเครื่องบิน ERJ-135 อีกด้วย

ที่มา
http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/53-rta-news/607-thai-army-uh-72a-lakota.html
ความคิดเห็นที่ 1
ไม่รู้ว่าเจ้าตัวนี้บรรทุกทหารได้กี่คน เพราะถ้ามันจะมาแทนฮิวอี้อย่างน้อยก็ต้องบรรทุกทหารได้ใกล้เคียงกัน
โดยคุณ DIV8 เมื่อวันที่
21/06/2013 09:49:09
ความคิดเห็นที่ 2
อยากเห็นUH-1Yมากกว่าเเต่ไม่รู้รุ่นนี้กับ UH-1Y อันไหนดีกว่ากันในเเง่การใช้งานบ้านเรา เพราะเท่าที่เป็นเจ้านี่ตัวเป็นๆมิติมันใหญ่โตเป็นเป้าลอยฟ้าให้ทหารราบเลย
โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่
21/06/2013 09:50:04
ความคิดเห็นที่ 3
ก็เหมาะสมดีครับสำหรับภารกิจลำเลียงเบา ในงานบางงาน ใช่ว่า Black hawk จะเหมาะสม
บรรทุกทหารได้ 8 นาย น้อยกว่า UH-1 แต่ก็ไม่ขี้เหร่ครับ ใช้ได้ ยกมือสนับสนุน ดีกว่าทนใช้ปู่ฮิวอี้ต่อไป เสี่ยงกว่าเห็น ๆ
โดยคุณ
krubannok 
เมื่อวันที่
21/06/2013 10:32:29
ความคิดเห็นที่ 4
ผมสนใจตรงที่เจ้าตัวนี้มีประตูด้านท้ายซึ่งทำให้ ฮ. ตัวนี้สามารถที่จะขนถ่ายสิ่งของหรือเตียงพยาบาลได้ทางท้ายเครื่องครับ ซึ่งทำให้สามารถทำภารกิจช่วยเหลือ กู้ภัยที่สะดวกด้วย แถมราคาน่าคบ
โดยคุณ
เด็กทะเล 
เมื่อวันที่
21/06/2013 11:12:08
ความคิดเห็นที่ 5
แหม่..ท่านครับ UH-1Y มันลำละกว่า 20 ล้านเหรียญ เชียวนะครับ แต่เจ้า UH-72 Lakota นี่มันราคาเฉลี่ยเครื่องละไม่ถึง 13 ล้านเหรียญเองนะครับ แล้วกองทัพสหรัฐเองยังจัดหาไปใช้แทน UH-1H ตั้งกว่าสามร้อยลำ แสดงว่ามันต้องมีประสิทธิภาพและสมรรถนะมีความน่าเชื่อถือดีไม่น้อยเลยล่ะครับ
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่
21/06/2013 11:16:06
ความคิดเห็นที่ 6
มองรอบ ๆ เหมือนไม่แข็งแรง นะ......( ส่วนตัวนะครับ...)
โดยคุณ nidoil เมื่อวันที่
21/06/2013 11:28:50
ความคิดเห็นที่ 7
UH-1Y อยากเห็นรุ่นนี้เหมือกันครับ แต่น่าจะแพงมาก
UH-72 Lakota รุ่นนี้ดูเหมือน ฮ.พาณิชย์ค่อนข้างมาก รุ่นนี้จัดมา 30เครื่องก็คงจะพอ ไว้เผื่องานกู้ภัยสนับสนุนงานด้านอื่น อันนี้เห็นด้วย ที่เหลือน่าจะไปดูรุ่นอื่นที่ได้ตรงตามงานของทหารดีกว่า รุ่นนี้เปิดท้ายได้แต่ใช้งานได้ตอนอยู่กับพื้น เปิดข้างได้ไม่มากมันไม่ตรงตามความต้องการของทหารนะครับ จะติดตั้งอุปกรณ์อำนวยการต่างๆที่มันจำเป็นคงลำบากมาก จนถึงติดตั้งไม่ได้เลย ส่วนที่ว่าสามร้อยกว่าลำก็มองว่าไม่ได้มากมายสำหรับUSAเลย 5%ก็ยังไม่ได้
กองทัพบก น่าจะทำศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เลือกเอาสักรุ่น-สองรุ่นเพื่อทดแทน 100ลำ วางแผนระยะยาว ซื้อเรื่อยๆต่อเนื่อง ซื้อชุดใหญ่ ต่อรองราคาค่าบำรุงรักษาให้ที่สุด น่าจะดีที่สุด การเลือกสรรมันไม่ยากเลยถ้าเป็นมืออาชีพในด้านที่ถนัด แต่ก็ยังไม่รู้แนวทางของ ทบ.อย่างละเอียดก็เป้นเรื่องยากที่จะคาดเดา ??..
