หนังสือชีวิตของ "เทพ 333" พล.ท.วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ผู้นำทหารเสือพราน ตามโครงการหน่วยผสม 333 ที่ไปรบในลาว เพื่อต่อต้านเวียดนามเหนือ ซึ่งต้องปกปิดฐานะตัวเอง จึงถูกกล่าวหาว่าเป็นทหารรับจ้าง
ในช่วง มกราคม 2514 ถึง เมษายน 2517 ในชื่อ กองกำลังทหารเสือพราน เป็นกองกำลังอาสาสมัครที่มีประสิทธิภาพ พวกเขามีหน้าที่โต้ตอบกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่รุกรานประเทศลาวในขณะนั้น มีการจัดกองกำลังคล้ายกองพันทหารราบของไทย คือ จัดเป็นกองพันทหารเสือพรานรวม 36 กองพัน
โดยแต่ละกองพันมีจำนวนทหารเสือพราน 500 นาย โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอเมริกัน เช่น อาวุธ, การฝึกอบรม, การส่งกำลังไปแนวหน้าหรือการนำผู้ป่วยกับมารักษา, เงินเดือนของทหารเสือพราน ฯลฯ
การไปรบในลาวครั้งนั้น เป็นปฏิบัติการที่ถูกปกปิดเป็นความลับ นั่นคือ ทหารเสือพรานจะต้องเขียนใบลาออกไว้ หากเกิดความสูญเสียขึ้นใดใด จะไม่สามารถเรียกร้องสิทธิได้ ดังนั้นวีรกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นอาจไม่ได้บันทึกไว้ หรือสืบค้นได้ยาก นอกจากคำบอกเล่าของพวกเขาที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนใหญ่น่าจะอายุเกิน 60 ปีแล้ว
สรุปการประเมินตัวเลขของการสูญเสียในการสู้รบ 6 ปี ทหารเสือพรานไทยพลีชีพไปเป็นจำนวนมากถึง 2,580 นาย บาดเจ็บนับหมื่นนาย ถูกจับเป็นเชลยเกือบสามร้อยนายหรือหายสาบสูญอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมีหลายร้อยศพ ที่ไม่สามารถนำร่างนักรบนิรนามกลับมาตุภูมิได้ จึงเป็นที่มาของรวมตัวกันอีกครั้งของทหารเก่า เพื่อเรียกร้องให้สังคมไทยยอมรับ 'ภารกิจเพื่อชาติ' ในครั้งนั้น เพราะที่ผ่านมา ไม่มีการบันทึกวีรกรรมใดๆ ของพวกเขาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์กองทัพไทย
อดีตทหารผ่านศึกเหล่านี้ได้รวมตัวกันจัดตั้งสมาคม ชื่อ สมาคนนักรบนิรนาม 333 ในปี 2546 เป็นจุดนัดพบกันระหว่างสมาชิกในการรำลึกถึงความทรงจำในภารกิจเพื่อชาติ, ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิก รวมทั้งเป็นการเปิดเผยวีรกรรมในครั้งนั้นจากประสบการณ์จริง ที่ผ่านมาแล้วกว่า 30 ปี
อ่านต่อได้ที่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=534576506607480&set=a.424714767593655.101108.424674147597717&type=3&theater
ขอบคุณเพก "สงคราม ประวัติศาสตร์" นะครับ https://www.facebook.com/warofhistory?fref=ts
อันที่สอง
หลังสงครามผ่านไป ก็เหลือตึกขาวไว้บอกเล่าเรื่องราวของวีระบุรุษในอดีต
วีรบุรุษผมเชื่อทุกคนรู้ถึงความเสียสละ และทุกคนยกย่องพวกท่าน