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่
21/06/2013 12:32:54
ความคิดเห็นที่ 8
ผมสงสัยอยู่หลายอย่างครับกับฮ.รุ่นนี้
1.โดยทั่วไปภารกิจของUH-1 เน้นการส่งกำลังทางยุทธวิธีเช่นการส่งกำลังทางอากาศโดยที่สกีไม่เเตะพื้นเเล้วรุ่นนี้ประตูข้างเเคบ เเค่พลปืนคุ้มกันก็เต็มเเล้วเเต่ถ้าเปิดประตูด้านท้ายก็ไม่รู้ว่าจะเปิดตอนอยู่ในอากาสได้หรือไม่เพราะเป็นประตูเเบบกาบหอย ไม่ใช่เเบบคาโก้เหมือน mi17
2.เรื่องมิติของฮ.เนื่องจากเคยเห็นตัวเป็นๆเเบบพลเรือนของรุ่นนี้เเล้วมิติมันใหญ่เทอะทะมากถ้านำไปส่งกำลังทางอากาศในสนามรบอาจตกเป็นเป้านิ่งได้ง่ายๆ
3.ถ้าจะเเทนฮิวอี้ก็ต้องบรรทุกได้ไม่ต่ำกว่า8นายไม่รวมลูกเรือ
โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่
21/06/2013 15:03:49
ความคิดเห็นที่ 9
คาดว่าถ้าใช้ภารกิจทางยุทธวิธีอาจจะใช้ UH-60 เป็นหลักนะครับ ส่วน ฮ.ชุดนี้น่าจะใช้สำหรับภารกิจทั่วไปและส่งผู้บาดเจ็บ
โดยคุณ
เด็กทะเล 
เมื่อวันที่
21/06/2013 15:39:51
ความคิดเห็นที่ 10
เปิดตัว ฮ.ใช้งานทั่วไป รุ่นล่าสุดของ ทบ.สหรัฐอเมริกา
((ข้ อมูล จาก Helicopter Specifications, Shepards Helicopter World Handbook 2004)
รายงานการบินทดสอบ ฮ. EC – 145
• กล่าวทั่วไป
รอน บาวเออร์ (Ron Bower) นักบินทดสอบประจำนิตยสาร Rotor & Wing ซึ่งได้รับใบอนุญาต เป็นทั้งนักบินลองเครื่อง และครูการบิน มีประสบการณ์การบินมากว่า 43 ปี มีชั่วโมงบินรวมกว่า 8,500 ชั่วโมง โดยไม่เคยมีอุบัติเหตุเลย นอกจากนั้งยังเคยเป็น นักบิน ทบ.สหรัฐ ฯ ในห้วงสงครามเวียตนาม และยัง เป็นเจ้าของสถิติการบิน ฮ.รอบโลก โดยใช้เวลาน้อยที่สุด (17 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง) ในปี ค.ศ.1996 ด้วย รอน ฯ ได้รายงานผลการทดสอบไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
ก่อนการบินทดสอบ ได้ดำเนินการตรวจสอบ ฮ.ก่อนทำการบิน และพบสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจมากคือ ขนาดของห้องโดยสารดูกว้างขวางมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบขนาดของห้องโดยสาร กับพื้นที่ที่ใช้ในการจอด ฮ. จะพบว่า ฮ. EC-145 ใช้พื้นที่ในการจอดน้อยกว่า ฮ. Bell 412 มาก ทั้งที่พื้นที่ของห้องโดยสารแทบจะมีขนาดเท่ากัน ( EC-145 = 50.77 , Bell 412 = 51 sp.ft ) ทำนองเดียวกันเมื่อนำปริมาตรของห้องโดยสารมาเปรียบเทียบก็มีตัวเลขความจุใกล้เคียงกัน ( EC 145 = 213, bell 412 = 220 cu.ft ) ส่วนเหตุผลที่ ฮ. EC 145 ใช้พื้นที่จอดน้อยกว่า เนื่องจากความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดมีขนาดเล็กกว่า ฮ. Bell412 ถึง 10 ฟุต ( EC-145 = 36, Bell 412 = 46 ft) นอกจากนั้นความยาวจากปลายใบพัดหลักถึงใบพัดหาง ฮ. EC 145 จะมีระยะสั้นกว่ามากถึง 13 ฟุต ( EC- 145 = 43, bell 412 = 56 ft ) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ฮ. EC-145 มีความเหมาะสมกับการขึ้น – ลง ในพื้นที่จำกัด ด้วยภาพลักษณ์ดังกล่าวส่งผลให้ ฮ. EC- 145 จึงถูกนำไปใช้ อย่างแพร่หลาย ในภารกิจการค้นหา และกู้ภัยทางพลเรือนในปัจจุบัน
สำหรับการบรรทุกภายในของ ฮ. EC-145 มีความสะดวกสบาย เพราะผู้โดยสาร/อุปกรณ์ต่างๆสามารถบรรทุก เข้า – ออก ทางประตูเลื่อนขนาดใหญ่ ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งประตูดังกล่าวสามารถเปิดค้างได้ในขณะทำการบิน นอกจากนั้นทางด้านท้ายของห้องโดยสาร ยังมีประตูบานพับขนาดใหญ่ ( clamshell doors ) ทำให้การบรรทุก หรือเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์ เข้า – ออก ฮ.สามารถกระทำได้โดยง่าย และปลอดภัยแม้ในขณะที่ใบพัด ฮ.ยังคงหมุนอยู่ การติดตั้งใบพัดหางที่แพนหางดิ่ง ( Vertical Fin ) อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า 6 ฟุต ทำให้การปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน บริเวณด้านหลังห้องโดยสารถึงบริเวณหน้าแพนหางระดับ มีความคล่องตัว และปลอดภัย ภายในห้องโดยสารสามารถติดตั้งเก้าอี้ผู้โดยสารได้ถึง 8 ที่นั่ง โดยยังเหลือพื้นที่อีกประมาณ 9 ตร.ฟุต ด้านหน้าของประตูหลัง สำหรับใช้เป็นที่บรรทุกสัมภาระ เช่น กระเป๋าเดินทาง หรือสิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่าง ๆ ได้ด้วย เพดานห้องโดยสารสูง 4 ฟุต และไม่มีเสาค้ำเพดาน พื้นห้องโดยสารราบเรียบตลอดจากหน้าถึงหลัง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการโดยสาร, การบรรทุก, ตลอดจนการกำบังสายตา การออกแบบจุดติดตั้งอุปกรณ์บนพื้นห้องโดยสาร ในลักษณะเป็นรางร่องขนานกัน จำนวน 4 ราง ทำให้การติดตั้ง/ปรับเปลี่ยนรูปแบบการติดตั้ง เก้าอี้ผู้โดยสาร, เปลพยาบาล และอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ รวมทั้งการยึดตรึงสิ่งอุปกรณ์ที่บรรทุกภายในห้องโดยสาร สามารถทำได้ สะดวก รวดเร็ว
คุณลักษณะด้านการบรรทุกผู้โดยสารของ ฮ. EC-145 สามารถบรรทุกนักบินจำนวน 1- 2 คน และผู้โดยสารจำนวน 8- 9 คน (ไม่รวมช่างเครื่อง) สำหรับภารกิจการส่งกลับสายแพทย์ สามารถบรรทุกผู้ป่วยบนเปลได้ 2 คน กับเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล หรือ
ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้อีก 3 คน
• การบินทดสอบ
เมื่อเริ่มติดเครื่องยนต์จึงพบว่าใบพัดหลักของ EC- 145 หมุนทวนเข็มนาฬิกา เช่นเดียวกับ ฮ.ที่มีใช้ใน ทบ.สหรัฐ ฯ (ซึ่งตามปกติ ฮ.ที่ผลิตจากประเทศยุโรปส่วนใหญ่ใบพัดหลักจะหมุนตามเข็มนาฬิกา) ทำให้ง่ายต่อนักบินที่จะทำความคุ้นเคยในการบิน กับ ฮ. EC- 145 มาก ซึ่งจะส่งผลดีในแง่ของความปลอดภัย และเอื้อประโยชน์ต่อการฝึกบินเปลี่ยนแบบของนักบิน ทบ.สหรัฐ ฯ ในอนาคตเช่นเดียวกัน
หลังจากการบินทดสอบผ่านไป 1 ชั่วโมง 20 นาที พบว่า ฮ. EC-145 บินง่ายมาก การบังคับควบคุม ฮ.มีความสะดวกสบาย และนุ่มนวลในทุกท่าบิน มีอาการสั่นน้อยมาก โดยไม่มีอาการสั่นเพิ่มขึ้นทั้งในขณะวิ่งขึ้น และร่อนลง การบินในท่าลอยตัวเหนือพื้น และในอากาศทำได้ง่ายมาก ระบบใบพัดหลักแบบ Hingless ตอบสนองต่อการควบคุมได้ดี การบินขึ้น – ลง ในพื้นที่จำกัดที่ล้อมรอบด้วยต้นไม้ทำได้อย่างสะดวกสบาย กำลังเครื่องยนต์ตอบสนองต่อการบินขึ้นจากพื้นที่จำกัดได้อย่างดียิ่ง กำลังเครื่องยนต์กับความเร็วมีการตอบรับ และสัมพันธ์กันดีมาก สามารถเร่งความเร็วในขณะบินตรงบินระดับไปที่ความเร็วกว่า 130 น๊อต ได้อย่างง่ายดาย ระบบนักบินอัตโนมัติทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ในทุกท่าทางบิน รวมทั้งในขณะการเดินอากาศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินมาก ระบบเครื่องวัดต่าง ๆ ทั้งเครื่องวัดท่าทางบิน และเครื่องยนต์เป็นแบบ Multifunction Display สามารถลดภาระกรรมให้กับนักบินมากเพราะไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเครื่องวัดต่าง ๆ ในขณะบินตลอดเวลา นักบินจึงใช้เวลาในการควบคุมการบิน และตรวจการณ์ภายนอกอากาศยานได้มากกว่า ระบบการควบคุมอัตราการหมุนของใบพัดหลัก ( Automatic Rotor – rpm reduction) ซึ่งทำงานด้วยการเปรียบเทียบความเร็วใบพัด กับค่าแรงบิดให้สัมพันธ์กัน ทำให้สามารถลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ไม่เกิน 6.7 เดซิเบล ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าการกำหนดขององค์กรการบินระหว่างประเทศ
( ICAO)
ผู้ทดสอบได้สรุปความเห็นในภาพรวมของ ฮ. EC-145 ว่ามีคุณลักษณะเฉพาะ และสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้เป็นอย่างดี และเป็นไปตามข้อกำหนดของ ทบ.สหรัฐ ฯ ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะนำไปใช้เป็น ฮ.ใช้งานทั่วไปขนาดเบาที่สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างหลากหลาย นอกจากนั้น EC -145 ยังเป็น ฮ.ที่รวบรวมผสมผสานส่วนที่ดีต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันหลายประการ ได้ห้องนักบิน และระบบควบคุมการบิน ที่มีความทันสมัย ใช้เทคโนโลยีสูง ประกอบกับโครงสร้าง และลำตัว ฮ. ตลอดจนเครื่องยนต์ที่ผ่านการทดสอบจนเป็นที่ยอมรับ นอกจากนั้นยังมีราคาที่สมเหตุสมผลอีกด้วย
• ข้อพิจารณาเพิ่มเติม
จากเนื้อหาของเรื่องตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว ผู้เขียนได้ศึกษาทบทวนจึงพบประเด็นที่น่าสนใจ และควรนำมาพิจารณาได้แก่ กระบวนการพิจารณาคัดเลือก ฮ.ของ ทบ.สหรัฐ ฯ ครั้งนี้มีโจทย์ หรือเงื่อนไขซึ่งเป็นข้อกำหนดที่สำคัญ คือ กรอบวงเงินงบประมาณของ ทบ.สหรัฐ ฯ ที่ลดลงมาก ขณะที่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องบรรจุ ฮ.ใช้งานทั่วไป ทดแทนให้กับหน่วยต่าง ๆ ที่ขาดอัตรา หรือที่จะขาดอัตราในอนาคต ซึ่งหากจะใช้ ฮ.ท.60 ( Black Hawk ) บรรจุตามแผนการบรรจุเดิม จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงมีการพิจารณาจัดหา ฮ.ท.ขนาดเบา ( LUH ) แทน เพราะสามารถลดงบประมาณด้านการจัดหาจำนวนมาก ทั้งยังประหยัดงบประมาณด้านการปฏิบัติการและซ่อมบำรุงในระยะยาวได้อีกด้วย นอกจากนั้นในการจัดหายุทโธปกรณ์คราวนี้ใช้วิธีการจัดหาจาก ฮ.ที่มีอยู่ในท้องตลาด และ ฮ. EC-145 ซึ่งเป็นตัวเลือกของทบ.สหรัฐฯแม้ว่าจะเป็น ฮ.จากผู้ผลิตนอกประเทศสหรัฐ ฯ แต่ด้วยมูลค่าของโครงการจัดหาที่สูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ กับจำนวน ฮ. 322 เครื่อง ทำให้ในขั้นตอนการผลิตจริง จึงสามารถดำเนินการในประเทศสหรัฐ ฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน และการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในประเทศสหรัฐ ฯ นั่นเอง
ในทัศนะของผู้เขียน ฮ. EC-145 หรือ UH – 72A เป็น ฮ.ที่น่าสนใจหาก ทบ.ไทยจะพิจารณาจัดหา ฮ. เพื่อทดแทน ฮ.ท.1 หรือ ฮ.ท.212 รวมทั้ง ฮ.ท. 206 ซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน และคาดว่าจะมีปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุงในอนาคต โดยผู้เขียนมีเหตุผลสนับสนุนหลายประการ กล่าวคือ ฮ. EC -145 เป็น ฮ.ที่มีขีดความสามารถด้านการบรรทุกผู้โดยสารใกล้เคียงกับ ฮ.ท.1 หรือ ฮ.ท.212 และเหนือกว่าฮ.ท. 206(EC-145= 6, ฮ.ท. 1= 7, ฮ.ท. 212= 7, ฮ.ท. 206= 3 ที่นั่ง ) แต่มีสมรรถนะด้านความเร็วในการบินเดินทางสูงกว่า ( EC- 145 = 130, ฮ.ท.1 = 90 , ฮ.ท. 212 = 104, ฮ.ท. 206= 114 kts ) และยังเป็น ฮ.ที่บังคับควบคุมง่ายมีความปลอดภัยสูง ใช้ระบบควบคุมการบินที่ทันสมัยเอื้อต่อการบินในสภาพอากาศที่ไม่อำนวย มีระบบนักบินอัตโนมัติ ( Auto Pilot ) ที่เชื่อถือได้และได้รับการรับรองจาก FAA ให้สามารถทำการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (IFR) ด้วยนักบินเพียงคนเดียวได้ ระบบต่าง ๆของ ฮ. รองรับการบินในเวลากลางคืนด้วยกล้องช่วยการมองเห็นในเวลากลางคืน( NVG ) ด้วยคุณลักษณะเฉพาะ/สมรรถนะตามที่กล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ฮ. EC-145 สามารถตอบสนองภารกิจของ ทบ.ได้หลากหลาย เช่น การขนส่ง, การค้นหา/กู้ภัย, การส่งกลับสายแพทย์, การฝึก-ศึกษา, การลาดตระเวน/ตรวจการณ์ และ อาจติดตั้งอาวุธเพื่อใช้เป็น ฮ. โจมตีขนาดเบาได้ด้วย เป็นต้น
5. สรุป
ฮ. EC-145 เป็น ฮ. ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการของทบ.สหรัฐ ฯ เพื่อนำเข้าประจำการ โดยเป็น ฮ.จากบริษัทผู้ผลิตนอกสหรัฐฯ ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่าเป็นคัดเลือกมีความเหมาะสมสอดรับกับสภาวการณ์ต่างๆโดยเฉพาะด้านงบประมาณที่จำกัด ซึ่งหาก ทบ.ไทยจะจัดหา ฮ.แบบใหม่ที่ใช้งบประมาณด้าน การจัดหา, การปฏิบัติการ รวมทั้งการซ่อมบำรุงไม่สูงนัก ฮ. EC-145 จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และเป็นแรงจูงใจให้ผู้เขียนเกิดความสนใจที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอต่อผู้ที่ติดตามข่าวสารด้านการบิน โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างตามสมควร และหากพบข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ก็จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป.
ที่มา http://www.aavnc.com/Link/us/us.htm
เรียบเรียงโดย อินทรีย์ 03
หรือไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ TAF
โดยคุณ
aonestudio 
เมื่อวันที่
21/06/2013 15:42:26
ความคิดเห็นที่ 11
โดยคุณ
Xmode 
เมื่อวันที่
21/06/2013 15:55:57
ความคิดเห็นที่ 12
ชอบ blackhawk มากกว่า แต่ตัวนี้ก็แปลกดีครับ
โดยคุณ
seaman 
เมื่อวันที่
21/06/2013 16:10:17
ความคิดเห็นที่ 13
โดยคุณ
seaman 
เมื่อวันที่
21/06/2013 16:12:22
ความคิดเห็นที่ 14
อยากทราบว่า AW-139 และ EC-725 ที่เราเพิ่งสั่งซื้อ จะมาทำหน้าที่เหมือน(แทน)แบล็คฮอครึเปล่าครับ..... ฮ.เรามากแบบจังแฮะ...
ส่วนตัวผมชอบ EC-155 มากกว่า UH-72 นะ ในราคาที่ใกล้เคียงกัน (ตำรวจมีใช้แล้ว และสั่งซื้อเพิ่มอีก) อยากให้ใช้ทั้ง 4 เหล่าเลย ง่ายต่อการช่อมบำรุง(อะไหล่ยืมกันได้ 55)
ขอโทษครับ ลำกลาง (EC-725) ชื่อหาย *_*
AW-139
EC-155 ของ สนง.ตำรวจแห่งชาติ
โดยคุณ
nui-714 
เมื่อวันที่
21/06/2013 18:49:38
ความคิดเห็นที่ 15
EC-155 ผมก็เพิ่งได้เห็นตัวเป็นเมื่อ ค.ร.ม. สัญจรนี้ล่ะแบบว่าบินต่ำมากจนเห็นเจ้าหน้าที่บนเครื่องชัดแจ๋ว
ก่อนคณะมาซัก 1-2 วันรวมรุ่นอื่นๆบินเกือบทั้งวันทุกวันจนผมแบบว่า....หืม หืม SA-18 หรือ FIM-92 ก็ได้ ( เอาฮานะ )
โดยคุณ
Nazgul 
เมื่อวันที่
21/06/2013 19:31:14
ความคิดเห็นที่ 16
เดามาตั้งนานและก้คิดว่า เมื่อไหร่ทบ.จะจัดหา สุดท้ายมันก้มาจริงนะครับ สำหรับUH-72 ที่ผมชอบอย่างนึงของมันก็คือเปิดท้ายได้ ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย และอีกอย่างฮ.ประเภทนี้ มันยังสามารถไปลงจอดบนเขาได้อีกด้วยอีกอย่างฐานทหารตามชายแดนบางที่ ก็จุดจอดฮ.ก็เล็กมาก ซึ่งเจ้านี้สามารถมาทดแทน คุณปู่ได้แบบสบายมาก แท้จำนวนบรรทุกอาจจะน้อยไปหน่อยนิดนึงก็ตาม ตอนนี้ก็เท่ากับ ทบ.จะมีฮ.แบบใหม่อยู่3ปรเภท ซึ่งจะแยกภารกิจกันออกไปอีกทีแหละครับ
โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่
21/06/2013 20:13:25
ความคิดเห็นที่ 17
ถ้าถามนักบินในชั่วโมงนี้ ก็คงจะบอกว่า " อะไรก็ได้ครับพี่อย่าให้ผมต้องฝากชีวิตกับเจ้า ฮิ้วอี้ต่ออีกเลย " จัดมาเร็วๆเหอะ
โดยคุณ
ObeOne 
เมื่อวันที่
21/06/2013 20:15:17
ความคิดเห็นที่ 18
ผมเคยเห็น EC155 ตอนรับเสด็จมาพร้อมกัน 4 ลำเลยยย ส่วนถ้าจำไม่ผิด AW139 เอามทำหน้าเป็น ฮ. vip ส่วน EC725 เอามาเป็นฮ. SAR (ค้าหาเเละกู้ภัย)ครับ
โดยคุณ keng101 เมื่อวันที่
21/06/2013 20:24:50
ความคิดเห็นที่ 19
ใครบอกว่าเจ้าเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวใช้ทางยุทธวิธีไม่ได้ครับ
โดยคุณ
ObeOne 
เมื่อวันที่
21/06/2013 20:36:54
ความคิดเห็นที่ 20
ค็อกพิตซ์ ออกจะดูดีมีสกุลลุนชาติ
โดยคุณ
ObeOne 
เมื่อวันที่
21/06/2013 20:43:05
ความคิดเห็นที่ 21
Thailand Seeks Six UH-72A Lakota Helicopters
21 Juni 2013
UH-72A Lakota helicopter (photo : paulp)
WASHINGTON – The Defense Security Cooperation Agency notified Congress June 7 of a possible Foreign Military Sale to Thailand of 6 UH-72A Lakota Helicopters and associated equipment, parts, training and logistical support for an estimated cost of $77 million.
The Government of Thailand has requested a possible sale of 6 UH-72A Lakota Helicopters, spare and repair parts, support equipment, communication equipment, publications and technical documentation, Aviation Mission Planning Station, personnel training and training equipment, U.S. Government and contractor technical and logistics support services, and other related elements of logistics support. The estimated cost is $77 million.
This proposed sale will contribute to the foreign policy and national security of the United States, by helping to improve the security of a friendly country which has been, and continues to be, an important force for political stability and economic progress in Southeast Asia.
This proposed sale will contribute to Thailands goal to upgrade and modernize its military forces with a new light utility helicopter capable of meeting requirements for rotary-wing transportation, while further enhancing greater interoperability between Thailand the U.S., and among other allies. Thailand will have no difficulty absorbing these helicopters into its armed forces.
The proposed sale of this equipment and support will not alter the basic military balance in the region.
The principal contractor will be EADS North America, in Herndon, Virginia. There are no known offset agreements proposed in connection with this potential sale.
Implementation of this proposed sale will require U.S. Government or contractor representatives to travel to Thailand for a period of five weeks for equipment deprocessing/ fielding, system checkout and new equipment training and a Contractor Furnished Service Representative (CFSR) for a period of one year.
There will be no adverse impact on U.S. defense readiness as a result of this proposed sale.
This notice of a potential sale is required by law and does not mean the sale has been concluded.
http://defense-studies.blogspot.com/2013/06/thailand-seeks-six-uh-72a-lakota.html
โดยคุณ
kaypui42 
เมื่อวันที่
21/06/2013 21:16:24
ความคิดเห็นที่ 22
โดยคุณ
Ricebeanoil 
เมื่อวันที่
21/06/2013 21:44:00
ความคิดเห็นที่ 23
โดยคุณ
Ricebeanoil 
เมื่อวันที่
21/06/2013 21:44:53
ความคิดเห็นที่ 24
ถ้าลองเทียบกับ แผนการพัฒนาและปรับปรุง กองบิน
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
22/06/2013 12:51:16
ความคิดเห็นที่ 25
ในความเห็นส่วนตัว กรณีแยกบรรจุตาม กองบินต่าง ๆ
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
22/06/2013 12:52:17
ความคิดเห็นที่ 26
อัตราความต้องการเต็ม ของ ทบ. จำนวน 150 ลำ
ลองจัดทำแผ่นภาพ ตามความเห็นส่วนตัว ครับ
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
22/06/2013 19:57:10
ความคิดเห็นที่ 27
เอ่อ...ป๋าจูครับ สรุปว่า เจ้ายักษ์ ชีนุก ทั้ง 4 ลำของเรา ยังประจำการ หรือ ปลด แล้วครับ? หรือ สำรองราชการ หรือ... ,etc.
โดยคุณ
nui-714 
เมื่อวันที่
22/06/2013 22:01:55
ความคิดเห็นที่ 28
ก็ยังประจำการอยู่นี่ครับ...
ตามรายงานในปี 2554 การประชุมซ่อมอากาศยานของ ทบ. คือ ชินุค ใช้งานได้ 2 ลำ และอยู่ระหว่่างซ่อมบำรุง 2 ลำ และ รอจำหน่าย 2 ลำ...
โดยตามแผน ทบ. จะซ่อมบำรุงให้ใช้ได้ทั้ง 4 ลำ...คือ หมายเลข 333 - 666
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
22/06/2013 22:50:07
ความคิดเห็นที่ 29
ตามความเข้าใจของผม
ทบ. มีการจัดหา ฮ. อัตราใหม่ รวม 30 ลำ โดยในขณะนี้ มีข่าวการจัดหา รวมจำนวน 15 ลำ คือ
UH-60 จำนวน 7 ลำ
AW-139 จำนวน 2 ลำ
UH-72A จำนวน 6 ลำ
ดังนั้น จะมีอัตราเหลือจัดหาอีก จำนวน 15 ลำ ซึ่งในความเห็นส่วนตัว น่าจะประกอบด้วย
AW-139 จำนวน 2 ลำ
UH-72A จำนวน 13 ลำ
โดยรวมของ การจัดหา ฮ. จำนวน 30 ลำ มูลค่าโครงการรวมทั้งหมด ประมาณ 15,650 ล้านบาท จะประกอบด้วย
UH-60 จำนวน 7 ลำ
AW-139 จำนวน 4 ลำ
UH-72A จำนวน 19 ลำ
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
23/06/2013 07:12:38
ความคิดเห็นที่ 30
ดังนั้น ในปี 2563 กองบินทหารบก จะมัอัตรา ฮ. ใช้งาน รวมในอัตราลด ระดับ 2 (60%) หรือ จำนวน 90 ลำ
ผมเลยลอง จัดทำแผนภาพตามความเห็นส่วนตัว ครับ
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
23/06/2013 07:15:20
ความคิดเห็นที่ 31
มองภาพการพัฒนา กรมบินทหารบก
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
23/06/2013 09:36:43
ความคิดเห็นที่ 32
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
23/06/2013 09:51:20
ความคิดเห็นที่ 33
ขอบคุณป๋าจูมากครับ.... งั้นถามต่ออีกหน่อยครับ กรณี S-92 ในอนาคต หลังเสร็จจากการเป็น ฮ. พระที่นั่ง ทั้ง 3 เครื่อง จะถูกโอนมาเป็นของ ทบ. รึเปล่าครับ.. ถ้าใช่, จะทำภาระกิจอะไรครับ?
ภาพ: wiki
โดยคุณ
nui-714 
เมื่อวันที่
23/06/2013 10:41:50
ความคิดเห็นที่ 34
คงไม่น่าจะโอนมาที่ ทบ. ครับ...
น่าจะจำหน่ายออกครับ...แล้วจัดหาใหม่ ครับ...
โดยคุณ
juldas 
เมื่อวันที่
23/06/2013 12:25:59
ความคิดเห็นที่ 35
ขอบคุณอีกครั้งครับ.... ที่ถามเพราะ เท่าที่ทราบ ฮ. หรือ บ.พระที่นั่ง จะไม่ประจำการนานจนปลดเพราะหมดสภาพ จึงคิด(เอาเอง)ว่าน่าจะมีระยะเวลาประจำการเหลืออยู่น่ะครับ...
โดยคุณ
nui-714 
เมื่อวันที่
23/06/2013 15:04:56
ความคิดเห็นที่ 36
รุ่นเดียวกับที่ติดสติ๊กเกอร์หลวงปู่เณรคำ ใช่หรือไม่ครับ
โดยคุณ hs3mmq เมื่อวันที่
24/06/2013 09:03:08
ความคิดเห็นที่ 37
หางด้านท้ายน่าจะเป็นแบบหางโลมานะ จะหล่อเลยแหละ
โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่
24/06/2013 23:33:35
ความคิดเห็นที่ 38
แหม่...ท่านครับ มันเป็นฮ.ที่อายุต่างกันกว่า 40 ปีเชียวนะ เทคโนโลยีมันต่างกันมากมายมหาศาลเลย หากจะเทียบสมรรถนะกันก็ต้องเอาทายาทรุ่นล่าสุดมาเทียบด้วยสิครับ อย่างน้อยก็ไว้ใช้อ้างอิงมาตรฐานของฮ.ในยุคปัจจุบันนะครับ ซึ่งราคาที่ต่างแตกกันกว่าเท่าตัว ก็จะช่วยให้สามารถพิจารณาได้ง่ายขึ้นมาก
UH-1Y "VENOM"
General characteristics
- Crew: One or two pilots, plus crew chief, other crew members as mission requires
- Capacity: 6,660 lb (3,020 kg) including up to 10 crashworthy passenger seats, 6 litters or equivalent cargo[26]
- Length: 58 ft 4 in (17.78 m)
- Rotor diameter: 48 ft 10 in (14.88 m)
- Height: 14 ft 7 in (4.5 m)
- Disc area: 1,808 ft² (168.0 m²)
- Empty weight: 11,840 lb (5,370 kg)
- Useful load: 6,660 lb (3,020 kg)
- Max. takeoff weight: 18,500 lb (8,390 kg)
- Powerplant: 2 × General Electric T700-GE-401C turboshaft, 1,828 shp for 2.5 min; 1,546 shp continuous (1,360 kW for 2.5 min; 1,150 kW continuous) each
Performance
- Never exceed speed: 198 kn (227 mph, 366 km/h)
- Maximum speed: 164 knots (189 mph, 304 km/h) for 30 minutes
- Cruise speed: 158 kt, 182 mph, 293 km/h (long range cruise (LRC): 135 kn, 155 mph, 250 km/h)
- Combat radius: 130 nmi (150 mi, 241 km) with 2,182 lb, 990 kg payload
- Endurance: 3.3 hr
- Service ceiling: 20,000+ ft (6,100+ m)
- Rate of climb: 2,520 ft/min (12.8 m/s)
Armament
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่
26/06/2013 12:40:38
ความคิดเห็นที่ 39
ผมว่า ฮอเนี่ยต้องถามก่อนว่า เอาฮอมาทำอะไร อย่างเจ้า uh72 lakota เนี่ย วัตถุประสงค์คือ เอามาทำหน้าที่ ตรวจการ+ขนส่ง มันบรรทุกได้ ประมาณ 8 คนไม่รวมนักบิน น้อยกว่า ฮิวอี้ก็จริง รายละเอียด ตามข้างล่าง
Specifications (UH-72A)[edit]
Data from UH-72 specifications,[43] Eurocopter EC 145 data[44]
General characteristics
- Crew: 2 pilots
- Capacity: 8 troops or 2 stretchers and medical crew
- Length: 42 ft 7 in (13.03 m)
- Rotor diameter: 36 ft 1 in (11.00 m)
- Height: 11 ft 9 in (3.45 m)
- Disc area: 1,023 ft² (94.98 m²)
- Empty weight: 3,950 lb (1,792 kg)
- Useful load: 3,953 lb (1,793 kg)
- Max. takeoff weight: 7,903 lb (3,585 kg)
- Powerplant: 2 × Turbomeca Arriel 1E2 turboshafts, 738 shp (551 kW) each
Performance
ส่วนข้างล่างเป็นของ ฮิวอี้
Specifications (UH-1D)[edit]
General characteristics
- Crew: 1–4
- Capacity: 3,880 lb (1,760 kg) including 14 troops, or 6 stretchers, or equivalent cargo
- Length: 57 ft 1 in (17.40 m) with rotors
- Width: 8 ft 7 in (2.62 m) (Fuselage)
- Height: 14 ft 5 in (4.39 m)
- Empty weight: 5,215 lb (2,365 kg)
- Gross weight: 9,040 lb (4,100 kg)
- Max takeoff weight: 9,500 lb (4,309 kg)
- Powerplant: 1 × Lycoming T53-L-11 turboshaft, 1,100 shp (820 kW)
- Main rotor diameter: 48 ft 0 in (14.63 m)
Performance
- Maximum speed: 135 mph (217 km/h; 117 kn)
- Cruise speed: 125 mph (109 kn; 201 km/h)
- Range: 315 mi (274 nmi; 507 km)
- Service ceiling: 19,390 ft (5,910 m) (Dependent on environmental factors such as weight, outside temp., etc)
- Rate of climb: 1,755 ft/min (8.92 m/s)
- Power/mass: 0.15 hp/lb (0.25 kW/kg)
Armament
Variable, but may include a combination of:
เทียบกันแล้ว ฮิวอี้ สมรรถนะไม่สมตัว ใหญ่เสียปล่าว ส่วนเจ้า uh72 lakota เล็กพริกขี้หนู อีกทั้งใช้พื้นที่ลงจอดน้อยกว่า ฮิวอี้ด้วย ความเร้วสูงสุดก็เร็วกว่า ถึง 240 กว่า กม/ชม อีกทั้ง ฮิวอี้เสียงดังกว่า uh72 lakota ด้วย
โดยคุณ jack1112 เมื่อวันที่
26/06/2013 10:22:29
ความคิดเห็นที่ 40
ตามข้อมูลในเว็บนอก(wikipedia.org) uh72 lakoto ราคา 5.9 ล้านเหรียญ uh-1y venom ราคา 21.6 ล้านเหรียญ นะครับ แต่ถ้าไทยซื้อจะราคาเท่าใหร่
ถ้าตามข้อมุล ที่ได้มาถูกต้อง ก็เอา lakota หนะแหละ
http://en.wikipedia.org/wiki/Eurocopter_UH-72_Lakota
http://en.wikipedia.org/wiki/UH-1Y_Venom
ปล ที่บอกว่า uh72-lakota ที่บอกว่า 13 ล้านเหรียญ เนี่ย ถือว่าแพงนะ แต่ต้องดูก่อนว่ามีอะไรมาบ้าง (หรือที่แพงเพราะ......) ถ้า 13ล้านได้ lakota เอา 21 ดีกว่าครับ ได้ uh-1y venom ทำอะไรได้เยอะกว่ามาก
โดยคุณ jack1112 เมื่อวันที่
26/06/2013 13:33:59
ความคิดเห็นที่ 41
การจัดซื้อในครั้งนี้ของทบ.ไทยนั้นเป็น "โครงการจัดหา ฮ. UH-72A จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ การฝึกต่างๆ และอะไหล่ เพื่อการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 2 ปี" โดยดำเนินการระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ภายใต้โปรแกรมการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อความมั่นคง FMS ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสของสหรัฐ ทั้งหมดทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น มูลค่าโครงการนี้จึงมิใช่ราคาเครื่องเปล่าเหมือนที่เอามาเปรียบเทียบครับ
ส่วนเจ้า UH-1Y นั้นแม้จะเป็นฮ.ที่มีสมรรถนะสูงกว่า แต่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็สูงกว่า อีกทั้งยังไม่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่จำกัด ในขณะที่ทบ.มี ฮท.60 (UH-60L/M) ประจำการอยู่จำนวนหนึ่ง หากการปฏิบัติการใดที่ต้องการฮ.ที่มีสมรรถนะสูงก็สามารถนำมาใช้ได้อยู่แล้ว การซื้อฮ.ที่มีขนาดเล็ก ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำ แต่มีความทันสมัยและมีสมรรถนะใกล้เคียงฮ.รุ่นเดิมที่ใช้งานอยู่ จึงเป็นการตัดสินใจที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งครับ
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่
26/06/2013 15:01:35
ความคิดเห็นที่ 42
โดยคุณ jack1112 เมื่อวันที่
27/06/2013 08:18:06
ความคิดเห็นที่ 43
UAV ของ ศูนย์การบินทหารบก ปัจจุบันเป็น Searcher MK II นะครับ MK I อยู่ในกองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมายครับ
ส่วนในอนาคต ศบบ. สั่ง UAVรุ่น Heronครับ
โดยคุณ panzahahaha เมื่อวันที่
30/06/2013 14:47:09